• Tidak ada hasil yang ditemukan

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม"

Copied!
101
0
0

Teks penuh

(1)

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4

วิทยานิพนธ์

ของ เกษมสันต์ ตราชู

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต

มกราคม 2564

ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(2)

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4

วิทยานิพนธ์

ของ เกษมสันต์ ตราชู

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต

มกราคม 2564

ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(3)

The development of musical learning activities according to Base on Dalcroze Structural model for Prathomsuksa 4 students

Kasemsan Trachoo

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of Requirements for Master of Music (Master of Music)

January 2021

Copyright of Mahasarakham University

(4)

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ได้พิจารณาวิทยานิพนธ์ของนายเกษมสันต์ ตราชู แล้ว เห็นสมควรรับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

(ผศ. ดร. พิทยวัฒน์ พันธะศรี )

ประธานกรรมการ

(ผศ. ดร. สยาม จวงประโคน )

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

(ผศ. ดร. ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี )

กรรมการ

(ดร. ธนภร เพ่งศรี )

กรรมการ

มหาวิทยาลัยอนุมัติให้รับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญา ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัย มหาสารคาม

(ผศ. ดร. คมกริช การินทร์ )

คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์

(รศ. ดร. กริสน์ ชัยมูล ) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

(5)

บทคัดย่อ ภาษาไทย

ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย เกษมสันต์ ตราชู

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สยาม จวงประโคน

ปริญญา ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2564

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรี

ตามแนวคิดของดาลโครซส าหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาดนตรีระดับประถมศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่

4 3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของ ดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้จากการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก จ านวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์รายวิชาดนตรี เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ และ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ดัชนีประสิทธิภาพ E1/ E2 และ ค่าt-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซส าหรับนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.55/82.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทาง ดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 33.96 สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม แนวคิดของดาลโครซมีค่าเฉลี่ยหลังทดลองรวม ด้านเคลื่อนไหวร่างกายตามการเคลื่อนที่ของท านองได้

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.68, รองลงมาด้าน อ่าน-เขียนโน้ตดนตรี ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.18

(6)

เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 59.09 และ ขับร้อง ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 58.86 โดยมีค่าร้อยละเฉลี่ยรวมของคะแนนเต็มเท่ากับ 69.25

ค าส าคัญ : การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้, ทักษะทางดนตรี, แนวคิดของดาลโครซ

(7)

บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ

TITLE The development of musical learning activities according to Base on Dalcroze Structural model for Prathomsuksa 4 students

AUTHOR Kasemsan Trachoo

ADVISORS Assistant Professor Sayam Chuangprakhon , Ph.D.

DEGREE Master of Music MAJOR Master of Music

UNIVERSITY Mahasarakham University

YEAR 2021

ABSTRACT

The objectives of this research were 1) to develop music skills learning management activities based on the Dalcroze’s concept for grade 4 students to achieve the 80/80 efficiency criterion, and 2) to compare the academic achievement in the music subject for primary school between pretest and posttest periods using Dalcroze’s concept-based music skills learning management activities. 3) Study music practice skills using Dalcroze’s concept-based music skills learning management activities . The sample was grade 4 students from one classroom at Rajabhat Mahasarakham University Demonstration School. The sample size was 22 students, obtained based on a simple random sampling by drawing lots Research . instruments were Dalcroze’s concept-based music skills learning management activity plans, Achievement Test with 30 four-option items and Practice Skill Assessment. Data were analyzed using statistics, including mean, percentage, E1/E2, and dependent t-test.

The results of this research indicated as follows :

1.The efficiency index of Dalcroze’s concept-based music skills learning management activities for grade 4 students was 85.55/82.12, which was higher than a set criterion.

2. Academic achievement of the sample taught with Dalcroze’s concept- based music skills learning management activities increased by 33.96% with a statistical significance level of .01.

(8)

ช 3.In terms of practical skills of students learned withDalcroze’s concept- based music skills learning management activities, a mean score of physical movement with the melodyat posttest period was 71.68 percent, followed by music note reading-writing with a meanof 62.18 percent, physical movements with the rhythmwith a mean of 59.09 percent, and singing with a mean of 58.86 percent, with the total mean percentage of the full score was 69.25 percent.

Keyword : Development of learning activities, Musical skills, Dalcroze’s concept

(9)

กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกาาปีที่ 4 ฉบับนี้ ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดยได้รับการให้ค าปรึกษาแนะน า การ ตรวจสอบแก้ไข รวมทั้งการติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ าเสมอจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สยาม จวง ประโคน ที่ปรึกษาหลัก ผู้วิจัยขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงยิ่ง

ขอขอบพระคุณคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

พิทยวัฒน์ พันธะศรี ประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี และอาจารย์

ดร.ธนภร เพ่งศรี ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ท าให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีความสมบูรณ์มากขึ้น ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน นาดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัจธรรม พรทวี

กุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิทยา สัพโส เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ วิจัยในครั้งนี้ได้อย่างเที่ยงตรง

ขอขอบคุณผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และบุคลากรทุกฝ่าย ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราช ภัฏมหาสารคาม ที่อ านวยความสะดวกในการวิจัยและให้ความช่วยเหลือด้วยดีตลอดมา

สุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอขอบพระคุณบิดา มารดา ผู้ที่ได้อบรมสั่งสอนเลี้ยงดูให้ประสบความส าเร็จใน ชีวิต ขอขอบคุณคุณเจนจิรา ตราชู ภรรยา และ เด็กหญิงเกษราวัลย์ ตราชู บุตรสาว ที่เป็นก าลังใจ ส าคัญในการศึกษาค้นคว้า ช่วยเหลือ จนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงด้วยดี สามารถสร้าง คุณประโยชน์ทางการศึกษาอย่างมีคุณค่ายิ่ง

เกษมสันต์ ตราชู

(10)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ... ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ... ฉ กิตติกรรมประกาศ... ซ สารบัญ ... ฌ สารบัญตาราง ... ฏ สารบัญรูปภาพ ... ฑ

บทที่ 1 บทน า ... 1

ความเป็นมาของการวิจัย ... 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ... 3

สมมติฐานของการวิจัย ... 4

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ... 4

ขอบเขตของการวิจัย ... 4

นิยามศัพท์เฉพาะ ... 5

กรอบแนวคิดของการวิจัย ... 6

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ... 7

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ... 7

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะดนตรี ... 11

ความหมายและความส าคัญ ... 11

วิธีการฝึกทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรี ... 12

การวัดผลการเรียนวิชาดนตรี ... 14

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ... 17

(11)

ประวัติความเป็นมา ... 17

วิธีการของดาลโครซ ... 18

ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนดนตรีสากล ... 20

แผนการจัดการเรียนรู้ ... 29

บริบทพื้นที่วิจัย ... 34

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ... 36

บทที่ 3 วิธีการวิจัย ... 39

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ... 39

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ... 39

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ... 40

การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ... 40

วิธีการด าเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล ... 42

ระยะเวลาในการวิจัย ... 43

การวิเคราะห์ข้อมูล ... 43

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล... 47

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ... 47

ล าดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล ... 48

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 48

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ... 54

สรุปผลการวิจัย ... 54

อภิปรายผล ... 55

ข้อเสนอแนะ ... 57

บรรณานุกรม ... 58

ภาคผนวก... 61

(12)

ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ... 62

ภาคผนวก ข คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ... 68

ภาคผนวก ค หนังสือราชการ ... 77

ภาคผนวก ง ภาพกิจกรรมการเรียนรู้ ... 82

ประวัติผู้เขียน ... 86

(13)

สารบัญตาราง

หน้า

ตาราง 1 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 ดนตรี (มาตรฐาน 2.1)... 10

ตาราง 2 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 ดนตรี (มาตรฐาน 2.2)... 11

ตาราง 3 แสดงเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ... 40

ตาราง 4 แสดงเวลาที่ใช้ในการวิจัย ... 43

ตาราง 5 วิเคราะห์ประสิทธิภาพแสดงของกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาล โครซส าหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 ... 48

ตาราง 6 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลัง เรียน รายวิชาดนตรีระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม แนวคิดของดาลโครซ ... 50

ตาราง 7 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาดนตรีระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ t-test (Dependent Samples) ... 51

ตาราง 8 แสดงร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของทักษะปฏิบัติที่เรียนด้วยกิจกรรมการ เรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ... 51

ตาราง 9 แสดงดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาล โครซ... 69

ตาราง 10 แสดงดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรี ... 71

ตาราง 11 แสดงค่าระดับความยากง่าย (P) ค่าอ านาจจ าแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (rn) ของ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางดนตรี ... 73

ตาราง 12 แสดงผลความสอดคล้องของแบบประเมินทักษะปฏิบัติด้านการเคลื่อนไหวร่างกายตาม การเคลื่อนที่ของท านอง ... 74

ตาราง 13 แสดงผลความสอดคล้องของแบบประเมินทักษะปฏิบัติด้านการเคลื่อนไหวร่างกายตาม จังหวะ ... 75

(14)

ฐ ตาราง 14 แสดงผลความสอดคล้องของแบบประเมินทักษะปฏิบัติด้านการอ่าน-เขียนโน้ตดนตรี .... 75 ตาราง 15 แสดงผลความสอดคล้องของแบบประเมินทักษะปฏิบัติด้านขับร้อง ... 76

(15)

สารบัญรูปภาพ

หน้า ภาพประกอบ 1 กรอบแนวคิดงานวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม

แนวคิดของดาลโครซส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ... 6

ภาพประกอบ 2 ตัวอย่างกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายยูริธึ่มมิกส์ ... 19

ภาพประกอบ 3 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (1) ... 83

ภาพประกอบ 4 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (2) ... 83

ภาพประกอบ 5 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (3) ... 84

ภาพประกอบ 6 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (4) ... 84

ภาพประกอบ 7 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (5) ... 85

ภาพประกอบ 8 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (6) ... 85

(16)

บทที่ 1 บทน า

ความเป็นมาของการวิจัย

ดนตรีเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มาพร้อม ๆ กับชีวิตมนุษย์โดยที่มนุษย์เองไม่รู้ตัว ดนตรีเป็นทั้ง ศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีความสุข สนุกสนานรื่นเริง ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดนตรีเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ให้มีความเบิกบานหรรษา ให้เกิด ความสงบและพักผ่อน กล่าวคือ ในการด ารงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ดนตรีมีความ เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจสืบเนื่องมาจากความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ โดยตรง หรือเกิดจาก ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบในการท างาน เพลงสวดถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น (คมสันต์ วงศ์กรรณ์. 2551 : 1)ดนตรีจึงเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มี

ความส าคัญต่อมนุษย์และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ทุกคน มนุษย์รู้จักน าดนตรีมาใช้ประโยชน์

ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งปัจจุบันคนรุ่นหลังได้ทราบความเป็นมาของดนตรีจากการจด บันทึกท าให้เราทราบและเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี นอกจากนี้ดนตรียังเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของสังคมที่มีอยู่ทั่วโลกทุกชาติ ทุกภาษา ดนตรีจึงเข้าไปมีบทบาทส าคัญต่อชีวิตและสังคม มนุษย์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

การศึกษาดนตรีได้รับการยอมรับให้เป็นวิชาหนึ่งที่มีความจ าเป็นต่อการพัฒนาเด็กแนวคิด ของความจ าเป็นในการเรียนดนตรีได้รับความส าคัญมากขึ้นด้วยทฤษฎีความหลากหลายของสติปัญญา โดยจ าแนกความเก่งของคนไว้ 7 ประการหลักได้แก่ด้านภาษา (Verbal/Linguistic) ด้านดนตรี/

จังหวะ (Musical/Rhythmic) ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical/Mathematical)ด้านการ เคลื่อนไหว (Body/Kinesthetic) ด้านศิลปะ/มิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial) ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล/การสื่อสาร(Interpersonal) และด้านความรู้สึก/ความลึกซึ้งภายในจิตใจ(Visual/Spatial) (ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์, 2557) ดนตรีสากลเป็นดนตรีประเภทหนึ่งที่ชาวตะวันตกได้น ามาเผยแพร่

จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก จึงท าให้หลายชนชาติหลายภาษาสามารถเล่นดนตรีสากลได้เครื่องดนตรีสากล ที่ใช้กันในชนชาติต่างๆส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชนิดเดียวกัน มีการบันทึกท านองเพลงโดยใช้

สัญลักษณ์เดียวกัน ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกท านองเพลงเรียกว่า“โน้ตสากล”

การเรียนการสอนดนตรีให้ได้ผลตามความมุ่งหมายเน้นควรตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดทาง ทฤษฎีดนตรีของนักการศึกษาดนตรีที่มีความรู้และประสบการณ์ เนื่องจากจะท าให้ผู้เรียนมีความรู้

ความเข้าใจและทักษะทางด้านดนตรีในเวลานั้นสั้นโดยไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งนักการศึกษาดนตรีที่มีชื่อเสียงมี

ความรู้ทางทฤษฏีดนตรี มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีการ น าไปใช้ในประเทศต่างๆ โดยการเคลื่อนไหวร่างกายช่วยท าให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านดนตรีได้ถือเป็น จุดเริ่มต้นของยูริธึมมิกส์(Eurhythmics) เป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักกับการเคลื่อนไหวทางจังหวะที่ดี

(17)

2 ให้เข้ากับจังหวะดนตรีซึ่งเน้นที่กระบวนการจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อนและแสดงออกถึงจังหวะตก อัตรา จังหวะ ความเร็วจังหวะเป็นการได้รับประสบการณ์ตรงท าให้เข้าใจองค์ประกอบของดนตรีอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเน้นการร้องเป็นหลักรวมไปถึงการอ่านโน้ตด้วยโดยใช้วิธีการต่างๆในการฝึกฝนการร้องและการอ่าน เช่นโน้ตซอล-ฟาสัญญาณมือ สัญลักษณ์ของจังหวะเพลงที่ใช้สอนในระยะแรกควรเป็นเพลงพื้นบ้าน เพราะผู้เรียนจะรู้จักดีที่สุดภายหลังจึงน าเพลงชั้นสูงที่มีคุณค่ามาใช้ในการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่า แต่ละแนวคิดมีวิธีการสอนและจุดเด่นแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามทั้งสามแนวคิดนี้มีเป้าหมาย พื้นฐานเดียวกันคือการให้ประสบการณ์ทางดนตรีแก่ผู้เรียนโดยค านึงถึงการพัฒนาแนวคิดและทักษะ ทางดนตรีแก่ผู้เรียนโดยค านึงถึงการพัฒนาแนวคิดและทักษะทางดนตรีอย่างเป็นระบบ (ธวัชชัย นาค วงษ์, 2543)

การสอนตามแนวคิดของดาลโครซ หลักการส าคัญของดาลโครซ คือ ยูริธึมมิกส์

(Eurhythmics) ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนไหวทางจังหวะที่ดี (Good rhythmic movement) จุดเน้น ของวิธีการนี้ คือ การให้ความสนใจและพัฒนาความรู้สึกของผู้เรียนในการตอบสนองต่อดนตรี และ ความสามารถในการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนั้นออกมาในลักษณะของการเคลื่อนไหว ดังนั้น ในการ เรียนการสอนดนตรีจะมุ่งพัฒนาความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก วิธีการนี้ช่วยให้ผู้เรียน ดนตรีมีความเข้าใจในตนเอง โดยมุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนเห็นความส าคัญและพัฒนาความสามารถใน การแสดงออกของตนทางการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องไปเป็นล าดับ ใน ขณะเดียวกันวิธีการนี้มุ่งเน้นพัฒนาการทางความคิดและจิตใจซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว ร่างกาย อารมณ์ และความรู้สึกของผู้เรียน กล่าวอีกนัยคือ วิธีการนี้เป็นการพัฒนาการทางดนตรีในตัว ผู้เรียน ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากผลรวมของประสาทสัมผัสทางกาย ความสามารถทางปัญญา และ ความรู้สึกของผู้เรียนทักษะและความเข้าใจทางดนตรีได้รับการพัฒนาโดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี

ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางดนตรีโดยตลอด (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2561) วิธีของดาลโครซผสมผสาน อย่างเหมาะเจาะระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย การสร้างสรรค์ และการร้องซอลเฟจ ในระยะหลังๆนี้

มีผู้หันกลับมาสนใจ Eurhythmics เพิ่มขึ้นเป็นจ านวนมากและท าให้ Eurhythmics มีความส าคัญขึ้น ในการสอนดนตรีชั้นประถม (ธวัชชัย นาควงษ์, 2543)

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ จึงควรเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นส าคัญโดยใช้กระบวนการทางปัญญาที่พัฒนาบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้

ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุข บูรณาการเนื้อหาสาระตามความเหมาะสม ของระดับการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม สาระการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทันสมัย เน้นกระบวนการคิด และเป็นการปฏิบัติ

จริงได้เรียนรู้ตามสภาพจริง สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างไกลซึ่งเป็นกระบวนการที่มี

ทางเลือกและมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายน่าสนใจ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีผู้เรียน ครู

และมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้และมุ่งประโยชน์ของผู้เรียน เป็นส าคัญ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2553 : 5)และการออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้จะต้องใกล้เคียงกับ สภาพจริงในวิถีชีวิตของผู้เรียน มุ่งสร้างบรรยากาศที่สอดคล้องกับการด ารงชีวิต โดยใช้สื่อที่

หลากหลายและเหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้และความเข้าใจของผู้เรียน ค านึงถึงสมองทุก

(18)

3 ส่วน ผู้เรียนมี ส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริง ทุกขั้นตอนจึงจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้

ตามธรรมชาติและศักยภาพ (วิชัย วงศ์ใหญ่. 2543 : 72)

การจัดการเรียนการสอนดนตรีในสถานศึกษาในปัจจุบัน ก าลังประสบปัญหาต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งทางด้านงบประมาณสนับสนุน เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเรียนการสอน เครื่องดนตรีและสื่อ

ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อและนวัตกรรมส าหรับให้นักเรียนใช้เป็นแนวทางในการเรียนและการ ฝึกปฏิบัติหลังจากการเรียนตามปกติในชั่วโมงเรียน ท าให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องด าเนินการแก้ไข (สัญญา จ าปา, 2559) และในสถานศึกษาบางแหล่งมีเครื่อง ดนตรีไม่ครบ บางแหล่งมีบ้างก็ไม่สมบูรณ์ท าให้การเรียนรายวิชาดนตรีสากล ยังขาดสื่อการสอนที่จะ ท าให้เกิดการเรียนรู้ทั้งเป็นรูปธรรมและนามธรรม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้นักเรียนไม่ให้ความสนใจการ เรียนเท่าที่ควร ไม่เห็นความส าคัญในเนื้อหารายวิชา จากการส ารวจพบว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยหลาย อย่าง เช่น การขาดแคลนสื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนต่ า และไม่สามารถน าความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร (สุรศักดิ์

ปวะภูสะโก, 2552)

จากการส ารวจความต้องการของนักเรียนและครูต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาระดับชั้น ประถมศึกษาพบว่า ความต้องการของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนในด้านหลักสูตรต้องการให้

มีเนื้อหาสาระของวิชาดนตรีมีรายละเอียดเพียงพอและสามารถเข้าใจง่ายด้านกิจกรรมการเรียนการ สอนต้องการให้วิชาดนตรีมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายจากง่ายไปหายากด้าน สภาพแวดล้อมสื่อและอุปกรณ์ต้องการให้ห้องดนตรีมีแสงสว่างเพียงพอด้านการวัดและประเมินผล ต้องการให้มีการสอบโดยใช้ข้อสอบที่เหมาะกับระดับชั้นนักเรียนที่มีอายุและระดับชั้นแตกต่างกันมี

ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน (ณภัทร เฟื่องฟู, 2561) และในฐานะที่ผู้วิจัยได้ท าหน้าที่ครูผู้สอนรายวิชาดนตรี พบปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนรายวิชาดนตรีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาต่ ากว่าเป้าหมายที่ก าหนด โดยเฉพาะเนื้อหา เรื่องการปฏิบัติทักษะดนตรี การระบุระดับเสียง รูปแบบจังหวะและความเร็วของจังหวะการอ่าน เขียนโน้ตดนตรีสากลการร้องเพลงโดยใช้ช่วงเสียงที่เหมาะสมกับตนเอง และยังพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่

ขาดความกระตือรือร้น ขาดความสนใจ จดจ่อในเนื้อหาที่เรียน ในชั่วโมงระหว่างการเรียนรายวิชา ดนตรี จากเหตุข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรี

ตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4ซึ่งมีรูปแบบกิจกรรมที่ช่วยให้เกิด ความรู้ความเข้าใจทักษะดนตรีจากประสาทสัมผัสทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นขั้นตอน ต่อเนื่องเป็นล าดับ ส่งผลต่อพัฒนาการทางดนตรีที่ดีของผู้เรียน และเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจน าไป ศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซส าหรับ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

(19)

4 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาดนตรีระดับประถมศึกษาก่อนเรียนและ หลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4

3. เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม แนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

สมมติฐานของการวิจัย

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซส าหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2. นักเรียนที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซมี

ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซส าหรับนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาดนตรีระดับประถมศึกษาหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรม การเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่า ก่อนเรียน

3. พัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม แนวคิดของดาลโครซ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ขอบเขตของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตของการวิจัย ดังต่อไปนี้

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จ านวน 3 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่

4/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2563 จ านวน 1 ห้องเรียนจ านวน นักเรียน 22 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก

2. ขอบเขตเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการน าเอาแนวคิดของดาลโครซ มาใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ทักษะทางดนตรี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เนื้อหาใน สาระดนตรี กลุ่มการเรียนรู้ศิลปะ มาตรฐาน ศ 2.1 ซึ่งประกอบด้วย

2.1 การระบุทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้น –ลงง่ายๆของท านอง

(20)

5 2.2 รูปแบบจังหวะและความเร็วของจังหวะในเพลงที่ฟัง

2.3การอ่าน เขียนโน้ตดนตรีสากล

2.4การร้องเพลงโดยใช้ช่วงเสียงที่เหมาะสมกับตนเอง

3. ระยะเวลาในการวิจัยภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ระยะเวลา 15 ชั่วโมง

4. สถานที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อ าเภอเมือง จังหวั ด มหาสารคาม

นิยามศัพท์เฉพาะ

กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ หมายถึง การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ทักษะทางดนตรีที่เน้นวิธีการยูริธึมมิกส์ (Eurhythmics)คือการผสมผสานระหว่างการ เคลื่อนไหวร่างกาย การสร้างสรรค์ และการร้องซอลเฟจเป็นหลักในจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทาง ดนตรี ได้แก่ระบุทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้น -ลงง่ายๆของท านอง รูปแบบจังหวะและความเร็วของจังหวะ ในเพลงที่ฟังอ่าน เขียนโน้ตดนตรีไทยและสากล และร้องเพลงโดยใช้ช่วงเสียงที่เหมาะสมกับตนเอง

ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรี

ตามแนวคิดของดาลโครซ ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย สาระส าคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการ เรียนรู้ กิจกรรมการเรียน สื่อการเรียน การวัดประเมินผล และเครื่องมือประเมินผลการเรียนในแต่ละ แผนการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 มีความหมายดังนี้

80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคน ที่ได้จากการท า แบบทดสอบย่อยและแบบประเมินทักษะ

80 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคน ที่ได้จากการท า แบบทดสอบหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนในรายวิชา ดนตรี

ทักษะทางดนตรี หมายถึง ทักษะการอ่าน-เขียนโน้ต ทักษะการร้องเพลง การเคลื่อนไหว ร่างกายตามการขึ้น – ลงของท านองการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะ

(21)

6 กรอบแนวคิดของการวิจัย

ภาพประกอบ 1 กรอบแนวคิดงานวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตาม แนวคิดของดาลโครซส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กิจกรรมการเรียนรู้

ทักษะทางดนตรีตาม แนวคิดของดาลโครซ

การใช้กิจกรรมยูรึธึมมิกส์ กระตุ้นการตื่นตัวของ ประสาทสัมผัส และโสต

การบูรณาการกิจกรรมยูรึธึมมิกส์ โดยฝึกการ สร้างสรรค์ทางดนตรีเพื่อพัฒนาการแสดงออกทาง

ดนตรีด้วยความเข้าใจ

ประสบการณ์ดนตรีที่เด็กได้รับควรแสดงออกผ่าน การออกเสียง ท่าทาง และการเคลื่อนไหว การเรียนรู้ดนตรีและแสดงออกทางดนตรีผ่าน

ประสาทสัมผัส โสต ประสาท

ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้

ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของ ดาลโครซ

ผลสัมฤทธิ์รายวิชาดนตรีที่เรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะ ทางดนตรีตามแนวคิดของดาล

(22)

7

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซส าหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่

เกี่ยวข้องตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ. ศ. 2551 2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะดนตรี

3. วิธีการฝึกทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรี การจัดการเรียนรู้

4. การวัดผลการเรียนวิชาดนตรี

5. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ 6. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนดนตรีสากล

7. แผนการจัดการเรียนรู้

8. บริบทพื้นที่วิจัย 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 1.หลักการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะ ส าคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่ก าหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความส าคัญที่สุด แต่ว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึด ประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้น ให้ความส าคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม

2.กระบวนการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่

หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะน าพาตัวเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จ าเป็น ส าหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือท าจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย

(23)

8 3.การออกแบบการจัดการเรียนรู้

ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ชี้วัดสมรรถนะส าคัญ ของผู้เรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอน และเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ และบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ก าหนด

4กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

กระบวนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้

ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมี

คุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการน าไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น ในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ ซึ่งสาระที่ 2 ดนตรี มุ่งเน้นให้มีความรู้

ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่า ดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวัน เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าดนตรี ที่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ร้องเพลง และเล่นดนตรี ในรูปแบบต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

5. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สาระที่ 2 ดนตรี

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ศ 2.1เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์

คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุ กต์ใช้ ใน ชีวิตประจ าวัน

มาตรฐาน ศ 2.2เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า ของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

6. คุณภาพผู้เรียน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

รู้และเข้าใจแหล่งก าเนิดเสียง คุณสมบัติของเสียง บทบาทหน้าที่ ความหมาย ความส าคัญ ของบทเพลงใกล้ตัวที่ได้ยิน สามารถท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ เคลื่อนไหวร่างกาย ให้

สอดคล้องกับบทเพลง อ่าน เขียน และใช้สัญลักษณ์แทนเสียงและเคาะจังหวะ แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับดนตรี เสียงขับร้องของตนเอง มีส่วนร่วมกับกิจกรรมดนตรีในชีวิตประจ าวัน

รู้และเข้าใจเอกลักษณ์ ของดนตรีในท้องถิ่น มีความชื่นชอบ เห็นความส าคัญ และประโยชน์ของดนตรีต่อการด าเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

รู้และเข้าใจเกี่ยวกับเสียงดนตรี เสียงร้อง เครื่องดนตรี และบทบาทหน้าที่รู้ถึงการเคลื่อนที่ขึ้น ลง ของท านองเพลง องค์ประกอบของดนตรี ศัพท์สังคีตในบทเพลง ประโยคและอารมณ์ของบทเพลง ที่ฟัง ร้องและบรรเลงเครื่องดนตรี ด้นสดอย่างง่าย ใช้และเก็บรักษาเครื่องดนตรีอย่างถูกวิธี อ่าน

Referensi

Dokumen terkait

________ AFRICAN MUSIC JOURNAL OF THE INTERNATIONAL LIBRARY OF AFRICAN MUSIC VOLUME 9 2011 NUMBER 1 International Library of African Music ILAM, Rhodes University, South Africa

SciVal Topic Prominence Topic: Prominence percentile: 93.494 Indexed keywords Engineering controlled terms: Aquaculture Engineering uncontrolled terms Food sources Initial