• Tidak ada hasil yang ditemukan

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1"

Copied!
8
0
0

Teks penuh

(1)

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.

ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Development of English Reading Skills Using TAI Technique with Vocabulary Games for Mathayomsuksa 1 Students

ปิยธิดา ทองด้วง1, กฤษณี สงสวัสด2ิ์ , มัทนียา พงศ์สุวรรณ3 PiyatidaThongdoung1,Kritsanee Songsawat2,Mattaniya Phongsuwan3

1 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

Email : sompiyatidabelieve@gmail.com

2 อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏุสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Email : graduate@sru.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของ นักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ 3) ศึกษาความพึง พอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ การวิจัยนี้เป็นการ วิจัยกึ่งทดลอง มีรูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองสูบ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 12 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำ ศัพท์ จำนวน 5 แผน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความยากง่าย เท่ากับ 0.53 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.20 – 0.47 แบบประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง จุดประสงค์และเนื้อหา เท่ากับ 0.80 – 1.00 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.

เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์และเนื้อหา เท่ากับ 0.80 –1.00 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย เพม่ิขน้ึ 12.00 คะแนน หรอืคะแนนเฉลย่ีเพ่ิมข้ึนรอ้ยละ 40 2) ผลการเปรยีบเทยีบทกัษะการอา่นภาษาองักฤษของนักเรียนท่ี

เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ หลังเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. เกมฝึกคำศัพท์ ความพึงพอใจ

(2)

Abstract

The objectives of this study were: 1) to compare the students’ achievement of English reading skills before and after learning 2) to compare English Reading Skills Using TAI Technique with Vocabulary Games before and after learning 3) to study students’ satisfaction after learning through English reading skills using TAI technique and vocabulary games. The sample were 12 Mathayomsuksa 1 students, who were studying in semester 2 of academic year 2022. The research instruments involved a learning management plan a pre- and post- learning achievement test an analytical English reading skills test and a satisfaction test data were analyzed by median of percentage and standard deviation. The research findings were as follows :

1. The evaluation results of the learning management plan by using TAI Technique with Vocabulary Games, at a very appropriate level.

2. The post-learning achievement of the sample showed the average progression was increased by 12.00 (40.00%) and the post-test score was higher than the pre-test score.

3. The analysis of the satisfaction of the sample towards the use of the TAI Technique with Vocabulary Games the satisfaction was at “very good” level.

Keyword: Team Assisted Individualization (TAI) technique, Vocabulary Games, Satisfaction

ความสำคัญของปัญหา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลของโลกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ด้านธุรกิจ การศึกษา การทูต เทคโนโลยี และองค์การระหว่างประเทศ (Graddol. 2006 : 87 อ้างถึงใน Phaiboonnugulkij, M.

2014 : 141) การที่นักเรียนจะเรียนภาษาอังกฤษได้ดีนั้น ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งทักษะด้านการอ่านถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การรับรู้ข่าวสารและ การเรียนรู้ในทุกกลุ่มวิชาการมีทักษะด้านการอ่านที่ดีจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนวิชาต่าง ๆ ได้ดี (นาติยา ทิพย์ไสยาสน์, 2561) ดังนั้นครูผู้สอนภาษาอังกฤษจึงต้องมีการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถนำเอาความรู้

ประสบการณ์ และทักษะต่าง ๆ ที่ได้รับการสอน ฝึกฝนและถ่ายทอดไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้ด้วยตนเอง (กมลวรรณ โคตรทอง, 2557 : 2)

จากการรายงานผลคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559 – 2561ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ) ในส่วนของวิชาภาษาอังกฤษพบว่า ผลคะแนน O-NET ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองสูบ ระดับประเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง (ตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบระดับชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) คะแนน เฉลี่ย (ร้อยละ) วิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 ระดับประเทศอยู่ที่ร้อยละ 31.80 ระดับเขตพื้นที่

การศึกษาอยู่ในระดับร้อยละ 31.39 และระดับโรงเรียนอยู่ในระดับร้อยละ 32.33 ในปีการศึกษา 2560 คะแนนเฉลี่ยวิชา ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับประเทศอยู่ที่ร้อยละ 30.45 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในระดับร้อยละ 30.14 และ ระดับโรงเรียนอยู่ในระดับร้อยละ 27.50 ในปีการศึกษา 2561 คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับประเทศอยู่ที่ร้อยละ 29.45 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในระดับร้อยละ 27.74 และระดับโรงเรียนอยู่ในระดับร้อยละ 27.50 แสดงให้เห็นว่าผลคะแนน O-NET วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งในระดับประเทศ ระดับเขตพื้นที่

การศึกษา และระดับโรงเรียนนั้นมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควรปรับปรุง มาตรฐานการเรียนรู้ที่

(3)

โรงเรียนควรเร่งพัฒนาเนื่องจากคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศได้แก่ มาตรฐาน ต 1.3 ซึ่งเป็น เรื่องเกี่ยวกับการอ่านนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ

การจัดการเรียนการสอนในลักษณะการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. (Team Assisted Individualization) โดยมีนักการศึกษาหลายท่านได้ กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ดังนี้ (วัฒนาพร ระงับ ทุกข์, 2545 : 182) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ว่าเป็นกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มเหมาะ สำหรับการสอน เทคนิคนี้ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้และทำงานตามระดับความสามารถของตน เมื่อทำงานในส่วนของตนเสร็จ แล้วจึงไปจับคู่หรือเข้ากลุ่มทำงาน สอดคล้องกับ (สิริพร ทิพย์คง, 2545 : 170) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ว่าเป็นการจัดกิจกรรมที่ใช้กับการเรียนการสอน โดยเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเน้นการพัฒนาทักษะให้กับนักเรียน ครู

จะใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ ให้กับนักเรียนเข้าใจเรื่องที่เรียน โดยอาจทำการสอนร่วมกันทั้งชั้นแล้วทำ การทดสอบว่านักเรียนคนใดเข้าใจหรือไม่เข้าใจ แล้วครูจึงจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคที.เอ.ไอ. จะมีการจัดกลุ่มนักเรียนเป็น 2 ลักษณะ คือ จัดนักเรียนเป็นกลุ่มที่คละความสามารถ กลุ่มละ 4 คน และจัด นักเรียนเป็นกลุ่มที่มีระดับความสามารถใกล้เคียงกัน สำหรับการทำงานกลุ่ม นักเรียนในแต่ละกลุ่มจับคู่กันทำงาน และผลัดกัน ตรวจงานในคู่ของตนเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น แบบฝึกหัดครบหมดทุกชุดแล้ว ให้สมาชิกในกลุ่มทั้ง 4 คนต่างคนต่าง ทำแบบฝึกหัดชุดรวม แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจโดยดูเฉลยที่ครูเตรียมไว้หากนักเรียนคนใดทำได้ไม่ถึงเกณฑ์ เช่น กำหนดเกณฑ์

75% ก็ต้องทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนที่สอบถึงเกณฑ์หลังจากได้รับการทดสอบจากครูแล้ว ครูจัดให้นักเรียนที่มี

ความสามารถใกล้เคียงกันมาจัดกลุ่มอยู่ด้วยกัน ครูอธิบายในเรื่องที่ได้สอนไปแล้ว ใช้เวลาประมาณ 5–10 นาที แล้วให้นักเรียน กลับเข้ากลุ่มของตน แล้วไปอธิบายชี้แจงให้เพื่อนในกลุ่มเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง

Slavin (1990 : 22) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. หมายถึง วิธีสอนที่ผสมผสานระหว่างการ เรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) กับการเรียนเป็นรายบุคคล (Individualization Instruction) เข้าด้วยกันเป็น วิธีการเรียนการสอนที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้ผู้เรียนลงมือกระทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตาม ความสามารถจากแบบฝึกหัดและส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และการ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกัน มาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยปกติจะมี 4 คน นักเรียน เก่ง 1 คน นักเรียนปานกลาง 2 คน และนักเรียนอ่อน 1 คน ผลการทดสอบของนักเรียนถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ เป็นคะแนนเฉลี่ยทั้งกลุ่มและเป็นคะแนนรายบุคคล การทดสอบนักเรียนต่างคนต่างทำแต่เวลาเรียนต้องร่วมมือกัน

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค ที.เอ.ไอ. เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สนองความแตกต่าง ระหว่างบุคคล โดยนักเรียนลงมือกระทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามความสามารถ มีการส่งเสริมความร่วมมือกันภายใน กลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและ (กิดานันท์ มลิทอง, 2540 : 14 ) ได้กล่าวว่า เกมซึ่งเป็นหนึ่งในการเรียนการสอน โดยเกมจะช่วยทำให้ผู้เรียนสนุกสนานกับบทเรียน ไม่น่าเบื่อ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกความ กล้าในการใช้ภาษา ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจเมื่อนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน และช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการ เรียนภาษาอังกฤษด้วย ส่วนประกอบของเกมได้แก่ ชื่อเกม จุดมุ่งหมาย การแบ่งกลุ่ม อุปกรณ์ และข้อเสนอแนะในการเล่นเกม ผู้สอน ผู้เล่นควรดัดแปลงแต่ละเกมให้เหมาะสมกับสภาพ ห้องเรียน ระดับความรู้ และความสามารถของผู้เรียนด้วย

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยมีความสนใจนำการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์มาเป็นแนวทางพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยจะทำการวิจัยเรื่อง การ พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.

ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียน

(4)

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับ เกมฝึกคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียน

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์

สมมติฐานในการวิจัย

1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

2. ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์

หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับ เกมฝึกคำศัพท์ หลังเรียนอยู่ในระดับมากขึ้นไป

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร

ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองสูบ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 12 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ เรื่องWhat do you want to be?

จำนวน 5 แผน รวม 10 ชั่วโมง ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าความสอดคล้องโดยรวมเฉลี่ย 4.05 คือ มีคุณภาพและ ความเหมาะสมระดับมาก

2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง What do you want to be? เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ซึ่งใช้ในการ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบทดสอบชุดเดิม มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.53 - 0.77 และมีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.47 จำนวน 30 ข้อ

3. แบบประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 – 1.00

4. แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.

ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ เรื่อง What do you want to be? แบบสอบถามความพึงพอใจมีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80 – 1.00

สรุปผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.

ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 12.00 คะแนน หรือ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40

2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.

ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

(5)

3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ หลังเรียนโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก

อภิปรายผลการวิจัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัย พบประเด็นที่สามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้

1.ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึก คำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองสูบ พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมาก นั่น หมายความว่า รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึก คำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพจากการประเมินและเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจาก แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานและมีตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายของหน่วยการจัดการเรียนรู้ที่คลอบคลุม สอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม จะเห็นว่าผู้เรียนได้เกิดกระบวนการการเรียนรู้ทั้งการเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อน และการ เรียนรู้ด้วยตนเองที่มากขึ้น จึงสามารถทำคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หลังการจัดการเรียนรู้ได้คะแนนที่สูง และ ตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เทคนิค ที.เอ.ไอ.

ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์อย่างเป็นระบบ ทั้งการศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ รวมทั้งศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

และรูปแบบเทคนิควิธีการสอนโดยใช้เทคนิคที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ อย่างละเอียดและเข้าใจ จากนั้นได้นำไปสร้างเป็น กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ แล้วนำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ นำ ข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งเพื่อให้ได้คุณภาพเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Leaning) และการสอนรายบุคคล (Individualization Instruction) เข้าด้วยกันเป็นวิธีการเรียนการสอนที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยให้ผู้เรียนลงมือ ทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามความสามารถจากแบบฝึกทักษะ และส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การเรียนรู้ และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. นี้กำหนด ให้นักเรียนที่มี

ความสามารถแตกต่างกันมาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยปกติจะมี 4 คน เป็นนักเรียนเก่ง 1 คน เรียนปานกลาง 2 คน เรียนอ่อน 1 คน ผลการทดสอบของนักเรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ เป็นคะแนนค่าเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม และเป็นคะแนน สอบรายบุคคล การทดสอบของนักเรียนต่างคนต่างทำ แต่เวลาเรียนต้องร่วมมือกัน ดังนั้นนักเรียนที่เรียนเก่ง จึงพยายามช่วย นักเรียนที่เรียนอ่อนเพราะจะทำให้คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มดีขึ้น และนักเรียนที่เรียนอ่อนก็จะพยายามช่วยตนเอง

(Slavin. 1990 : 83) และข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค ที.เอ.ไอ. คือ ช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจ ซึ่งเกิด จากการช่วยเหลือกันของกลุ่มเพื่อนช่วยแก้ปัญหาในการเรียนการสอนของบุคคล และช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึก คำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองสูบ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.17 และคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.17 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อน และหลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนและเมื่อพิจารณาค่าร้อยละความก้าวหน้าพบว่ามี

ความก้าวหน้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 12.00 คะแนนและมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.00 นักเรียนมีคะแนนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน

เนื่องจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ ที่มี

ประสิทธิภาพและได้เรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำ ศัพท์ ช่วยให้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นเนื่องจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. เป็นรูปแบบการสอนที่

(6)

ผสมผสานแนวคิดระหว่างการร่วมมือกับการเรียนรู้กับการสอนรายบุคคล รูปแบบของ ที.เอ.ไอ. จะเป็นการประยุกต์ใช้กับการ สอนภาษาอังกฤษสำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สมาชิกกลุ่มมี 4 คน วิธี่สอนจะแตกต่างกัน เด็กกลับไปกลุ่มของตนและ ต่างคนต่างทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทุกคนต่างทำข้อสอบโดยไม่มีการช่วยเหลือกันมีการให้รางวัล กลุ่มที่ทำคะแนนได้ดีกว่าเดิม

ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ เทคนิค ที.เอ.ไอ. เป็นการ จัดการเรียนการสอนที่สามารถช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความช่วยเหลือกันในกลุ่มของนักเรียน ช่วยส่งเสริมความสามารถ และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ช่วยให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม แบ่งเบาภาระครูได้บางส่วน ครูจะ ได้มีเวลาให้นักเรียนได้มากขึ้นและทั่วถึง ช่วยปลูกฝังนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม และมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้

ตนเองมากขึ้นกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นต้องการที่จะหาคําตอบ ประกอบกับนักเรียนได้ใช้ความรู้ ทักษะ และกระบวนการในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม

3. การเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่เรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับ เกมฝึกคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏว่ามีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น ผลการวิเคราะห์ (¯x= 23.37, S.D.= 1.67) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การศึกษาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า การเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สอดคล้องกับงานวิจัยของจิรนาถ อุ่นเพ็ญ. (2558) ศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบเกมฝึกคำศัพท์ กลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.47/76.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบเกมฝึก คำศัพท์มีค่าเท่ากับ 0.5814 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบเกมฝึกคำศัพท์ ก่อนเรียนกับหลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบเกมฝึก คำศัพท์โดยรวมอยู่ระดับมาก ( X = 4.26, S.D.=0.65)

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึก คำศัพท์โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม สมาชิกทุกคนใน กลุ่มต่างให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้กลุ่มของตนเองประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ร่วมกัน นักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียน

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ.

ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์และทักษะการอ่านของนักเรียนสูงขึ้นได้นั้น ผู้วิจัยจึงมี

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ดังนี้

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. ครูควรศึกษารายละเอียดของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคที.เอ.ไอ.ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้เข้าใจและจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้ครบตามที่ระบุไว้ หรืออาจมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับ กิจกรรม เพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนดำเนินไปอย่างมีลำดับขั้นตอน และบรรลุวัตถุประสงค์

2. ครูควรพิจารณาการใช้ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความยาก-ง่ายของเนื้อหา ในกรณีที่เนื้อหามี

ความยากและซับซ้อนก็ควรเพิ่มระยะเวลาในการเรียนรู้ให้มากขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการการเรียนรู้อย่างแท้จริง

(7)

3. ครูควรให้กำลังใจ ยกย่องชมเชยแก่นักเรียนในโอกาสต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นใน การเรียน

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรทำการวิจัยในลักษณะเดียวกันกับนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ โดยปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับ เนื้อหาระดับชันและวัยของนักเรียนกับนวัตกรรมอื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวางขึ้น

2. ควรทำการศึกษาวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. ร่วมกับเกมฝึกคำศัพท์ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เปรียบเทียบกับการเรียนการสอนด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อเป็นการสร้างและพัฒนานวัต กรรมด้านการเรียนการ สอนที่หลากหลายสามารถนำไปแก้ปัญหาให้กับนักเรียน ทำให้การศึกษาของเด็กไทยเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยิ่งขึ้นไป

3. ควรทำการศึกษาทักษะความร่วมมือทางสังคม หรือทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภายใต้

ศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ฝังลึกและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาสังคมและชุมชนต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทาน อาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญ ไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา หลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรนาถ อุ่นเพ็ญ. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ

ร่วมมือเทคนิคTAI ประกอบเกมฝึกคำศัพท์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2555). องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ทฤษฎีมีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ สุวรรณศรี. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการเน้น เนื้อหาวิชาชั้นมัธยมศึกษาปีที่1.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและ การสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นาติยา ทิพย์ไสยาสน์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์/กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543).การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เรวดี หิรัญ. (2539). สอนอย่างไรเด็กจึงจะอ่านภาษาอังกฤษเข้าใจ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

(8)

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.

วารสารวิชาการ. กรุงเทพฯ : แอล ที เพรส.

ศันสนะ มูลทาดี. (2559). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ประยุกต์การสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Phaiboonnugulkij, M. (2014). The Use of Retelling Stories Technique in Developing English Speaking Ability of Grade 9 Students. Advances in Language and

Literary Studies, 5(5), 141-154.

Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning : Theory, Research and Practices. New Jersey : Prentice Hall.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. 2nd ed.

Massachsetts : A Simom & Schuster.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, Research and Practice. (2nd ed.) Boston : Allyn & Bacon

Referensi

Dokumen terkait

The study design for this study was Classroom Action Research (CAR). This research uses several tools. In short, field notes improve students' reading comprehension. Before doing

“Contextual teaching learning motivates me to improve my reading skills and it seems that students who don't take English lessons using the CTL method don't get the same knowledge