• Tidak ada hasil yang ditemukan

View of การเรียนรู้และสร้างความรู้ของชุมชนและครอบครัวเด็กพิการ

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "View of การเรียนรู้และสร้างความรู้ของชุมชนและครอบครัวเด็กพิการ"

Copied!
13
0
0

Teks penuh

(1)

การเรียนรู้และสร้างความรู้ของชุมชนและครอบครัวเด็กพิการ

1

LEARNING AND CREATING OF KNOWLEDGE OF COMMUNITY AND

FAMILY OF DISABLED CHILDREN

พิศมัย รัตนโรจน์สกุล2 Pissamai Ratanarojsakul2

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทคัดย่อ

งานวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการเรียนรู้และการสร้างความรู้ของครอบครัวเด็กพิการและการเรียนรู้ของ

ชุมชนเพื่อดูแลครอบครัวเด็กพิการให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเท่าเทียม การศึกษาวิจัยใช้การวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลการวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในพื ้นที่ของชุมชนและ

เครือข่ายคนพิการจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลของการศึกษาแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ 1) การเรียนรู้และการสร้างความรู้ของครอบครัวเด็กพิการ โดยมี

กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตตั้งแต่เหตุแห่งความพิการที่เกิดขึ้นในครอบครัว การหาหนทางแก้ปัญหาของ ครอบครัว การเรียนรู้เมื่อเข้าสู่เครือข่ายการช่วยเหลือเด็กพิการ และน าไปสู่การสร้างความรู้จากประสบการณ์ของครอบครัว เด็กพิการ ได้แก่ ความรู้ในการดูแล รักษา บ าบัด และฟื้นฟูเด็กพิการ ความรู้ในการสร้าง เลือกสรร และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ส าหรับเด็กพิการ และการสร้างพื ้นที่ทางสังคมให้กับเด็กพิการ และ 2) การเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างเครือข่ายและ สวัสดิการทางสังคมเพื่อดูแลครอบครัวเด็กพิการให้อยู่ในชุมชนได้อย่างเท่าเทียม จากการใช้แนวคิดของการฟื้นฟูชีวิตของคน พิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยมีการสร้างภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือครอบครัวเด็กพิการของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการ สร้างความตระหนักต่อการด ารงอยู่ของครอบครัวเด็กพิการในชุมชน การสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือ เด็กพิการในชุมชน และการรวมกลุ่มครอบครัวเด็กพิการเพื่อแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ค าส าคัญ : การเรียนรู้ของชุมชน, การเรียนรู้ของครอบครัวเด็กพิการ ABSTRACT

The main purpose of this research was to investigate the learning process and knowledge creation in the family of disabled child and community, in order to make equal living of the families when comparing with normal society. The study employed the qualitative research. In-depth interview and participation observation were used to collect information in the community and network area of disabled people in Nakhon Si Thammarat province.

1 โครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์ประจ าภาควิชาพื ้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

(2)

There were two parts of the result which included 1) The learning and knowledge creation of disabled families by the real-life experience, starting from the cause of disability in families line, problem-solving process of the families, the learning process when getting into the network of disabilities, and knowledge creation from experience of disabled families. The pre-specified knowledge included caretaking, treatment, medication, and recovering of disabled children, and knowledge in creation, selection, and usage of various tools for disabled children and building up society space for them. 2) The learning of community in growing society networks and welfare for taking care of disabled children and giving them social equality were emphasized. From the idea of community-based rehabilitation of disabled people, the support network were established in Nakhon Si Thammarat, the life of these families were acknowledged, disabled children in the community were given the support by the cooperation of the order, and knowledge sharing and the integration occurred among the families disabled children.

Key words: learning of community , learning of family of disabled child บทน า

รายงานข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจ าตัวคน พิการ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ของกรมส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (2558. ออนไลน์) พบว่า ประเทศไทยมีคนพิการจ านวน 1.62 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 2.47 ของประชากรไทยที่มีอยู่ราว 65.5 ล้านคน ซึ่งหากพิจารณาจากสัดส่วนของประชากรทั้งหมดแล้ว คนพิการจึงถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยของสังคม กลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกละเลยจากประโยชน์ใดๆ ที่พึงจะ ได้รับจากสังคมเช่นคนปกติทั่วไป นอกจากนี ้ความพิการ ยังปรากฏอยู่ในหลายลักษณะ เช่น ความพิการทาง ร่างกาย ความพิการในการสื่อความ ความพิการทาง สายตา ความพิการทางการเคลื่อนไหว ฯลฯ อีกทั้งคน พิการยังกระจายอยู่ในพื ้นที่ต่างๆ ของประเทศมิได้อยู่กัน อย่างกระจุกตัวจนกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ของพื ้นที่ใด พื ้นที่หนึ่ง ยิ่งท าให้เกิดข้อค าถามเกี่ยวกับการให้บริการ ทางสังคมต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะ เข้าไปดูแลทั้งในด้านความเป็นอยู่ในวิถีชีวิตด้านการ จัดระบบบริการสาธารณะทางสังคมและการศึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อมและสิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ ในลักษณะ ของอารยะสถาปัตย์ (Universal Design) เพื่อให้คน

พิการด ารงชีวิตได้สะดวกไม่แตกต่างไปจากคนปกติและ สามารถอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้อย่างปกติสุข

ระบบความรู้สมัยใหม่ก็มีส่วนส าคัญที่ท าให้

ความพิการและคนพิการถูกท าให้กลายเป็นผู้ไม่ปกติ

เป็นผู้ป่วย หรือผู้ผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจไม่มี

ความสามารถในการเรียนรู้ เป็นผู้ที่ไม่มีพัฒนาการตาม วัย เป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือสงเคราะห์ หรือ เป็นผู้ไม่สามารถเป็นก าลังแรงงานให้กับสังคมได้ระบบ ความรู้ที่มีอยู่มากมายนั้นไม่เพียงแต่ตอกย ้าความด้อย คุณค่า ความไม่ปกติ และการเป็นผู้ไม่มีความสามารถ ของคนพิการ แต่ยังมีส่วนในการสร้างสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ ระบบสังคม และระบบวัฒนธรรม ที่สร้าง ความชอบธรรมให้กับการแยกคนพิการออกไปเป็นกลุ่ม บุคคลที่ไม่อาจได้รับสิทธิและโอกาสต่างๆ ได้เหมือนคน ปกติทั่วไป (นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. 2552: 2)

แม้ในปัจจุบันจะมีการก าหนดสิทธิขั้นพื ้นฐาน ให้กับคนพิการ ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศแล้วก็

ตาม รวมถึงการมีงานวิจัยทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคน พิการและครอบครัวคนพิการเกิดขึ้นมามากมาย แต่

งานวิจัยส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ของความรู้

กระแสหลัก (Grand narrative) ที่ก าหนดชุดความรู้ที่เป็น สากลและค่อนข้างตายตัว ต่อการเลี ้ยงดูฟื้นฟูร่างกาย

(3)

และสร้างพัฒนาการให้กับเด็กพิการ โดยเน้นให้คนพิการ ต้องปรับตัวอยู่ร่วมกับคนส่วนใหญ่ในสังคมที่เรียกว่า

“คนปกติ” ให้ได้ โดยยังคงยึดถือว่าโลกใบนี ้มีเครื่องไม้

เครื่องมือ และสิ่งอ านวยความสะดวกในที่สาธารณะ รวมถึงองค์ความรู้ชุดต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนฐานคิดของ คนปกติ สังคมและแวดวงวิชาการจึงไม่เคยมีพื ้นที่ให้กับ ความรู้เล็กๆ ที่ถูกสร้างจากประสบการณ์ชีวิตของ ครอบครัวที่เลี ้ยงดูเด็กพิการ ซึ่งผู้ดูแลเด็กพิการที่จะต้อง ใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตเพื่อการเรียนรู้และการสร้างความรู้

เพื่อเลี ้ยงดูเด็กพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี ้ยงดูเด็ก สมองพิการซึ่งมีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ความรู้ที่

ถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์ชีวิต จากการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และการพัฒนาความรู้ร่วมกันคนอื่นๆ ได้กลายเป็น ชุดความรู้เล็กๆ ที่หลากหลาย และมีคุณค่ายิ่งในสังคมที่

จะผลิตซ ้าและน าสู่การเผยแพร่เพื่อให้ครอบครัวเด็กพิการ อื่นๆ ได้รับรู้และน าไปปรับใช้ให้เหมาะสม

งานวิจัยนี ้จึงให้ความสนใจต่อการศึกษา กระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ของครอบครัวเด็ก พิการ ที่ท าให้ครอบครัวสามารถเลี ้ยงดูเด็กพิการได้อย่าง มีความสุข และกลายเป็นความรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับ ความพิการ กับครอบครัวและบริบทของสังคมที่ตน อาศัยอยู่ นอกจากนี ้งานวิจัยยังให้ความสนใจต่อ การศึกษาการปรับตัวและการเรียนรู้ของชุมชนที่

ครอบครัวคนพิการอาศัยอยู่ โดยใช้แนวคิดการฟื้นฟูชีวิต ของคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Rehabilitation) ซึ่งปรากฏขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่

มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมและสวัสดิการทางสังคม เพื่อการช่วยเหลือและดูแลครอบครัวคนพิการให้อยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข จนสามารถเป็นตัวอย่างให้กับ ชุมชนอื่นๆ ที่จะปรับตัวเพื่อรองรับการมีครอบครัวคน พิการเป็นสมาชิกของสังคมได้อย่างเสมอภาคและเท่า เทียมกันคนอื่นๆ ในสังคม

2. วัตถุประสงค์การวิจัย

งานวิจัยนี ้ได้ก าหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้และการสร้าง

ความรู้ของครอบครัวเด็กพิการ และ 2) ศึกษาการเรียนรู้

ของชุมชนในการสร้างเครือข่ายชุมชน และสวัสดิการทาง สังคมเพื่อดูแลครอบครัวเด็กพิการให้สามารถอยู่ในสังคม ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเท่าเทียม

3. วิธีการด าเนินการวิจัย

การวิจัยนี ้ใช้วิธีวิทยาในการศึกษาวิจัยเชิง คุณภาพแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเพื่อสร้าง ทฤษฎีฐานราก (Grounded theory approach) เพื่อ ศึกษาการเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างเครือข่ายและ สวัสดิการส าหรับครอบครัวเด็กพิการ และใช้การศึกษา อัตชีวประวัติ (Autobiography approach) เพื่อศึกษา กระบวนการเรียนรู้และสร้างความรู้ของครอบครัวที่เลี ้ยงดู

เด็กพิการได้อย่างเหมาะสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การสร้างทฤษฎีจากฐานรากนั้นใช้เพื่อท าความเข้าใจต่อ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน และน ามาสร้างเป็น ข้อสรุปเชิงทฤษฎีในเรื่องของกระบวนการเรียนรู้ของ ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคนพิการและครอบครัวให้

อยู่ร่วมในชุมชนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ทั้งนี ้ได้

อาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาท าการ วางแผนเพื่อการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และน าไปสู่การ สร้างมโนทัศน์ (Concepts) โดยผ่านการตีความของ ผู้วิจัย ซึ่งประกอบไปด้วยความหมาย (Definition) และ มิติ (Dimension) ของมโนทัศน์ และท าการจัดกลุ่มมโน ทัศน์ (Categorize) เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ที่ได้ น าไปสร้างเป็นข้อเสนอ(Proposition) และข้อสรุป เชิงทฤษฎี (Theoretical generalization) เป็นการสร้าง ทฤษฎีฐานรากอันเกิดจากปรากฏการณ์จริงของชุมชน (Strauss and Corbin, 1990. ชาย โพธิสิตา, 2547. และ นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ, 2550.) ส าหรับ การศึกษาอัตชีวประวัตินั้นเหมาะกับการศึกษาเรื่องราวที่

ลึกซึ้งของเรื่องเล่าเล็กๆ (Mini narrative) ของครอบครัว ของเด็กพิการ ที่พ่อแม่แต่ละรายต้องสร้างความรู้และ กระบวนการเรียนรู้เพื่อเลี ้ยงดูเด็กพิการด้วยชุดความรู้ที่

ถูกสร้างขึ้นเองจากการลงมือปฏิบัติจนกลายเป็น ประสบการณ์ชีวิต การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครอบครัว

(4)

อื่นๆ จากองค์กรหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนที่เข้ามา ช่วยเหลือ จนกระทั่งเกิดพัฒนาการต่อการสร้างชุด ความรู้เพื่อเลี ้ยงดูเด็กพิการได้อย่างเหมาะสมกับความ พิการ ความต้องการของเด็ก สภาพครอบครัว และ สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่อาศัยอยู่เพื่อการ ด ารงชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างเป็นสุข

การศึกษาวิจัยนี ้ เลือกพื ้นที่การวิจัยเป็นชุมชน แ ล ะ เ ค รื อ ข่ า ย ค ร อ บ ค รั ว เ ด็ ก พิ ก า ร ใ น จัง ห วัด นครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จ านวน 40 ราย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กพิการและ เครือข่ายช่วยเหลือผู้พิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย ครอบครัวของเด็กพิการ ผู้น าชุมชน เพื่อน บ้านในชุมชน ผู้แทนขององค์การ/สถาบันทางสังคมที่

เกี่ยวข้องกับผู้พิการ ได้แก่ โรงเรียนที่มีเด็กพิการเข้าเรียนรู้

ร่วมกับเด็กอื่นๆ โรงพยาบาลที่ช่วยในการบ าบัด รักษา ฟื้นฟู และให้ความช่วยเหลือกับครอบครัวคนพิการ ผู้แทนขององค์การบริหารส่วนต าบลที่มีนโยบาย ช่วยเหลือครอบครัวคนพิการ กลุ่มที่เกิดจากการรวมตัว กันของครอบครัวคนพิการ ผู้แทนของมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ซึ่งการเก็บข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยใช้

แนวค าถามกึ่งโครงสร้าง(Semi-structure Questionnaires) ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับฐานชีวิตและฐาน ชุมชนของผู้ให้ข้อมูลในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม

กรอบแนวคิดการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การเรียนรู้และการสร้างความรู้ของครอบครัว เด็กพิการ ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปถึงการให้

ความหมายต่อความพิการ ความรู้ของคนในครอบครัวที่

เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้น การดูแล บ าบัด รักษา ฟื้นฟูเด็ก พิการ และการหาหนทางออกของปัญหาความพิการที่

ด ารงอยู่ในครอบครัว และ 2) กระบวนการเรียนรู้ของ ชุมชนที่น าไปสู่การสร้างเครือข่ายชุมชนและสวัสดิการ ทางสังคมเพื่อดูแลครอบครัวเด็กพิการ โดยใช้กรอบ แนวคิดของการฟื้นฟูชีวิตของคนพิการโดยใช้ชุมชน เป็นฐาน (CBR) ซึ่งเป็นแนวคิดขององค์การอนามัยโลก

ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักรู้ต่อการด ารงอยู่

ของคนพิการ การสร้างเครือข่ายการช่วยเหลือคนพิการ ในชุมชน เพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในชุมชนได้อย่างเป็นสุข และเท่าเทียม

4. ผลการศึกษาวิจัย

การศึกษานี ้ได้น าเสนอผลการวิจัยเป็นสองส่วน ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ 1) การเรียนรู้และการ สร้างความรู้ของครอบครัวเด็กพิการ และ 2) การเรียนรู้

ของชุมชนในการสร้างเครือข่ายชุมชนและสวัสดิการทาง สังคมเพื่อดูแลครอบครัวเด็กพิการให้สามารถอยู่ในสังคม ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเท่าเทียม ดังนี ้

4.1 การเรียนรู้และการสร้างความรู้ของ ครอบครัวเด็กพิการ

ส าหรับครอบครัวหนึ่งๆ เมื่อมีเด็กเกิดขึ้น ในครอบครัวย่อมเป็นความยินดีของพ่อแม่และคนรอบ ข้าง และด้วยองค์ความรู้ในการเลี ้ยงดูเด็กในครอบครัว เป็นความรู้ส าหรับการเลี ้ยงดู “เด็กปกติ” จึงท าให้พ่อแม่

สามารถเรียนรู้และเตรียมความพร้อมได้ล่วงหน้าตั้งแต่

เริ่มตั้งครรภ์ หากส าหรับครอบครัวที่มีเด็กพิการเกิดขึ้น นอกจากจะสร้างความตระหนกตกใจให้กับคนใน ครอบครัวแล้ว พ่อแม่ยังขาดความรู้ที่จะเลี ้ยงดูเด็กพิการ ให้เหมาะสมอีกด้วย เพราะในสังคมส่วนใหญ่การมีลูก พิการมิได้อยู่ในความความคาดหมายของพ่อแม่ อีกทั้ง สังคมยังขาดความพร้อมที่จะรับมือต่อสถานการณ์

ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นในระดับครอบครัว ชุมชน หรือแม้

สังคมทั่วไปก็ตาม การมีลูกพิการจึงกลายเป็นปัญหาของ ครอบครัวและเลยไปถึงชุมชนที่ครอบครัวนั้นอาศัยอยู่อีก ด้วย และหากครอบครัวนั้นๆ อยู่ในฐานะที่ไม่ร ่ารวยนัก รวมถึงไม่ได้อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีสิ่งอ านวยความสะดวก หรือมีองค์กรหรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้บ้าง พ่อแม่ที่ต้องเลี ้ยงดูลูกพิการจึงต้องสร้างความรู้จาก ประสบการณ์ชีวิตเพื่อน าพาให้ลูกของตนมีชีวิตรอดและ สามารถด ารงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ดีในระดับ หนึ่งอีกด้วย โดยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์

ชีวิตเริ่มตั้งแต่การเกิดขึ้นของความพิการ การหาหนทาง

(5)

แก้ปัญหาของครอบครัว การเรียนรู้จากเครือข่าย ช่วยเหลือเด็กพิการ จนน าไปสู่การสร้างความรู้ส าหรับ การดูแลลูกพิการอย่างเหมาะสมกับบริบทของครอบครัว และชุมชน ดังนี ้

ความพิการที่เกิดขึ้นในครอบครัว ความพิการของลูกมักเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงของพ่อแม่ อาจ เนื่องจากไม่มีสิ่งบอกเหตุมาก่อนหน้าที่จะคลอด และอีก ประการหนึ่งที่ส าคัญคือการขาดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ตั้งครรภ์ของทั้งพ่อและแม่ จึงน าไปสู่ความพิการของลูก การเกิดขึ้นของความพิการในเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เกิดเด็กสมองพิการขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นความพิการที่มี

ความซับซ้อนและมักจะน าไปสู่ความพิการอื่นๆ ประกอบด้วยนั้น พบว่ามีเงื่อนไขที่น าไปสู่การเกิดขึ้นของ ความพิการ ได้แก่ 1) การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างตั้งครรภ์

เช่น การที่แม่หกล้ม ตกเลือด เป็นลมหน้ามืด แม่หลายราย ไม่ได้ไปพบแพทย์เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว หากแต่การประสบ อุบัติเหตุนั้นได้ส่งผลกระทบไปสู่ลูกในท้องได้ เช่น ท าให้

เด็กขาดอากาศ การคลอดก่อนก าหนด 2) ความผิดพลาด ระหว่างคลอด เช่น เด็กตัวโตไม่สามารถคลอดได้ตาม เวลาหรือตามธรรมชาติ ต้องอาศัยเครื่องมือช่วยดึงส่งผล ต่อการสร้างความพิการต่อเด็กได้เช่นกัน รวมไปถึงการ น าเด็กเข้าตู้อบนานเกินไป 3) การขาดความรู้ของพ่อแม่

เช่น แม่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองระหว่าง ตั้งครรภ์ การรับประทานยาบางอย่างที่ส่งผลต่อลูกใน ครรภ์ การไม่รู้เวลาคลอดของแม่ท าให้ไม่ไปตามเวลา ส่งผลต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ 4) การท าแท้ง บางครั้งการ เกิดขึ้นของลูกในเวลาที่พ่อแม่ไม่มีความพร้อมก็น าไปสู่

การท าแท้ง เช่น แม่ที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน พ่อแม่เลิกรากัน ก่อนจะรู้ว่าตั้งครรภ์ หรือมีฐานะยากจนไม่สามารถเลี ้ยงดู

ลูกได้ แม่บางคนรับประทานยาขับประจ าเดือนแต่เด็กไม่

เสียชีวิต จึงน าไปสู่ความพิการเมื่อเด็กถูกคลอดออกมา 5) การเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของเด็ก มีเด็กหลายคน ที่เกิดความผิดปกติมาตั้งแต่คลอด เช่น เมื่อคลอดแล้ว น ้าหนักตัวน้อยผิดปกติ มีหินปูนเกาะสมอง มีภาวะสมองฝ่อ หรือเด็กบางรายเมื่อคลอดออกแล้วเกิดไม่สบาย เช่น

เป็นไข้สูง ชัก เยื่อบุสมองอักเสบ อีกทั้งพ่อแม่ขาดความรู้

เกี่ยวกับความเจ็บป่วยหรือผิดปกติของลูก บางครั้งก็พา ไปหาแพทย์ไม่ทัน ส่งผลต่อความพิการทางสมองของเด็ก ขึ้นได้ เมื่อพ่อแม่ได้ทบทวนประสบการณ์ชีวิตย้อนหลัง กลับไปก็ได้พบว่าความพิการที่เกิดขึ้นกับลูกล้วนได้

น าไปสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ความไม่รู้ที่เกิดขึ้นในอดีตและยังกลายเป็นบทเรียนที่ได้

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่นๆ ในชุมชนหรือในเครือข่าย สังคมเพื่อป้องกันความพิการของลูกหลานที่จะเกิดขึ้น ต่อไป

การหาหนทางแก้ปัญหาของครอบครัว เมื่อมีเด็กพิการเกิดขึ้นในครอบครัว ได้น าไปสู่การมี

ปฏิกิริยาต่อความพิการของลูกทั้งจากคนภายใน ครอบครัวและสังคมรอบข้าง ส าหรับคนในครอบครัวที่

ต้องเผชิญกับความพิการ นอกไปจากความรู้สึกผิดหวัง เสียใจแล้ว บางรายยังน าไปสู่ความท้อแท้สิ ้นหวังเกิด ความอับอายต่อสายตาของเพื่อนบ้าน จนน าไปสู่การ แยกตัวออกจากสังคมหรือการเก็บลูกไว้แต่เพียงในบ้าน ไม่ยอมพาลูกไปรับการดูแลรักษาจากโรงพยาบาลหรือ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือบางครอบครัวก็เกิด ความเครียดและความกังวลใจเมื่อคิดถึงภาระค่าใช้จ่ายที่

เกิดขึ้นจากการเลี ้ยงดูเด็กพิการ ในขณะที่บางครอบครัวก็

มีความเครียดจากความพยายามหาหนทางรักษาลูกให้

พ้นจากความพิการด้วยวิธีการต่างๆ อย่างไรก็ตามยังมี

พ่อแม่หลายๆ ครอบครัวที่เมื่อท าใจยอมรับกับสภาพของ ครอบครัวที่มีลูกพิการได้แล้ว ก็เกิดความตั้งใจ มุ่งมั่น พยายามที่จะหาทางรักษาหรือดูแลลูกของตนให้สามารถ เติบโตขึ้นและอยู่ในสังคมเช่นคนทั่วไปได้ ดังกรณีตัวอย่าง ของพ่อแม่ในงานวิจัยชิ้นนี ้ที่น าเสนอด้วยเรื่องเล่า เชิงอัตชีวประวัติ โดยพ่อแม่ล้วนมีประสบการณ์ชีวิตของ การหาทางออกต่อความพิการของลูกหลายๆ ช่องทาง ได้แก่ 1) การรักษาตามความเชื่อพื ้นบ้าน เช่น ความพิการ เกิดจากผีร้าย หรือบาปกรรมแต่ชาติก่อน พ่อแม่ก็จะพา ลูกไปรักษาตามวัด หมอพื ้นบ้าน หรือเข้าพิธีกรรมต่างๆ ที่เชื่อว่าจะช่วยให้ลูกของตนดีขึ้น 2) การรักษาด้วยหมอ

(6)

สมุนไพร หมอแผนโบราณ หรือหมอนวด เนื่องจากความ พิการมีด ารงอยู่ในสังคมมาช้านานก่อนที่การแพทย์แผน ปัจจุบันจะเข้าถึงชุมชน ดังนั้นการดูแลรักษาด้วยความรู้

ในท้องถิ่นจึงมีอยู่อย่างหลากหลาย พ่อแม่หลายๆ ราย เมื่อได้ข่าวว่าที่ใดมีหมอพื ้นบ้านที่รักษาโรคต่างๆ ที่

ใกล้เคียงกับอาการของลูกตนก็จะขนขวายหาทางพาลูก ไปรักษา ดีขึ้นบ้าง ทรงตัวบ้าง หรือไม่ได้ผลบ้าง แต่พ่อแม่

ก็ไม่ละความพยายาม 3) การรักษาด้วยพระสงฆ์ เช่น การพรมน ้ามนต์ ดื่มน ้ามนต์ หรือการใช้สวดคาถาของ พระ ด้วยความเชื่อเรื่องบาปกรรมที่ไปยึดโยงกับศาสนา พุทธ จึงท าให้พระสงฆ์กลายเป็นที่พึ่งของพ่อแม่ที่จะพา ลูกไปรักษา รวมไปถึงการบรรเทาความทุกข์ทางจิตใจ ให้กับพ่อแม่ไปด้วย และ 4) การรักษาด้วยแพทย์แผน ปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการรักษาหลักที่เป็นที่พึ่งของพ่อแม่ แต่

ด้วยโรงพยาบาลที่ให้บริการเกี่ยวกับคนพิการมักจะอยู่ใน เมืองหรือในอ าเภอใหญ่ จึงอยู่ห่างไกลจากบ้านที่อาศัยใน ชุมชนชนบท อีกทั้งพ่อแม่ส่วนหนึ่งมีฐานะยากจน การพา ลูกไปรักษาหรือรับการฟื้นฟูที่โรงพยาบาลต้องใช้สิทธิของ ผู้พิการ ต้องรอคิวเป็นเวลานานๆ และต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการเดินทางครั้งละไม่น้อย สร้างความล าบากให้กับ ครอบครัวเด็กพิการ บางครั้งจึงไม่สามารถพาลูกไปรักษา ตามการนัดหมายได้ จากประสบการณ์ชีวิตของ ครอบครัวที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อหาหนทางรักษา ฟื้นฟู

และดูแลลูกพิการให้มีชีวิตรอด มีชีวิตที่ดีขึ้น จึงเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่สั่งสมและน าไปสู่การสร้าง ความรู้เพื่อการดูแลเด็กพิการที่เป็นทางออกที่เหมาะสม กับลูกของตนเอง

การเรียนรู้เมื่อเข้าสู่เครือข่ายการ ช่วยเหลือเด็กพิการ เมื่อครอบครัวหาหนทางในการ แก้ปัญหาให้กับตนเองเกี่ยวกับการเลี ้ยงดูเด็กพิการด้วย การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกเพื่อความอยู่รอดและชีวิตที่

ดีขึ้นของลูกและครอบครัว บางทางเลือกนั้นอาจยึดโยง กับความเชื่อที่ขาดหลักการทางวิทยาศาสตร์หากแต่

สามารถท าให้จิตใจของคนในครอบครัวรู้สึกดีขึ้นเมื่อยัง หาหนทางออกที่ดีกว่าไม่ได้ก็ตาม จนกระทั่งครอบครัว

เด็กพิการส่วนหนึ่งได้รู้จักกับอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ หรือ บุคลากรที่อยู่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเด็ก พิการ เช่น มูลนิธิเพื่อเด็กพิการที่มีศูนย์อยู่ในจังหวัด นครศรีธรรมราช ซึ่งท าหน้าที่เป็นผู้ประสานงานให้กับ ครอบครัวเด็กพิการกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่จะ ช่วยเหลือ รักษา ฟื้นฟู และให้ความรู้ในการดูแลเด็ก พิการให้กับครอบครัวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธิได้

ความส าคัญมากขึ้นในกลุ่มเด็กสมองพิการ ซึ่งเป็น กลุ่มเป้าหมายหลักของมูลนิธิ การเข้าสู่เครือข่ายการ ช่วยเหลือนี ้มีหลายๆ ช่องทาง อาทิ พ่อแม่ได้รับค าแนะน า จากเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่พาลูกไปรับการรักษาฟื้นฟู

เนื่องจากโรงพยาบาลไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้

อย่างเต็มที่จึงแนะน าให้รู้จักกับมูลนิธิ พ่อแม่บางคนก็รู้จัก ด้วยการแนะน าของพ่อแม่ที่เคยได้รับความช่วยเหลือและ ท ากิจกรรมกับมูลนิธิแล้ว หากมีบางรายก็ได้ข้อมูลของ มูลนิธิจากเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนต าบล (อบต.) ครูจากศูนย์การศึกษาพิเศษ อีกด้านหนึ่งทางเจ้าหน้าที่

ทางมูลนิธิเองที่ออกไปเยี่ยมเยียนครอบครัวเด็กพิการ ตามชุมชน เมื่อได้พบกับครอบครัวเด็กพิการที่ยังไม่ได้เข้า สู่เครือข่าย ก็จะเข้าไปพูดคุย ให้ข้อมูล ให้ความรู้แก่พ่อ แม่เพื่อช่วยเหลือลูกพิการเป็นเบื ้องต้น หรือให้ความรู้

เกี่ยวกับการขอรับความช่วยเหลือจากแหล่งอื่นๆ เพราะ พ่อแม่ส่วนหนึ่งไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเลย

เมื่อเข้าสู่เครือข่ายของการช่วยเหลือเด็ก พิการ กระบวนการเรียนรู้เพื่อดูแลเด็กพิการเริ่มตั้งแต่ที่

พ่อแม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิเพื่อสร้างความ เข้าใจต่อความพิการของลูก การช่วยเหลือลูกในเบื ้องต้น ในเรื่องต่างๆ เช่น อาหาร อุปกรณ์ช่วยเหลือ การออก ก าลังกาย การนั่ง การเดิน การฝึกนวดฟื้นฟูกล้ามเนื ้อ การนวดเพื่อบ าบัดความเกร็งของร่างกาย การฝึกท าเก้าอี ้ ให้เหมาะกับสรีระของเด็กพิการแต่ละคน และการฝึกให้

เด็กช่วยเหลือตัวเองเท่าที่จะท าได้ในแต่ละรายซึ่งแตกต่าง กันออกไปนอกจากการเรียนรู้ชุดความรู้ต่างๆ จาก เจ้าหน้าที่และวิทยากรที่มูลนิธิจัดหามาแล้ว การเข้าร่วม กิจกรรมยังท าให้พ่อแม่ได้สร้างเครือข่ายทางสังคม

(7)

ร่วมกับพ่อแม่รายอื่นๆ ที่พาลูกเข้ามาร่วมกิจกรรม มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างพ่อแม่ที่มีลูกพิการ ที่จะน าเอาความรู้ไปปรับใช้ให้เหมาะกับลูกตน บาง กิจกรรมก็มีการน าเอาประสบการณ์ของการแก้ปัญหา และการดูแลลูกมาเล่าแบ่งปันกัน หรือการนั่งพูดคุย กันเองระหว่างการฝึกลูกหรือนวดให้ลูกท าให้พ่อแม่ได้

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความ เข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือคนอื่นที่

ล าบากกว่า เรียนรู้การสร้างสังคมให้กับลูกของตนและ เพื่อนๆ ที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน โดยการรวมกลุ่มกัน พาลูกออกไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ อย่างไม่รู้สึกอับอาย เช่นแต่ก่อน อีกทั้งยังมีการหาข้อมูลต่างๆ มาร่วมแบ่งปัน และเรียนรู้ร่วมกันในการหาแหล่งช่วยเหลือครอบครัวและ ลูกๆ ของตนให้เติบโตได้อย่างมั่นคง เช่น การขอรับเงิน สวัสดิการคนพิการจากหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นการ ขอรับความช่วยเหลือจากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ การหาโรงเรียนให้ลูกเมื่อโตขึ้นถึงวัยเรียนและสามารถเข้า โรงเรียนได้ เป็นต้น

การสร้างความรู้จากประสบการณ์ชีวิต เมื่อครอบครัวเด็กพิการได้เลือกเส้นทางของการดูแล รักษา และฟื้นฟูเด็กพิการจากการเข้าสู่เครือข่ายการดูแล เด็กพิการที่มีมูลนิธิเพื่อเด็กพิการเป็นผู้ประสานและ เชื่อมโยงองค์กรต่างๆ กับครอบครัวเด็กพิการ พ่อแม่ที่

ผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ในช่วงเวลาที่ยากล าบากมา สู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว สามารถดูแลลูก ของตนเองให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้ว อีกทั้งยังสร้างการ ยอมรับให้เกิดกับสังคมของตนเองไม่ต้องให้ลูกต้องหลบ ซ่อนอยู่แต่เพียงในบ้าน เลยไปจนถึงการเอื ้อมมือไป ช่วยเหลือผู้อื่นที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันจนกลายเป็น เครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งเมื่อได้ทบทวนประสบการณ์

ชีวิตที่ผ่านกลับพบว่าการเลี ้ยงดูเด็กพิการในแต่ละ ครอบครัวมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการของ ลูก พ่อแม่จะต้องปรับเปลี่ยนความรู้ที่ได้เรียนรู้มาจาก ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นจากโรงพยาบาล จากมูลนิธิ จาก เจ้าหน้าที่กายภาพบ าบัด จากผู้ปกครองคนอื่นๆ ใน

เครือข่าย ไปสู่การสร้างความรู้นั้นให้เหมาะสมกับลูกของ ตนเอง เช่น พ่อแม่ได้รับการสอนนวดแบบโดสะโฮจาก วิทยากรเพื่อใช้ส าหรับนวดและดัดตัวให้กับลูก แต่เด็ก สมองพิการแต่ละคนจะมีความเครียดเกร็งของกล้ามเนื ้อ แต่ละส่วนไม่เหมือนกัน พ่อแม่จึงต้องใช้การสังเกตว่าท า อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับลูกของตนเอง และต้องปรับ การนวดไปเรื่อยๆ ตามพัฒนาการทางอาการของลูกน้อย หรือความรู้ในการสร้างเก้าอี ้นั่งส าหรับเด็กสมองพิการซึ่ง ไม่สามารถนั่งเก้าอี ้ทั่วไปได้ เพราะอาการกล้ามเนื ้อเกร็ง และบิดเบี ้ยว พ่อแม่จึงต้องเรียนรู้ที่จะสร้างเก้าอี ้จากไม้

บ้าง กระดาษอัดแข็งบ้างให้ได้รูปทรงตามความบิดเบี ้ยว ของร่างกาย บางรายก็จะมีการท าเข็มขัดรัดกันตกให้กับ เด็ก บางรายเก้าอี ้จะมีลักษณะเป็นกึ่งยืนเพราะเด็กไม่

สามารถนั่งได้ หรือกรณีของพ่อน้องไข่แดงที่สร้างสรรค์

ความรู้ในการท าของเล่นต่างๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื ้อ ส่วนต่างๆ ให้กับลูก ด้วยฝีมือของการเป็นช่างไม้และได้

เห็นตัวอย่างจากปู่ไพที่เป็นตัวอย่างของการสร้างของเล่น ให้หลานที่พิการทางสมองเช่นลูกของตน การสร้างของ เล่นจากไม้ที่เป็นวัสดุในท้องถิ่นช่วยให้เด็กที่กล้ามเนื ้อขา และแขนอ่อนแรงได้ออกก าลังกาย ได้พยุงตัวหัดเดิน จนกระทั่งสามารถเดินได้ในที่สุด พ่อน้องไข่แดงจึงเป็น ตัวอย่างหนึ่งของผู้สร้างความรู้เพื่อการเลี ้ยงดูลูกสมอง พิการของตนเองให้สามารถลุกขึ้นเดินและดูแลตัวเองได้

ในที่สุด ปัจจุบันบ้านของน้องไข่แดงกลายเป็นศูนย์การ เรียนรู้ให้กับพ่อแม่คนอื่นๆ ที่มีลูกพิการสมองได้มาเรียนรู้

เพื่อน าความรู้กลับไปปรับใช้กับลูกของตนบ้าง หรือกรณี

ของแม่น้องนิวที่สามารถสร้างความรู้ในการดูแลและ อาบน ้าให้ลูกของตนเองได้ด้วยการคิดเครื่องรัดช่วยพยุง ตัวเวลาอาบน ้าให้ลูกเพราะลูกไม่สามารถนั่งหรือยืนได้

ด้วยตัวเอง และตัวยังบิดเกร็งตลอดเวลา หากแม่ต้อง อาบน ้าให้ลูกตามล าพังจะท าให้ยากล าบากมากแต่เมื่อ แม่มีสายรัดลูกเอาไว้กับเอวของตนเอง ก็สามารถอาบน ้า ลูกได้อย่างสบาย อีกทั้งแม่น้องนิวยังปรับรถมอเตอร์ไซด์

ให้น้องนิวสามารถนั่งได้เพื่อพาลูกออกไปเที่ยวตามที่

(8)

ต่างๆ ไม่ต้องอยู่แต่ในบ้านเป็นการสร้างสังคมให้กับทั้ง ตนเองและลูกของแม่ได้อย่างดี

จากการวิจัยสามารถสรุปการเรียนรู้และ การสร้างความรู้ของครอบครัวเด็กพิการ มีดังนี ้

-เรียนรู้สภาพความพิการและการท า ความเข้าใจต่อความพิการที่มีความแตกต่างกัน ในกรณี

ของเด็กที่มีสาเหตุและพัฒนาการของความพิการที่

ต่างกัน พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนะต่อการมองความ พิการและคนพิการว่าเป็นปัญหาของครอบครัวหรือสังคม ให้กลายเป็นความมุ่งมั่น สร้างก าลังใจในการที่พ่อแม่

และคนในครอบครัวที่จะช่วยเหลือ ฟื้นฟู และให้การดูแล อย่างเหมาะสมเพื่อให้เด็กพิการสามารถด ารงชีวิตอยู่

ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

-เรียนรู้และสร้างความรู้เพื่อการดูแลเด็ก

พิการที่มีความแตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย 1) ความรู้ในการดูแล รักษา บ าบัดและฟื้นฟูเด็กพิการ ตามสภาพความพิการของลูก และให้สอดคล้องกับการ ด ารงชีวิตของครอบครัวและบริบทของสังคม 2) ความรู้

เกี่ยวกับการสร้าง การเลือกสรร และการใช้อุปกรณ์ฝึก และอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจ าวันส าหรับเด็กพิการ 3) ความรู้ในการสร้างพื ้นที่ทางสังคมให้กับเด็กพิการและ ครอบครัวให้เป็นที่ยอมรับและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี

ความสุข ซึ่งความรู้เหล่านี ้ย่อมมีลักษณะที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนไปตามบริบททางสังคมที่อาศัยอยู่รูปแบบการ ด าเนินชีวิตของครอบครัวและสังคมรอบข้าง ฐานะของ ครอบครัว และการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทางสังคม

- เรียนรู้ในการเข้าถึงเครือข่ายของการ ช่วยเหลือในสังคมที่อาศัยอยู่ เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ดี

ขึ้น อีกทั้งสร้างการยอมรับให้เกิดกับคนในสังคมว่าคน พิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่พึงได้รับการเคารพต่อ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการสร้างเครือข่ายของ ครอบครัวเด็กพิการเพื่อการช่วยเหลือและสร้างพื ้นที่ของ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มครอบครัวเด็กพิการ

- เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิและบริการต่างๆ ที่

ครอบครัวและเด็กพิการพึงจะได้รับบริการจากหน่วยงาน

ของรัฐ และความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชน อีกทั้งสิทธิ

ทางกฎหมายต่างๆ ที่คนพิการพึงได้รับการคุ้มครองและ ได้รับเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป เช่น สิทธิในการได้รับ การศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล

4.2 การเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างเครือข่าย และสวัสดิการทางสังคมเพื่อดูแลครอบครัวเด็กพิการให้

อยู่ในชุมชนได้อย่างเท่าเทียม

แนวคิดการฟื้นฟูชีวิตของคนพิการโดยใช้

ชุมชนเป็นฐาน (CBR : Community Based Rehabilitation) ได้ถูกเสนอขึ้นในที่ประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการสาธารณสุข มูลฐาน ณ เมืองอัลมาอะต้า ประเทศรัสเซีย ตั้งแต่ปี 2521 เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าภายในปี 2543 รวมไปถึงคนพิการซึ่งเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคม/ชุมชน ซึ่งองค์การอนามัยโลกก าหนดยุทธศาสตร์ไว้ 2 ข้อ คือ การ ลดโอกาสที่จะท าให้เกิดความพิการหรือการป้องกันไม่ให้

ความพิการเกิดขึ้น และการให้การฟื้นฟูผู้พิการและการฟื้นฟู

ชีวิตคนพิการโดยมีชุมชนเป็นฐาน ซึ่งโครงการการฟื้นฟูชีวิต คนพิการโดยมีชุมชนเป็นฐานได้ประสบความส าเร็จใน ประเทศก าลังพัฒนาในหลายๆ ประเทศ อาทิ จาไมกา ฟิลิปปินส์ การใช้ชุมชนเป็นฐานในการฟื้นฟูชีวิตคนพิการมี

จุดแข็งหลายประการ ได้แก่ 1) การใช้ชุมชนเป็นฐานมี

ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้สถาบันเฉพาะเป็นฐาน เพราะชุมชน สามารถปรับใช้ความรู้และวัตถุดิบในชุมชน รวมไปจนถึง บุคลากรของชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมมาดูแลคนพิการ ท าให้

ลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก 2) อาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่

สาธารณสุขได้อาศัยรวมและท างานอยู่ในชุมชนจึงมี

ความคุ้นเคยกับคนในชุมชน สามารถเข้าถึง เข้าใจ ความ ต้องการและปัญหาของคนพิการและครอบครัวได้เป็นอย่างดี

ท าให้การดูแลมิได้จ ากัดวงอยู่เฉพาะในเรื่องทางการแพทย์

หากรวมไปถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อีกด้วย 3) อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนสามารถท า ความเข้าใจต่อความพิการ ท าให้คนในชุมชนมีทัศนะและ ท่าทีต่อคนพิการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นและมีส่วนร่วม ในการช่วยเหลือคนพิการและครอบครัว ท าให้คนพิการเข้า มามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนมากขึ้น และ 4) การ

Referensi

Dokumen terkait

ของทุกวัน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ครั้งนี ้ คือ แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลป ประดิษฐ์ และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น