• Tidak ada hasil yang ditemukan

รายงานการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธี matched case ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "รายงานการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธี matched case ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล"

Copied!
81
0
0

Teks penuh

(1)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 1

รายงาน การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

โดยใช้วิธี matched case ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Comparative behaviors between cigarette and e-cigarette smoking by matched cases in Bangkok and vicinity areas

ผศ.ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย และ ผศ.ดร.อุษณีย์ พึ่งปาน

ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกรายงานว่า จ านวนผู้สูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นหนึ่งเท่า โดยมีจ านวน สูงถึง 2,300 ล้านคน ทั้งนี้ยังรายงานว่า บุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร 100 ล้านคนในศตวรรษที่ 20 และระบุว่าเฉพาะในปีนี้ กลุ่มผู้เสียชีวิตจ านวน 5 ล้านคนเคยสูบหรือสูบบุหรี่ ขณะที่อีกกว่า 600,000 คนเสียชีวิต เพราะได้รับควันบุหรี่ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง นอกจากนี้เป็นที่คาดการณ์ว่าจะมี

แนวโน้มที่มีคนสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น และมีจ านวนผู้เสียชีวิตในปี 2573 จะมีจ านวนสูงถึง 8 ล้านคนหากบุหรี่ยัง ไม่ได้รับการควบคุมต่อไป

พ.ศ. 2519 ส านักงานสถิติแห่งชาติ ส ารวจการสูบบุหรี่ของคนไทยทั้งประเทศเป็นครั้งแรก พบว่า มีผู้สูบ บุหรี่จ านวน ทั้งสิ้น 8.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30.1 และใน พ.ศ. 2544 ส ารวจพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่

เป็นประจ าจ านวน ทั้งสิ้น 10.6 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20.6 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 11 ปี ผลจากการ ส ารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2554 พบว่าประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จ านวน 53.9 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่

11.5 ล้านคน หรือร้อยละ 21.4 โดยเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจ า 9.9 ล้านคน (ร้อยละ 18.4) และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่

นานๆ ครั้ง 1.6 ล้านคน (ร้อยละ 2.9) โดยอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 20 เท่า คือร้อยละ 41.7 และ 2.1 ตามล าดับ เป็นผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล 1.4 เท่า คือร้อยละ 23.5 และ 17.3 ตามล าดับ

(2)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 2 คนไทยที่ติดบุหรี่ 3 คนใน 10 คนเท่านั้นที่เลิกสูบได้ส าเร็จ และในผู้ที่เลิกสูบได้ส าเร็จนั้นต้องตกเป็นทาส ของการสูบบุหรี่โดยเฉลี่ยถึง 20 กว่าปี ที่เหลือติดบุหรี่ไปจนตาย

บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cigarettes) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี่ที่จะสร้างความรู้สึก เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่โดยทั่วไป เป็นบุหรี่ที่ไม่มีใบยาสูบเป็นสารผสม สิ่งที่ผู้สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์จะได้รับมี

อย่างเดียวก็คือ สารนิโคติน และสารเคมีโพรไพลีนไกลคอล (PG) ที่เป็นละอองมีลักษณะคล้ายควันบุหรี่ โดยจะ บรรจุในรูปแท่ง (cartridge) ควบคุมโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋ว และเทคโนโลยีอะตอม โดยใช้แบตเตอรี่

ส าหรับอัดไฟไว้ในเครื่องเพื่อใช้งาน

บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ หรือ บุหรี่ไอน้ ามีการใช้อย่างแพร่หลายและสูงขึ้นในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก บุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนวิธีการที่จะน าสิ่งเสพติด “นิโคติน” เข้าสู่ร่างกายโดย เปลี่ยนจากการสูบบุหรี่เผา มาเป็นนิโคตินไอระเหยจากความร้อนของไฟฟ้า3

ผลกระทบจากการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีการวิจัยในสัตว์ ผลการวิจัยพบว่า นิโคตินจะก่อให้เกิดการ เติบโตเนื้องอก แต่ยังไม่มีการศึกษาการระบาดในมนุษย์ ในปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยเชิงทดลองที่ยืนยันถึง ผลกระทบระยะยาวของการใช้นิโคตินจากวิธีการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่ชัดเจน ในปี พ.ศ. 2551 WHO ได้ระบุ

ว่า ไม่มีการพิสูจน์ว่าการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์จะใช้แทนการบ าบัดรักษานิโคตินได้ เนื่องจากยังไม่มีผลการวิจัยที่

ยืนยันได้ว่า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยต่างๆ ก็ยัง ไม่มีการยืนยันถึงประสิทธิภาพและปลอดภัยของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ , , ทั้งนี้ Food and Drug Administration (FDA) โดย Margaret A. Hamburg, M.D. กล่าวว่า มีความห่วงใยในเรื่องของความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์บุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสอดคล้องกับ Health New Zealand (HNZ) และ Demokritos ที่ระบุว่ายังไม่มีข้อสรุปที่

ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อย่างไรก็ดียังมีงานวิจัยที่ระบุว่า การสะสมของสารนิโคตินที่ปอดจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย ต่างๆ คือ ความเข้มข้นของสารนิโคติน วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ และจะมีความแตกต่างกันตามผลิตภัณฑ์ต่างและ สภาวะสุขภาพของผู้สูบด้วย สอดคล้องกับอีกงานวิจัยที่ระบุว่า ถ้าสูดสารนิโคติน ต่ ากว่า 5% ก็จะน าไปสู่โรค ปอดได้

บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลักลอบน าเข้ามาจ าหน่ายอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย โดยเฉพาะการ จ าหน่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ตอย่างเปิดเผยและมีจ านวนมาก นอกจากนี้ ยังพบมีการออกบูทจ าหน่ายในหลาย สถานที่ เช่น งานแสดงสินค้าต่างๆ ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่เสนอโดยผู้ลักลอบจ าหน่ายเป็น ข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้าที่พบผ่านทางอินเตอร์เน็ตและหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ มักจะโฆษณาว่า เป็น นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเลิกบุหรี่ และอ้างสรรพคุณว่า มีนิโคตินปริมาณน้อย สอดคล้องกับนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ

อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเตือนภัยผู้บริโภคว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าเลียนแบบ ที่ผู้

จ าหน่ายโฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเลิกสูบบุหรี่ แต่พบว่าปริมาณนิโคติน (Nicotine) สูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลาย เท่า นับเป็นภัยตัวใหม่ จึงมีผลเสียต่อผู้ที่สูบบุหรี่ หากสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน

(3)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 3 หากน าไปใช้จะเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าดังกล่าว ยังไม่มีผลการวิจัยรับรองว่า ช่วยเลิกบุหรี่ได้จริง และมีงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศรีรัช ลอยสมุทร พบว่า สาเหตุของการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ คือ ความอยากรู้อยากลอง ต้องการเป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อน ที่ส าคัญส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ผิด ที่คิดว่าการสูบบุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นหนทางในการเลิกสูบบุหรี่ได้

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ชัดว่า ทั้ง WHO และ FDA ไม่มีการพิสูจน์ว่าการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

จะใช้แทนการบ าบัดรักษานิโคตินได้ และยังไม่มีงานวิจัยหรือการทดลองยืนยันถึงประสิทธิภาพและความ ปลอดภัยที่ชัดเจนในประเด็นนี้ ที่ส าคัญคือในประเทศไทยยังขาดองค์ความรู้ งานวิจัย การทดลองที่ชัดเจน เกี่ยวกับการใช้แทนการบ าบัดรักษานิโคตินได้เช่นเดียวกับ WHO และ FDA ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการศึกษา การใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้ทดแทนการเลิกสูบบุหรี่และพฤติกรรมเสพติดบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลจากการศึกษานี้เป็นฐานข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ ในการผลักดันนโยบายและการวางแผนการ ด าเนินการในระดับนโยบายในด้านการป้องกัน (Prevention) ผู้สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์หน้าใหม่ การรณรงค์สร้าง ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการเสพติด และอันตรายจากบุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์บนฐานของข้อมูลการวิจัยที่เป็นระบบ นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลในการก าหนดนโยบายในการ ควบคุมยาสูบ และในกรณีผู้เสพติดบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์อยู่ ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นประโยชน์ในการวางแผน บ าบัดรักษา และการดูแลสุขภาพต่อไป

วัตถุประสงค์

ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ของกลุ่มผู้ใช้บุหรี่กับกลุ่มผู้ที่ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธี match case ด้วยตัวแปรของกลุ่มอายุ 2 ช่วงอายุ คือ วัยรุ่น (12-24 ปี) วัยผู้ใหญ่ (25-65 ปี)

(4)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 4

ขอบเขตการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยบุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในประเด็นดังนี้

พฤติกรรมการใช้และหรือพฤติกรรมเสพติดของกลุ่มผู้ใช้บุหรี่และผู้ที่ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธี

match case ด้วยตัวแปรของกลุ่มอายุ 2 ช่วงอายุ คือ วัยรุ่น (12-24 ปี) วัยผู้ใหญ่ (25-65 ปี)

การศึกษาพฤติกรรมเสพติดบุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

- ลักษณะทางประชากรและสังคม (อาทิ อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ รายได้ เป็นต้น)

- บริบทการสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (pattern of cig or e-cig use) โดยใช้ข้อค าถามการสัมภาษณ์

เหมือนกันในการศึกษาพฤติกรรมการใช้และพฤติกรรมเสพติดของ การสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

- ประสบการณ์ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

การ match case กลุ่มอายุในทุกกลุ่มอายุ อาจมีข้อจ ากัด เนื่องจาก ประสบการณ์การใช้บุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์มีพฤติกรรมการใช้ในกลุ่มอายุที่จ ากัด หากเกิดในกรณีดังกล่าวทีมผู้วิจัยจะใช้การวิธีการ snowball จากกลุ่มอายุที่จ ากัดนี้ ไปหากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในช่วงอายุเดียวกัน หรือต่างช่วงอายุกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้

ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บุหรี่ และพฤติกรรมการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ กระจายในทุกกลุ่มอายุ และ กระจายตามเพศ เช่นกัน

หากมีผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ทีมผู้วิจัยจะสัมภาษณ์เชิงคุณภาพเพิ่มเติม โดย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการใช้ข้อค าถามแบบมีโครงสร้างในประเด็นเกี่ยวกับ

1. สาเหตุที่เริ่มต้นการสูบบุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ หากมีการใช้สารเสพติดอื่นๆประกอบจะมีการสัมภาษณ์ใน ประเด็นของสาเหตุที่เริ่มต้นการใช้เช่นกัน

2. ความคิดเห็น/ความเชื่อเกี่ยวกับการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

3. ข้อดี ข้อเสียของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

4. การรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อบังคับ

5. สาเหตุที่เปลี่ยนการสูบจากบุหรี่ธรรมดาเป็นบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

6. การเข้าถึงบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (วิธี/ช่องทางในการส่งบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆให้แก่ผู้ซื้อ) 7. การรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อบังคับ

(5)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 5

กรอบแนวคิดการวิจัย

ลักษณะทางประชากร - อายุ

- เพศ - อาชีพ - การศึกษา - รายได้

-

บริบทการสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (

pattern of e-cig use) 1.

อายุที่เริ่มใช้

2.

สาเหตุที่ใช้

3.

วิธีการใช้

4.

ปริมาณที่ใช้ บุหรี่ (จ านวนมวน) บุหรี่

e-cig

(ปริมาณน ายาที่ใช้)

5.

จ านวนครั งที่สูบ

6.

สถานที่สูบ

7.

กลุ่มผู้ร่วมสูบ

8.

สถานการณ์ที่ผู้สูบต้องการสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

-

ประสบการณ์ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

1.

ประสบการณ์การใช้

2.

ความถี่

3.

ปริมาณการสูบ

(6)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 6

ระเบียบวิธีวิจัย รูปแบบการวิจัย

การศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้และหรือพฤติกรรมเสพติดของกลุ่มผู้ใช้บุหรี่และผู้ที่ใช้บุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วิธี match case ในตัวแปรกลุ่มอายุ 2 ช่วงอายุ คือ วัยรุ่น (12-24 ปี) วัยผู้ใหญ่ (25-65 ปี)

กลุ่มตัวอย่าง

ข้อมูลจากส านักงานสถิติแห่งชาติ ส ารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ปี 2554 พบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 ปี

ขึ้นไป จ านวน 53.9 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ 11.5 ล้านคน หรือร้อยละ 21.4 โดยเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจ า 9.9 ล้านคน (ร้อยละ 18.4)

เมื่อใช้โปรแกรม G power 3.0.1 ในการค านวณกลุ่มตัวอย่าง โดยก าหนดค่า effect size=0.5 ค่า error = 0.05 และ power = 95% ซึ่งจากการค านวณโดยใช้โปรแกรมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีประสบการณ์

สูบบุหรี่ อย่างน้อยจ านวน 62 ราย และ กลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อยจ านวน 62 ราย (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 แสดงการค านวณจ านวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G power 3.0.1

(7)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 7 จ านวนกลุ่มตัวอย่างตามที่เสนออนุมัติโครงการ คือ

- กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่ อย่างน้อย 62 ราย ในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มอายุ 12-24 ปี และ 25-65 ปี

- กลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อย 62 ราย ในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มอายุ 12- 24 ปี และ 25-65 ปี

เกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก

เกณฑ์การคัดเข้า

1. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 12-65 ปีทั้งเพศชายและเพศหญิง 2. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การสูบบุหรี่

3. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

4. อนุญาตและเต็มใจให้สัมภาษณ์

เกณฑ์การคัดออก

1. ผู้ที่มีอาการทางสมองและทางจิต ประสาท จนไม่สามารถตอบแบบสัมภาษณ์ได้

2. หญิงมีครรภ์

3. ผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารได้โดยการพูด (เช่น ผู้เป็นใบ้)

วิธีการเก็บข้อมูล

การสัมภาษณ์เชิงปริมาณจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ส่วนการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพเจาะลึก (In- Depth Interview) จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ในกลุ่มผู้ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การ คัดเข้า ในการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพผู้ถูกสัมภาษณ์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลรายละเอียด โดยผู้สัมภาษณ์จะซักถามตามข้อ ค าถามแบบมีโครงสร้างให้ครบประเด็นตามขอบเขตการวิจัยเท่านั้น

(8)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 8

ขั นตอนการวิจัย

1. ทีมวิจัยจัดประชุมเตรียมงาน

2. ทีมวิจัยจะเริ่มจากการติดต่อประสานงาน พื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล 3. สร้างแบบและคู่มือแบบสัมภาษณ์

4. ขอจริยธรรมในการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. อบรมพนักงานสนามเกี่ยวกับแบบสัมภาษณ์ รวมถึงเทคนิควิธีการสัมภาษณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์มี

ความเข้าใจการศึกษานี้เป็นอย่างดีและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

6. ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจและยินดีและเต็มใจให้สัมภาษณ์

7. กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า อย่างน้อย จ านวน 124 ราย โดยใช้

การสัมภาษณ์ประเด็นต่าง ๆ ในเชิงปริมาณ และสัมภาษณ์เชิงคุณภาพแบบเจาะลึก ซึ่งรายละเอียดการสัมภาษณ์

จะเป็นไปตามขอบเขตการวิจัย

8. น าผลการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ วิเคราะห์ผล 9. น าเสนอผลการวิจัย

10. เขียนรายงาน

ข้อตกลงเบื องต้น

1. การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า และใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In - depth Interview) กับผู้ที่มีประสบการณ์การใช้บุหรี่ และการใช้บุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมุ่งศึกษาในประเด็นตามกรอบแนวคิดและค าถามที่ผู้วิจัยก าหนดขึ้นเท่านั้น

2. ทีมผู้สัมภาษณ์จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน ศัพท์พื้นฐานและศัพท์

แสลงต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจตรงกันและให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อนท าการสัมภาษณ์จริง

(9)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 9

แบบสัมภาษณ์

1. แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในเคยใช้ในโครงการการประมาณการจ านวนผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย ซึ่ง ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรและสังคม (อาทิ อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ รายได้ เป็นต้น) บริบทการสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ คือ (1. อายุที่เริ่มสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 2. สาเหตุการสูบ บุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 3. วิธีการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 4. สถานที่สูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 5.

กลุ่มผู้ร่วมสูบบุหรี่ และบุหรี่อิอิเล็กทรอนิกส์ 6.สถานการณ์การสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์) ประสบการณ์

และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

2. แบบสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการใช้ข้อค าถามแบบมีโครงสร้างในประเด็นเกี่ยวกับ 1) สาเหตุที่เริ่มต้นการ สูบบุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ หากมีการใช้สารเสพติดอื่นๆประกอบจะมีการสัมภาษณ์ในประเด็นของสาเหตุที่

เริ่มต้นการใช้สารเสพติดอื่นเช่นเดียวกัน 2) ความคิดเห็น/ความเชื่อเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

3) ข้อดี ข้อเสียของบุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 4) การรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อบังคับ 5) สาเหตุที่เปลี่ยนการสูบ จากบุหรี่ธรรมดาเป็นบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าข่ายข้อค าถามนี้)

การตรวจสอบข้อมูล

การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangular) การศึกษานี้ได้น า แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ทดสอบแบบสัมภาษณ์ (Try out) กับกลุ่มตัวอย่างประมาณ 10 ราย เหตุผลที่ทดสอบ เพียง 10 ราย เนื่องจากข้อค าถามในแบบสัมภาษณ์นี้ส่วนใหญ่เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงปริมาณ เป็นแบบสัมภาษณ์ที่เคย น าไปใช้ในโครงการ “การส ารวจคุณภาพชีวิตทั่วประเทศ” เมื่อปี 2544, 2546, 2550, 2551 และ 2554 และโครงการ

“การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในสถานพินิจเด็กและเยาวชน ในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล” เมื่อปี พ.ศ. 2547 และ 2552 ส่วนแบบสัมภาษณ์เชิงคุณภาพในการศึกษานี้ใช้จากแบบสัมภาษณ์ในโครงการ

“การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในสถานพินิจเด็กและเยาวชน ในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล” แต่มีการปรับข้อค าถามให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้เร่ร่อน และปรับปรุงข้อค าถามบางข้อที่ไม่ชัดเจน เพื่อไม่ให้มี

การสับสนในการให้ข้อมูล

(10)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 10 แบบสัมภาษณ์ที่ได้รับการปรับปรุงหลังผ่านการทดสอบแล้วจึงน ามาใช้ในการวิจัยนี้ ซึ่งการวิจัยนี้ใช้การ สัมภาษณ์เชิงปริมาณจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที ส่วนการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพเจาะลึก (Depth Interview) จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที โดยจะเป็นการให้กลุ่มตัวอย่างเล่าเรื่องของตนให้เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้

สัมภาษณ์จะซักถามเพียงเล็กน้อยให้ครบประเด็นเท่านั้น และใช้การตรวจสอบข้อมูลโดยวิธี การตรวจสอบสาม เส้า

การวิเคราะห์ข้อมูล

เชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ จ านวน ความถี่ และ การเปรียบเทียบกลุ่มย่อย เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาแบบสร้างข้อสรุป

สถานที่เก็บข้อมูล

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

จริยธรรมการศึกษา

การศึกษานี้ได้รับการอนุมัติจริยธรรมการศึกษาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รหัส COA No.143/2015)

(11)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 11 ผู้อนุญาตและเต็มใจเข้าร่วมในการศึกษานี้ จ านวนทั้งหมด 214 ราย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

- กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่ ทั้งหมดจ านวน 109 ราย กลุ่มอายุ 12-24 ปี จ านวน 55 ราย

กลุ่มอายุ 25-65 ปี จ านวน 51 ราย

- กลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมดจ านวน 108 ราย กลุ่มอายุ 12-24 ปี จ านวน 32 ราย

กลุ่มอายุ 25-65 ปี จ านวน 76 ราย

การศึกษานี้ได้ด าเนินการเก็บข้อมูลได้มากกว่าที่ขออนุมัติโครงการไว้ ถึง 72.60 % (จากขอนุมัติไว้

ทั้งหมด 124 ราย เก็บข้อมูลได้ทั้งหมด 214 ราย)

ผลการศึกษานี้เก็บข้อมูลผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ จ านวน ทั้งหมด 214 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาย 191 ราย (ร้อยละ 89.3) และเป็นหญิง 23 ราย (ร้อยละ 10.7) รายละเอียด กลุ่มตัวอย่างแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงจ านวนผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี แยกเพศ

เพศ

ชาย หญิง

n (%) n (%)

ผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ อายุ 12-24 ปี 49 (25.7) 6 (26.1)

ผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ อายุ 25-65 ปี 39 (20.4) 12 (52.2)

ผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ อายุ 12-24 ปี 31 (16.2) 1 (4.3) ผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ อายุ 25-65 ปี 72 (37.7) 4 (17.4)

รวม 191 100.0 23 100.0

(12)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 12 เมื่อพิจารณาข้อมูลลักษณะทางประชากรของทั้ง 4 กลุ่ม พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 เป็นเพศชาย ในกลุ่ม ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ อายุ 12-24 ปี มีเพศชายมากที่สุด มีเพียง 1 คนเท่านั้นเป็นหญิง อายุ

ปัจจุบันเฉลี่ย พบว่า กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ อายุ 12-24 ปี มีอายุปัจจุบันเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ที่

มีประสบการณ์สูบบุหรี่ ในช่วงอายุเดียวกันเพียงเล็กน้อย (19.09±3.21 และ 20.13±2.72 ตามล าดับ) สถานภาพส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ในกลุ่มอายุ 12-24 ทั้งกลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่และสูบบุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์ รายงานว่า โสด ส่วนกลุ่มอายุ 25-65 ปีที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่รายงานว่าโสด ร้อยละ 37.3 ซึ่งผู้

ที่สูบบุหรี่โสดมากกว่าผู้สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ประมาณหนึ่งเท่าตัว กลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่ รายงานว่าอาศัยอยู่กับ พ่อและแม่ มากกว่าร้อยละ 60 (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 แสดงลักษณะทางประชากรของผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 ปีและ 25-65 ปี

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 12-24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 25-65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76)

เพศชาย n(%) 49(89.1) 39 (76.5) 31 (96.9) 72(94.7)

อายุ Mean±SD. 20.13±2.72 38.06±9.87 19.09±3.21 31.42±6.58

สถานภาพ: โสด 51(92.7) 19 (37.3) 26 (81.3) 48 (63.2)

อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ 35 (63.6) 16 (31.4) 22 (68.8) 43 (57.3)

ด้านการศึกษากลุ่มวัยรุ่นสูบบุหรี่มากกว่าร้อยละ 60 และในกลุ่มนี้ก าลังศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 54 ส่วนวัยรุ่นที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ รายงานว่าก าลังศึกษาอยู่และในจ านวนนี้ก าลังศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย

(13)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 13 ผู้ที่ส าเร็จการศึกษาแล้ว ส่วนใหญ่กลุ่มผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่มากกว่าครึ่งหนึ่งเรียนจบ มัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งต่างกับกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียนจบปริญญาตรี (ตาราง ที่ 3)

ตารางที่ 3 แสดงลักษณะทางประชากรเกี่ยวกับการศึกษาในกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มีประสบการณ์

สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 12-24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 25-65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76) การศึกษา

-ก าลังศึกษาอยู่ 38 (69.1) 2 (3.90) 20 (62.5) 6 (8.1)

มัธยมศึกษาตอนต้น 2 (10.0)

มัธยมศึกษาตอนปลาย 14 (37.8) 12 (60.0)

ปริญญาตรี 20 (54.1) 6 (30.0) 3 (50.0)

ปริญญาโท 3 (8.1) 2 (100.0) 3 (50.0)

-ส าเร็จการศึกษาแล้ว 16 (29.1) 48 (94.1) 12 (37.5) 67 (90.5)

ไม่จบประถมศึกษาปลาย 2 (2.9)

จบประถมศึกษาปลาย 2 (4.1) 2 (16.7) 2 (2.9)

มัธยมศึกษาตอนต้น 6 (37.5) 8 (16.3) 3 (25.0) 19 (27.9)

มัธยมศึกษาตอนปลาย 4 (25.0) 25 (51.0) 6 (50.0) 16 (23.5)

ปริญญาตรี 6 (37.5) 12 (24.5) 1 (8.3) 28 (41.2)

ปริญญาโท 2 (4.1) 1 (1.5)

ไม่ตอบ 1 1 3

(14)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 14 เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน อาทิ เรียนซ้ าชั้น หนีเรียนบ่อย การถูกครูลงโทษร้ายแรง นั้น พบว่า ร้อยละ 6-7 ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ รายงานว่าเคยเรียนซ้ าชั้น ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่น รายงาน ประมาณร้อยละ 2 ส่วนกลุ่มผู้ใหญ่สูบบุหรี่ไม่มีการรายงานว่าเคยเรียนซ้ าชั้น (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 แสดงลักษณะทางประชากรเกี่ยวกับการเรียนซ้ าชั้นในกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มี

ประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี

เรียนซ้ าชั้น

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 12-24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 25-65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76)

ไม่เคย 54 (98.2) 51(100.0) 30 (93.8) 71 (93.4)

เคย 1 (1.8) 2 (6.3) 5 (6.6)

พฤติกรรมการหนีเรียนบ่อยๆ พบการรายงานในกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่สูงกว่าทุกกลุ่ม เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้

ที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในวัยรุ่นรายงานว่าเคยหนีเรียน มากถึงร้อยละ 47 ในขณะที่วัยรุ่นที่สูบบุหรี่รายงานเพียง ร้อยละ 10.9 ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ เคยหนีเรียน ร้อยละ 22.4 ซึ่งวัยผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่รายงานการ หนีเรียนเพียงร้อยละ 4 (ตารางที่ 5 )

ตารางที่ 5 แสดงลักษณะทางประชากรเกี่ยวกับการหนีเรียนในกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มี

ประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี

หนีเรียนบ่อยหรือไม่

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 12-24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 25-65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76)

ไม่เคย 42 (76.4) 48(94.1) 14 (43.8) 53 (69.7)

เคย 6 (10.9) 2 (3.9) 15 (46.9) 17 (22.4)

เคยบ่อยๆ 7 (12.7) 1 (2.0) 3 (9.4) 6 (7.9)

(15)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 15 การถูกครูท าโทษร้ายแรง เห็นได้ชัดว่าในกลุ่มวัยรุ่น ผู้ที่สูบบุหรี่ รายงานว่าเคยถูกท าโทษร้ายแรง ประมาณร้อยละ 15 ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ มีรายงานสูงกว่าเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ ใน วัยผู้ใหญ่ มีผู้สูบบุหรี่รายงานร้อยละ 4 ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์รายงาน เคย สูงเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับ ผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ (ตารางที่ 6)

ตารางที่ 6 แสดงลักษณะทางประชากรเกี่ยวกับถูกครูท าโทษร้ายแรงในกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มี

ประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี

ถูกครูท าโทษร้ายแรง

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 12-24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 25-65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76)

ไม่เคย 47 (85.5) 49 (96.1) 18 (56.3) 70 (92.1)

เคย 8 (14.5) 2 (3.9) 14 (43.8) 6 (7.9)

กลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่และสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ส่วนผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่และกลุ่มผู้สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ที่ท างานประจ า ส่วนกลุ่มที่ว่างงาน และงานชั่วคราวรายงานว่าสูบ บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์น้อยมาก (ตารางที่ 7)

ตารางที่ 7 แสดงลักษณะทางประชากรเกี่ยวกับอาชีพในกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี

อาชีพ

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 12-24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 25-65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76)

นักเรียน 38 (69.1) 2(3.9) 18 (56.3) 1 (1.3)

ว่างงาน 3 (5.5) 8 (15.7) 1 (3.1) 5 (6.6)

งานประจ า 14 (25.5) 41 (80.4) 13 (40.6) 66 (86.8)

งานชั่วคราว 4 (5.3)

(16)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 16 สืบเนื่องจากอาชีพส่วนใหญ่ที่รายงานในตารางข้างต้นซึ่งกลุ่มส่วนใหญ่เป็นนักเรียน สอดคล้องกับตาราง นี้ที่รายงานว่ากลุ่มส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้มีรายได้ พบว่า รายได้ส่วนใหญ่อยู่

ระหว่าง 10,000-24,999 บาท (ตารางที่ 8)

ตารางที่ 8 แสดงลักษณะทางประชากรเกี่ยวกับรายได้ในกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี

รายได้ (บาทต่อเดือน)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 12-24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่ อายุ 25-65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76) ไม่มีรายได้ (นักเรียน/

ว่างงาน) 41 (74.5) 10 (19.6) 19 (59.4) 6 (7.9)

5,000-9,999 2 (3.9) 2 (6.3) 4 (5.3)

10,000-14,999 5(9.1) 7 (13.7) 6 (18.8) 19 (25.5)

15,000-19,999 4 (7.3) 7 (13.7) 4 (12.5) 20 (26.3)

20,000-24,999 3 (5.5) 9 (17.6) 12 (15.8)

25,000-29,999 1 (1.8) 8 (15.7) 8 (10.5)

30,000-34,999 3 (5.9) 1 (3.1) 3 (3.9)

35,000-39,999 1 (1.8) 1 (2.0) 1 (1.3)

40,000-44,999 2 (3.9) 2 (2.6)

มากกว่าหรือเท่ากับ 45,000 2 (3.9) 1 (1.3)

(17)

เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช ้บุหรี่และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส ์ 17 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ทุกราย มีการราย สูบบุหรี่อย่าง ต่อเนื่องและมีการรายงานการสูบในช่วง 7 วันที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับผู้ที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มวัยรุ่นและ วัยผู้ใหญ่ พบว่า ในกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีเพียง 2 รายที่ไม่มีการรายงานการใช้ภายใน 30 วันที่ผ่าน มา ส่วนผู้ใหญ่ ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53) รายงานการใช้ภายใน 7 วันที่ผ่านมา เป็นที่น่าสนใจว่ากลุ่มผู้ใหญ่

ที่ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ รายงานว่ามีการใช้ใน 7 วันที่ผ่านมาประมาณครึ่งหนึ่ง ในขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่ที่สูบทุกราย ยังคงรายงานการใช้ภายใน 7 วันที่ผ่านมา (ตารางที่ 9)

ตารางที่ 9 แสดงจ านวนกลุ่มผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่ และผู้มีประสบการณ์สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในชีวิต ใน 1 ปีที่ผ่านมา ใน 30 วันที่ผ่านมา ใน 20 วันที่ผ่านมาและใน 7 วันที่ผ่านมา ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่และผู้สูบบุหรี่

อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงอายุ 12-24 และ 25-65 ปี

ผู้มีประสบการณ์

สูบบุหรี่ อายุ 12- 24 ปี

(n = 55)

ผู้มีประสบการณ์

สูบบุหรี่ อายุ 25- 65 ปี

(n = 51)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 12-24 ปี

(n = 32)

ผู้มีประสบการณ์สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

อายุ 25-65 ปี

(n = 76) พฤติกรรมการสูบบุหรี่

สูบบุหรี่ในชีวิต 55 (100.0) 51 (100.0)

สูบบุหรี่ใน 1 ปีที่ผ่านมา 55 (100.0) 51 (100.0)

สูบบุหรี่ใน 30 วันที่ผ่านมา 55 (100.0) 51 (100.0) สูบบุหรี่ใน 20 วันใน 30 วันที่ผ่านมา 55 (100.0) 51 (100.0)

สูบบุหรี่ใน 7 วันที่ผ่านมา 55 (100.0) 51 (100.0)

พฤติกรรมการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในชีวิต 32 (100.0) 76 (100.0)

สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ใน 1 ปีที่ผ่านมา 32 (100.0) 71 (93.4)

สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ใน 30 วันที่ผ่านมา 30 (93.8) 64 (84.2)

สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ใน 20 วันใน 30 วันที่ผ่านมา

30 (93.8) 56 (73.7)

สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ใน 7 วันที่ผ่านมา 30 (93.8) 40 (52.6)

Referensi

Dokumen terkait

Social W oTk AnotheT Hobby While most housewives find such domestic pursuits sufficient to occupy them, there are women who per- form social welfare work.. Not satisfied with con-