• Tidak ada hasil yang ditemukan

View of The Importance of Applications of Buddhist Dharma Principles into English Curriculums in Mahamakut Buddhist University: An Academic Integration of Eastern Languages and Western Languages

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "View of The Importance of Applications of Buddhist Dharma Principles into English Curriculums in Mahamakut Buddhist University: An Academic Integration of Eastern Languages and Western Languages"

Copied!
6
0
0

Teks penuh

(1)

ความส�าคัญของการประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในหลักสูตรภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย: การบูรณาการเชิงวิชาการภาษาโลกตะวันออกใน

ภาษาโลกตะวันตก

The Importance of Applications of Buddhist Dharma Principles into English Curriculums in Mahamakut Buddhist University: An Academic

Integration of Eastern Languages and Western Languages พระมหาสมัคร มหาวีโร

อาจารย์ประจ�าหลักสูตร สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้น�าเสนอความส�าคัญของการประยุกต์หลักธรรมะในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งเป็นบทบาทที่จ�าเป็นอย่างยิ่งตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่เน้นความเป็น เลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนา โดยจะเน้นหลักการและความส�าคัญทางการประยุกต์และสอดแทรกหลักธรรมะใน พระพุทธศาสนาในสาระการเรียนการสอนทางภาษาอังกฤษซึ่งเป็นความแตกต่างของบริบทการเรียนการสอนภาษา จากสถาบันการศึกษาอื่นๆในประเทศไทย และเป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์

ที่ไม่เพียงแต่พัฒนาวิชาการตามแนวตะวันตกเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมในตัวผู้เรียน อันจะ น�าไปสู่การพัฒนาสังคมประเทศชาติในมิติแห่งคุณธรรมที่เป็นที่จ�าเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยปัจจุบัน

ค�าส�าคัญ: หลักธรรมะ, การประยุกต์ใช้, หลักสูตรภาษาอังกฤษ, การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

Abstract

This article presents the importance of the applications of Dharma principles in Buddhism into English curriculums at Mahamakut Buddhist University which is regarded as the vital role according the educational philosophy of the university in the fact that “Academic excellence is based on Bud- dhism”. It highlights some significance of the applications of Dharma principles in Buddhism into the essence of English teaching and learning which are different from other institutions in Thailand. It also highlights the advantages of potential developments in students in the Buddhist university which do not only follow the academic view and educational philosophy from the western world but the development of morality and ethics in the students from the eastern world which will help develop the country in terms of spiritual dimension which is needed for Thai current society.

Keywords: Dharma rinciple, applications, English curriculum, English teaching-learning

1. บทน�า

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นภารกิจส�าคัญอย่างหนึ่งของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในการที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพด้านภาษาอังกฤษในทุกทักษะ โดย มหาวิทยาลัยจัดให้มีการเรียนการสอนทั้งในรายวิชาพื้นภาษาอังกฤษพื้นฐานให้กับนักศึกษาทุกคณะและนอกจากนั้น ยังมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) และหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอน ภาษาอังกฤษ) และหลักสูตรอื่นๆ ด้วย ในหลักสูตรต่างๆ ด้านภาษานั้น จะพบได้ว่า มีการประยุกต์และสอดแทรก

(2)

หลักธรรมะเป็นภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกรายวิชาทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาน�าหลักธรรมะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�าวัน ซึ่งถือว่าเป็นสาระส�าคัญประการหนึ่งนอกเหนือจากการเรียนรู้องค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามสาระรายวิชา เป็นกา รบูรณาการหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นสนองตอบต่อนโยบายและปรัชญา การศึกษาและพันธกิจของมหาวิทยาลัย

2. ความส�าคัญการประยุกต์หลักธรรมะในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย

การบูรณาการหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีความส�าคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการสอนในสาระเนื้อรายวิชาของอาจารย์ผู้สอน เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนา ดังนั้น การเน้นหรือน�าหลักของธรรมะเข้าไป ในเนื้อหาการเรียนการสอนนั้น เป็นตอบสนองต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่กล่าวไว้ว่า เน้นความเป็นเลิศทางด้าน พระพุทธศาสนา (Academic Excellence based on Buddhism) ความส�าคัญและประโยชน์ของการประยุกต์หลัก ธรรมะเข้าไปหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประการใหญ่ๆ ดังนี้

21. การส่งเสริมการเผยแผ่ค�าสอนในพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างประเทศ (Propagation Buddhist Teachings into Foreign Language) กล่าวคือ นักศึกษาสามารถเผยหลักธรรมที่ส�าคัญเป็นภาษาต่างประเทศในรูป แบบการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนไปสู่บริบทต่างๆ เช่น การเผยแพร่หลักธรรมะไปสู่ชาวต่างประเทศที่สนใจ ศึกษาค�าสอนและปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องนี้คือ การแปลค�าสอนหรือหลักธรรมะใน พุทธศาสนาเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่ในสื่อสังคมมีเดียต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาได้อย่าง ดีทางหนึ่ง จะเห็นได้ว่าในหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาภาษาอังกฤษนั้น จะมีวิชาธรรมะพากย์ภาษาอังกฤษ

(Dharma in English) ซึ่งเป็นรายวิชาที่นักศึกษาต้องเรียนรู้หลักธรรมะเป็นภาษาอังกฤษ โดยจะมีการศึกษาธรรมะ เป็นภาษาอังกฤษผ่านโครงสร้างภาษาอังกฤษในบทเรียนต่างๆ โดยเฉพาะหลักธรรมะที่ส�าคัญๆ เช่น อริยสัจ 4 (The

Four Noble Truth) อริยมรรคมีองค์ 8 (The Eightfold Path)

2.2 การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา (Critical thinking development of students)

กล่าวคือ เป็นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักศึกษาในด้านการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลในสิ่งต่างๆ โดยใช้

ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ในการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์โดยผ่านธรรมะที่เป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษา จะได้ค้นคว้า คิด วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ก�าลังเรียนรู้หรือสาระส�าคัญด้านหลักธรรมะในพุทธศาสนา ซึ่งทักษะการ คิดวิเคราะห์นี้ถือว่ามีความส�าคัญอย่างยิ่งในการที่จะท�าให้นักศึกษาประสบความส�าเร็จในการเรียน การท�างานหรือ การประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้น การประยุกต์หลักธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน นั้น จึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่จ�าเป็นอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าและความส�าเร็จในชีวิตของนักศึกษาในอนาคต ดังนั้น การส่ง เสริมการประยุกต์หลักธรรมะเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง จะช่วยท�าให้นักศึกษา สามารถพัฒนาตนเองด้านการคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดีทั้งในขณะเรียนหรือหลังจบการศึกษาและสามารถน�าไปใช้

ในชีวิตได้ตลอดไป

หลักส�าคัญในการพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์นั้น ผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมกันคิดหาเหตุผล (causes

and effects) ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้งโดยการวิเคราะห์หาเหตุและผลและความสัมพันธ์ของสิ่งที่จะศึกษา งานวิจัย มากมายได้ศึกษาความส�าคัญของเรื่องนี้ ดังเช่นในงานวิจัยจุฑารัตน์ พันธุ (2556) ที่ศึกษา การพัฒนาการคิดวิเคราะห์

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ 5W1H ส�าหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบ�ารุง

(3)

ในรายวชิาโลจิสติกส์ ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์แบบประเมินผลงานการคิดวิเคราะห์ 5W1H พบว่าผู้เรียนส่วน ใหญ่มีการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้น รู้หลักการคิดวิเคราะห์และสามารถปฏิบัติงานและความถูกต้องของ งานอยู่ ในระดับดีและกล้าที่จะคิดอย่างเต็มที่ซึ่งผู้เรียนได้ให้เหตุผลประกอบในทุกหัวข้อได้อย่างชัดเจนอยู่ใน ระดับที่

ดี หัวข้อการประเมินกลุ่มเป้าหมาย (Who) พบว่าผู้เรียนไม่มีปัญหาในการเลือกกลุ่มเป้า สามารถให้ เหตุผลประกอบ ได้อย่างชัดเจนหัวข้อการประเมินประเภทสินค้า (What) ผู้เรียนมีการเลือกประเภทสินค้าได้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้า หมายและมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ในการเลือกสินค้า หัวข้อการประเมินเวลา (When) ผู้เรียนมีการเลือกช่วงเวลา ในการจัดจ�าหน่ายได้เหมาะสม และมีความตรงต่อยุคสมัย หัวข้อการประเมิน สถานที่ (Where) ผู้เรียนเลือกสถาน ที่ในการจัดจ�าหน่ายได้เหมาะสม และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หัวข้อการ ประเมินเพราะเหตุใด (Why) ผู้เรียนสามารถ บอเหตุผลประกอบการเลือกและออกแบบได้อย่างถ้วนชัดเจน หัวข้อการประเมินอย่างไร (How) ผู้เรียนมีความคิด สร้างสรรค์ในการออกแบบสามารถบอกเหตุผลการ ออกแบบได้ขัดเจนและสามารถน�าไปประยุกต์ใช้ได้จริงซึ่งสรุปได้

ว่าวิธีการพัฒนานาการคิดวิเคราะห์โดย กระบวนการคิดวิเคราะห์ 5W1H เป็นทักษะที่ใช้ได้ผลดีในระดับที่น่าพอใจ สามารถช่วยพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้ดีขึ้นตามจุดประสงค์ที่ก�าหนด ไว้และผลแบบสะท้อนการ เรียนรู้ พบว่าผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบที่ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ 5W1H ซึ่งท�าให้ ผู้เรียนเกิดการ คิด ที่เป็นกระบวนการ มีขั้นตอนในการคิดที่เป็นระบบ มีกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอน มีแนวทางในกระบวน ความ คิดที่เป็นระบบ มีเหตุผลในการตัดสินใจ ออกแบบผลงานได้ถูกต้องตรงตามจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ผู้เรียนมีความสนุก สนานที่ได้ท�ากิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าวิธีการพัฒนา การคิดวิเคราะห์โดย กระบวนการคิดวิเคราะห์

5W1H เป็นทักษะที่ใช้ได้ผลดีในระดับที่น่าพอใจ สามารถช่วยพัฒนา กระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้ดีตาม วัตถุประสงค์ที่ก�าหนดไว้

จากงานวิจัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ จึงเป็นเรื่องส�าคัญอย่างยิ่ง และใน หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชิวทยาลัยก็ได้เน้นกระบวนการดังกล่าวอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จะเป็นดีมากยิ่งขึ้นถ้าหากอาจารย์ผู้สอนได้ท�าการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้หลักธรรมะในพุทธศาสนา เช่น หลักโยนิโสมนสิการเข้าไปในกระบวนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยเน้นการกระบวนการวิจัย ซึ่งก็จะท�าให้

นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยสามารถพัฒนาศักยภาพการคิดวิเคราะห์ของตนเองได้อย่างเป็นระบบ 2.3 การส่งเสริมด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา (Promotion of morality and ethics of students) กล่าวคือ การประยุกต์หลักธรรมะในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นโลกฝ่ายตะวันออกเข้าไปสาระเนื้อหาด้านการ เรียนการสอนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นโลกตะวันตกนั้นเป็นการส่งเสริมด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในตัวนักศึกษาซึ่ง ถือว่าเป็นคุณลักษณะ (Domain) ที่ส�าคัญมากประการหนึ่งในกระบวนการการประกันคุณภาพด้านการศึกษาที่รัฐบาล และหน่วยงานทางด้านการศึกษาของชาติก�าลังมุ่งมั่นพัฒนา ดังนั้น การที่ครูอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชิวทยาลัยประยุกต์หลักธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร ทุกระดับชั้น จึงนับได้ว่า เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดในตัวนักศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นตอบสนองต่อนโยบายการศึกษาของชาติอย่างแท้จริง ดังจากเห็นจากวัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยระดับหลักสูตรในหมวดการพัฒนาบัณฑิต องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิตที่ระบุว่า

“พันธกิจที่ส�าคัญที่สุดของสถาบันอุดมศึกษา คือ การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้ผู้เรียน มีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่ ก�าหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความ รู้มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการด�ารงชีวิต ในสังคมได้อย่าง มีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความส�านึกและความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลก

(4)

มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา” (คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ส�านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2557 หน้า 58)

การประยุกต์หลักธรรมะในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในนักศึกษานั้น ยังเป็นสิ่งที่ส�าคัญต่อการพัฒนาจิตใจ ของนักศึกษา เป็นความต้องการที่ควรจะมีอย่างยิ่งในการสถานศึกษา ดังเช่น งานวิจัยของสุณี พณาสกุลการและคณะ (2549) ที่ศึกษาทัศนคติต่อหลักธรรมและการน�าหลักพุทธธรรมมาใช้ในชีวิตประจ�าวันของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ และผลการวิจัยที่ส�าคัญพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีระดับทัศนคติต่อการน�า หลักพุทธธรรมมาใช้ในชีวิตประจ�าวันอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อหลักพุทธธรรมและน�า หลักพุทธธรรมไปใช้ในชีวิตประจ�าวันของนักศึกษาเป็นไปในทางในทางบวก

นอกจากนี้ ในการวิจัยของนคร จันทราชและคณะ (2560) ที่ศึกษาการศึกษาเชิงประยุกต์หลักพุทธธรรม กับการแก้ปัญหาบริโภคนิยมของวัยรุ่นจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า วัยรุ่นในสังคมไทยมีค่านิยมเสพวัตถุนิยม มีความ ฟุ้งเฟ้อและฟุ่มเฟือย การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินวัย ท�าให้เกิดปัญหาที่เกิดจากบริโภคของวัยรุ่นในสังคมไทยมี 3 อย่างคือ 1) วิกฤติด้านกายภาพ 2) วิกฤติด้าน จิตภาพ และ 3) วิกฤติทางสังคม การบริโภคตามหลักพุทธธรรมและในรายงาน วิจัยดังกล่าวสรุปว่า ในพุทธศาสนามีหลักพุทธธรรมว่าด้วยเรื่องของการบริโภคตามหลัก พุทธศาสนามี 2 อย่าง คือ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการบริโภคตามหลักพุทธศาสนามี 9 หลัก คือ 1) หลัก โยนิโสมนสิการ 2) หลักอินทรีย์สังวร 3) หลักสติสัมปชัญญะ 4) หลักโภชเน มัตตัญุตา 5) หลักมัชฌิมา ปฏิปทา 6) หลักสันโดษ 7) หลัก คิหิสุข 8) หลัก วัฒนมุข 9) หลักทิฎฐิธัมมิกถัตประโยชน์ และ 2) หลักพุทธ- ธรรมที่ขัดแย้งการบริโภคตามหลักพุทธศาสนามี 3 หลัก คือ1) ตัณหา 2) อกุศลมูล และ 3) อบายมุข ส่วนการประประยุกต์หลักพุทธธรรมกับแก้ปัญหาบริโภคนิยมของวัยรุ่น จังหวัดอุบลราชธานีมี 2 กลุ่ม พบว่า วัยรุ่นสามารถประยุกต์หลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการบริโภคตามหลักพุทธศาสนา ท�าให้มี ประโยชน์ต่อการด�าเนินชีวิตของวัยรุ่นมีความขยันและอดทน รู้จักความประหยัด รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ในสิ่งที่

เป็นประโยชน์ในด�าเนินชีวิตด้วยความพอดีและความพอเพียง

เสริบศักดิ์ แสงสุข และ บุญร่วม ค�าเมืองแสน (2560) ได้ศึกษาวิจัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักพุทธ ธรรมของ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง อ�าเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยน�าเสนอแนวทางและ การสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตด้วยหลักพุทธธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อ�าเภอจอมบึง จังหวัด ราชบุรี” การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน การ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิง พรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบ ว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อปัจจัยสนับสนุนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ใน ระดับมาก และมี

คุณภาพชีวิตด้วยหลักพุทธธรรม โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ปัจจัยสนับสนุนเพื่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิต มี

ความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักพุทธธรรม อยู่ในระดับสูง (r = 0.72) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ว่า ควรอยู่ในท้องถิ่นที่มีความพร้อมทุกๆ ด้าน มีการเลือกคบคนดีมีศีลธรรม ควร ยึดหลักธรรมในการด�าเนินชีวิตและ การเรียน และการท�าความดีเป็นสิ่งที่ส�าคัญต่อการด�ารงตนในสังคม สรุปแนวทางและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนา คุณภาพชีวิตด้วยหลักพุทธธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงอ�าเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่จะ ท�าให้นักศึกษาประสบความส�าเร็จ มี ความสุข สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ และสุขภาพจิตที่ดี ก็คือ “MIGA” model, M (Motivation) หมายถึง แรงจูงใจเพื่อกระตุ้นตนเอง I (Inspiration) หมายถึงการได้รับแรงบันดาลใจสู่ความ ส�าเร็จ G (Goal) หมายถึง เป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ A (Activity) หมายถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมการ พัฒนาคุณภาพชีวิต

(5)

จากงานวิจัยดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การประยุกต์หลักธรรมะเข้าไปในหลักสูตรการศึกษาและชีวิตประจ�า วันเป็นที่มีความจ�าเป็นและส�าคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในเกิดในตัวผู้เรียน และจะน�าไปสู่ความสุขในการด�าเนินชีวิต การประกอบหน้าที่การงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศชาติในที่สุด

2.4 การส่งเสริมและพัฒนาความงอกงามทางด้านจิตปัญญาในนักศึกษา (Promotion and development of spiritual growth in students) กล่าวคือ การประยุกต์หลักธรรมะในพุทธศาสนาเข้าไปในการเรียนการสอน เป็นการส่งเสริมและพัฒนาความงอกงามทางด้านจิตปัญญาของนักศึกษาในขณะที่เรียนรู้สาระทางวิชาการด้านภาษา หากกล่าวไปแล้ว การท�าอย่างนี้คือการพัฒนาและยกระดับจิตใจของตัวเองให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระท�าขณะ ที่ก�าลังด�ารงชีวิตอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น หรือที่เต็มไปด้วยอกุศลธรรม ดังนั้น การพัฒนาจิต ปัญญาจึงเป็นเรื่องส�าคัญอย่างยิ่ง ที่หลักสูตร/ครูอาจารย์ต้องกระท�าอย่างต่อเนื่อง เป็นสร้างความเจริญทางด้านจิตใจ

(Spiritual and mind growth) ดังเช่น พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2551) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาจิตตาม แนวทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร คือการตั้งสติก�าหนดพิจารณา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เราเขา คือมีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่มี

ราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น ในด้านการสะท้อนคิดเกี่ยวการพัฒนาจิตปัญญาในนักศึกษานั้น นฤมล จันทรเกษม (2560) ได้ท�าศึกษาการ วิเคราะห์การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท สระบุรี และพบว่า จิตตปัญญาศึกษา เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส�าคัญในการ ที่จะพัฒนานักศึกษาให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างลึกซึ้ง ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ลักษณะ คือ การ ฟังอย่างลึกซึ้ง การน้อม สู่ใจอย่างใคร่ครวญ และการเฝ้ามองเห็นตามที่เป็นจริง น�าไปสู่การเป็นนักศึกษาที่มีความรัก ความเมตตาต่อ ตนเองและผู้อื่น เสียสละต่อวิชาชีพ เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และให้การพยาบาล ผู้รับ บริการอย่างเป็นองค์รวม ผู้วิจัยได้ ได้เสนอประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ผ่าน กระบวนของค่ายจิตตปัญญาศึกษา มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาสามารถน�าแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาไป ประยุกต์ใช้ใน การด�าเนินชีวิตเพื่อให้เกิดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ นักศึกษาได้สะท้อนคุณลักษณะ บัณฑิตในด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้และทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิด ชอบ การสื่อสาร และการปฏิบัติ

ทางวิชาชีพ ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวจะหล่อหลอมให้นักศึกษาเป็นพยาบาล วิชาชีพที่มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา อันน�าไปสู่การดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์และมีความสุขในเส้นทางวิชาชีพต่อไป

จากแนวคิดและความส�าคัญของการพัฒนาจิตตปัญญาต่างๆ ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมและพัฒนาความ งอกงามทางด้านจิตปัญญาในนักศึกษาเป็นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในนักศึกษาของมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งเป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักศึกษาของ มหาวิทยาลัยจบการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพเพียบพร้อมด้วยมิติแห่งการพัฒนาจิตใจ ไม่เพียงแต่การพัฒนาด้าน วิชาการเพียงอย่างเดียว

3. บทสรุปและข้อเสนอแนะ

จากความส�าคัญของการประยุกต์หลักธรรมะในพระพุทธศาสนาในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ได้น�าเสนอไปดังกล่าว สามารถสรุปความส�าคัญได้เป็น 4 ด้านคือ 1) การส่ง เสริมการเผยแผ่ค�าสอนในพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างประเทศ (Propagation Buddhist Teachings into For- eign Language) 2) การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา (Critical thinking development of

(6)

students) 3) การส่งเสริมด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา (Promotion of morality and ethics of students) 4) การส่งเสริมและพัฒนาความงอกงามทางด้านจิตตปัญญาในนักศึกษา (Promotion and development of spiritual growth in students) ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความส�าคัญเหล่านี้ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน อย่างต่อเนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ ระดับภาควิชา และระดับหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อให้น�า ไปสู่การพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักศึกษาทั้งในด้านวิชาการและการพัฒนาจิตใจให้ควบคู่กันไปตามอัต ลักษณ์ ปรัชญาและพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่เน้นความเป็นเลิศทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนา และความส�าคัญ เหล่านี้จะส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับประเทศชาติในที่สุดต่อไป

เอกสารอ้างอิง

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา คณะอนุกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ภาพพิมพ์

นคร จันทราชและคณะ (2560) การศึกษาเชิงประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการแก้ปัญหาบริโภคนิยมของวัยรุ่นในจังหวัด อุบลราชธานี: A Study of Buddhadhamma Applying for in Solving the Problems of Consumerism of Youth in Ubonrachathani Province วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ (พฤษภาคม 2560) จุฑารัตน์ พันธุ (2556) การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ 5W1H ส�าหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบ�ารุง ในรายวิชาโลจิสติกส์ รายงานวิจัย รายวิชา 01162423การปฏิบัติการสอนและ การวิจัยในชั้นเรียน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 17 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551

นฤมล จันทรเกษมและคณะ (2560) การวิเคราะห์การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามแนวคิดจิตตปัญญา: Devel-

opment of the Desirable Characteristics Via Contemplative Education วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2560)

สุณี พณาสกุลการและคณะ (2549) ทัศนคติต่อหลักพุทธธรรมและการน�าหลักพุทธธรรมมาใช้ในชีวิตประจ�าวันของนักศึกษา พยาบาลชั้นปีที่ 1 วารสารเกื้อการุณย์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1

เสริบศักดิ์ แสงสุข และ บุญร่วม ค�าเมืองแสน (2560) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักพุทธธรรมของ นักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง อ�าเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี: Development of Life Quality with Buddhadhamma to Students in Muban Chombueng Rajabhat University, Chombueng District, Ratchaburi Province

วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2560)

Referensi

Dokumen terkait

-Hugh Bigsby WAIARIKI INSTITUTE OF TECHNOLOGY Malaspina University College Visit Agroup of staff and students from Malaspina University College on Vancouver Island, British Columbia

The aim of this study is to review technology in English learning activities and internet communication tools which are being used lately by instructors and learners.. The study was