• Tidak ada hasil yang ditemukan

แผนยุทธศาสตร์กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพ

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "แผนยุทธศาสตร์กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพ"

Copied!
14
0
0

Teks penuh

(1)แผนยุทธศาสตร์กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๒ ความเป็นมา การบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติ มาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ .ศ.๒๕๓๔ บัญญัติให้คณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และให้ทําหน้าที่บริหาร กองทุนตามระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมทั้งให้มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการจัดการ การจัดหาผลประโยชน์จาก ทรัพย์สินกองทุน และการวางระเบียบในการบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการกองทุน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือตามที่คณะกรรมการตรวจสอบ ทรัพย์สินมอบหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ในการบริหารกองทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ซึ่งระเบียบดังกล่าวให้อํานาจคณะอนุกรรมการกองทุนสามารถดําเนินการจัดการ และจําหน่ายทรัพย์สินของกองทุน รวมถึงการนําเงินของกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง หรือนําเงินไปลงทุนอย่างอื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง การดําเนินการตามมาตรการดังกล่าวที่ผ่านมา แม้ว่าจะสามารถริบทรัพย์สินของผู้กระทํา ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้จํานวนมากก็ตาม แต่ในปัจจุบันการพัฒนาทางเทคโนโลยีก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการประกอบธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งนักค้าได้นํามาใช้เป็นช่องทางที่จะแปรสภาพ ซุกซ่อน อําพราง และการได้มาของทรัพย์สินจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงทําให้ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ วิธีการดําเนินการ ที่มีลักษณะพิเศษ และความสามารถเฉพาะด้านที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ด้านการติดตามทรัพย์สินเข้ากองทุนยังขาดความคล่องตัว และกระบวนการติดตามที่เป็นระบบ ส่งผลให้การขอรับทรัพย์สินเข้ากองทุนระหว่างกองทุนกับหน่วยงานเก็บรักษาซึ่งมีทั้งหน่วยงานภายใน สํานักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง และสํานักงาน ปปส.ภาค รวมถึงหน่วยงานภายนอกที่มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน และหน่วยงานที่กองทุนสนับสนุนทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์ประสบปัญหาหลายประการ โดยอุปสรรคประการ หนึ่งเนื่องจากระบบการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินมีการจัดเก็บข้อมูลแยกจากกัน ฐานข้อมูล ยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทําให้การติดตามทรัพย์สินเข้ากองทุนขาดความคล่องตัว รวดเร็ว และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด.

(2) -๒-. 1. วิสัยทัศน์ กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีการบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมืออาชีพ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2. พันธกิจ (1) การติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างรวดเร็ว และเป็นระบบ (2) บริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเต็ม ประสิทธิภาพ (3) การนําทรัพย์สินของกองทุน และแผนงาน/โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนไปใช้ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ (4) การกํากับ ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการนําทรัพย์สินของกองทุนไปใช้ประโยชน์ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 3. วัตถุประสงค์ (1) สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การบําบัดรักษา และการฟื้นฟู สมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด (2) สนับสนุนหรือจัดให้มีการศึกษา ฝึกอบรม หรือสัมมนาเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด การบําบัดรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (3) สนับสนุนหรือจัดให้มีวิทยากรซึ่งมีความรู้หรือเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อทําหน้าที่ให้คําปรึกษา แนะนํา ฝึกอบรมหรือสัมมนาเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด การบําบัดรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (4) สนับสนุนหรือจัดให้มีการบริการหรือจัดกิจกรรมอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด การบําบัดรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (5) สนับสนุนการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนช่วยเหลือหรือสนับสนุน ป้องการและปราบปรามยาเสพติด การบําบัดรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ (6) สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ และกิจการอื่นที่จําเป็น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามพะราชบัญญัติ มาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534. แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(3) -๓-. 4. ผลผลิต (Output) และผลลัพท์ (Outcome) ผลผลิต (Output) การสนับสนุนการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมีความเป็นรูปธรรม ผลลัพท์ (Outcome) (1) ระบบบริหารจัดการกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (2) การ กํากับ ติดตาม และบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ (3) กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายใน และตรวจสอบภายในของกองทุน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การบําบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 5. ยุทธศาสตร์ (1) กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีความมั่นคง (2) การบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดําเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด 6. เป้าหมายหลัก (1) สนับสนุนการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรม (2) สร้างมูลค่าเพิ่มทางการเงินให้กับกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (3) พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ (4) พัฒนาการ กํากับ ติดตาม และบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนป้องกันแล ะปราบปราม ยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ (5) พัฒนาประสิทธิภาพในการกํากับดูแลของคณะกรรมการทุนหมุนเวียน (6) พัฒนาระบบการดําเนินงานของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ 7. แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategic Map) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (Swot Analysis) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและภายนอก (TOWS Matrix Model) การจัดทําแผนยุทธศาสตร์ของกองทุนป้องกันและปราบปราม ปีบัญชี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๒ ประกอบด้วยหัวข้อย่อยเกี่ยวกับ (1) แผนที่ยุทธศาสตร์กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี 2559-2562 (Strategic Map) (2) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ( Swot Analysis) (3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและภายนอก (TOWS Matrix Model) ผลที่ได้จากการกําหนดและวิเคราะห์ทั้ง 3 ขั้นตอน ดังกล่าว นําไปสู่ ภาพรวมยุทธศาสตร์ การดําเนินงานของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี 2559-2562 ปรากฎรายละเอียด ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(4) -๔-. 7.1 แผนที่ยุทธศาสตร์กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๒. (Strategic Map). แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(5) -๕-. 7.2 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (Swot Analysis) การกําหนดแผนยุทธศาสตร์ของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจํา ปีบัญชี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๒ จะดําเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ (Environmental Scanning) เพื่อประเมินปัจจัยภายใน และภายนอกให้ได้มาซึ่ง โอกาส อุปสรรค จุดแข็งและจุดอ่อน (SWOT) ที่มีผลกระทบต่อการดําเนินงานของ กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สํานักงาน ป.ป.ส. ด้านการเงิน ด้านปฏิบัติการ ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และด้านการพัฒนาทุนหมุนเวียน เพื่อนํามากําหนด แผนยุทธศาสตร์ของกองทุนป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ปีบัญชี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๒ ด้วยแนวคิดเชิงความสัมพันธ์ TOWS Matrix หรือ การวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและภายนอก ดังนี้ จุดแข็ง (S) (1) ระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินว่าด้วยกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๖ (2) ระเบียบคณะอนุกรรมการกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการจัดการ ทรัพย์สินของกองทุน พ.ศ.๒๕๓๗ (3) มีทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ตาม มาตรา ๒๗ และ มาตรา ๓๐ สามารถนํามาสร้าง ประโยชน์ได้ (4) แผนยุทธ์ศาสตร์กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ (5) คณะอนุกรรมการกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้ความสําคัญกับการดําเนินงาน กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (6) เป็นหน่วยงานที่สามารถให้การสนับสนุนงบประมาณ และทรัพย์สิน เพื่อการดําเนินงาน ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด ด้านการปราบปรามยาเสพติด และการบําบัดฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จุดอ่อน (W) (1) บุคลากรยังขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านทุนหมุนเวียน (2) ขาดอัตรากําลังในการปฏิบัติงาน (3) ขาดความต่อเนื่องของบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน (4) บุคลากรขาดความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น การเงิน การบัญชี การวางแผนและงบประมาณ (5) การทบทวนการมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรขาดความต่อเนื่อง (6) การพัฒนาบุคลากรขาดความต่อเนื่อง ไม่เป็นระบบ และเส้นทางความก้าวหน้าในการทํางาน ไม่ชัดเจน (7) ระบบการติดตามประเมินผลการดําเนินงานยังไม่มีประสิทธิภาพ (8) ไม่มีระบบการจัดเก็บรักษาข้อมูลที่ดี แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(6) -๖-. โอกาส (O) (1) พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ (2) พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ (3) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอตั้ง การดําเนินงาน และประเมินผล การดําเนินงานทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๗ (4) แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ (5) ผู้บริหารของสํานักงาน ป.ป.ส. มีนโยบายการติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (6) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทําการตรวจสอบรายการการเงินประจําปี (7) มีระบบตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด (ASS) อุปสรรค (T) (1) การเมืองขาดเสถียรภาพ ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ (เศรฐษกิจ สังคมการเมือง) (2) พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๓๙ วรรค ๒ ในกรณีที่ ครม.เห็นว่าเงินกองทุนมีมากพอสมควร ซึ่งเมื่อ นําไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนแล้ว ยังคงมีเงินเหลืออยู่อีกเป็นจํานวนมาก ครม.จะมีมติให้ส่งเงินกองทุนจํานวนใดจํานวนหนึ่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้ (3) พนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เก็บรักษาทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนไม่ส่งมอบทรัพย์สิน (ต้องจัดทําระบบติดตามอย่างเคร่งครัด) (4) หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ ไม่ให้ความร่วมมือในการรายงานผลการ ดําเนินงานตามแผนงาน โครงการที่ได้รับการสนับสนุน. แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(7) -๗-. 7.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและภายนอก (TOWS Matrix Model) หลังจากที่มีการประเมินปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดําเนินงานของกองทุน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สํานักงาน ป.ป.ส. มาวิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค แล้ว ก็จะนํามาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบเมตริกซ์โดยใช้ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix เพื่อกําหนดออกมาเป็นยุทธศาสตร์ประเภทต่างๆ ๔ ประเภท คือ. ๑. ยุทธศาสตร์เชิงรุก ( SO Strategy) ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก ๒. ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน (ST Strategy)ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่ เป็นจุดแข็งและอุปสรรคมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกันทั้งนี้ เนื่องจากองค์การมีจุดแข็ง ขณะเดียวกันองค์การก็เจอกับสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจํากัดจากภายนอกที่องค์การ ควบคุมไม่ได้ แต่องค์การสามารถใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในการป้องกันอุปสรรคที่มาจากภายนอกได้ ๓. ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข (WO Strategy) ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่ เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไขทั้งนี้ เนื่องจากองค์การมีโอกาสที่จะนําแนวคิดหรือวิธีใหม่ๆมาใช้ในการแก้ไขจุดอ่อนที่องค์การมีอยู่ได้ ๔. ยุทธศาสตร์เชิงรับ (WT Strategy) ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดอ่อนและอุปสรรคมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ ทั้งนี้ เนื่องจากองค์การเผชิญกับทั้งจุดอ่อนและอุปสรรคภายนอกที่องค์การไม่สามารถควบคุมได้. แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(8) -๘-. การวิเคราะห์ TOWS Matrix (S – O) , (S – T) จุดแข็ง (S) S๑. ระเบียบคณะอนุกรรมการ กองทุนป้องกันและปราบปรามยา เสพติดว่าด้วยการจัดการทรัพย์สิน ของกองทุน พ.ศ.๒๕๓๗ S๒. มีทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ตาม มาตรา ๒๗ และ มาตรา ๓๐ สามารถนํามาสร้างประโยชน์ได้ S๓. แผนยุทธ์ศาสตร์กองทุนป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ S๔. คณะอนุกรรมการกองทุน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้ ความสําคัญกับการดําเนินงาน กองทุนป้องกันและปราบปรามยา เสพติด S๕. เป็นหน่วยงานที่สามารถให้การ สนับสนุนงบประมาณ และทรัพย์สิน เพื่อการดําเนินงานด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด S๖. ระเบียบคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินว่าด้วยกองทุน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๖. โอกาส (O) O๑. พระราชบัญญัติการบริหารทุน หมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ O๒. พระราชบัญญัติมาตรการใน การปราบปรามผู้กระทําความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ O๓. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอตั้ง การดําเนินงาน และประเมินผลการดําเนินงานทุน หมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๗ O๔. แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ O๕. ผู้บริหารของสํานักงาน ป.ป.ส. มีนโยบายการติดตาม ทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด O๖. สํานักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน ทําการตรวจสอบรายการ การเงินประจําปี O๗. มีระบบตรวจสอบทรัพย์สิน คดียาเสพติด (ASS). อุปสรรค (T) T๑. การเมืองขาดเสถียรภาพ ความ ไม่ต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ (เศรฐษกิจ สังคม การเมือง) T๒. พระราชบัญญัติมาตรการในการ ปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตราที่ ๓๙ วรรค ๒ ในกรณีที่ ครม.เห็นว่า เงินกองทุนมีมากพอสมควร ซึ่งเมื่อ นําไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนแล้ว ยังคงมีเงินเหลืออยู่ อีกเป็นจํานวนมาก ครม.จะมีมติให้ ส่งเงินกองทุนจํานวนใดจํานวนหนึ่ง เข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้ T๓. พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เก็บรักษา ทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนไม่ส่ง มอบทรัพย์สิน T๔. หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน จากกองทุน ฯ ไม่ให้ความร่วมมือใน การรายงานผลการดําเนินงานตาม แผนงาน โครงการที่ได้รับการ สนับสนุน. แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(9) -๙-. การวิเคราะห์ TOWS Matrix (S – O) , (S – T) S๑S๖O๑O๒O๓ ปรับปรุง S๑S๒T๑T๒ จัดทํารายงานทางการ โครงสร้างกองทุนป้องกันและ เงินและบัญชีให้ถูกต้องและทัน ปราบปรามยาเสพติด กําหนด มีการสอบทานความขัดแย้ง S๒O๔ เร่งดําเนินการขาย ทางผลประโยชน์ตลอดเวลา ทอดตลาดทรัพย์สินที่ตกเป็นของ ตลอดจนต้องมีการทบทวนการ กองทุน ฯ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล S๒O๕ เร่งติดตามทรัพย์สินที่ตก และเอกสารประกอบงบการเงินอย่าง เป็นของกองทุนป้องกันและ สม่ําเสมอ ปราบปรามยาเสพติด S๒S๔T๓ จัดทําหลักเกณฑ์และแนว S๕S๖O๖ จัดทําหลักเกณฑ์ ทางการติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็น แนวทาง การให้การสนับสนุน ของกองทุนป้องกันและปรามปราม งบประมาณ ทรัพย์สิน ของ ยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและเป็น กองทุน ระบบ S๓O๗ เร่งรัดการนําเข้าข้อมูลใน S๒S๔T๓ กําหนดแนวทางการ ระบบ ASS ให้ถูกต้องครบถ้วนและ ดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้ที่ไม่ส่ง เป็นปัจจุบัน ทรัพย์สินที่ชัดเจน S๔S๕T๔ จัดทําหลักเกณฑ์ แนวทาง ในการกํากับ ติดตาม และจัดทํา รายงานการติดตามและประเมินผล สัมฤทธิ์ของการดําเนินงานตาม แผนงาน โครงการที่ได้รับการ สนับสนุนจากกองทุน ฯ. แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(10) -๑๐-. การวิเคราะห์ TOWS Matrix (S – O) , (S – T) จุดอ่อน (W) W๑. บุคลากรยังขาดความรู้และ ทักษะในการปฏิบัติงานด้านทุน หมุนเวียน W๒. ขาดอัตรากําลังในการ ปฏิบัติงาน W๓. ขาดความต่อเนื่องของบุคลากร ที่จะปฏิบัติงาน W๔. บุคลากรขาดความชํานาญ เฉพาะด้าน เช่น การเงิน การบัญชี การวางแผนและงบประมาณ ฯลฯ W๕. ไม่มีการทบทวนการมอบหมาย การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร W๖. การพัฒนาบุคลากรไม่เป็น ระบบ และต่อเนื่อง เส้นทาง ความก้าวหน้าในการทํางาน ไม่ ชัดเจน และไม่มีการหมุนเวียนงาน W๗. ไม่มีระบบการติดตาม ประเมินผลการดําเนินงานที่มี ประสิทธิภาพ W๘. ไม่มีระบบการจัดเก็บรักษา ข้อมูลที่ดี W๙. ไม่มีการจัดทําระบบขั้นตอน การติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นอขง กองทุนที่ดี. โอกาส (O) O๑. พระราชบัญญัติการบริหารทุน หมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ O๒. พระราชบัญญัติมาตรการใน การปราบปรามผู้กระทําความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ O๓. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอตั้ง การดําเนินงาน และประเมินผลการดําเนินงานทุน หมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๗ O๔. แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ O๕. ผู้บริหารของสํานักงาน ป.ป.ส. มีนโยบายการติดตามทรัพย์สินที่ ตกเป็นของกองทุนป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด O๖. สํานักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน ทําการตรวจสอบรายการ การเงินประจําปี O๗. มีระบบตรวจสอบทรัพย์สินคดี ยาเสพติด (ASS). อุปสรรค (T) T๑. การเมืองขาดเสถียรภาพ ความ ไม่ต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ (เศรฐษกิจ สังคม การเมือง) T๒. พระราชบัญญัติมาตรการในการ ปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตราที่ ๓๙ วรรค ๒ ในกรณีที่ ครม.เห็นว่า เงินกองทุนมีมากพอสมควร ซึ่งเมื่อ นําไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนแล้ว ยังคงมีเงินเหลืออยู่ อีกเป็นจํานวนมาก ครม.จะมีมติให้ ส่งเงินกองทุนจํานวนใดจํานวนหนึ่ง เข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้ T๓. พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เก็บรักษา ทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนไม่ส่ง มอบทรัพย์สิน T๔. หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน จากกองทุน ฯ ไม่ให้ความร่วมมือใน การรายงานผลการดําเนินงานตาม แผนงาน โครงการที่ได้รับการ สนับสนุน T๕. หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง กับการขั้นตอน/ระบบการติดตาม ทรัพย์สินไม่ให้ความร่วมมือในการ ดําเนินงาน. แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(11) -๑๑-. การวิเคราะห์ TOWS Matrix (S – O) , (S – T) W๒W๓O๑O๒O๓ จัดทําโครงสร้าง W๑W๒W๓W๕T๑ แบ่งหน้าที่ความ ขององค์กรโดยระบุงาน ตําแหน่ง รับผิดชอบ และจัดลําดับความสําคัญ ลักษณะงาน คุณสมบัติ ให้ชัดเจน ของภารกิจหลัก และภารกิจรองให้ W๑W๔W๖O๒O๔O๕O๖ จัดทํา ชัดเจน สํารวจความต้องการ ของ แผนพัฒนาบุคลากรระยะยาว และ อุปกรณ์และวัสดุที่จําเป็นเพียงพอต่อ จัดทําแผนงานความก้าวหน้าในสาย การทํางานให้สําเร็จ และส่งเสริมการ งานและเตรียมความพร้อมสําหรับ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ใช้ระบบการ การเลื่อนระดับ สอนแบบถ่ายทอดรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง W๗O๑O๒O๓ จัดทําระบบการ W๔W๗T๒ จัดทําแผนปฎิบัติการและ ประเมินการบริหารทรัพยากร งบประมาณประจําปี ให้สอดคล้องกับ บุคคลในระยะยาว แผนยุทธศาสตร์ระยะยาว W๗O๔ ปรับปรุงพัฒนาระบบและ W๗T๓ จัดทําแผนและขั้นตอนการ กลไกการติดตามประเมินผลการ ติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ W๗T๔ มีแผนการติดตามผลการ W๘O๖ ทบทวนขั้นตอน การ ดําเนินงาน แผนงาน/โครงการ/ จัดเก็บข้อมูลและเอกสารประกอบ ภารกิจ ที่ได้รับการสนับสนุน งบการเงิน ให้มีความถูกต้อง งบประมาณและทรัพย์สินจากกองทุน สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น W๕W๖T๒ มีระบบการประเมินผล W๘O๗ ปรับปรุงและพัฒนาระบบ การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการ จัดเก็บรักษาข้อมูล. แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(12) -๑๒-. ภาพรวมยุทธศาสตร์การดาเนินงานของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี 2559-2562 จากที่กล่าวมา เกี่ยวกับการกําหนดแผนที่ยุทธศาสตร์กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี 2559-2562 ( Strategic Map) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ( Swot Analysis) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและภายนอก ( TOWS Matrix Model) นําไปสู่การกําหนด ภาพรวมยุทธศาสตร์การดําเนินงานของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปี 2559-2562 ประกอบด้วยภาพรวมยุทธศาสตร์การดําเนินงาน รวม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการสนองประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการปฏิบัติการ และด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน ดังนี้ ด้านการเงิน ยุทธศาสตร์เชิงรุก : เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพย์สิน  S๒O๔ เร่งรัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปราม ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน : พัฒนาประสิทธิภาพด้านการเงิน  S๑S๒T๑T๒ จัดทํารายงานทางการเงินและบัญชีให้ถูกต้องและทันกําหนด ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข : พัฒนาประสิทธิภาพด้านการเงิน  W๘O๖ ทบทวนขั้นตอน การจัดเก็บข้อมูลและเอกสารประกอบงบการเงิน ให้มีความ ถูกต้อง สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้านการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยุทธศาสตร์เชิงรุก : เพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการทรัพย์สิน  S๓O๗ การนําเข้าข้อมูลในระบบ ASS ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน : พัฒนาระบบและแนวทางการติดตามทรัพย์สิน  S๒S๔T๓ กําหนดแนวทางการดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้ที่ไม่ส่งทรัพย์สินที่ชัดเจน ด้านการปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์เชิงรุก : เพิ่มประสิทธิภาพการติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน  S๒O๕ การติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน : เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน  S๒S๔T๓ จัดทําหลักเกณฑ์และแนวทางการติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ป้องกันและปรามปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ  S๔S๕T๔ จัดทําหลักเกณฑ์ แนวทางในการกํากับ ติดตาม และจัดทํารายงานการติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานตามแผนงาน โครงการที่ได้รับการสนับสนุน จากกองทุน ฯ แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(13) -๑๓-. ยุทธศาสตร์เชิงรับ : พัฒนาระบบการกํากับ ติดตาม และประเมินผลการดําเนินงาน  W๗T๓ จัดทําแผนและขั้นตอนการติดตามทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน  W๗T๔ มีแผนการติดตามผลการดําเนินงาน แผนงาน/โครงการ/ภารกิจ ที่ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณและทรัพย์สินจากกองทุน  W๘W๙T๓T๕ มีการผลักดันให้เจ้าหน้ที่/หน่วยงานที่เก็บรักษาทรัพย์สิน ดําเนินการ ตามขั้นตอนของการติดตาม ด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน ยุทธศาสตร์เชิงรุก : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน  S๑O๑O๒O๓ การปรับปรุงโครงสร้างกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  S๕O๖ จัดทําหลักเกณฑ์แนวทางการให้การสนับสนุนงบประมาณ ทรัพย์สิน ของกองทุน ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน : พัฒนาระบบบริหารความเสี่ยง และควบคุมภายใน  S๑S๒T๑T๒ การสอบทานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการทบทวนการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารประกอบงบการเงินอย่างสม่ําเสมอ ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน  W๒W๓O๑O๒O๓ จัดทําโครงสร้างขององค์กรโดยระบุงาน ตําแหน่ง ลักษณะงาน คุณสมบัติ ให้ชัดเจน  W๑W๔W๖O๒O๔O๕O๖ จัดทําแผนพัฒนาบุคลากรระยะยาว และจัดทําแผนงาน ความก้าวหน้าในสายงานและเตรียมความพร้อมสําหรับการเลื่อนระดับ  W๗O๑O๒O๓ จัดทําระบบการประเมินการบริหารทรัพยากรบุคคลในระยะยาว  W๗O๔ ปรับปรุงพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์  W๘O๗ ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดเก็บรักษาข้อมูล ยุทธศาสตร์เชิงรับ : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน  W๑W๒W๓W๕T๑ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และจัดลําดับความสําคัญของภารกิจ หลัก และภารกิจรองให้ชัดเจน สํารวจความต้องการ ของอุปกรณ์และวัสดุที่จําเป็น เพียงพอต่อการทํางานให้สําเร็จ และส่งเสริมการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ใช้ระบบ การสอนแบบถ่ายทอดรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง  W๔W๗T๒ จัดทําแผนปฎิบัติการและงบประมาณประจําปี ให้สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ระยะยาว  W๕W๖T๒ มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ แผนยุทธศาสตร์กองทุน ป.ป.ส. ปี2559 – 2562 ปรับปรุงปี 2561.

(14)

(15)

Referensi

Dokumen terkait

Development in the Study of Co integrated Economic Variables, Oxford Bulletin of Economics and Statistics, 48, 213-228.. Some Recent Development in a Concept of Causality, Journal of