• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความชุกชุมของชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก สุราษฎร์ธานี

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "ความชุกชุมของชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก สุราษฎร์ธานี"

Copied!
6
0
0

Teks penuh

(1)

ความชุกชุมของชนิดนกในอุทยานแหงชาติเขาสก สุราษฎรธานี

Abundance of Birds Species in Khao Sok National Park, Suratthani

ธีรพล ทองเพชร (Teerapol Thongphet)

1

1ครูชํานาญการ คศ. 2 แผนกวิชาสามัญสัมพันธ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎรธานี

e-mail: researchmaniateeti @ hotmail.com

บทคัดยอ: การศึกษาความชุกชุมของชนิดนกในอุทยานแหงชาติเขาสกสุราษฎรธานี มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาความชุกชุม (Abundance) และจํานวนของชนิดนก ในอุทยานแหงชาติเขาสก พื้นที่ศึกษาคือบริเวณโดยรอบศูนยบริการนักทองเที่ยว และตามเสนทางศึกษาธรรมชาติจากศูนยบริการนักทองเที่ยวถึงน้ําตกบางหัวแรดระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งแต

เดือนกรกฎาคม 2548 ถึง เดือนมิถุนายน 2549 การจําแนกหมวดหมูใชการจัดจําแนกทางชีวเคมี ผลการวิจัย พบนก ทั้งหมด 145 ชนิด จาก 11 อันดับ 30 วงศ วงศที่พบมากที่สุด คือ วงศนกปรอด (Family Pycnonotidae) พบจํานวน 15 ชนิด มีชนิดนกที่อยูในสถานภาพตามทะเบียนรายการชนิดพันธุที่ถูกคุกคามของประเทศไทย ในสถานภาพใกลสูญพันธุ 2 ชนิด สถานภาพมีแนวโนมใกลสูญพันธุ 2 ชนิด และสถานภาพใกลถูกคุกคาม 8 ชนิด นกที่มีความชุกชุมสูงมากจํานวน 16 ชนิด นกที่มีความชุกชุมมาก จํานวน 14 ชนิด นกที่มีความชุกชุมปานกลาง จํานวน 32 ชนิด นกที่มีความชุกชุมคอนขางนอย จํานวน 51 ชนิด และ นกที่มีความชุกชุมนอย จํานวน 32 ชนิด นกที่พบไดตลอดปหรือทุกครั้งที่สํารวจ มีจํานวน 13 ชนิด เดือนที่พบชนิดนกมากที่สุด คือเดือนกุมภาพันธ 2549 รองลงมา คือ เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2549 สวนเดือนที่พบ นอยที่สุด คือเดือน กรกฎาคม 2548 ความสัมพันธระหวางปจจัยสิ่งแวดลอมทางกายภาพกับจํานวนชนิดนกมีทั้ง ความสัมพันธไปในทางเดียวกันและในทางตรงกันขาม และเมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ พบวา ไมมีความสัมพันธกัน

ABSTRACT:The Abundance of Birds Species in Khao Sok National Park, Suratthani was examined to study abundance and number of bird species in Khao Sok National Park. The area in circumference of tourist service center and along the natural trail from tourist service center to Bang Hua Rad Waterfall 3 kilometers distance, were study area.

It was conducted from July 2005 to June 2006 that bird species were seen, classified by biochemical classification. 145 species from 11 orders, 30 families were found, Pycnonotidae was the highest family that 15 species were found. The number of bird species were 2 Vulnerable and 8 Near Threatened bird species, in Thailand Red Data : Vertebrates, were found. The relative abundance revealed 16 species :abundance, 14 species : common, 32 species : moderately common, 51 species : uncommon and 32 species : rare, 13 species could be found every month. The highest number of species was in February 2006, then May and June 2006, the lowest in July 2005. The correlation of physical factor and the number of bird species revealed both positive and negative, but were not significantly correlation.

KEYWORDS: Abundance, Birds Species, Khao Sok

(2)

1. บทนํา

อุทยานแหงชาติเขาสกเปนพื้นที่ปาอนุรักษหนึ่งใน หาแหงของอุทยานแหงชาติในจังหวัดสุราษฎรธานีที่ได

ประกาศจัดตั้งอยางเปนทางการมาตั้งแต พ.ศ. 2523 เปนพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งชนิดพืช และชนิดสัตว ทั้งประจําถิ่นและอพยพเคลื่อนยายเขามา ตามฤดูกาล และเปนผืนปาที่ไดรับการยกยองวาเปน กํามะหยี่แหงภาคใต เนื่องจากเปนผืนปาที่มีอาณาเขต ติดตอกับพื้นที่ปาอนุรักษอื่นๆโดยรอบ เชน เขตรักษา พันธุสัตวปาคลองแสง เขตรักษาพันธุสัตวปาคลองยัน อุทยานแหงชาติศรีพังงา เปนตน รวมเปนผืนปาขนาด ใหญเนื้อที่ประมาณ 2 ลานไร นับเปนพื้นที่ปาอนุรักษที่

เชื่อมตอเปนผืนเดียวกันมีขนาดที่ใหญที่สุดในภาคใต

อุทยานแหงชาติเขาสกเปนสถานที่ทองเที่ยวทาง ธรรมชาติที่รูจักกันอยางกวางขวางในกลุมนักทองเที่ยว ชาวตางประเทศที่เดินทางมาจากยุโรปและอเมริกา ใน แตละปมีนักดูนกและผูสนใจศึกษาธรรมชาติเดินทางมา ทองเที่ยวจํานวนมาก การศึกษาขอมูลเกี่ยวกับความชุก ชุมของชนิดนกในอุทยานแหงชาติเขาสกครั้งนี้ จะเปน ประโยชนอยางมากตอการศึกษาดานนิเวศวิทยา การ จัดการและการอนุรักษสิ่งแวดลอม เปนฐานขอมูลดาน ความหลากหลายทางชีวภาพของจังหวัดสุราษฎรธานี

และของประเทศ การจัดการสิ่งแวดลอมในทองถิ่น การจัดการอุทยานแหงชาติ การทองเที่ยวเชิงนิเวศ การ เสริมสรางความรู ความเขาใจ และประสบการณเรื่อง การจัดการ การบํารุงรักษา และการใชประโยชนจาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอยางสมดุลยั่งยืน และเกิดประโยชนในการสรางองคความรูใหมดาน ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายของชนิด สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศปาไม ผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัย ครั้งนี้จะเปนประโยชนตอการจัดการและพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนการสอนดานวิทยาศาสตร

สิ่งแวดลอม ดานนิเวศวิทยา การทําโครงงาน สิ่งแวดลอมและโครงงานวิทยาศาสตร และการสราง จิตสํานึกในการอนุรักษสิ่งแวดลอมพิทักษรักษา สิ่งแวดลอมในทองถิ่นของตน

2. วัตถุประสงค

2.1 เพื่อศึกษาความชุกชุม และจํานวนของชนิดนก ในอุทยานแหงชาติเขาสก

2.2 เพื่อศึกษาความสัมพันธระหวางจํานวนชนิด นกกับปจจัยสิ่งแวดลอมทางกายภาพ

3. วิธีการศึกษา

3.1 ศึกษาสภาพพื้นที่เบื้องตน จากแผนที่บานหญา ปลองแสดงบริเวณอุทยานแหงชาติเขาสก กรมแผนที่

ทหาร ระวาง 4726 IV ลําดับชุด L 7017 มาตราสวน 1 : 50,000 [1]

3.2 กําหนดพื้นที่และเสนทางสํารวจ คือ พื้นที่

บริเวณโดยรอบศูนยบริการนักทองเที่ยว และตาม เสนทางศึกษาธรรมชาติจากศูนยบริการนักทองเที่ยวถึง น้ําตกบางหัวแรดระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

3.3 ศึกษาขอมูลปจจัยสิ่งแวดลอมทางกายภาพใน พื้นที่ศึกษา ไดแก ปริมาณน้ําฝน จํานวนที่มีฝนตกแต

ละเดือน อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ โดยใชขอมูล สถิ ติ ลัก ษ ณ ะ ล มฟ า อ า ก า ศ แ ล ะ ส า ร ป ระ ก อ บ อุตุนิยมวิทยารายเดือนสุราษฎรธานี [3]

3.4 ศึกษาความชุกชุมและจํานวนของชนิดนก โดยการสํารวจโดยตรง (Direct count) ตั้งแตเวลา 07.00-18.00 น. ตรวจสอบ ชนิด และจํานวนนกที่พบทั้ง สองดานของแนวสํารวจดวยกลองสองทางไกล จําแนก ชนิดตามคูมือของ Lekagul and Round (1991), Robson (2000) และ Robson (2002) [9,12,13]บันทึกขอมูลและ ถายภาพ

3.5 ระยะเวลาในการสํารวจใชเวลา 12 เดือน โดย เริ่มตั้งแต เดือนกรกฎาคม 2548 ถึง เดือนมิถุนายน 2549 เดือนละครั้ง แตละครั้งใชเวลาสํารวจ 2 วัน

3.6 จําแนกหมวดหมูของนก โดยใชการจัดจําแนก หมวดหมูทางชีวเคมีซึ่งจัดเปน 16 อันดับ 72 วงศ และ 361 สกุล [7] จําแนกสถานภาพและการปรากฏ [7], [9]

จําแนกลักษณะการกินอาหารและศึกษาความสัมพันธ

ระหวางจํานวนชนิดนกกับปจจัยสิ่งแวดลอมทาง กายภาพ

(3)

4. การวิเคราะหขอมูล

4.1. วิเคราะหหาปริมาณความชุกชุม (relative abundance)

โดยวิธีของ Pettingill [10] ดังนี้

จํานวนครั้งที่เห็นนก x100 รอยละของความชุกชุม =

จํานวนครั้งที่สํารวจ

จากนั้นนํารอยละของความชุกชุมที่ไดมา

เปรียบเทียบตามเกณฑระดับความชุกชุม ดังนี้

90 -100% นกที่มีความชุกชุมสูงมาก

(Abundance : A) พบไดบอยมาก 65 - 89 % นกที่มีความชุกชุมมาก พบบอย

(Common : C)

31 - 64 % นกที่มีความชุกชุมปานกลาง พบไดปาน กลาง (Moderately Common: MC) 10 - 30 % นกที่มีความชุกชุมคอนขางนอย พบ

ไดคอนขางนอย (Uncommon: UC) 1 - 9% นกที่มีความชุกชุมนอย พบไดนอย

(Rare : R)

4.2 การประมวลผลทางสถิติ

การวิเคราะหทางสถิติทั้งหมดใชโปรแกรม สําเร็จรูป Microsoft Office Excel 2003 และ SPSS for Windows version 11.5

5. ผลการศึกษา 5.1 ชนิดนก

พบนกทั้งหมด 145 ชนิด จาก 11 อันดับ 30 วงศ

วงศที่พบมากที่สุด คือ วงศนกปรอด (Family Pycnonotidae) พบจํานวน 15 ชนิด เปนนกประจําถิ่นที่

พบไดทั่วไป 69 ชนิด นกประจําถิ่นที่พบไมบอย 49 ชนิด นกประจําถิ่นที่พบไดยาก 3 ชนิด นกอพยพหนี

หนาวที่พบไดทั่วไป 16 ชนิด นกอพยพหนีหนาวที่พบ ไมบอย 5 ชนิด นกอพยพสรางรัง 1 ชนิด และ นก อพยพผาน 2 ชนิด ชนิด เมื่อจําแนกกลุมนกตามลักษณะ การกินอาหาร ในบริเวณพื้นที่ศึกษาพบนกกินแมลงมาก

ที่สุด 71 ชนิด รองลงมา คือ นกที่กินผลไม 39 ชนิด นก ที่กินสัตวมีกระดูกสันหลังและปลา 18 ชนิด นกที่กิน น้ําหวาน 13 ชนิด และนกที่กินเมล็ดพืช 4 ชนิด มีชนิด นกที่อยูในสถานภาพตามทะเบียนรายการชนิดพันธุที่

ถูกคุกคามของประเทศไทย : สัตวมีกระดูกสันหลัง (Thailand Red Data : Vertebrates) [5] ดังนี้ สถานภาพ ใกลสูญพันธุ (Endangered: EN) 2 ชนิด คือ นกชนหิน นกเงือกหัวหงอก สถานภาพมีแนวโนมใกลสูญพันธุ

(Vulnerable : VU) 2 ชนิด คือ เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา นกกินแมลงคอดํา และสถานภาพใกลถูกคุกคาม(Near Threatened: NT) 8 ชนิด นกนกกาฮัง นกเงือกปากดํา นกเงือกกรามชาง เหยี่ยวกิ้งกาสีน้ําตาล เหยี่ยวทอง แดง เหยี่ยวดําทองขาว นกกินแมลงปาสีน้ําตาลแดง นกกระติ๊ดเขียว

5.2 ความชุกชุมของชนิดนก

จํานวนชนิดนกในแตละเดือนเปลี่ยนแปลงอยู

ในชวง 27-70 ชนิด เดือนที่พบชนิดนกมากที่สุด คือ เดือนกุมภาพันธ 2549 พบจํานวน 70 ชนิด รองลงมา คือ เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2549 พบจํานวน 67 ชนิด สวนเดือนที่พบนอยที่สุด คือเดือน กรกฎาคม 2548 พบ จํานวน 27 ชนิด นกที่พบทุกครั้งที่สํารวจ มีจํานวน 13 ชนิด คือ นกโพระดกหนาผากดํา นกกระปูดใหญ นก เขียวคราม นกกางเขนดง นกปรอดทอง นกปรอด เหลืองหัวจุก นกปรอดคอลาย นกปรอดโองเมืองเหนือ นกปรอดโองทองสีน้ําตาล นกปรอดหงอนตาขาว นกกระจิบธรรมดา นกกาฝากทองสีสม และ นกปลี

กลวยเล็ก ระดับความชุกชุมของนกในพื้นที่ศึกษา พิจารณาตามความถี่ของการปรากฏในแตละเดือนที่

ทําการศึกษาและรอยละของความชุกชุม จําแนกได 5 ระดับ คือ นกที่มีความชุกชุมสูงมากจํานวน 16 ชนิด นกที่มีความชุกชุมมาก จํานวน 14 ชนิด นกที่มีความชุก ชุมปานกลาง จํานวน 32 ชนิด นกที่มีความชุกชุม คอนขางนอย จํานวน 51 ชนิด และ นกที่มีความชุกชุม นอย จํานวน 32 ชนิด

(4)

5.3 ความสัมพันธระหวางจํานวนชนิดนกกับปจจัย สิ่งแวดลอมทางกายภาพ

ความสัมพันธระหวางจํานวนชนิดนกกับปริมาณ น้ําฝนเฉลี่ย พบวา มีความสัมพันธไปในทางตรงกันขาม (r = - 0.379) และเมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ พบวา ไมมีความสัมพันธกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

ความสัมพันธระหวางจํานวนชนิดนกกับจํานวน วันที่ฝนตกในแตละเดือน พบวา มีความสัมพันธไป ในทางตรงกันขาม (r = - 0.156) และเมื่อทดสอบระดับ ความสัมพันธ พบวา ไมมีความสัมพันธกันที่ระดับ นัยสําคัญ 0.05

ความสัมพันธระหวางจํานวนชนิดนกกับอุณหภูมิ

เฉลี่ย พบวา มีความสัมพันธไปในทางเดียวกัน (r = 0.053) และเมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ พบวา ไมมีความสัมพันธกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

ความสัมพันธระหวางจํานวนชนิดนกกับความชื้น สัมพัทธเฉลี่ย พบวา มีความสัมพันธไปในทางตรงกัน ขาม (r = -0.027) และเมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ

พบวา ไมมีความสัมพันธกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

6. วิจารณผล

6.1 ความสัมพันธระหวางจํานวนชนิดนกกับปจจัย สิ่งแวดลอมทางกายภาพ

ปจจัยที่มีอิทธิพลตอจํานวนชนิดนกในพื้นที่นั้น ไมไดจํากัดเพียงแคปจจัยสิ่งแวดลอมทางกายภาพ ปจจัย ดานความแตกตางสภาพแวดลอมของพื้นที่ประกอบ กิจกรรมนกก็เปนปจจัยหนึ่ง นอกจากนั้นปจจัยดาน ปริมาณความอุดมสมบูรณของชนิด ปริมาณ ตําแหนง อาหาร รวมทั้งชวงเวลาการออกดอกออกผลของตนไมก็

เปนปจจัยที่เกี่ยวของ ปจจัยที่มีอิทธิพลตอการอยูอาศัย ของนกในพื้นที่ใดๆนั้นมีปจจัยสิ่งแวดลอมทางกายภาพ เชน ปริมาณน้ําฝน จํานวนวันที่ฝนตก อุณหภูมิ

ความชื้นสัมพัทธ เปนปจจัยสําคัญ [2,4]

6.2 ชนิดและความชุกชุมของนก

การศึกษาครั้งนี้พบชนิดนกในวงศนกปรอดมาก ที่สุด เนื่องจากนกปรอดบางชนิดสามารถพบไดใน หลายๆบริเวณของเสนทางสํารวจ เชน นกปรอดทอง ปรอดเหลืองหัวจุก ปรอดโองเมืองเหนือ ปรอดโองทอง สีน้ําตาล เปนตน สอดคลองกับการศึกษาของ Portigo [11] ซึ่งพบวา นกปรอดเหลืองหัวจุก นกปรอดทอง สามารถอาศัยอยูไดในหลายๆพื้นที่ ทั้งพื้นที่ที่ถูกบุกรุก มาก ถูกบุกรุกนอย ถาพื้นที่หรือบริเวณนั้นๆมี

ปจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิตที่เหมาะสมกับตัวมันโดย ไมตองมีปจจัยที่เฉพาะเจาะจง

การเปลี่ยนแปลงของจํานวนชนิดนกในแตละ เดือนไมสามารถกําหนดรูปแบบที่แนนอนได การพบ นกหรือปรากฏตัวของนกนั้น มีปจจัยสิ่งแวดลอมทั้งทาง กายภาพและชีวภาพหลายๆปจจัยเขามาเกี่ยวของ เชน โครงสรางของปา ระดับความสูง และฤดูกาลมีอิทธิพล ตอการปรากฏตัวของนก [14] การพบนกที่กินแมลงมาก ที่สุด เนื่องจากแมลง เปนสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย มากที่สุดโดยเฉพาะในบริเวณปาเขตรอน เนื่องจาก สภาพแวดลอมในปาดิบชื้นหรือปาเขตรอนมีชนิดพรรณ ไมจํานวนมาก มีอุณหภูมิคอนขางคงที่แปรผันนอย และ มีพืชสดตลอดปเปนสภาพแวดลอมที่เหมาะสมในการ เปนที่อยูอาศัยของแมลง [6] เมื่อมีแหลงอาหารมาก กลุม นกที่กินแมลงจึงมีจํานวนชนิดมากตามไปดวย ระดับ ความชุกชุมของชนิดนก หมายถึง จํานวนครั้งที่ปรากฏ ตัวของนกแตละชนิดในพื้นที่ศึกษา ไมไดหมายถึง จํานวนตัวนก เปนการหาประชากรของนกในแงคุณภาพ ไมใชหาจํานวนตัวหรือปริมาณ [8] ดังนั้นคาระดับความ ชุกชุมไมไดเปนคาบงชี้จํานวนมากหรือนอยของ ประชากรนกชนิดนั้นๆ แตเปนการบอกความถี่หรือ ระยะเวลาที่นกชนิดนั้นๆไดเขามาในพื้นที่ศึกษาตลอด ระยะเวลาที่ทําการศึกษา (12 เดือน)

กลุมนกที่มีความชุกชุมนอย ซึ่งพบไดเพียงครั้ง เดียวในการสํารวจทั้งหมด 12 ครั้ง เปนนกประจําถิ่นที่

พบไดยาก 3 ชนิดดังกลาว คือ นกชนหิน เหยี่ยวปลา เล็กหัวเทา และนกพญาปากกวางทองแดง ซึ่งนกชนหิน และเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา อยูสถานภาพใกลสูญพันธุ

(5)

(Endangered) และสถานภาพมีแนวโนมใกลสูญพันธุ

(Vulnerable)นกชนิดที่พบไดคอนขางยากหรือมีความ ชุกชุมนอย มักเปนกลุมนกอพยพ เชน นกคัคคูหงอน นกเขนนอยไซบีเรีย เปนตน และเปนนกชนิดที่มี

จํานวนนอย หรือพบเห็นไดยาก มักพบในปาที่อุดม สมบูรณ เชน นกเงือกกรามชาง นกกินแมลงหัวแดง ใหญ นกเงือกหัวหงอก เปนตน

7. สรุปผล

พื้นที่ศึกษา อุทยานแหงชาติเขาสก บริเวณโดยรอบ ศูนยบริการนักทองเที่ยว และตามเสนทางศึกษา ธรรมชาติจากศูนยบริการนักทองเที่ยวถึงน้ําตกบางหัว แรดระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร พบนกทั้งหมด 145 ชนิด จาก 11 อันดับ 30 วงศ วงศที่พบมากที่สุด คือ วงศ

นกปรอด (Family Pycnonotidae) พบจํานวน 15 ชนิด สถานภาพและการปรากฏ เปนนกประจําถิ่นที่พบได

ทั่วไป 69 ชนิด นกประจําถิ่นที่พบไมบอย 49 ชนิด นกประจําถิ่นที่พบไดยาก 3 ชนิด นกอพยพหนีหนาวที่

พบไดทั่วไป 16 ชนิด นกอพยพหนีหนาวที่พบไมบอย 5 ชนิด นกอพยพสรางรัง 1 ชนิด และ นกอพยพผาน 2 ชนิด มีชนิดนกที่อยูในสถานภาพตามทะเบียนรายการ ชนิดพันธุที่ถูกคุกคามของประเทศไทย ในสถานภาพ ใกลสูญพันธุ 2 ชนิด สถานภาพมีแนวโนมใกลสูญพันธุ

2 ชนิด และสถานภาพใกลถูกคุกคาม 8 ชนิด จําแนก ตามลักษณะการกินอาหาร พบวา มีนกกินแมลงมาก ที่สุด รองลงมา คือ นกที่กินผลไม นกที่กินสัตวมี

กระดูกสันหลังและปลา นกที่กินน้ําหวาน และนกที่กิน เมล็ดพืช

ระดับความชุกชุมของนก นกที่มีความชุกชุมสูง มากจํานวน 16 ชนิด นกที่มีความชุกชุมมาก จํานวน 14 ชนิด นกที่มีความชุกชุมปานกลาง จํานวน 32 ชนิด นก ที่มีความชุกชุมคอนขางนอย จํานวน 51 ชนิด และ นก ที่มีความชุกชุมนอย จํานวน 32 ชนิด นกที่พบไดตลอด ปหรือทุกครั้งที่สํารวจ มีจํานวน 13 ชนิด เดือนที่พบ ชนิดนกมากที่สุด คือเดือนกุมภาพันธ 2549 รองลงมา คือ เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2549 สวนเดือนที่พบ นอยที่สุด คือเดือน กรกฎาคม 2548 ความสัมพันธ

ระหวางปจจัยสิ่งแวดลอมทางกายภาพกับจํานวนชนิด นกมีทั้งความสัมพันธไปในทางเดียวกันและในทาง ตรงกันขาม และเมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ พบวา ไมมีความสัมพันธกัน

8. ขอเสนอแนะ

8.1 ควรศึกษาเพิ่มเติมในบริเวณอื่น เชน เสนทาง เดินเทาไปน้ําตกธารสวรรค และน้ําตกโตนกลอยที่เขา ไปในปาลึก หรือเสนทางน้ําตกสิบเอ็ดชั้น หรือบริเวณที่

มีความหลากหลายของระบบ ในพื้นที่อางเก็บน้ําเหนือ เขื่อนรัชชประภา และศึกษาความสัมพันธของชนิดนก กับชนิดพรรณไมในพื้นที่ศึกษา หรือโครงสรางของปา หรือระยะเวลาการออกดอกออกผลของพืชอาหารนก

8.2 ควรศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดที่เกี่ยวของ เพื่อการจัดทําฐานขอมูลความหลากหลายทางชีวภาพ สําหรับพื้นที่และHOTSPOTS ตามโครงการสํารวจและ จัดทําขอมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ของสํานัก นโยบายและแผนสิ่งแวดลอม

8.3 ผลที่ไดจากการศึกษาครั้งนี้ควรนําไปใชเปน ขอมูลพื้นฐานเพื่อใหเกิดประโยชนสําหรับการจัดการ ทองเที่ยวเชิงนิเวศ การใหความรูเรื่องสิ่งแวดลอม และ สรางจิตสํานึกดานสิ่งแวดลอมแกเยาวชน สงเสริมให

ชุมชนโดยรอบเกิดจิตสํานึกสาธารณะในการอนุรักษ

สิ่งแวดลอม นกกระติ๊ดเขียวนกกระติ๊ดเขียวและเปน ขอมูลสําหรับการจัดการพื้นที่ปาอนุรักษประเภท อุทยานแหงชาติ

9. กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ ดร. รอยพิมพใจ เพชรกุล ผูอํานวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎรธานี ที่สนับสนุนงานวิจัย อนุมัติงบประมาณการวิจัยครั้งนี้ คุณสุธี ศุภรัฐวิกรณ

ที่ปรึกษางานวิจัยในทุกๆ ดาน หัวหนาอุทยานแหงชาติ

เขาสก และเจาหนาที่อุทยานฯทุกทาน ที่ใหความ ชวยเหลืออํานวยความสะดวกในการเก็บขอมูล และ อาจารยโกเศศ รัตนะ ผูมีสวนผลักดันกระตุนใหเกิด พลังในการทํางานครั้งนี้จนลุลวง

(6)

10. เอกสารอางอิง

[1] กรมแผนที่ทหาร, 2516. แผนที่บานหญาปลอง อําเภอพนม จังหวัดสุราษฎรธานี. ระวาง 4726 IV ลําดับชุด L 7017. กรุงเทพฯ : กองบัญชาการ ทหารสูงสุด.

[2] พิพัฒน สุดเสนห, 2543. ปจจัยที่สงผลทําให

ความหลากหลายและจํานวนนกในกวานพะเยา ลดลง. วิทยานิพนธ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

[3] สถานีอุตุนิยมวิทยาสุราษฎรธานี, 2549. ขอมูลสถิติ

ลักษณะลมฟาอากาศและสารประกอบ

อุตุนิยมวิทยารายเดือน สุราษฎรธานี (2548-2549) สืบคนที่ http://members.thai.net/weather [4] สวัสดิ์ สนิทจันทร, 2544. องคประกอบของชนิด

นกบริเวณสถานีพัฒนาและสงเสริมการอนุรักษ

สัตวปา ถ้ําน้ําลอด จังหวัดแมฮองสอน.

วิทยานิพนธมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

[5] สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดลอม, 2548. ทะเบียนรายการชนิดพันธุที่

ถูกคุกคามของประเทศไทย : สัตวมีกระดูกสันหลัง Thailand Red Data: Vertebrates. สืบคนที่

http://chm-thai.onep.go.th

[6] อุทิศ กุฏอินทร, 2542. นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการ ปาไม. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

[7] โอภาส ขอบเขตต, 2541. นกในเมืองไทย เลม 1.

กรุงเทพฯ: สารคดี

[8] โอภาส ขอบเขตต, 2542. “การสํารวจนก” ใน คูมือ การสํารวจสัตวปาและพรรณพืช. กรุงเทพฯ: สํานัก อนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ กรมปาไม: 22-44.

[9] Lekagul, B. and Round, P.D., 1991. A Guide to the Birds of Thailand. Bangkok: Darnsutha Press.

[10] Pettingill, O.S., 1969. A Laboratory and Field Manual of Ornithology. 7th ed. Minnesota:

Burgess Publishing Company.

[11] Portigo, M.L., 1994. Effects of different types of land use on Pycnonotidae. Master of Science Thesis. Chiang Mai University, Thailand.

[12] Robson, C., 2000. A Field Guide to the Birds of Thailand and South-East Asia. Thailand: Asia books.

[13] Robson, C., 2002. A Field Guide to the Birds of Thailand. Singapore: Tien Wah Press.

[14] Waterhouse, F.L. et al., 2002. “Distribution and abundance of birds relative to elevation and biogeoclimatic zones in coastal old-growth forests in southern British Columbia.” Journal of Ecosystem and Management. 2: 1-13.

Referensi

Dokumen terkait

The second reason, because the increase in salary and welfare is a step that has the most influential impact (multiplier effects) on other measures. If necessary, so