• Tidak ada hasil yang ditemukan

LEGAL PROBLEMS ON CREDIT CARD BUSINESS

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "LEGAL PROBLEMS ON CREDIT CARD BUSINESS "

Copied!
10
0
0

Teks penuh

(1)

โชฎึก โชติกําจร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทย ปจจุบันยังไมมีบทบัญญัติกฎหมายออกมาใชบังคับเปนการ เฉพาะ ไมมีหนวยงานของรัฐเขามารับผิดชอบในการควบคุมดูแลอยางชัดเจน เปนผลใหผูประกอบธุรกิจเหลานี้

สามารถดําเนินธุรกิจบัตรเครดิตไดอยางเสรี ซึ่งการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเปนการประกอบธุรกิจในดานสินเชื่อที่มี

ความสําคัญตอระบบเศรษฐกิจและมีความสําคัญตอสังคมของประเทศ ในปจจุบันแมวาจะมีประกาศธนาคารแหง ประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับการใหบริการบัตรเครดิต รวมทั้งกําหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย คาธรรมเนียม และคาใชจายตางๆ แตพบวายังไมมีสภาพบังคับทําใหผูประกอบธุรกิจทางดานบัตรเครดิตบางราย ไมปฏิบัติตาม กอใหเกิดปญหาเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบผูบริโภค หากไมมีกฎหมายหรือ องคกรเฉพาะขึ้นมาควบคุมใหเปนไป ในแนวทางหรือบรรทัดฐานเดียวกันหรือใหมีมาตรฐานเดียวกัน ยอมกอใหเกิดปญหาทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม จึง กอใหเกิดปญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใชและการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต จากการศึกษาสามารถสรุปปญหาได

ดังนี้

1. ปญหาอันเกิดจากการการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตที่ขาดมาตรการควบคุม

2. ปญหาเกี่ยวกับการเรียกผลตอบแทนสูงเกินสมควร และการคิดดอกเบี้ยคางชําระ เบี้ยปรับ คาบริการ คาธรรมเนียม หรือคาใชจายตางๆ ที่มีความซ้ําซอน ในสัญญาบัตรเครดิต

3. ปญหาเกี่ยวกับขอจํากัดทางกฎหมายที่บังคับใชในปจจุบัน กับชองทางหลีกเลี่ยงของผูประกอบธุรกิจ บัตรเครดิตตอการคุมครองผูบริโภคบัตรเครดิต

4. ปญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของสัญญาบัตรเครดิตและการนําหลักกฎหมายมาปรับและบังคับ ใชกับสัญญาบัตรเครดิตยังไมมีความชัดเจนแนนอน

5. ปญหาเกี่ยวกับการบังคับใชกฎหมายตอการใหความคุมครองผูใชบัตรเครดิต 6. ปญหาเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการใชบัตรเครดิตที่ขาดการควบคุม

จากการศึกษาปญหาดังกลาวพบวามาตรการทางกฎหมายที่ใชบังคับอยูในปจจุบันยังไมครอบคลุมและยัง ไมเพียงพอที่จะใหความคุมครองผูใชบัตรเครดิตซึ่งเปนผูบริโภคใหไดรับความเปนธรรมและผูประกอบธุรกิจบัตร เครดิตใหมีความเสมอภาคและเทาเทียมกันในการแขงขัน ผูเขียนจึงเห็นวามีความจําเปนที่จะตองมีกฎหมายเฉพาะขึ้นมา บังคับใชกับบัตรเครดิตโดยตรง เพื่อใหเกิดความสะดวกในการใชโดยมีเนื้อหาสาระทั้งหมดอยูในกฎหมายฉบับเดียวกัน ที่มีเนื้อหาสาระสําคัญดังตอไปนี้

บทคัดยอ

(2)

1. เพื่อใหมีเจาภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรเครดิต จึงตองมีองคกรหรือหนวยงานทางภาครัฐเขามา ควบคุมดูแลการดําเนินธุรกิจบัตรเครดิตใหชัดเจน โดยใหมีกฎหมายรองรับถึงอํานาจหนาที่ของหนวยงานดังกลาว โดย ใหมีอํานาจควบคุมดูแลผูประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งที่เปนธนาคารพาณิชยที่ไดรับอนุญาตตามกฎหมายและผู

ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่เปนบริษัทหรือหางรานตางๆ โดยใหอยูภายใตอํานาจและกฎหมายเดียวกัน

2. ตองบัญญัติกฎหมายเกี่ยวธุรกิจบัตรเครดิตขึ้นมาเปนกฎหมายเฉพาะเพื่อมาควบคุมและบังคับใช

กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งนี้โดยอาจเปนการบัญญัติไวเปนเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง ใน ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย หรือตราขึ้นมาใหมเปนพระราชบัญญัติบัตรเครดิต เพื่อใหมีความเหมาะสมและเปน ธรรม โดยกําหนดหลักเกณฑที่จําเปนดังตอไปนี้

2.1 ควรมีบทบัญญัติที่กําหนดในเรื่องรูปแบบของขอตกลงการใชบัตรเครดิตที่ตองมีมาตรฐานและ เปนธรรม บัญญัติถ

บทคัดยอ

ึงสิทธิหนาที่ความรับผิดของคูสัญญาที่เกี่ยวของ ระยะเวลา การฟองบังคับตามสิทธิเรียกรอง ตามสัญญาบัตรเครดิต

2.2 บัญญัติถึงขอกําหนดในเรื่องการคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ คาธรรมเนียม ตามความเปนจริงที่มีอยู

ในปจจุบัน รูปแบบการเรียกดอกเบี้ยเงินใหกูยืม โดยสมควรตองกําหนดอัตราดอกเบี้ย คาปรับ คาธรรมเนียม คาบริการ เมื่อรวมคํานวณแลวตองไมเกินจํานวนที่กําหนดซึ่งจํานวนเทาใดนั้นใหถือปฏิบัติเปนอัตราเดียวกัน อันจะ ทําใหผูออกบัตรไมสามารถแสวงหาประโยชนจากผูถือบัตรไดอีกตอไป

______________________________________________

อาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ รองศาสตราจารย โสภณ อรรถพิศาลโสภณ และอาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธรวม อาจารย ประทีป ทับอัตตานนท

วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ป พ.ศ. 2550

(3)

LEGAL PROBLEMS ON CREDIT CARD BUSINESS

CHODUCK CHOTIKUMJORN SRIPATUM UNIVERSITY CHONBURI CAMPUS

The legislation on credit card business in Thailand in the present has not been specifically enacted for the enforcement and no any government agencies to take the clear responsibility in controlling it. As the result, these business operators are able to freely engage in the credit card business which is the engagement on the credit that is considered as very critical to the country’s economic and social systems. Although the Bank of Thailand has currently announced the standards relating to the service of credit cards, including the interest rates, fees and expenses, no status are found to enforce some credit card business operators who fail to act in compliance with the regulations, causing the consumers to be taken advantage of. If no such law or specific organization or agency is established to control the said business to be in the same way, guidelines or standard, it would have caused the severe problems to the country’s economy and society. There are questions about legal problems on the application and the conduct of the credit card business. Based on the study, the problems can be concluded as follows:

1. The problems occurred as the result of the uncontrolled measures on the credit card business expansion.

2. The problem of too much demand on the profit return, the calculation of accrued interest rates, penalty, service charges and fees or expenses that are seemed to be complicated in the credit card contract.

3. Problems on the legal restrictions currently enforced and the means of avoidance of the credit card business operators against the consumers.

4. Problems on the uncertained and unclear legal status of the credit card contract and the enforcement of the law against the credit card contract.

5. Problem on the law enforcement against the credit card users protection.

6. Problem on the economic effects resulted from the uncontrolled credit card application.

ABSTRACT

(4)

According to the study the problems are found to be the legal measures currently enforced has not had the adequate coverage to provide the fair protection against the consumers and the equal and fair competition for the credit card business operators. The author agrees that it is necessary for the specific legislation to be enacted to directly enforce against the credit cards for the using convenience with the essential statements in the same text of law as follows :

1. To have the host available for taking responsibility about the credit card job, there must be any Government organizations or agencies to clearly in charge of the credit card business with the legislation to back up the said organizations’ or agencies’ responsibility and authority. They will be responsible and authorized to supervise and take control of the credit card business operators, both the lawfully licensed commercial banks and the non-bank credit card business operators, to be under the same authority and law.

2. The credit card business legislation must be enacted as the specific law to control and enforce the credit card business engagement. The enactment would be made separately as a certain type of contract in the Civil and Commercial Code or re-enacted as the Credit Card Act for the appropriateness and fairness. The necessary rules can be as follows :

2.1 The provisions should be available as the requirement on the patterns of agreement for standard and fair credit card application, to provide the rights and duties on the liability of the related parties, the period of remedial actions based on the right of claim in the credit card contract.

2.2 The provisions should be available as the requirement on the calculation of interest rates, penalty, fees actually existed in the present, the formation of the loan interest demand which the rates of interests, penalty, fees and service charge calculated altogether must not be exceeding the required amounts, whatever should be in the same rates and that the credit card issuers could no longer seek any interests out of the credit card holders.

ABSTRACT

______________________________________________

อาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ รองศาสตราจารย โสภณ อรรถพิศาลโสภณ และอาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธรวม อาจารย ประทีป ทับอัตตานนท

วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ป พ.ศ. 2550

(5)

ความนํา

ในการดําเนินธุรกิจการคานับแตอดีตจนถึงปจจุบันไดมีวิวัฒนาการเจริญกาวหนาเปนอยางมาก โดยในอดีต การติดตอคาขายมีลักษณะเปนการแลกเปลี่ยนสินคาโดยอยูในรูปแบบของสิ่งของที่มีคา ตอมาได

วิวัฒนาการมาใชสื่อกลางในรูปแบบของเงิน อันไดแก เหรียญ หรือธนบัตรในการติดตอซื้อขายหรือชําระ ราคาสินคาระหวางกัน ตอมาไดมีการคิดคนสิ่งที่มีคุณสมบัติคลายกับเงินตรามาใชในการชําระหนี้แทนเงิน สด ดวยเหตุผลที่ดีกวาหลายๆ ประการ อันแตแกความสะดวก ความปลอดภัย การมีสภาพคลอง สิ่งที่ได

พัฒนาขึ้นใชแทนเงินสดดังกลาวเรียกวา “บัตรเครดิต” โดยหลังทศวรรษที่ 20 ไดมีบัตรเครดิตใบแรกของ โลกเกิดขึ้นชื่อวา “บัตรไดเนอรสคลับ” ในประเทศอังกฤษและเปนที่ยอมรับกันอยางแพรหลายใน เวลาตอมาในประเทศตางๆ ปจจุบันในประเทศไทยนิยมการใชบัตรเครดิตกันอยางแพรหลาย โดย ประชาชนผูบริโภคหันมาใหความสนใจในการเขามาเปนสมาชิกบัตรเครดิตกันเปนจํานวนมาก ซึ่งแตเดิมผู

ถือบัตรเครดิตในประเทศไทยสวนใหญจะเปนนักทองเที่ยวชาวตางชาติที่เดินทางเขามาทําธุรกิจและ ทองเที่ยวในประเทศไทย ตอมาเมื่อประเทศไทยสามารถออกบัตรเครดิตไดเอง ทําใหการขยายตัวของการ ใชบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วจนกลายเปนเครื่องมือทางการเงินที่มีความสําคัญตอระบบเศรษฐกิจ การ

ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเปนธุรกิจประเภทการใหบริการดานเครดิตหรือเปนการใหสินเชื่อประเภทหนึ่งที่

ผูประกอบธุรกิจบัตรเครดิตไดออกเงินทดรองจายใหกับเจาหนี้ของสมาชิกบัตรเครดิตแทนสมาชิก ผูถือ บัตรเครดิตไปกอนแลว จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกคืนในภายหลัง โดยปจจุบันการประกอบธุรกิจบัตร เครดิตสามารถใหบริการแกสมาชิกบัตรเครดิตโดยการออกเงินทดรองจายใหแกเจาหนี้สมาชิกบัตรเครดิต เพื่อชําระราคาสินคาและบริการ รวมทั้งการใหบริการเบิกถอนเงินสดทําใหธุรกิจบัตรเครดิตกลายเปนธุรก รรมทางการเงินที่อํานวยความสะดวกแกประชาชน ผูประกอบการรานคาตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวของใน ระบบบัตรเครดิตดังกลาว การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตใน ประเทศไทย ปจจุบันไดมีการนําเทคโนโลยี

สารสนเทศในรูปแบบตางๆ มาใชในการติดตอสื่อสาร ทําใหมีความสะดวกรวดเร็วและคลองตัว และมีการ แขงขันกันอยางรุนแรงในธุรกิจบัตรเครดิตของสถานบันทางการเงิน โดยพบวาปจจุบันมีการแขงขันกันใน ลักษณะการปลอยสินเชื่อผานบัตรเครดิตโดยไมตองมีการค้ําประกัน เพื่อแยงสวนแบงตลาดผูบริโภคหรือ ผูใชบัตรเครดิตของตนใหมากที่สุด ทําใหเกิดการใชจายภายในประเทศเพื่อฟนฟู ทําใหเกิดภาระหนี้สินสวน บุคคลเพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงคของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความเปนมาและสภาพของปญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใชบัตรเครดิตและการ ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต

2. เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิด ความหมาย ของบัตรเครดิต การประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และ กฎหมายที่เกี่ยวของกับบัตรเครดิต และการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต

(6)

3. เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวของกับการใชบัตรเครดิตและการประกอบธุรกิจบัตร เครดิต

4. เพื่อศึกษาวิเคราะหถึงปญหาและมาตรการทางกฎหมายที่ใชบังคับอยูในปจจุบันเกี่ยวกับ ผลกระทบของการใชบัตรเครดิต

5. เพื่อศึกษาคนหามาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมกํากับหรือดูแลการประกอบธุรกิจบัตร เครดิต และเพื่อคุมครองผูบริโภคอันเกิดจากการใชบัตรเครดิตใหไดรับความเปนธรรม

สมมติฐานของการวิจัย

ปจจุบันธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยยังไมมีบทบัญญัติกฎหมายออกมาใชบังคับเปนการ เฉพาะ อีกทั้งยังไมมีหนวยงานของรัฐเขามารับผิดชอบในการควบคุมดูแลอยางชัดเจน เปนผลใหผูประกอบ ธุรกิจเหลานี้สามารถดําเนินธุรกิจบัตรเครดิตไดอยางเสรี ซึ่งการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเปนการประกอบ ธุรกิจในดานสินเชื่อที่มีความสําคัญตอระบบเศรษฐกิจและมีความสําคัญตอสังคมของประเทศ หากไมมี

กฎหมายหรือองคกรเฉพาะขึ้นมาควบคุมใหเปนไปในแนวทางหรือบรรทัดฐานเดียวกันหรือใหมีมาตรฐาน เดียวกัน ยอมกอใหเกิดปญหาทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม ควรมีกฎหมายและแกไขกฎหมายที่เกี่ยวของ กับธุรกิจบัตรเครดิตใหมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

วิธีการดําเนินการศึกษา

ใชวิธีการคนควาและวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษา รวบรวมและคนควา จากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวของ เชน บทความทางวิชาการ ตําราวิชาการ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ

และตัวบทกฎหมาย โดยนํามาเรียบเรียงใหเปนระบบ

ผลการวิจัย

ปจจุบันประชาชนตางนิยมใชบัตรเครดิตกันอยางแพรหลายซึ่งมีปจจัยหลายอยางประกอบ และ การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยก็กําลังเปนที่นิยมของนักลงทุน เนื่องจากมีผลตอบแทนสูง แต

ปจจุบันยังไมมีบทบัญญัติกฎหมายออกมาใชบังคับเปนการเฉพาะ อีกทั้งไมมีหนวยงานของรัฐเขามา รับผิดชอบในการควบคุมดูแลธุรกิจบัตรเครดิตอยางชัดเจนเปนผลใหผูประกอบธุรกิจเหลานี้สามารถดําเนิน ธุรกิจบัตรเครดิตไดอยางเสรีและเนื่องจากการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเปนการประกอบธุรกิจในดาน สินเชื่อซึ่งจะมีความสําคัญตอระบบเศรษฐกิจและมีความสําคัญตอสังคมของประเทศ หากไมมีกฎหมาย หรือองคกรเฉพาะขึ้นมาควบคุมใหเปนไปในแนวทางหรือใหมีมาตรฐานเดียวกันยอมกอใหเกิดปญหาทั้ง ในทางเศรษฐกิจและสังคมตามมาหลายอยางดังตอไปนี้

(7)

1. กรณีปญหาอันเกิดจากการการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตที่ขาดมาตรการควบคุมชี้ใหเห็น วามีผูบริโภคใชจายเงินผานบัตรเครดิตมากขึ้น และในจํานวนนี้บางรายไมสามารถรับภาระอัตราดอกเบี้ย และคาธรรมเนียมที่สูงของการใชจายผานบัตร ทําใหเกิดภาวะหนี้ทวมตัว จนทายที่สุดก็ตองตกอยูในสภาพ บุคคลลมละลาย เนื่องจากการใชบัตรเครดิตก็คือการนําเงินในอนาคตมาใชกอนแลวคอยชําระคืนใน ภายหลัง และที่สําคัญยังไมหนวยงานใดเปนหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบในการกํากับดูแลผูประกอบ ธุรกิจบัตรเครดิตที่มีสภาพบังคับใหมีมาตรฐานเดียวกัน

2. ปญหาเกี่ยวกับการเรียกผลตอบแทนสูงเกินสมควร และการคิดดอกเบี้ยคางชําระเบี้ยปรับ คาบริการ คาธรรมเนียม หรือคาใชจายตางๆ ที่มีความซ้ําซอน ในสัญญาบัตรเครดิตซึ่งมีการคิดอัตรา ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในอัตราที่สูงกวาธนาคารพาณิชยมาก ซึ่ง ธนาคารแหงประเทศไทยไมอาจออกระเบียบ ควบคุมได และทางธนาคารแหงประเทศไทยกําลังพิจารณาดําเนินการรางกฎหมาย พระราชบัญญัติธุรกิจ การเงินฉบับใหม เพื่อใหสามารถดําเนินการดูแลปญหาความเดือดรอนของผูบริโภคจากทุกฝายไดบน พื้นฐานที่เทาเทียมกัน

3. ปญหาเกี่ยวกับการบังคับใชกฎหมายตอการใหความคุมครองผูใชบัตรเครดิตซึ่งเปนการ สรางภาระขั้นตอนยุงยาก เสียทั้งเวลาทั้งคาใชจายอีกทั้งผูบริโภคมีทุนทรัพยและความรูนอยจึงไมอาจที่จะ ไปขอความยุติธรรมจากศาลได ซึ่งตางจากบริษัทหรือสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเหลานั้นที่

มีความพรอมทั้งทุนทรัพย บุคคลกรฝายกฎหมายที่มีความรูความเชี่ยวชาญในคดีไวโดยเฉพาะ ดวยเหตุ

ดังกลาวผูบริโภคสวนใหญจึงยังเลือกที่จะใหเอาเปรียบมากกวาที่จะเรียกรองหาความยุติธรรมจากศาล เพราะไมมีปจจัยชวยเหลือทางดานเงินทุนที่จะไปเรียกรองความยุติธรรมจากศาลประเทศไทยมีกฎหมาย เกี่ยวกับการคุมครองผูบริโภคหลายฉบับ แตยังไมมีกฎหมายฉบับใดที่ออกมาใชบังคับแกกรณีของธุรกิจ บัตรเครดิตโดยตรง ซึ่งแตละฉบับมีมาตรการ หลักเกณฑ หรือเงื่อนไขแตกตางกันไป

4. ปญหาเกี่ยวกับขอจํากัดทางกฎหมายที่บังคับใชในปจจุบัน กับการหลีกเลี่ยงของผูประกอบ ธุรกิจบัตรเครดิตตอการคุมครองผูบริโภคบัตรเครดิต ผูประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไมใชธนาคารพาณิชย

บางรายยังคงคิดดอกเบี้ย คาธรรมเนียม คาใชจายตางๆ รวมกันแลวสูงกวาที่ธนาคารแหงประเทศไทย จาก การที่มาตรการทางกฎหมายที่บังคับใชอยูในปจจุบันยังมีขอจํากัด และยังไมมีบทบัญญัติกฎหมายวาดวย ธุรกิจบัตรเครดิตโดยเฉพาะที่จะนํามาใชบังคับใช จึงทําใหเกิดชองทางหลีกเลี่ยงกฎหมายของผูประกอบ ธุรกิจบัตรเครดิตหรือสถาบันการเงินบางรายที่อาศัยชองวางทางกฎหมายนี้แสวงหาประโยชน หรือผลกําไร จากผูบริโภคจนเกินสมควร

ขอเสนอแนะ

มาตรการทางกฎหมายที่ใชบังคับอยูในปจจุบันยังไมครอบคลุมและยังไมเพียงพอที่จะใหความ คุมครองผูใชบัตรเครดิตซึ่งเปนผูบริโภคใหไดรับความเปนธรรมและผูประกอบธุรกิจบัตรเครดิตใหมีความ เสมอภาคและเทาเทียมกันในการแขงขัน จึงเห็นวามีความจําเปนที่จะตองมีกฎหมายเฉพาะขึ้นมาบังคับใช

(8)

กับบัตรเครดิตโดยตรง เพื่อใหเกิดความสะดวกในการใชโดยมีเนื้อหาสาระทั้งหมดอยูในกฎหมายฉบับ เดียวกันที่มีเนื้อหาสาระสําคัญดังตอไปนี้

1. เพื่อใหมีผูรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรเครดิต

จึงตองมีองคกรหรือหนวยงานทางภาครัฐเขามาควบคุมดูแลการดําเนินธุรกิจบัตรเครดิตใหชัดเจน โดยใหมีกฎหมายรองรับถึงอํานาจหนาที่ของหนวยงานดังกลาว โดยใหมีอํานาจควบคุมดูแลผูประกอบ ธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งที่เปนธนาคารพาณิชยที่ไดรับอนุญาตตามกฎหมายและผูประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่

เปนบริษัทหรือหางรานตางๆ โดยใหอยูภายใตอํานาจและกฎหมายเดียวกัน โดยการออกกฎหมายใหมี

คณะกรรมการกลางขึ้นมาทําหนาที่ควบคุมตรวจสอบการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและการใชบริการบัตร เครดิตเพื่อปองกันปญหาการเอารัดเอาเปรียบผูบริโภคและปญหาการใชบริการบัตรเครดิตที่ขาดการควบคุม

2. ตองบัญญัติกฎหมายเกี่ยวธุรกิจบัตรเครดิตขึ้นมา

เปนกฎหมายเฉพาะเพื่อมาควบคุมและบังคับใชกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งนี้โดยอาจเปนการบัญญัติไวเปนเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง ในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย หรือ ตราขึ้นมาใหมเปนพระราชบัญญัติบัตรเครดิต เพื่อใหมีความเหมาะสมและเปนธรรม โดยกําหนด หลักเกณฑที่จําเปนดังตอไปนี้

2.1 ควรมีบทบัญญัติที่กําหนดในเรื่องรูปแบบของขอตกลงการใชบัตรเครดิตที่ตองมี

มาตรฐานและเปนธรรม บัญญัติถึงสิทธิหนาที่ความรับผิดของคูสัญญาที่เกี่ยวของ ระยะเวลาการฟองบังคับ ตามสิทธิเรียกรองตามสัญญาบัตรเครดิต

2.2 บัญญัติถึงขอกําหนดในเรื่องการคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ คาธรรมเนียม ตามความเปนจริง ที่มีอยูในปจจุบัน รูปแบบการเรียกดอกเบี้ยเงินใหกูยืม โดยสมควรตองกําหนดอัตราดอกเบี้ย คาปรับ คาธรรมเนียม คาบริการ เมื่อรวมคํานวณแลวตองไมเกินจํานวนที่กําหนดซึ่งจํานวนเทาใดนั้นใหถือปฏิบัติ

เปนอัตราเดียวกัน ทําใหผูออกบัตรไมสามารถแสวงหาประโยชนจากผูถือบัตรไดอีกตอไป

(9)

เอกสารอางอิง

กมลชัย รัตนสกาววงศ. (2545). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญูชน.

จนิษฐ คันธสมบูรณ. (2533). การทุจริตโดยใชบัตรเครดิต. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จรัสศรี จริยานุกูล. (2533 ). มาตรการทางกฎหมายเพื่อปองกันและปราบปรามอาชญากรรม บัตรเครดิต. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย.

จิตติ ติงศภัทิย. (2523). คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย บรรพ 2 มาตรา 354 ถึง 452 วาดวยมูลแหงหนี้ (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพเรือนแกวการพิมพ.

ดาราพร ถิรวัฒน. (2542). กฎหมายสัญญาสถานะใหมของสัญญาในปจจุบันและปญหาขอสัญญา ไมเปนธรรม (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

นิตยา ชินวงศ. (2530). ปญหากฎหมายเกี่ยวกับบัตรเครดิต. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พีรพันธุ เปรมภูติ. (2539). ประกันภัย (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร.

วารี พงษเวช. (2522). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทยวาดวยเศรษฐศาสตรการธนาคารและธุรกิจ.

กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

วิทยากร เชียงกูล. (2540). พจนานุกรมศัพทเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร.

วีระพงษ บุญโญภาส. (2544). อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

วันรักษ มิ่งมณีนาคิน. (2542). พจนานุกรมศัพทเศรษฐศาสตร. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

สุรเชษฐ ชีรวินิจ. (2544). กฎหมายบัตรเครดิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพนายรอยตํารวจ.

อรรถพร กระจายวงศ. (2533). มาตรการทางกฎหมายในการคุมครองผูถือบัตรเครดิต.

วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ.

อุกฤษ มงคลนาวิน. (2519). คําอธิบายกฎหมายแพงเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

(10)

ประวัติผูศึกษา

ชื่อ-ชื่อสกุล นายโชฎึก โชติกําชร

วัน เดือน ปเกิด 4 เมษายน พ.ศ.2505

สถานที่เกิด จังหวัดอุดรธานี

สถานที่อยูปจจุบัน 77/6 หมู 6 ตําบลนาเกลือ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ตําแหนงและประวัติการทํางาน

พ.ศ. 2535-2541 ผูจัดการบริษัท วี.ซี.เฮาซิ่งค โปรดักซ จํากัด พ.ศ. 2536-ปจจุบัน ทนายความ สํานักงานที่ปรึกษากฎหมายอาชวินท

วุฒิการศึกษา

พ.ศ.2531 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง

Referensi

Dokumen terkait

NETITORN RATTANASUCHANAN A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF LAWS BUSINESS LAW GRADUATE SCHOOL SRIPATUM UNIVERSITY CHONBURI