• Tidak ada hasil yang ditemukan

The development of the information literacy for veterinary medicine using non-

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "The development of the information literacy for veterinary medicine using non-"

Copied!
11
0
0

Teks penuh

(1)

ธนะพันธุ์ การคนซื่อ ส านักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ e-mail: thanapun@lib.cmu.ac.th

บทคัดย่อ

การพัฒนาการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยายเป็นการปรับปรุง วิธีการสอนการรู้สารสนเทศของห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยน าแนวคิด การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และหลักการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) มาปรับใช้ในการเรียนการสอนกระบวนวิชา 651291 ไขปัญหาบูรณาการทางสัตวแพทย์ 1 และ กระบวนวิชา 651391 ไขปัญหาบูรณาการทางสัตวแพทย์ 2 ผลจากการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนทั้ง 2 กระบวนวิชา มีคะแนนโดยเฉลี่ยหลังจากการเรียนเพิ่มมากขึ้น ผลการส ารวจความพึงพอใจ ของนักศึกษาต่อรูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยายมีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุดทั้ง 2 กระบวนวิชา และผลจากการน ารูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์แบบไม่บรรยายมาใช้ท าให้บรรณารักษ์ห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้สร้าง บรรยากาศในการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนหรือกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อพัฒนานักศึกษาได้อย่าง เต็มศักยภาพด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งส่งผลให้นักศึกษาเกิดทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง

ค าส าคัญ:

การรู้สารสนเทศ, ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21, การสอนแบบไม่บรรยาย, ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

The development of the information literacy for veterinary medicine using non-

teaching technique aimed to improve the information literacy at the Faculty of

Veterinary Medicine Library, Chiang Mai University using a theory of learning in the 21st

century and the QSCCS technique to be used for course 651291: Veterinary Integrative

Problem Solving 1 and course 651391: Veterinary Integrative Problem Solving 2. As the

result, it found that the academic achievement of the students who attended those

two programmes had increased considered by after-teaching average scores and the

(2)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND

learner satisfaction for the teaching technique in the instruction of the information literacy for veterinary medicine using non-teaching lectures technique: the students of those courses were most satisfied with the programmes. Furthermore, the result of this teaching technique make the librarian change his role to be a facilitator for learning with various teaching techniques and activities in order to encourage learners to fulfill their self-learning which will lead to get learning skills in the 21st century.

Keyword:

Information Literacy, 21st Century Skills, Non-teaching Lectures Technique, Faculty of Veterinary Medicine Library Chiang Mai University.

บทน า

การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 ท าให้วิทยาการ ความรู้ และเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่าง รวดเร็ว เป็นยุคที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก ความรู้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ที่มีทั้งข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นอยู่มาก ต้องใช้วิจารณญาณในการรับความรู้ ส่งผลให้การ เรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านของพฤติกรรมการใช้สารสนเทศและทักษะความรู้ทางเทคโนโลยี

สารสนเทศ ในขณะที่การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 ก็จะไม่ใช่รูปแบบการบรรยาย แต่จะ ปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) นักศึกษาจะได้รับมอบหมาย ประเด็นปัญหาที่ต้องท าการค้นคว้าก่อนน าข้อมูลความรู้มาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่ง ห้องสมุดถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ให้แก่นักศึกษาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ การค้นคว้าด้วย ตนเอง (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข, 2558)

ด้วยปัจจัยสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว บทบาทห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ด้วยเช่นกัน โดยในการเริ่มต้น บรรณารักษ์ควรมีการบูรณาการความรู้ในศาสตร์อื่นเข้ามาผสมผสานกับความรู้ทาง บรรณารักษศาสตร์ เพื่อให้เกิดวิธีการหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในการให้บริการแก่ผู้ใช้ ต่อจากนั้นห้องสมุดควรปรับเปลี่ยน บทบาทให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย บรรณารักษ์ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน ดังเช่นที่ แอมโบ รส และ วันวิสาข์ เคน (2556) กล่าวว่า ผู้สอนควรมีความเชี่ยวชาญในการสอนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ควรมุ่งเสริมทักษะ เชิงสร้างสรรค์และเชิงสติปัญญาในตัวผู้เรียนเป็นส าคัญ ดังนั้น ในการสอนการรู้สารสนเทศ บรรณารักษ์ควรปรับ บทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ที่เน้นการสอนเชิงสร้างสรรค์ เน้นสร้างทักษะ จัดการเรียนรู้ให้

สนุก สอนให้น้อยลงเน้นการเรียนรู้ในห้องเรียนให้มากขึ้น(Teach less learn more) ท าให้การเรียนรู้เกิดจากการ กระท าและการคิดของผู้เรียนเอง จะท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจอย่างแท้จริง รูปแบบการเรียนการสอนในยุคใหม่จะ ท าให้อาจารย์ นักศึกษา และบรรณารักษ์ได้ท างานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อท าให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (พิมพันธ์

เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข, 2558)

ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด าเนินการจัดบริการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ มาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายที่ห้องสมุดให้บริการ คือ อาจารย์ สัตวแพทย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษาทุกระดับ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ นอกจากนี้ บรรณารักษ์ยังเป็นผู้ร่วมสอนกับอาจารย์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จ านวน 2 กระบวนวิชา คือ กระบวนวิชา 651291 ไขปัญหาบูรณาการทางสัตวแพทย์ 1 และกระบวนวิชา 651391 ไขปัญหา บูรณาการทางสัตวแพทย์ 2 โดยสอนในหัวข้อ “การสืบค้นสารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์” รูปแบบการสอนของ

(3)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND

บรรณารักษ์จะเป็นการบรรยายหน้าชั้นเรียนหรือหน้าห้องฝึกอบรม ทั้งนี้ การสอนการรู้สารสนเทศทุกครั้งห้องสมุดได้มี

การประเมินผลการสอนมาโดยตลอด และพบว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า การสอนน่าเบื่อ ไม่สนุก เรียนแล้วไม่ได้

น าไปใช้ เรียนไม่ทัน จ านวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในฝึกปฏิบัติมีไม่เพียงพอ ประกอบกับการสอนวิชาดังกล่าวจ าเป็นต้อง สอนสาธิตประกอบการบรรยายทฤษฎี ซึ่งการสอนสาธิตในหน้าชั้นเรียนเพียงครั้งเดียวอาจไม่สามารถท าให้นักศึกษาทั้ง ห้องเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งระยะเวลาในการสอนที่มีอย่างจ ากัดจึงท าให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของ นักศึกษาทั้งห้องยังไม่ดีเท่าที่ควร

ด้วยเหตุนี้จึงท าให้บรรณารักษ์มีความตั้งใจในการปรับบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้อ านวยความสะดวกหรือ โค้ช โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา และได้บูรณาการความรู้ทั้งใน ศาสตร์ของการสอนในรูปแบบต่างๆ ใช้วิธีการที่หลากหลายมากขึ้นในการสอน ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่บรรยาย โดยยึด หลักการของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาปรับใช้ในการสอนของบรรณารักษ์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนการรู้

สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อันจะส่งผลให้นักศึกษาเกิดทักษะการ เรียนรู้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย

2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย ขั้นตอนและวิธีการด าเนินงาน

1. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้ศึกษาทฤษฎีต่างๆ เพื่อน ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบ การสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

1.1 แนวคิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิติ คือ 3R + 7Cs (วิจารณ์ พานิช, 2557) คือ

- Reading มีความสามารถในการอ่านอย่างเข้าใจ จับใจความเป็น จนเกิดนิสัยรักการอ่าน - (W)Riting เขียนอย่างมีคุณภาพ รู้วิธีเขียนหลายๆ แบบตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน - (A)Rithmetics มีความสามารถใช้ตัวเลข ความน่าจะเป็น สถิติ

- Critical thinking & problem solving ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา - Creativity & innovation ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

- Cross-cultural understanding ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์

- Collaboration, teamwork & leadership ทักษะด้านความร่วมมือ การท างานเป็นทีม และภาวะผู้น า - Communications, information & media literacy ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ - Computing & ICT literacy ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- Career & learning skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้

1.2 การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) มีล าดับในการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้น คือ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข, 2558; วณิชชา แม่นย า และ ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์, 2557)

(4)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND

ขั้นที่ 1 การเรียนรู้ตั้งค าถาม (Learning to Question) เป็นการให้ผู้เรียนฝึกสังเกตสถานการณ์ต่างๆ จนเกิด ความสงสัย จากนั้นฝึกให้ผู้เรียนตั้งค าถามส าคัญ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสามารถในการตีความ การไตร่ตรอง การ ถ่ายทอดความคิด สามารถน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

ขั้นที่ 2 การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ (Learning to search) เป็นขั้นตอนการออกแบบ/วางแผนเพื่อ รวบรวมข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยผู้สอนเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนให้ส่งเสริม กระบวนการคิดผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย

ขั้นที่ 3 การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ (Learning to construct) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์

ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การสื่อความหมายข้อมูลด้วยแบบต่างๆ หรือด้วยผังกราฟิก การแปลผล จนถึงการ สรุปผล หรือการสร้างค าอธิบาย

ขั้นที่ 4 การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร (Learning to communicate) เป็นขั้นน าเสนอความรู้ด้วยการใช้ภาษาที่

ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจ อาจเป็นการน าเสนอภาษา และน าเสนอด้วยวาจา

ขั้นที่ 5 การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคมและจิตสาธารณะ (Learning to service) เป็นขั้นตอนการฝึกให้

ผู้เรียนน าความรู้ที่เข้าใจ น าการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม หรือเห็นต่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการท างานเป็น กลุ่ม ร่วมสร้างผลงานที่ได้จากการแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นความรู้ แนวทางสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งอาจเป็น นวัตกรรม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นการแสดงออกของการเกื้อกูล และแบ่งปันให้สังคมมีสันติอย่างยั่งยืน

1.3 ห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)

ห้องเรียนกลับทาง (Flipped classroom) เป็นห้องเรียนเปลี่ยนจากที่รับการถ่ายทอดความรู้มาเป็นพื้นที่

ส าหรับการเรียนรู้ (learning space) ที่ใช้พูดคุยแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น เปลี่ยนวิธีการสอนของครู จาก บรรยายหน้าชั้น หรือเป็นครูสอนไปเป็นครูฝึก ฝึกการท าแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมอื่นในชั้นเรียน อีกทั้งยังเป็นการช่วย เด็กเรียนไม่ทันเพื่อนในชั้นเรียน ให้ได้รับความเอาใจใส่จากผู้สอนเป็นอย่างดี (ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์, 2557) บรรณารักษ์ ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้น าทั้ง 3 ทฤษฎีข้างต้นมาปรับใช้ในการสอนการรู้สารสนเทศ ทางสัตวแพทยศาสตร์ โดยปรับเปลี่ยนมาเป็นการสอนแบบไม่บรรยาย แต่เน้นการฝึกทักษะต่างๆ ผ่านการเรียนโดย การลงมือปฏิบัติและคิดทบทวน ซึ่งบรรณารักษ์จะท าหน้าที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและ เรียนรู้ให้เกิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย

2.วางแผนการด าเนินงาน ประกอบด้วย

2.1 จัดท าแผนการสอน เรื่อง “การสืบค้นสารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์”

2.2 ก าหนดกลุ่มผู้เรียน ได้แก่

2.2.1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงเรียนในกระบวนวิชา 651291 ไขปัญหาบูรณาการทางสัตว แพทย์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จ านวน 59 คน มีจ านวนชั่วโมงในการสอนในชั้นเรียน จ านวน 9 ชั่วโมง (แบ่งเป็นทุกวันศุกร์ วันละ 3 ชั่วโมง รวม 3 วัน คิดเป็น 9 ชั่วโมง)

2.2.2 นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงเรียนในกระบวนวิชา 651391 ไขปัญหาบูรณาการทางสัตว แพทย์ 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จ านวน 65 คน มีจ านวนชั่วโมงในการสอนในชั้นเรียน จ านวน 6 ชั่วโมง (แบ่งเป็นทุกวันศุกร์ วันละ 3 ชั่วโมง รวม 2 วัน คิดเป็น 6 ชั่วโมง)

2.3 ก าหนดเนื้อหาการสอนการสืบค้นสารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ ดังนี้

2.3.1 ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของส านักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMUL OPAC) 2.3.2 ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดทั่วโลก (Single Search: WorldCat) 2.3.3 ฐานข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU e-Research)

(5)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND

2.3.4 ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU e-Theses)

2.3.5 ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (Thai University Library Digital Collection)

2.3.6 ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก (ProQuest Dissertations & Theses) 2.3.7 การสืบค้นข้อมูลเพื่อการวิจัยจากนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU VPN) 2.3.8 การใช้บริการสนับสนุนการวิจัยของห้องสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.3.9 การใช้โปรแกรมการจัดการทางบรรณานุกรม Zotero

2.4 จัดท าสื่อการสอน ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เอกสารแนะน า บริการห้องสมุด คู่มือการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

2.5 จัดท าแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยจัดท าเป็นแบบทดสอบ เรื่อง “การสืบค้นสารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์” แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย จ านวน 30 ข้อ และจัดท าในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งใช้ Google ฟอร์มในการจัดท า 3. การน ากระบวนการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น มาใช้ในการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่

บรรยายห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้น าหลักการของการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา รูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย ดังนี้

ตารางที่ 1 การน ากระบวนการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น มาใช้ในการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์

แบบไม่บรรยาย

กระบวนกา รเรียนรู้ 5

ขั้น

การสอนแบบไม่บรรยายของบรรณารักษ์ การเรียนรู้ของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้

ในการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ที่

นักศึกษาได้รับ ขั้นที่ 1

การเรียนรู้

ตั้งค าถาม

1) บรรณารักษ์ประสานงานกับนักศึกษา หัวหน้าชั้นเรียน เพื่อรวบรวมหัวข้อปัญหาที่

นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า 2) ด าเนินการแจกเอกสารประกอบการสอน ทั้งหมดให้กับนักศึกษาก่อนการสอน ประมาณ 2-3 สัปดาห์ทั้งในรูปแบบเอกสาร และไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักศึกษาได้

ศึกษาข้อมูลการสอนทั้งหมดก่อนเข้า ห้องเรียนเพื่อฝึกปฏิบัติ

3) มอบหมายให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (CAI) ที่ห้องสมุดได้พัฒนาขึ้น

4) มอบหมายให้นักศึกษาตั้งค าถามที่

ต้องการให้บรรณารักษ์อธิบายเพิ่มเติมจาก เอกสารประกอบการสอน อย่างน้อยกลุ่มละ 2 ค าถาม

1) นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามหัวข้อ ปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้

ศึกษาค้นคว้าจากอาจารย์

ประจ ากระบวนวิชา 2) นักศึกษาศึกษาเนื้อหา ความรู้ เรื่อง “การสืบค้น สารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์” ทั้งหมดก่อน การเรียน

3) นักศึกษาเรียนจากบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (CAI) ด้วยตนเอง ซึ่งนักศึกษา สามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จ ากัด เวลาและสถานที่

4) ฝึกตั้งค าถามที่ต้องการ ค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้

บรรณารักษ์อธิบายเพิ่มเติมจาก เอกสารประกอบการสอน

1) ทักษะในด้าน ความร่วมมือ การ ท างานเป็นทีม และ ภาวะผู้น า 2) ทักษะในด้าน การอ่าน

3) ทักษะในด้าน การอ่าน และทักษะ การเรียนรู้ พร้อมใน การเรียนรู้สิ่งใหม่

4) ทักษะด้านการ คิดอย่างมี

วิจารณญาณ และ ทักษะในการ แก้ปัญหา

1) เอกสารประกอบการ สอน หัวข้อ “การสืบค้น สารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์”

2) บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยการสอน เรื่อง “การ สืบค้นสารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์”

3) สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ใน การติดต่อประสานงาน อัพโหลดไฟล์เอกสารการ สอน ได้แก่

Facebook Google Drive Gmail

(6)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND กระบวนกา

รเรียนรู้ 5 ขั้น

การสอนแบบไม่บรรยายของบรรณารักษ์ การเรียนรู้ของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้

ในการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ที่

นักศึกษาได้รับ ขั้นที่ 2

การเรียนรู้

แสวงหา สารสนเทศ

1) ด าเนินการให้นักศึกษาท าแบบทดสอบ ก่อนเรียนผ่านระบบออนไลน์

2) มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มสืบค้น ข้อมูลตามหัวข้อปัญหา โดยก าหนดให้ได้ผล การสืบค้นครอบคลุมทุกฐานข้อมูลใน เอกสารประกอบการสอนที่นักศึกษาได้

เรียนรู้ด้วยตนเอง

3) ตอบค าถามและอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่

นักศึกษาตั้งค าถามและมีข้อสงสัยในการ เรียนรู้ หรือ แนะน าเทคนิควิธีต่างๆ ในการ วิเคราะห์ผลการสืบค้น เช่น การกรองข้อมูล ปีพิมพ์เก่า-ใหม่ การสืบค้นเอกสารวิชาการที่

มี Peer review หรือ การตรวจสอบวารสาร ที่มีรายชื่ออยู่ใน Beall’s list เป็นต้น 4) จัดกิจกรรมตอบปัญหาชิงรางวัลในชั้น เรียน

1) ในชั้นเรียน นักศึกษาท า แบบทดสอบก่อนการเรียน 2) นักศึกษาแต่ละกลุ่มลงมือ ปฏิบัติในการสืบค้นหัวข้อ ปัญหาที่ได้รับมอบหมาย จาก แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น CMULOPAC,WorldCat, MU e - Research, CMU e - Theses, Electronic Databases และจากฐานข้อมูล อื่นๆ ที่นักหอสมุด

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มี

ให้บริการ โดยไม่มีการสอน แบบบรรยายภาคทฤษฎีหน้า ชั้นเรียน

3) นักศึกษาน าค าถามที่เตรียม ไว้ก่อนการเรียนมาสอบถาม บรรณารักษ์

4) นักศึกษาร่วมกิจกรรมตอบ ปัญหาชิงรางวัลในชั้นเรียน

1) ทักษะในการคิด อย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะในด้าน ความร่วมมือ การ ท า ง า น เ ป็ น ที ม ภาวะผู้น าทักษะ การเรียนรู้ พร้อมใน การเรียนรู้สิ่งใหม่

ทั ก ษ ะ ด้ า น คอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยี

สารสนเทศและการ สื่อสาร

3) ทักษะด้านการ คิดอย่างมี

วิจารณญาณ และ ทักษะในการ แก้ปัญหา 4) ทักษะในการ แก้ปัญหา

1) แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนการเรียน 2) ฐานข้อมูลต่างๆ ของ ส านักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มี

ให้บริการ เช่น CMUL OPAC, WorldCat,CMU e- research, CMU e- Theses, Electronic Databases เป็นต้น

3) ฐานข้อมูลอื่นๆ ใน อินเทอร์เน็ตที่มีความ น่าเชื่อถือ เช่น PubMed, Google Scholar, Google Books หรือ Hathitrust เป็นต้น

4) Search engine ต่างๆ

ขั้นที่ 3 การเรียนรู้

เพื่อสร้าง องค์ความรู้

1) มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม น า ความรู้และสารสนเทศที่ได้จากการแสวงหา ความรู้ มาอภิปราย เพื่อน าไปสู่การสรุปผล และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ การสืบค้น สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ รวมทั้ง ส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นของ นักศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และเกิดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2) แนะน าการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้

เหมาะสมกับเนื้อหาองค์ความรู้ที่จะน าเสนอ

1) นักศึกษาน าความรู้และ สารสนเทศที่ได้จากการ แสวงหาความรู้ มาอภิปราย เพื่อน าไปสู่การสรุปผลและ สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ การ สืบค้นสารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์

2) บันทึกองค์ความรู้ที่ได้ลงบน เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์

(Social Media) ต่างๆ เช่น สรุปเนื้อหาที่ได้เป็นสื่อวีดีโอ น าเสนอผ่าน Youtube บันทึก เป็นเอกสารออนไลน์บน Google Doc, Google Drive เป็นต้น

1) ทักษะด้านการ คิดอย่างมี

วิจารณญาณ และ ทักษะในการ แก้ปัญหา

2) ทักษะการเขียน อย่างมีคุณภาพ รู้วิธี

เขียนหลายๆแบบ ตามวัตถุประสงค์ที่

แตกต่าง

สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการ บันทึกองค์ความรู้ เช่น Youtube, Google Doc, Google Drive เป็นต้น

(7)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND กระบวนกา

รเรียนรู้ 5 ขั้น

การสอนแบบไม่บรรยายของบรรณารักษ์ การเรียนรู้ของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้

ในการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ที่

นักศึกษาได้รับ ขั้นที่ 4

การเรียนรู้

เพื่อการ สื่อสาร

1) ส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นของ นักศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และเกิดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2) มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแบ่งปัน ผลงานของกลุ่มในรูปแบบสื่อต่างๆ

1) นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมา น าเสนอผลการแสวงหาข้อมูลที่

ได้รับมอบหมาย โดยกล่าวถึง เทคนิควิธีต่างๆ ที่ใช้ในการ สืบค้น พร้อมทั้งสอนเพื่อนๆ ด้วยกันเอง บอกเล่าปัญหาและ อุปสรรคพร้อมวิธีการแก้ไข ปัญหา รวมไปถึงการให้

ข้อเสนอแนะต่อกลุ่มอื่น และน า ข้อเสนอแนะ หรือข้อคิดเห็น ต่างๆ มาปรับปรุงองค์ความรู้ให้

เหมาะสม

2) นักศึกษาในแต่ละกลุ่ม แบ่งปันผลงานของกลุ่มใน รูปแบบสื่อต่างๆ เช่น ในรูปแบบ วีดีโอด้วย YouTube รูปแบบ เนื้อหาด้วย Slideshare, e- Books หรือPresentation Program ต่างๆ เป็นต้น

1) ทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการ แก้ปัญหา

2) ทักษะด้านการ สื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้าน คอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยี

สารสนเทศและการ สื่อสาร

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการเผยแพร่

ผลงานต่างๆ เช่น Youtube, Slideshare, e- Books หรือPresentaion Programme ต่างๆ เป็นต้น

ขั้นที่ 5 การเรียนรู้

เพื่อตอบ แทนสังคม และจิต สาธารณะ

1) แนะน าการจัดท าคู่มือการสืบค้น สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ ในแต่ละ องค์ความรู้ที่ได้รับ

2) ด าเนินการให้นักศึกษาท าแบบทดสอบ หลังเรียนผ่านระบบออนไลน์

1) นักศึกษาจัดท าคู่มือการ สืบค้นข้อมูลสารสนเทศที่แต่ละ กลุ่มได้รับผิดชอบในรูปแบบ ออนไลน์เพื่อเผยแพร่องค์

ความรู้ที่เกิดจากการแสวงหา ความรู้ร่วมกันให้กับผู้อื่น 2) นักศึกษาท าแบบทดสอบ หลังการเรียน

1) ทักษะในการ เรียนรู้และทักษะ อาชีพ รวมไปถึง ทักษะด้านความเข้า ใจความต่าง วัฒนธรรม ต่าง กระบวนทัศน์

2)ทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการ แก้ปัญหา

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน หลังการเรียน

4. การประเมินผลการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ มีการด าเนินการประเมินผล 2 รูปแบบ ได้แก่

4.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาจากการเรียนรู้ เรื่อง การสืบค้นสารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์ ซึ่งบรรณารักษ์ได้ท าการสอนแบบไม่บรรยาย คือ การสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ในการ ประเมินผลได้ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งใช้แบบแผนการทดลองที่มีกลุ่มประชากร 1 กลุ่ม ให้

นักศึกษาท าการทดสอบก่อนเรียน และทดสอบหลังการเรียน (One-Group Pretest-Posttest Design) เพื่อทดสอบ ความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียนของนักศึกษา โดยใช้สถิติ T-test

(8)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND

4.2 การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่

บรรยาย ใช้แบบสอบถามซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาและอภิปรายผล

1. รูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย

ผลการพัฒนารูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยายท าให้ห้องสมุดคณะ สัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศจากรูปแบบเดิมไปสู่

รูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังตารางเปรียบเทียบรูปแบบการสอนได้ดังนี้

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบรูปแบบการสอนแบบเดิมกับรูปแบบการสอนแบบไม่บรรยาย

รูปแบบการสอนแบบเดิม รูปแบบการสอนแบบไม่บรรยาย

1.บรรณารักษ์เป็นศูนย์กลางของการสอน

2. ใช้การสอนหน้าห้องเรียนในการบรรยายความรู้ หรือ การจัดอบรม

3. เป็นการถ่ายทอดความรู้และทักษะกับนักศึกษา โดยตรง

4. นักศึกษาเรียนรู้จากการท าตามบรรณารักษ์สอน 5. เป็นการสอนที่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน หรือ

ห้องอบรมเท่านั้น

6. เป็นการสอนที่จ ากัดโอกาสของนักศึกษาทั้งเวลา สถานที่ และความต้องการของแต่ละคน ซึ่งมีความ แตกต่างกัน

7.ให้คะแนนรายบุคคล

1.บรรณารักษ์เป็นผู้อ านวยความสะดวก หรือเป็นโค้ช 2. ใช้รูปแบบการสอนหรือกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อ

พัฒนานักศึกษาได้เต็มศักยภาพ

3. จุดเน้นคือ ส่งเสริมให้นักศึกษาอยากรู้อยากเห็น กระตุ้นความสนใจให้คิด ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้

4. นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

5. เป็นการสอนที่เน้นกลุ่มหรือทีมและการสร้างเครือข่าย 6.เป็นการสอนที่เปิดโอกาสแก่นักศึกษาอย่างไม่จ ากัด

เวลาและสถานที่ หากไม่เข้าใจสามารถทบทวน บทเรียนได้ด้วยตนเอง

7.ให้คะแนนการเรียนรู้ทั้งรายบุคคล และรายกลุ่ม จากการน ารูปแบบการสอนแบบไม่บรรยายของห้องสมุด มาใช้ในการสอนกระบวนวิชา 651291 และ กระบวนวิชา 651391 พบว่า การจัดบรรยากาศของการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนและลงมือปฏิบัติจริง ท าให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน มีการเรียนรู้ร่วมกัน นักศึกษาเกิดความคิดที่หลากหลาย สามารถ ตัดสินใจโดยใช้เหตุผล รวมทั้งการเปลี่ยนวิธีการสอนของบรรณารักษ์ จากการบรรยายหน้าชั้นเพียงอย่างเดียว ไปเป็น ครูฝึก ฝึกการสืบค้นสารสนเทศหรือกิจกรรมอื่นในชั้นเรียน สอดคล้องกับทฤษฎีห้องเรียนกลับทาง (ปริยาภรณ์ ตั้ง คุณานันต์, 2557) ได้อย่างเหมาะสม และในช่วงท้ายของชั้นเรียน บรรณารักษ์จะเน้นให้นักศึกษาตระหนักถึง จริยธรร รมในการเขียนงานทางวิชาการ การอ้างอิงเอกสาร และการคัดลอกหรือน าข้อมูลหรือรูปภาพของผู้อื่นมาใช้ เพื่อที่จะ ท าให้นักศึกษาเกิดศีลธรรม จริยธรรมในจิตใจควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย

ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงเรียนกระบวน วิชา 651291 จ านวน 59 คน มีค่าเฉลี่ยก่อนการเรียน (Pre-test) เท่ากับ 11.61 ค่าเฉลี่ยหลังการเรียน (Post-test) เท่ากับ 23.05 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลัง

(9)

PULINET Journal Vol. 4, No. 1, January-April 2017 : pp.78-88 http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal

Published by Provincial University Library Network, THAILAND

เรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในกระบวนวิชา 651391 จ านวน 65 คน มีค่าเฉลี่ยก่อนการเรียน (Pre-test) เท่ากับ 11.51 ค่าเฉลี่ยหลังการเรียน (Post-test) เท่ากับ 23.08 เมื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังกล่าว เห็นได้อย่างชัดเจนว่าคะแนนโดยเฉลี่ยหลังจากการเรียน เพิ่มมากขึ้นทั้ง 2 กระบวนวิชา เนื่องมาจากนักศึกษาได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง ตามกระบวนการเรียนการสอนที่ได้

ก าหนดไว้ การเรียนการสอนไม่จ ากัดอยู่แค่เวลาในห้องเรียนที่มีอยู่อย่างจ ากัด นักศึกษาจะได้ศึกษาเอกสาร ประกอบการสอนก่อนการเรียนในห้องเรียนจริง ประกอบกับห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ ยังได้รับทุนสนับสนุนการ วิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในปีการศึกษา 2557 ในการท าวิจัย เรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสืบค้นสารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์” และน าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าวมาใช้ในการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้สามารถเรียนรู้วิธีการสืบค้นสารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จ ากัดเวลาและ สถานที่ในการเรียนรู้ สามารถท าแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และหากยังไม่

เข้าใจเนื้อหาบทเรียนในส่วนใดก็สามารถศึกษาได้อย่างไม่จ ากัดจ านวนครั้ง

การจัดบรรยากาศในห้องเรียนและการเพิ่มเติมกิจกรรมที่หลากหลายท าให้นักศึกษามีความสนใจในการเรียน เรียนสนุก ไม่เคร่งเครียด กิจกรรมที่นักศึกษาชอบมากที่สุด คือ กิจกรรมตอบปัญหาชิงรางวัล เป็นการทบทวนความรู้

จากการเรียนได้อย่างเห็นผลชัดเจน อีกทั้งการเรียนในแบบปฏิบัติจริงในห้องเรียน หากนักศึกษามีปัญหาหรือข้อสงสัย สามารถถามบรรณารักษ์ได้ทันที ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเป็นเหตุให้นักศึกษาทั้ง 2 กระบวนวิชา ที่เรียนโดยวิธีการสอน การรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการเรียนเพิ่มมากขึ้น

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย ในการวิเคราะห์ผลจากการประเมินความพึงพอใจ พบว่า

3.1 นักศึกษาในกระบวนวิชา 651291 จ านวน 59 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการสอนการรู้สารสนเทศ ทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยายในด้านต่างๆ ตามล าดับ คือ รูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.69) รองลงมา คือ กิจกรรมในการเรียนรู้ใน ชั้นเรียน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.60) การสอนของบรรณารักษ์ มีความพึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.20) และบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน มีความพึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.02)

3.2 นักศึกษาในกระบวนวิชา 651391 จ านวน 65 คน มีระดับความพึงพอใจต่อการสอนการรู้สารสนเทศ ทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย ในด้านต่างๆ ตามล าดับ คือ รูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์แบบไม่บรรยาย มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.62) รองลงมา คือกิจกรรมในการเรียนรู้ในชั้น เรียน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.24) การสอนของบรรณารักษ์ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.22) และบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน มีความพึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00)

นักศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตว แพทยศาสตร์แบบไม่บรรยายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ได้แก่ การปรับเอกสารการสอนให้อยู่ในรูปแบบของ Infographic ให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่ายใน 1 หน้ากระดาษ และเสนอช่องทางการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษา เพิ่มเติม คือ Line กลุ่มของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถติดต่อสอบถามในเรื่องการสืบค้นสารสนเทศกับ บรรณารักษ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การพัฒนารูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์แบบไม่บรรยายส่งผลให้นักศึกษาได้เรียนรู้

จากการลงมือปฏิบัติ และก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรมีการทบทวนหลังการเรียน

Referensi

Dokumen terkait