• Tidak ada hasil yang ditemukan

View of ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค Factors Relating to Tuberculosis Preventive Behaviors among Health Care Personnel Dispensing Anti-tuberculosis Drugs

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "View of ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค Factors Relating to Tuberculosis Preventive Behaviors among Health Care Personnel Dispensing Anti-tuberculosis Drugs"

Copied!
10
0
0

Teks penuh

(1)

ปัจจ ัยทีมีความส ัมพ ันธ์ก ับพฤติกรรมการป้องก ันการติดเชือว ัณโรค ในบุคลากรผู้ส่งมอบยาว ัณโรค

Factors Relating to Tuberculosis Preventive Behaviors among Health Care Personnel Dispensing Anti-tuberculosis Drugs

นิพนธ์ต้นฉบ ับ Original Article

นวลนิตย์ แก ้วนวล1* และ เยาวลักษณ์ อํารําไพ2 Nuannit Kaewnuan1* and Yaowalak Amrumpai2

1 นักศึกษาปริญญาโท การจัดการทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม 73000 2 ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม 73000

1 Student in Master of Pharmacy degree program, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Nakhonpathom, 73000, Thailand

2 Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Nakhonpathom, 73000, Thailand

* ติดต่อผู้นิพนธ์: na_nith@hotmail.com * Corresponding author: na_nith@hotmail.com

วารสารไทยเภส ัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557;9(4):193-202 Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2014;9(4):193-202

บทค ัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพือศึกษาปัจจัยทีสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณ โรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค วิธีการศึกษา: ใช้การสํารวจโดยส่ง แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณ โรคทีผู้วิจัยพัฒนาขึน จากแนวคิดพฤติกรรมการป้องกันตนเองในทีทํางานของ DeJoy ไปยังโรงพยาบาลสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ทังหมด 675 แห่ง โดยขอให้หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเลือกบุคลากรเพียง 1 ท่านตอบแบบสอบถาม เก็บข้อมูลในช่วงกุมภาพันธ์ - เมษายน พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลีย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และ chi- square ผลการศึกษา: มีอัตราตอบกลับร้อยละ 52.0 ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 81.9 ของตัวอย่าง มีระดับคะแนนด้านการจัดการด้านสิงแวดล้อมอยู่ในระดับสูง ด้านจัดการด้านองค์กรพบระดับสูงร้อยละ 61.9 ด้านบุคคลพบว่าส่วนมากอยู่ใน ระดับปานกลาง (ร้อยละ 76.0) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรค ส่วนมากอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 56.0) พบว่าปัจจัยทุกด้านสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทีระดับ P <

0.05 และพบว่าผู้ทีมีประวัติการได้รับการฝึกอบรมการป้องกันการติดเชือวัณโรค การให้บริการส่งมอบยาวัณโรคแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ และการมอบหมายให้เจ้าที

1 คนส่งมอบยาสัมพันธ์ทางบวกกับพฤตกรรมป้องกันการติดเชือวัณโรคอย่างมี

นัยสําคัญทางสถิติทีระดับ P < 0.05 สรุป: ปัจจัยด้านสิงแวดล้อม องค์กร และด้าน บุคคลล้วนสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรค โรงพยาบาลจึงควรส่งเสริมให้ปัจจัยเหล่านีให้เข้มแข็งมากขึน

คําสําคัญ: วัณโรค, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรค, บุคลากรผู้ส่งมอบ ยาวัณโรค

Abstract Objective: To identify factors relating to tuberculosis (TB) preventive behaviors among health care personnel dispensing anti-TB drugs.

Methods: Survey questionnaires on protective behaviors in workplace developed from DeJoy’s concept were mailed to hospitals under the Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health, during February to April 2014. Heads of pharmacy department were asked to choose only one of their staff to answer the questionnaire. Data were analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation. Pearson chi-square test was used to test relationships between factors and the self-protection behavior.

Results: With a response rate of 52.9%, the majority of respondents had high level of environment management factor (81.9%), high level of organizational management factor (61.6%), and moderate level of individual factor (76.0%). For TB protective behavior, the majority were in high level (56.0%). These 3 factors were statistically positively associated with the behavior at P < 0.05 level. In addition, those who had been formally trained, one-stop dispensing service, and single individual assigned for dispensing were statistically related with positive self-protection behavior at P < 0.05 level. Conclusion: Environment, organization and individual management factors were all associated with TB self-protection behavior.

These factors should be enforced by the hospitals.

Keywords: tuberculosis, tuberculosis preventive behaviors, health care personnel dispensing anti-tuberculosis drugs

บทนํา วัณโรคเป็นโรคติดต่อทีเกิดจากเชือ1 Mycobacterium tuberculosis ซึงอยู่ในกลุ่ม M. Tuberculosis Complex การติดต่อ ระหว่างคนสู่คนเกิดขึนได้ง่าย โดยเมือผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชือ ไอ จาม โดยไม่ปิดปากและจมูก ทําให้ละอองเสมหะขนาดเล็ก (droplet nuclei) ฟุ้งกระจายในอากาศ เมือผู้อืนสูดหายใจเอา ละอองเสมหะทีมีเชือวัณโรคเข้าไป ทําให้เชือวัณโรคสามารถ เข้าถึงถุงลมในปอดได้ ผู้ติดเชือวัณโรคส่วนหนึงจะป่วยเป็นวัณโรค ซึงอุบัติการณ์การเกิดวัณโรคพบว่าประมาณร้อยละ 8 ของผู้ที

ได้รับเชือวัณโรคจะกลายเป็นวัณโรคภายใน 2 ปี2 หลังจากทีได้รับ

เชือผู้ป่วยวัณโรคทีไม่เข้ารับการรักษา หรือผู้ป่วยทีได้รับการรักษา แต่ยังไม่หายและไม่เสียชีวิต จะสามารถแพร่เชือให้ผู้อืนได้เรือย ๆ วัณโรคนับเป็นปัญหาด้านสุขภาพทีสําคัญของโลก นอกจาก เป็นสาเหตุทีทําให้ประชากรทัวโลกป่วยนับล้านคนต่อปีแล้ว วัณ โรคยังเป็นโรคติดเชือทีฆ่าชีวิตมนุษย์มากเป็นอันดับทีสองรองจาก โรคเอดส์ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก3 ประมาณการว่า ประชากรบนโลกจํานวน 1 ใน 3 ได้ติดเชือวัณโรคแล้ว ซึงใน จํานวนนีมีทังทีแสดงอาการป่วยและยังไม่แสดงอาการป่วย และ พบอัตราการติดเชือใหม่เกิดขึน 1 คนต่อวินาที โดยใน พ.ศ. 2554 มีรายงายพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 9 ล้านคนทัวโลก และมี

(2)

ผู้เสียชีวิตจากวัณโรค 1.4 ล้านคน ส่วนมากอยู่ในประเทศทีกําลัง พัฒนา ซึงรวมถึงประเทศไทยด้วย

จากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก3 ใน พ.ศ. 2554 ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศทีมีปัญหาวัณโรคมากเป็นอันดับ ที 18 ของโลก โดยคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีผู้ป่วยวัณโรคราย ใหม่ทุกประเภท ปีละประมาณ 86,000 ราย (124 ต่อแสน ประชากร) จํานวนผู้เสียชีวิตประมาณ 9,800 ราย (14 ต่อแสน ประชากร) แต่จากการรายงานโรคของสํานักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขไทย4 พบว่าในพ.ศ.2554 พบผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่ 62 ต่อแสนประชากร และจากรายงานของสํานักงานสถิติ

แห่งชาติ5 ใน พ.ศ. 2554 มีผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรคจํานวน 4,784 ราย (7.5 ต่อแสนประชากร) ซึงวัณโรคนับเป็นสาเหตุของการ เสียชีวิตมากเป็นอันดับที 10 จากสาเหตุการเสียชีวิตทังหมดของ ประเทศไทย และเป็นโรคติดเชือทีทําให้คนไทยเสียชีวิตมากทีสุด ในบรรดาโรคติดเชือทังหมด จากรายงานของประเทศไทยทัง จํานวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และจํานวนผู้ป่วยวัณโรคทีเสียชีวิต พบว่าตํากว่าการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก เนืองจากบาง โรงพยาบาลไม่ได้รายงานข้อมูลการรักษาเข้าสู่กระทรวง สาธารณสุข และผู้ป่วยวัณโรคบางส่วนไม่ได้รับการรักษาในระบบ สาธารณสุขของรัฐ แต่ไปรับการรักษาทีสถานพยาบาลอืน เช่น โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน เป็นต้น ซึงสถานพยาบาล เหล่านีไม่ได้รายงานการรักษาเข้าสู่กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนัน บางรายอาจยังไม่ได้รับการรักษาเลย6

ในประเทศทีพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ อัตราอุบัติการณ์ของวัณโรค ปอดในบุคลากรด้านการแพทย์ทีสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคจะสูงกว่าใน ประชากรทัวไป หรือในบุคลากรทีไม่สัมผัสวัณโรคเกือบทุก การศึกษา7,8 และในบางประเทศบุคลากรทีทํางานในโรงพยาบาลมี

อัตราเสียงในการเป็นวัณโรคสูงกว่าประชาชนทัวไปถึง 3 เท่า แต่

สําหรับประเทศทีกําลังพัฒนาทีมีระบบสุขอนามัยในประเทศยังไม่

ดีนัก บุคลากรทางการแพทย์มีโอกาสได้รับเชือวัณโรคจากการ ดําเนินชีวิตในสังคมได้สูง9 การศึกษาถึงความเสียงของบุคลากรใน การได้รับเชือวัณโรคจากการทํางานจึงไม่ชัดเจนมากนัก แต่ผล การศึกษาส่วนใหญ่ก็แสดงให้เห็นว่าบุคลากรด้านการแพทย์ที

สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคมีอัตราการติดเชือวัณโรคสูงกว่าบุคลากรด้าน การแพทย์ทีไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค และสูงกว่าประชากรทัวไป ซึงสอดคล้องกับการศึกษาในประเทศไทยทีทําการศึกษาการติด เชือวัณโรคในบุคลากรโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลนพรัตน์ราช ธานี10 และโรงพยาบาลแม่สอด11 โดยพบอัตราการติดเชือวัณโรค ของบุคลากรโรงพยาบาลทังสองแห่งเท่ากับร้อยละ 71.00 และ 75.60 ตามลําดับ

บุคลากรทางการแพทย์ทีมีความเสียงต่อการเป็นวัณโรคสูง8 ได้แก่ พยาบาลทีปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วย เจ้าหน้าทีห้อง ตรวจทางปฏิบัติการ พยาธิแพทย์ แพทย์โรคทรวงอก วิสัญญี

แพทย์ บุคลากรแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน และทันตบุคลากร โดยพบ ปัจจัยทีสัมพันธ์กับการติดเชือวัณโรคในบุคลากรโรงพยาบาล

ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคล9,12 เช่น เพศชาย (32.60%) อายุ

มากกว่า 35 ปี (43.00%) การได้รับวัคซีน BCG (41.40%) การมี

BMI น้อยกว่า 19 (odds ratio [OR] = 2.96, 95% confidence interval [CI] = 1.49 - 5.87) ปัจจัยจากการปฏิบัติงาน9,11 เช่นการ มีเพือนร่วมงานป่วยเป็นวัณโรค (P < 0.01) การปฏิบัติงานทีให้

การดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก(P < 0.05) การปฏิบัติงานในหน่วยงานทีมี

การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์(P < 0.05) และความถีในการสัมผัสกับ ผู้ป่วยวัณโรค(OR = 2.83, 95% CI = 1.47 - 18.36) สําหรับ การศึกษาปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันการ ติดเชือวัณโรคจากการทํางานของบุคลากรทางการพยาบาลโดยใช้

PRECEDE MODEL เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย13 พบปัจจัยทีมี

ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) ได้แก่ ทัศนคติ

(r = 0.22) ความเชือในความสามารถตนเองในการปฏิบัติตาม หลักการป้องกันการติดเชือวัณโรคจากการทํางาน (r = 0.39) การ รับรู้ของบุคลากรเกียวกับการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร(r = 0.26) วัสดุ

อุปกรณ์และการจัดการสภาพแวดล้อมโดยโรงพยาบาลเพือป้องกัน การติดเชือวัณโรคจากการทํางาน(r = 0.48) และการสนับสนุนการ ได้คําแนะนําจากเพือนร่วมงานและหัวหน้า (r = 0.50)

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทางมาตรฐาน การดําเนินงานควบคุมการแพร่กระจายเชือวัณโรคใน สถานพยาบาล1 โดยมีมาตรการลดความเสียงต่อการแพร่กระจาย และติดเชือวัณโรคเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการ ถือ เป็นด่านแรกของมาตรการควบคุมการแพร่เชือและเป็นมาตรการที

สําคัญทีสุด ประกอบด้วยการประเมินความเสียงต่อการ แพร่กระจายเชือ การจัดตังกรรมการรับผิดชอบการวางแผนและ มาตรการ การอบรมบุคลากร การค้นหาผู้ป่วยวัณโรค การให้สุข ศึกษา การจัดสถานทีในการให้บริการให้เหมาะสม การลดการ สัมผัสเชือวัณโรคในห้องชันสูตร การรักษาแบบผู้ป่วยใน การให้

ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน (2) การควบคุมสภาพแวดล้อม เป็น การควบคุมสภาพแวดล้อมให้ปราศจากเชือวัณโรคในอากาศ (3) การควบคุมป้องกันระดับบุคคล เป็นการป้องกันการติดเชือเฉพาะ บุคคล เป็นมาตรการเสริมจากการควบคุมด้านการบริหารจัดการ และการควบคุมสภาพแวดล้อม ได้แก่การให้ผู้ป่วยใช้ Surgical mask และให้บุคลากรทีเป็นผู้ให้บริการใช้ N95 mask14 นอกจาก มาตรการในการแพร่กระจายเชือวัณโรค 3 ระดับนีแล้ว ยังมี

มาตรการในการเฝ้าระวังการติดเชือและป่วยเป็นวัณโรคใน บุคลากรสาธารณสุข โดยบุคลากรทางการแพทย์ต้องมีการป้องกัน ตนเองโดย (1) มีความรู้เกียวกับวัณโรค ลักษณะการแพร่เชือและ แนวทางป้องกัน (2) การตรวจเช็คสุขภาพก่อนเริมทํางานและ ระหว่างทํางานว่าเป็นวัณโรคหรือไม่

มีการศึกษาถึงความสําเร็จการป้องกันตนเองของบุคลากรทาง การแพทย์ในหลาย ๆ ประเทศจากโรค Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS) ในปี พ.ศ. 2546 ซึงเป็น โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกับวัณโรค โดย DeJoy และคณะ15 ทีได้นําแนวคิดพฤติกรรมการป้องกันตนเองใน

(3)

ทีทํางาน16 มาเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย ซึงแนวคิดนีแบ่ง ปัจจัยทีมีผลต่อการป้องกันตนเองต่อการติดเชือออกเป็น 3 ด้าน คือ (1) ปัจจัยด้านองค์กร เป็นปัจจัยทีได้รับสนับสนุนจากองค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กร การเผยแพร่คําแนะนําทีดีจากบุคคลซึง เคยมีประสบการณ์มาก่อน เป็นลักษณะการสร้างสภาพความ ปลอดภัย (safety climate) นําไปสู่การออกนโยบาย หรือออกเป็น ขันตอนการปฏิบัติงาน การอบรมให้ความรู้บุคลากร การให้สิงตอบ แทน (2) ปัจจัยด้านสิงแวดล้อม ได้แก่อุปกรณ์ และเครืองมือที

สนับสนุนการป้องกันการติดเชือ เช่น N95 Mask อ่างล้างมือ ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดมือ ระบบระบายอากาศ รวมทัง ความสามารถในการใช้ทรัพยากรนัน ๆ ด้วย (3) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ความรู้ ความเข้าใจในความเสียงของการเกิดอันตรายจาก การทํางาน ความเชือและทัศนคติของแต่ละคน ประสบการณ์

ทํางานหรือการพบเจอเหตุการณ์ใด ๆ มาก่อน ความเข้าใจใน มาตรการการป้องกันความปลอดภัยขององค์กร และสิงทีมีอิทธิพล ต่อมาตรฐานด้านบุคคล เช่น จากเพือน จากคนรอบข้าง เป็นต้น ซึงจากการศึกษาความความสําเร็จในการป้องกันตนเองของ บุคลากรทางการแพทย์จากโรค SARS พบว่าปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยด้านบุคคล มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองซึงควร ให้ความสําคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านสิงแวดล้อม ทําให้เกิดการ เปลียนแปลงแนวคิดของการป้องกันการติดเชือในโรงพยาบาลที

ควรให้ความสําคัญให้ครบทุกด้าน จากเดิมทีเน้นไปทีปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อมเพียงอย่างเดียว

เมือนํามาตรการการลดความเสียงต่อการแพร่กระจายและการ ติดเชือวัณโรคในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขไทย ทัง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการบริหารจัดการ ระดับการควบคุม สภาพแวดล้อมและ การควบคุมป้องกันระดับบุคคล มาจําแนกตาม ปัจจัยของแนวคิดพฤติกรรมการป้องกันตนเองในทีทํางานของ DeJoy มี 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านสิงแวดล้อม และปัจจัยด้านบุคคล พบว่ามาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่มีความครอบคลุมปัจจัยด้านองค์กรและปัจจัยด้าน สิงแวดล้อม สําหรับปัจจัยด้านบุคคลมีเพียงเรืองความรู้เกียวกับ วัณโรค ซึงเป็นส่วนหนึงของมาตรการในการเฝ้าระวังการติดเชือ ในบุคลากรสาธารณสุข ไม่ได้ครอบคลุมปัจจัยด้านบุคคลทังหมด เช่น ยังไม่มีด้านทัศนคติ ความเชือ ประสบการณ์ทํางาน ความ เข้าใจในมาตรการการป้องกันความปลอดภัย สิงทีมีอิทธิพลต่อ มาตรฐานด้านบุคคล เป็นต้น นอกจากนียังพบว่าตัวชีวัดการ ดําเนินงานวัณโรคสําหรับโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 255417 ได้

เน้นการป้องกันการแพร่กระจายเชือวัณโรคในโรงพยาบาล โดย การมีช่องทางเร่งด่วนในการรับบริการของผู้ป่วยวัณโรค การมีห้อง หรือพืนทีแยกอย่างเหมาะสมสําหรับผู้ป่วยวัณโรคเสมหะมีเชือใน หอผู้ป่วยใน การจัดสถานทีตรวจคลินิกวัณโรคออกจากคลินิกอืน ๆ ทีมีความเสียงต่อการติดเชือวัณโรคได้ง่าย ซึงทังหมดมุ่งเน้นที

ปัจจัยด้านองค์กรและด้านสภาพแวดล้อมทังสิน แสดงว่านโยบาย สาธารณสุขไทยยังไม่ให้ความสําคัญครอบคลุมปัจจัยทุกด้านทีมี

ผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองในทีทํางาน ซึงอาจเป็นสาเหตุ

ทีทําให้การป้องกันการติดเชือวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์

ของไทยยังไม่ประสบความสําเร็จ

เภสัชกรทีให้บริการผู้ป่วยวัณโรคตามประกาศ ก.พ.18 มีหน้าที

ให้คําแนะนําการกินยา ติดตามการกินยาและอาการข้างเคียงจาก ยา ส่งมอบยา จําเป็นต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยวัณโรค ถือว่ามี

ความเสียงในการทีจะได้รับเชือวัณโรคจากการปฏิบัติงาน ดังนัน จึงจําเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรคโดยมี

วัตถุประสงค์หลักเพือศึกษาปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการติดเชือวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรคใน โรงพยาบาล โดยนําแนวคิดพฤติกรรมการป้องกันตนเองในที

ทํางานของ DeJoy มาเป็นกรอบแนวคิดการศึกษา และ วัตถุประสงค์รองคือเพือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วน บุคคลและลักษณะการจัดการบริการกับพฤติกรรมการป้องกันการ ติดเชือวัณโรค ซึงผลการศึกษาอาจใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบ การป้องกันการติดเชือวัณโรคของงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลของ ประเทศไทยต่อไป

วิธีการศึกษา

การศึกษานีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวางทีใช้การ สํารวจ (quantitative cross-sectional survey research) เก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mailed questionnaire) จากวัตถุประสงค์เพือศึกษาปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการติดเชือวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค โดย มีสมมุติฐานการศึกษาว่าปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้าน สิงแวดล้อม และปัจจัยด้านบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ป้องกันการติดเชือวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค ดังนัน ตัวแปรทีศึกษามีดังนี ตัวแปรต้นกลุ่มแรก ได้แก่ ปัจจัยด้าน องค์กร หมายถึง เป็นปัจจัยทีบุคคลนันได้รับสนับสนุนจากองค์กร หรือหน่วยงาน ได้แก่ การจัดการให้มีนโยบายหรือแนวทางการ ปฏิบัติเพือป้องกันการติดเชือวัณโรคจากการปฏิบัติงาน การทําให้

เกิดวัฒนธรรมองค์กร(organization culture) เช่น การแบ่งปัน ความคิดในการป้องกันการติดเชือวัณโรคโดยผู้ทํางานเอง โดยการ เผยแพร่คําแนะนําทีดีจากบุคคลซึงเคยมีประสบการณ์มา การ อบรมให้ความรู้บุคลากรเกียวกับการป้องกันการติดเชือวัณโรค การให้สิงตอบแทนไม่ว่าจะเป็นสิงของ เช่น เงิน รางวัล หรือไม่ใช่

สิงของเช่น การชมเชย เมือมีการปฏิบัติตัวในการป้องกันวัณโรค ได้ดี

สําหรับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง ปัจจัยทีช่วยให้

บุคคลมีพฤติกรรมในการป้องกันการติดเชือวัณโรคระหว่างการ ปฏิบัติหน้าทีในการส่งมอบยาให้แก่ผู้ป่วยวัณโรคได้ง่ายขึน ประกอบด้วยทรัพยากรต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ และเครืองมือที

สนับสนุนการป้องกันการติดเชือ เช่น หน้ากาก N95 อ่างล้างมือ พร้อมผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดมือ นอกจากนัน ยังรวมถึง

(4)

สภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานทีทํางาน ระบบระบาย อากาศของอาคารทีปฏิบัติงาน ส่วนปัจจัยด้านบุคคล หมายถึง ปัจจัยทีเกิดขึนในแต่ละบุคคลซึงมีความแตกต่างกัน ทังในเรือง ความรู้ ความเข้าใจในความเสียงของการติดเชือวัณโรคและ มาตรการการป้องกันการแพร่กระจายเชือวัณโรคขององค์กร ความเชือและทัศนคติของแต่ละคนในการป้องกันการติดเชือวัณ โรค ประสบการณ์ทีผ่านมาเกียวกับวัณโรค และสิงทีมีอิทธิพลต่อ มาตรฐานส่วนบุคคลในการป้องกันวัณโรค เช่น จากเพือน จากคน รอบข้าง ครอบครัว สภาวะร่างกายเป็นต้น

ส่วนตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณ โรค หมายถึงกิจกรรมทีบุคลากรกระทําเพือป้องกันการติดเชือวัณ โรคจากผู้ป่วย ทังการติดเชือผ่านลมหายใจและสารคัดหลัง โดย แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที

เหมาะสม หมายถึงการจัดการเกียวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วน บุคคลทีเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การให้ผู้ป่วยทีมี

อาการสงสัยว่าจะเป็นวัณโรคใส่หน้ากากปิดปาก จมูก (surgical mask) การทีบุคลากรใช้หน้ากากแบบกรองอากาศ (Mask N-95) ขณะปฏิบัติงานกับผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชือ การตรวจเช็ค หน้ากากแบบกรองอากาศ (Mask N-95) ก่อนใช้งาน ว่ามีความ แนบสนิทกับใบหน้า (fit test) 2) การแยกผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้

เชือแพร่กระจาย หมายถึง การจัดบริเวณให้ผู้ป่วยทีมีการติดเชือ หรือสงสัยว่ามีการติดเชือวัณโรคปอด แยกออกจากผู้ป่วยอืน ๆ การดูแลให้ได้รับบริการแบบเร่งด่วน หรือแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว 3) การมีสุขอนามัยทีดี หมายถึงการดูแลสุขภาพของบุคลากร การ ปฏิบัติตามหลักปราศจากเชือ การล้างมือทีถูกต้อง การจัด สภาพแวดล้อมในการทํางานให้ถูกสุขลักษณะอนามัยทีดี มีความ สะอาด มีการระบายอากาศทีดี รวมทังการทําลายเชือ ทําให้

ปราศจากเชือ 4) การตรวจสุขภาพเพือหาว่ามีการติดเชือวัณโรค หรือไม่ เช่นการถ่ายภาพรังสีทรวงอกประจําทุกปี การตรวจเสมหะ และถ่ายภาพรังสีทรวงอกเมือมีอาการป่วยคล้ายวัณโรค

ประชากรในการศึกษานี คือ เภสัชกรหรือเจ้าหน้าที ทีทํา หน้าทีส่งมอบยาให้ผู้ป่วยวัณโรคโดยมีปฏิสัมพันธ์ เช่นแนะนําการ กินยา พูดคุย ซักถามกับผู้ป่วยวัณโรคโดยตรงมากทีสุดในรอบ 1 เดือนทีผ่านมา ในโรงพยาบาลสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ส่วนตัวอย่างในการศึกษานีเลือกจาก ประชากรดังกล่าว โดยให้หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเป็นผู้

คัดเลือกผู้ตอบแบบสอบถาม 1 คน ต่อ 1 โรงพยาบาล จํานวน ตัวอย่างจึงมีจํานวนเท่ากับจํานวนโรงพยาบาลสังกัดสํานักงาน ปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข คือ 827 ราย

โดยคํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน โดยให้มีค่าความเชือถือ 95% ได้จํานวนตัวอย่างเท่ากับ 270 ราย และคํานวณจํานวนแบบสอบถามทีต้องส่ง โดยผู้วิจัยมีการเก็บ ข้อมูลเพิมเติมเพือป้องกันการสูญหายในการตอบกลับของ แบบสอบถามที 40% ได้จํานวนแบบสอบถามทีต้องส่งทังหมด

675 ฉบับ และสุ่มเลือกโรงพยาบาลทีส่งแบบสอบถาม 2 ขันตอน คือ ขันที 1 ใช้วิธี quota sampling เพือแบ่งสัดส่วนจํานวน ตัวอย่างตามจํานวนของขนาดโรงพยาบาล และขันที 2 ใช้วิธี

simple random sampling โดยการจับฉลากรายชือโรงพยาบาล ตัวอย่างจากโรงพยาบาลแต่ละขนาดให้ครบตามจํานวนทีคํานวณ ได้ โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน พ.ศ. 2557

เครืองมือทีใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการ ป้องกันการติดเชือวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรคที

ผู้วิจัยพัฒนาขึน ซึงมีขันตอนการสร้างและตรวจสอบแบบสอบถาม ดังนี ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามโดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาแนวคิด พฤติกรรมการป้องกันตนเองในทีทํางานของ DeJoy และจากการ สัมภาษณ์เภสัชกรผู้รับผิดชอบคลินิกวัณโรคและการศึกษาดูงาน ในคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จํานวน 3 แห่ง

จากนันนําแบบสอบถามทีสร้างขึนไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ

ตรวจสอบคุณภาพ ความตรงตามเนือหา (content validation) จํานวน 3 ท่าน แล้วปรับปรุงแบบสอบถามตามคําแนะนําของ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากนันนําแบบสอบถามทีปรับปรุงสมบูรณ์แล้วไป ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึงมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที

เราต้องการเก็บข้อมูลจริง คือ บุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรคใน โรงพยาบาลของรัฐบาล ทีไม่ได้สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ โดยมีจํานวนตัวอย่างทีใช้

ทดสอบ 36 ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 - มกราคม พ.ศ. 2557 ซึงเมือนําข้อมูลทีเก็บได้มาวิเคราะห์หา คุณภาพของแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ความเชือมัน (reliability) ของแบบสอบถามในข้อคําถามทีเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ได้แก่ แบบสอบถามในส่วนที 2 เกียวกับปัจจัยด้าน องค์กร ด้านสิงแวดล้อม และด้านบุคคล และคําถามเกียวกับ พฤติกรรมการป้องกันเชือวัณโรคพบว่ามีความเชือมันสูง โดยแต่

ละปัจจัยมีค่าสัมประสิทธิความเชือมันตํามากกว่า 0.8 (0.8308, 0.8692, 0.8534 และ 0.8713 ตามลําดับ)

แบบสอบถามทีผ่านการทดสอบและนําไปใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี แบบสอบถามส่วนที 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของตัวอย่าง โดยเป็นลักษณะข้อคําถามให้

เลือกตอบ และเติมคําตอบในข้อคําถามแบบปลายเปิด โดยตัวแปร ทีสําคัญได้แก่ ประวัติการเคยได้รับวัคซีน BCG ประวัติการได้รับ การฝึกอบรมในเรืองการป้องกันการติดเชือวัณโรค ลักษณะการ ให้บริการส่งมอบยาวัณโรค (แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ แบบแยกช่อง จ่ายยา แบบจ่ายร่วมกับโรคอืนหรือแยกจ่ายเฉพาะช่วงแพร่เชือ) และ ระบบบริหารบุคคลทีทําหน้าทีส่งมอบยาวัณโรค (มอบหมาย ให้เจ้าที 1 คนทําหน้าทีส่งมอบยา มอบหมายเจ้าหน้าทีมากกว่า 1 คนสลับกันจ่ายยา ให้เจ้าหน้าทีทุกคนหมุนเวียนกันจ่ายยา)

แบบสอบถามส่วนที 2 เกียวกับปัจจัยด้านองค์กร ด้าน สิงแวดล้อม และด้านบุคคล และคําถามพฤติกรรมการป้องกันเชือ

(5)

วัณโรค โดยลักษณะแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) ซึงผู้วิจัยนําข้อมูลทีได้จากตัวอย่างแต่ละคนมาแปล เป็นระดับการจัดการป้องกันการติดเชือวัณโรคและระดับ พฤติกรรมการป้องกันเชือวัณโรคใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มของเลวิน และรูบิน ซึงแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ตํา ปานกลาง สูง ข้อมูลทีได้จึงมี

ลักษณะเป็น ordinal scale

โดยปัจจัยด้านองค์กรมีคําถาม 8 ข้อ ตัวเลือกคําตอบเป็นมา ตราส่วนประเมินค่า (rating scale) 3 ระดับ โดยให้ตอบตรงกับ ความรับรู้มากทีสุด ดังนี ใช่ (ให้ 3 คะแนน) ไม่ทราบ (2 คะแนน) และ ไม่ใช่ (ให้ 1 คะแนน) แล้วนําคะแนนเฉลียของตัวอย่างแต่ละ รายมาจัดกลุ่มตามการแปลผลคะแนนโดยใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่ม ของ เลวินและรูบิน จากอันตรภาคชัน = (คะแนนสูงสุด – คะแนน ตําสุด )/จํานวนกลุ่ม ได้เป็น (3-1)/3 = 0.66 ดังนัน ได้ 3 กลุ่มดังนี

คะแนนเฉลียระหว่าง 1.00 – 1.66 หมายถึงการจัดการด้านองค์กร ต่อการป้องกันการติดเชือวัณโรคอยู่ในระดับตํา ระหว่าง 1.67–

2.33 หมายถึงระดับปานกลาง และคะแนนเฉลียระหว่าง 2.34 – 3.00 หมายถึง การจัดการด้านองค์กรต่อการป้องกันการติดเชือ วัณโรคอยู่ในระดับสูง

ปัจจัยด้านสิงแวดล้อมมีคําถาม 5 ข้อ คําตอบเป็นมาตราส่วน ประเมินค่า 3 ระดับ เหมือนปัจจัยด้านองค์กร และจัดกลุ่มระดับได้

เหมือนปัจจัยด้านองค์กรเช่นกัน คือ คะแนนเฉลียระหว่าง 1 .00–

1.66 หมายถึง การจัดการด้านสิงแวดล้อมต่อการป้องกันการติด เชือวัณโรคอยู่ในระดับตํา ระหว่าง 1.67 – 2.33 หมายถึง ระดับ ปานกลาง และระหว่าง 2.34 – 3.00 หมายถึง การจัดการด้าน สิงแวดล้อมต่อการป้องกันการติดเชือวัณโรคอยู่ในระดับสูง

สําหรับปัจจัยด้านบุคคลมีคําถาม 9 ข้อ คําตอบเป็นมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิง (5 คะแนน) เห็นด้วย (4 คะแนน) ไม่แน่ใจ (3 คะแนน) ไม่เห็นด้วย (2 คะแนน) และ ไม่เห็น ด้วยอย่างยิง (1 คะแนน) จัดแบ่งระดับได้ดังนี คะแนนเฉลีย ระหว่าง 1.00 – 2.33 หมายถึง ปัจจัยด้านบุคคลในการป้องกันการ ติดเชืออยู่ในระดับตํา ระหว่าง 2.34 – 3.67 หมายถึง ระดับปาน กลาง และระหว่าง 3.68 – 5.00 หมายถึง ระดับสูง

ท้ายสุด แบบสอบถามเกียวกับพฤติกรรมในการป้องกันการติด เชือวัณโรคมีคําถาม 7 ข้อ ลักษณะแบบสอบถามให้เลือกตอบจาก ตัวเลือก 4 ตัวเลือก คือ ปฏิบัติทุกครัง (100%) ให้ 3 คะแนน ปฏิบัติบ่อยครัง (> 50%) และปฏิบัติบางครัง (< 50%) ให้ 2 คะแนน และไม่เคยปฏิบัติเลยให้ 1 คะแนน โดยจัดกลุ่มระดับ พฤติกรรมว่า หากคะแนนเฉลียระหว่าง 1.00 – 1.66 หมายถึง มี

พฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรคอยู่ในระดับตํา ระหว่าง 1.67 – 2.33 หมายถึงระดับปานกลาง และ 2.34 – 3.00 หมายถึง มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรคอยู่ในระดับสูง

วิธีดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยขออนุญาตทําการวิจัยในมนุษย์ จากคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศิลปากร (เอกสารรับรองเลขที 4/2556 วันที 2 ตุลาคม พ.ศ.

2556) จากนันทําหนังสือถึงหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมของ โรงพยาบาลทีถูกสุ่มเลือกมาเป็นตัวอย่าง เพือขอความอนุเคราะห์

เก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้หัวหน้า กลุ่มงานเภสัชกรรมเป็นผู้คัดเลือกผู้ตอบแบบสอบถาม โดย คัดเลือกเภสัชกรหรือเจ้าหน้าทีเพียง 1 ท่านซึงเป็นผู้ส่งมอบยาให้

ผู้ป่วยวัณโรคมากทีสุดในรอบ 1 เดือนทีผ่านมา เป็นผู้ตอบ แบบสอบถามด้วยตนเอง เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายนพ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์และนําเสนอข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้

สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลีย และส่วนเบียงเบนมาตรฐานใน การวิเคราะห์ นําเสนอการแปลผลคะแนนการจัดการป้องกันการ ติดเชือวัณโรคและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรคโดยใช้

สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าฐานนิยม ร้อยละ ค่าเฉลีย ส่วน เบียงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Pearson chi-square วิเคราะห์

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่าง ๆ รวมถึงลักษณะส่วนบุคคล และลักษณะบริการ กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชือวัณโรค กําหนดระดับนัยสําคัญที P < 0.05

ผลการศึกษา

ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และข้อมูลการ ให้บริการส่งมอบยาวัณโรค

จากแบบสอบถามทังหมดทีส่งให้โรงพยาบาล 375 แห่ง ได้

ตอบกลับมา 351 แห่ง คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 52.0 จาก ผู้ตอบแบบสอบถามจํานวน 351 รายนี ส่วนใหญ่มีอายุระหว่างช่วง 30 - 39 ปี (ร้อยละ 61.0) โดยค่าเฉลียอายุเท่ากับ 34.81 ปี เป็น เพศหญิง (ร้อยละ 73.5) มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 76.4) มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ คืออยู่ในช่วง 18.5 - 22.9 (ร้อยละ 57.7) ไม่มีโรคประจําตัว (ร้อยละ 87.7) สําหรับผู้ทีมีโรค ประจําตัวส่วนใหญ่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ เคยได้รับวัคซีน BCG (ร้อยละ 68.8) ไม่เคยตรวจทูเบอร์คูลิน (ร้อยละ 79.7) สําหรับผู้ที

เคยตรวจทูเบอร์คูลินพบว่าส่วนใหญ่ได้ผลเป็นลบหรือไม่มีเชือ (ร้อยละ 65.9) อยู่ในตําแหน่งเภสัชกร (ร้อยละ 95.1) ระยะเวลา เฉลียในการปฏิบัติงานให้บริการส่งมอบยาวัณโรค 5.33 ปี

ระยะเวลาการปฏิบัติงานสูงสุด 25 ปี น้อยสุด 1 ปี ครึงหนึงไม่เคย ได้รับการฝึกอบรมในเรืองหลักการป้องกันการติดเชือวัณโรคจาก การให้บริการทางการแพทย์ (ร้อยละ 51.0) สําหรับผู้ทีเคยผ่าน การอบรมมีจํานวนครังเฉลียทีเคยได้รับการอบรม 1.14 ครัง ไม่

เคยป่วยเป็นวัณโรค (ร้อยละ 98.3) จํานวนผู้ป่วยวัณโรคที

ให้บริการเฉลีย 43 ราย/เดือน จํานวนชัวโมงเฉลียทีให้บริการส่ง มอบยาวัณโรค 16.59 ชัวโมง/ เดือน พบโรงพยาบาลทีมีเจ้าหน้าที

เคยป่วยด้วยวัณโรคร้อยละ 41.7 โดยในจํานวนนันเคยเป็นผู้ส่ง

Referensi

Dokumen terkait

Based on the results of research and discussion on the integrated type of integrated learning model and its effect on interest and learning outcomes in SBdP learning, especially