• Tidak ada hasil yang ditemukan

View of แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ Guidelines for History Instruction

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "View of แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ Guidelines for History Instruction"

Copied!
10
0
0

Teks penuh

(1)

________________________________

1อาจารย์ ดร. ประจำาภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ

Lecturer, Department of Sociology, Faculty of Social Sciences, Srinakharinwirot University, Bangkok.

Corresponding author e-mail: supanut@g.swu.ac.th

ARTICLE HISTORY: Received 24 October 2019, Revised 30 Febuary 2020, Accepted 2 April 2020.

แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์

Guidelines for History Instruction

ศุภณัฐ พานา1 Supanut Pana

บทคัดย่อ

วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมซึ่งมีเป้าหมาย ที่สำาคัญคือการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในมิติต่าง ๆ โดยแนวทางการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์

สามารถจำาแนกออกได้เป็น 3 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีต่างมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ (1) การเสริมสร้าง ความทรงจำาส่วนรวม (enhancing collective memory) เป็นการส่งเสริมให้เป็นพลเมืองที่รู้รากเหง้า เห็นถึงความสำาคัญของมรดกชาติ (2) การสอนระเบียบวิธี (disciplinary) เป็นการสอนให้เป็นพลเมือง ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และ (3) การสอนด้วยแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) เป็นการสอนให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ สามารถตั้งคำาถามและตรวจสอบที่มาของข้อมูล เรียนรู้ที่จะเห็นถึง ความจริงแตกต่างและการอยู่ร่วมกันในความแตกต่าง หากครูพิจารณาพัฒนาการของนักเรียนให้

สอดคล้องกับเป้าหมายของพลเมืองในแต่ละมิติจะทำาให้ครูสามารถเลือกแนวทางการจัดการเรียนการ สอนที่เหมาะสมให้แก่นักเรียนได้

คำาสำาคัญ: การเรียนการสอนประวัติศาสตร์

Abstract

History is one of the subjects in Social Studies, Religion and Culture which has an important goal of supporting citizenship in various dimensions. The Instruction of history can be divided into three methods, each with different objectives, namely (1) enhancing collective memory- promote citizens to know their roots and aware of national heritage (2) teaching methodologies (disciplinary)- teach citizens to have systematic thinking skills, and (3) postmodern teaching- teach citizens to be active citizen and have global mindedness who can ask questions and check the source of the information, learn to see different truths and coexist with people that are different.

If the teacher can see the development of the students in accordance with the goals of the citizens in each dimension, the teacher will be able to choose the appropriate teaching and learning methods for the students.

Keywords: History instruction

(2)

บทนำา

“วิชาประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวสำาคัญ ๆ ที่เชื่อว่าได้เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับประสบการณ์

ด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคมใดสังคมหนึ่งบนพื้นฐานของการวิพากษ์วิเคราะห์หลักฐานเอกสารชั้นต้น และหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ เพื่อเข้าใจปัญหาสังคมปัจจุบัน” (วินัย พงศ์ศรีเพียร. 2552: 55-56) จาก นิยามดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์

ประเมินและตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นต่าง ๆ เพื่อสรุปและทำาความเข้าใจเหตุการณ์ทาง ประวัติศาสตร์ ซึ่งในการสรุปและทำาความเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้นอาจมีอคติเกิดขึ้น ทำาให้ได้ข้อสรุปที่ได้ไม่ตรงกับความจริงของเหตุการณ์ ดังที่จิออมบาสติสตา วิโก (Giambattista Vico) นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้วิพากษ์เกี่ยวกับอคติของนักประวัติศาสตร์ที่

ปรากฏในงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่า ความหลงใหลในอดีตทำาให้นักประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลที่เกินจริง ความนิยมในชาติของตนทำาให้เกิดการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และการใช้มาตรฐาน ทางวิชาการในยุคปัจจุบันของตนไปตัดสินความนึกคิดของผู้คนในอดีตอาจทำาให้เกิดข้อผิดพลาดได้

เพราะสังคมในแต่ยุคสมัยมีพัฒนาการที่ต่างกัน (Lemon, 2003) ดังนั้นการทำาความเข้าใจบริบททาง ประวัติศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ แนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อของผู้คนในอดีต รวมไปถึงบริบท ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทั้งในประเทศ ภูมิภาค และโลกที่มีผลต่อเหตุการณ์ที่ศึกษาจะทำาให้ได้

ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวยังอาจทำาให้เกิดการสร้างความหมายหรือ ตีความใหม่ได้ สิ่งนี้จึงถือเป็นความท้าทายในการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งในการจัดการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์โดยทั่วไปมีอยู่ 3 รูปแบบ (Seixas. 2000) คือ การเสริมสร้างความทรงจำาส่วนรวม (enhancing collective memory) การสอนระเบียบวิธี (disciplinary) และการสอนด้วยแนวคิด หลังสมัยใหม่ (postmodern)

วัตถุประสงค์

เพื่อนำาเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่สอดคล้องกับการส่งเสริม ความเป็นพลเมืองในมิติต่าง ๆ

1. ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์

ในบริบทของการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย การเรียนการสอนประวัติศาสตร์

เป็นการเสริมสร้างทัศนคติและแนวคิดชาตินิยมให้แก่สังคมจนบางครั้งภาพลักษณ์ของประเทศอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ของชาติถูกเขียนให้มีลักษณะที่ด้อยกว่าหรือเป็นศัตรู ซึ่งการเขียน ลักษณะนี้เกิดขึ้นจากนโยบายทางการเมืองที่ต้องการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้เกิดขึ้นผ่าน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จึงเกิดการสอดแทรกแนวคิดชาตินิยมลงไปในหลักสูตร การเรียนการสอน และหนังสือแบบเรียน รวมถึงสื่อต่าง ๆ เช่น นิยาย ละคร และภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์

ยังมีส่วนทำาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้เช่นกัน (สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ. 2557;

สุเนตร ชุตินธรานนท์. 2554) ดังที่งานวิจัยของวิลุบล สินธุมาลย์ (2554) ได้ค้นพบว่า หนังสือแบบเรียน ของไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 เน้นยำ้าภาพของ “การเหนือกว่า” ของชาติไทยในฐานะเจ้า ประเทศอาณานิคมที่มีต่อประเทศลาว ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากแนวคิดของการใช้วิชา ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่รู้รากเหง้า เห็นถึงความสำาคัญ

(3)

ของมรดกชาติ โดยข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์

ในการเสริมสร้างพลเมืองที่รู้รากเหง้า เห็นถึงความสำาคัญของมรดกชาติ หรือ พลเมืองชาตินิยม ได้ดัง ตารางที่ 1

อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนที่เสริมสร้างพลเมืองชาตินิยม ส่งผลให้การจัดการศึกษาใน ชั้นเรียนขัดกับลักษณะเฉพาะของวิชาทางประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า ความจริงทางประวัติศาสตร์ไม่ได้

มีเรื่องเล่าที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งเดียว (single best story) แต่ขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความในการให้

ความหมายและความสำาคัญที่มีต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของผู้ที่ศึกษา ข้อสังเกตุนี้สะท้อนได้จาก งานวิจัยของ พรกมล จันทรีย์ (2544) ที่พบว่า การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ครูส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีการสอนแบบบรรยายมากกว่าวิธีสอนแบบอื่น ซึ่งเป็นผลให้นักเรียนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานยังขาดการพัฒนาทักษะการคิด การสืบค้นความรู้ และการตั้งคำาถาม และ ผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูของสำานักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษา (2558) ที่ระบุว่า การสอนของครูที่เน้นข้อมูลและสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากกว่า การฝึกทักษะกระบวนการและการฝึกให้นักเรียนคิด ส่งผลให้นักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนและ ไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้นักเรียนจึงขาดโอกาสในการฝึกทักษะการแสวงหาความรู้

และทักษะการคิด

ดังนั้นในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ นักเรียนจึงควรได้รับการฝึกกระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณในการพิจารณาและประเมินความน่าเชื่อถือในการนำาเสนอมุมมอง และข้อเท็จจริง ของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์นำาเสนอ ตลอดจนการฝึกพิจารณาบริบททาง ประวัติศาสตร์และประเมินเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยใจเป็นกลางไม่ยึดติดกับความรู้สึก ชาตินิยมมากเกินไป ซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดอย่าง เป็นระบบ ตลอดจนเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ สามารถตั้งคำาถามและตรวจสอบที่มาของข้อมูลได้ตามลำาดับ ความลุ่มลึกของการวิเคราะห์ วิพากษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์

2. รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์

แนวทางในการสอนประวัติศาสตร์ในปัจจุบันว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 แนวทาง (Seixas. 2000;

The College Board. 2012; Assessment Resource Center for History. 2013) ได้แก่

ตารางที่ 1: ปัจจัยภายในและภายนอกชั้นเรียนที่มีผลต่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในการ เสริมสร้างพลเมืองชาตินิยม

ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก

หลักสูตร การเรียนการสอนและหนังสือแบบเรียน สื่อต่าง ๆ เช่น นิยาย ละคร และภาพยนตร์ที่มีเนื้อหา สอดแทรกแนวคิดชาตินิยม อิงประวัติศาสตร์มีส่วนทำาให้เกิดความเข้าใจ

ที่คลาดเคลื่อน

การสอนของครูที่เน้นข้อมูลและสร้างความเข้าใจ ในเนื้อหาสาระมากกว่าการฝึกทักษะกระบวนการ และการฝึกให้นักเรียนคิด

(4)

1) การเสริมสร้างความทรงจำาส่วนรวม (enhancing collective memory) เป็นการ สอนเรื่องราวที่ดีที่สุด แต่ข้อเสียคือเป็นวิธีที่ไม่กระตุ้นให้นักเรียนแสวงหาความรู้

2) ระเบียบวิธี (disciplinary) เป็นการสอนที่นำาเสนอเรื่องราวในเหตุการณ์เดียวกันแต่

แตกต่างมุมมองและให้นักเรียนสรุปว่า มุมมองใดตีความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้ดีที่สุดโดยใช้

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ การประเมินของนักประวัติศาสตร์ และหลักฐานอื่น ๆ ในห้องเรียนมาสนับสนุน ซึ่งการสอนรูปแบบนี้ทำาให้นักเรียนเข้าใจวิธีการสร้างข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง และยังทำาให้

นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ในการตัดสินสิ่งที่สร้างประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม

3) แนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) เป็นการสะท้อนความสงสัยเกี่ยวกับแนวคิด เรื่องเล่าที่ดีที่สุด (best story) โดยให้นักเรียนพิจารณาเรื่องราวทั้งหมดโดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์

มาสนับสนุน และอธิบายได้ว่า การตีความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ก่อนหน้านี้สามารถนำามาใช้

สนับสนุนทางการเมืองในปัจจุบันอย่างไร ซึ่งกระบวนการนี้ทำาให้นักเรียนเข้าใจวิธีการจัดกลุ่มเหตุการณ์

ทางประวัติศาสตร์ สำานวนการใช้ภาษา กลวิธีในการเล่าเรื่องหรือวิธีการสนับสนุนความมุ่งหมายของ ผู้เขียนหรือผู้ตีความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

2.1 ความทรงจำาส่วนร่วมเป็นรูปเป็นร่างเพราะประวัติศาสตร์ในโรงเรียน

การที่โรงเรียนเลือกสอนประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องราวที่ดีที่สุดเพียงเรื่องเดียว (the single best version) ส่งผลต่อนักเรียนและสังคม ดังนี้ (Seixas. 2000)

1) เรื่องราวที่ดีที่สุดเพียงเรื่องเดียวช่วยนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยกลุ่มคนจะเกิดความรู้สึกว่า พวกเขามีประสบการณ์และความเชื่อร่วมกัน ซึ่งอัตลักษณ์ของกลุ่ม เป็นการระบุว่าใครคือคนชายขอบ (marginalized) และใครที่ไม่รวมอยู่ในกลุ่ม

2) เมื่อสังคมมีอัตลักษณ์ของกลุ่ม กลุ่มจึงเกิดความสามัคคีเพราะรู้สึกว่าตนเป็นพวก เดียวกัน แต่ถ้าเรื่องราวนั้นดังกล่าวเป็นการยกระดับหรือให้ความสำาคัญกับอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย ให้มากขึ้น นักอนุรักษ์นิยมเกรงว่า สิ่งนี้จะทำาให้เรื่องราวของชาติกระจายตัวออกไป คือ ไม่มีความรู้สึก รวมเป็นชาติเดียว

3) การให้นักเรียนศึกษาเรื่องราวที่ดีที่สุดเพียงเรื่องเดียว เป็นการให้แบบอย่างที่ดีงาม ตามที่สังคมกำาหนดไว้ เพราะการเสียสละเพื่อชาติ การยกระดับทางศีลธรรม การทุ่มเทในการทำางาน อย่างหนักจนทำาให้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น การต่อสู้ทางชนชั้น หรือการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ เรื่องราวเหล่านี้ต้องการเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มาสนับสนุน

อย่างไรก็ตาม การสอนประวัติศาสตร์ด้วยแนวคิดนี้ มีปัญหาที่สำาคัญ ได้แก่ (1) การตัดสินว่า เรื่องใดเป็นเรื่องราวที่ดีที่สุด (best version) ที่ควรนำามาสอนนักเรียนเป็นสิ่งที่ยาก และ (2) ประวัติศาสตร์

เปรียบเสมือนลัทธิ (dogma) และนักเรียนเปรียบเสมือนสาวก เพราะเมื่อนักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านหลักสูตร นักเขียนตำาราเรียน และผู้บริหารตัดสินใจว่าเรื่องใดเป็นเรื่องราวที่ดีที่สุดแล้วนั้น นักเรียน มีหน้าที่เพียงซึมซับเรื่องราวเหล่านั้นโดยไม่มีการอภิปรายเกี่ยวกับความจริง ความถูกต้อง ความหมาย ในอดีตและปัจจุบัน ดังนั้นวิธีนี้จึงไม่กระตุ้นให้นักเรียนแสวงหาความรู้

2.2 ประวัติศาสตร์ คือ ระเบียบวิธีทางความรู้

วิธีการหนึ่งที่จะกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์ คือ การใช้ระเบียบวิธี

(5)

ทางความรู้หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์ (historical method) ในการศึกษา ซึ่งแนวคิดนี้ David Lawenthal (1998) ได้นิยามคำาว่า ประวัติศาสตร์ (history) ว่า เป็นสิ่งที่สนใจ “ความจริง” โดยใช้

กระบวนการทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยัน ดังนั้นการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนตามแนวคิดนี้จึงเป็นการเรียนรู้และฝึกฝนวิธีการตั้งคำาถามที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ การทำาความเข้าใจหลักฐาน และการประเมินความสัมพันธ์ของข้อมูล อย่างไร ก็ตามการสอนประวัติศาสตร์ด้วยแนวคิดนี้ มีปัญหาที่สำาคัญ ได้แก่

1) แนวทางนี้อาจเป็นการต่อต้านการสร้างความทรงจำาส่วนรวม เพราะการสอน ประวัติศาสตร์ตามแนวคิดนี้เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดและการแสดงความคิดเห็นได้อย่าง เป็นอิสระ จึงอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างและความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และเพศให้ชัดเจนขึ้น

2) นักเรียนไม่สามารถกำาหนดเกณฑ์ในการประเมินการตีความทางประวัติศาสตร์ได้

อย่างแม่นยำา เพราะความจริงทางประวัติศาสตร์ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว โรงเรียนจึงไม่สามารถสอนวิธี

การทางประวัติศาสตร์ได้

ดังนั้นการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในปัจจุบันจึงควรเป็นการตั้งคำาถามเกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น และศึกษาบริบทของเหตุการณ์ในอดีตให้รอบด้านที่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ที่ศึกษาหรือบริบทอันยิ่งใหญ่ (Contextualizing grand narrative) เพื่อทำาความเข้าใจ เหตุการณ์ในอดีตให้ชัดเจนที่สุด

2.3 แนวคิดหลังสมัยใหม่กับการสอนประวัติศาสตร์ในโรงเรียน

นักหลังสมัยใหม่มีแนวคิดว่า แนวทางที่ดีที่สุดสำาหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน คือ การใช้แนวคิดที่กล่าวว่า ไม่มีใครรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะเชื่อมโยง อดีตกับปัจจุบันด้วยงานเขียนทางประวัติศาสตร์ เพราะข้อมูลทางประวัติศาสตร์ คือ การจัดการข้อมูล อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือเดียวที่ทำาให้ผู้คนกลับไปในอดีตที่อยู่ห่างไกล แต่ก็ต้อง ตระหนักว่า ในปัจจุบันไม่อาจเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จึงต้องใช้การตีความด้วย บริบทอันยิ่งใหญ่ (Contextualizing grand narrative) ในการสร้างข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้

ข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงในอดีตมากที่สุด (Seixas. 2000; The College Board. 2012; Assessment Resource Center for History. 2013) ถึงกระนั้น แนวคิดการเรียนการสอนลักษณะนี้ก็ยังคงมี

อุปสรรคคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอยู่จำานวนมาก ดังนั้นการให้นักเรียน ศึกษาเหตุการณ์และบริบทของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ จึงต้องใช้ระยะเวลาและทรัพยากรจำานวนมาก

3. การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง

การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชาประวัติศาสตร์

เป็นวิชาหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งเป้าหมายของกลุ่มสาระนี้ คือ การเสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก ซึ่งหากนำามาเปรียบเทียบรูปแบบ ของการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในข้างต้นกับการเสริมสร้าง พลเมือง สามารถเปรียบเทียบได้ดังตารางที่ 2

(6)

ตารางที่ 2: รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์กับการเสริมสร้างพลเมือง

รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ การเสริมสร้างพลเมือง

การเสริมสร้างความทรงจำาส่วนรวม พลเมืองที่รู้รากเหง้า เห็นถึงความสำาคัญของมรดกชาติ

การฝึกระเบียบวิธี พลเมืองที่ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ การใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่ พลเมืองที่ตื่นรู้ สามารถตั้งคำาถามและตรวจสอบที่มา

ของข้อมูล เรียนรู้ที่จะเห็นถึงความจริงแตกต่างและ

การอยู่ร่วมกันในความแตกต่าง

จากตารางที่ 2 สรุปได้ว่า การเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ในโรงเรียนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน กล่าวคือ ถ้าครูต้องการนำาเสนอเรื่องราว ถ่ายทอด วัฒนธรรมและมรดกของชาติ ครูควรสอนแบบการเสริมสร้างความทรงจำาส่วนรวม หากครูต้องการ ให้นักเรียนได้ค้นคว้า สืบสอบ อภิปราย ครูควรใช้การฝึกระเบียบวิธี (Disciplinary practice) ทาง ประวัติศาสตร์ และถ้าครูต้องการเปิดกว้างแนวคิดทางสังคม โดยการตรวจสอบการตีความทาง ประวัติศาสตร์ เพื่อค้นหาข้อบกพร่องและข้อจำากัด (Call up the flaws and limitations) ครูควร ใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่ ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนโดยแนวคิดการฝึกระเบียบวินัยและแนวคิดหลัง สมัยใหม่จะทำาให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์

3.1 ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ (historical thinking skills)

ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ คือ กระบวนการสร้างคำาอธิบาย ตีความหรือวิพากษ์

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามความเข้าใจของตนเอง จากการตรวจสอบและประเมินความน่าเชื่อถือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และนำาหลักฐานนั้นมาสนับสนุนความคิดของตน ซึ่งจากนิยามของทักษะ การคิดดังกล่าวใกล้เคียงกับนิยามของการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ระบุว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ การประเมินความถูกต้อง เป็นความคิดที่สะท้อนออกมาอย่างมีเหตุผล เพื่อแสดงถึงการตัดสินใจ ว่าจะเชื่อหรือทำาอะไร ความคิดใดจะมีเหตุผลก็ต่อเมื่อสามารถอธิบายข้อถกเถียงโต้แย้งได้อย่างสมเหตุ

สมผล โดยมีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือได้ (ทิศนา แขมมณี และคณะ. 2544) จากนิยามของทักษะการ คิดทางประวัติศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การประเมินความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลเป็นส่วนที่สอดคล้องกันระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณกับทักษะ การคิดทางประวัติศาสตร์ แต่มีส่วนที่แตกต่างกันคือ ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ เป็นการคิดตาม กรอบของช่วงเวลาหรือยุคสมัยที่ศึกษา เพราะสภาพการณ์ต่าง ๆ ในอดีตแตกต่างจากปัจจุบัน ผู้ที่ศึกษา จึงไม่ควรนำาความรู้ ความสามารถ สภาพแวดล้อมในปัจจุบันไปตัดสินหรือตีความเหตุการณ์ในอดีต แต่ควรทำาความเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์และการศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์

ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบใหญ่ และ 8 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ (National Center for History in the Schools. 1996; The College Board. 2012; Assessment Resource Center for History.

2013)

(7)

1) การเรียงลำาดับเหตุการณ์และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่

1.1) การเรียงลำาดับเหตุการณ์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามลำาดับเวลาได้

ถูกต้อง

1.2) การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของเหตุการณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน 1.3) การเปรียบเทียบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์กับความเปลี่ยนแปลงทาง ประวัติศาสตร์ที่คล้ายกันแต่ต่างเวลาและสถานที่

2) การทำาความเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การอธิบาย บริบทของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากการศึกษาหลักฐานที่หลากหลาย

3) การยืนยันด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่

3.1) การวิเคราะห์ลักษณะของหลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์

3.2) การสรุปข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ได้จากการศึกษาหลักฐานและมุมมอง ที่หลากหลาย

4) การตีความและการสังเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ มีองค์ประกอบย่อยได้แก่

4.1) การวิเคราะห์การตีความทางประวัติศาสตร์ได้หลากหลายมุมมองโดยมี

หลักฐานมาสนับสนุน

4.2) การสร้างคำาอธิบายสาเหตุและผลของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อย่าง น่าเชื่อถือ

การเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการเสริมสร้างให้

นักเรียนเป็นพลเมืองที่ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ สามารถตั้ง คำาถามและตรวจสอบที่มาของข้อมูล เรียนรู้ที่จะเห็นถึงความจริงแตกต่างและการอยู่ร่วมกันในความ แตกต่าง (Centre for the Study of Historical Consciousness. 2014) เห็นได้จากงานวิจัยของ ชัยรัตน์

โตศิลา (2555) และศุภณัฐ พานา (2560) ที่พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะดังกล่าว กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาแล้วพบว่า การเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์

เป็นการฝึกฝนให้นักเรียนศึกษาและตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลายรวมไปถึง ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่มีการนำาเสนออยู่ในปัจจุบัน ทำาให้นักเรียนสามารถเรียงลำาดับเหตุการณ์

และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามลำาดับเวลาได้ สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุ

และผลกระทบของเหตุการณ์ สามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์กับความเปลี่ยนแปลง ทางประวัติศาสตร์ที่คล้ายกันแต่ต่างเวลาและสถานที่ได้ สามารถอธิบายบริบทของเหตุการณ์ทาง ประวัติศาสตร์จากการศึกษาหลักฐานที่หลากหลายได้โดยใช้วิธีการวาดภาพหรือเขียนผังมโนทัศน์

เพื่อจำาลองหรือสรุปเหตุการณ์ สามารถวิเคราะห์ลักษณะของหลักฐาน 5 ลักษณะขึ้นไป คือ ประเภท ของหลักฐาน จุดมุ่งหมายในการเขียน มุมมองของผู้เขียน ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในหลักฐาน ข้อจำากัด ของหลักฐาน หลักฐานที่ไม่เห็นด้วย และสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกหลักฐาน สามารถสรุป ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ได้จากการศึกษาหลักฐานและมุมมองที่หลากหลายตั้งแต่ 5 ชิ้นขึ้นไป สามารถตีความทางประวัติศาสตร์ได้หลากหลายมุมมองโดยมีหลักฐานมาสนับสนุน และสามารถ นำาหลักฐานที่ศึกษามาประเมินความน่าเชื่อถือแบบแยกประเด็นได้และมีเกณฑ์ในการประเมินความ น่าเชื่อถือของหลักฐานที่หลากหลาย เช่น การใช้ช่วงเวลาของการเกิดหลักฐานมาการวิเคราะห์การ อ้างอิงของผู้เขียน การประเมินจากแหล่งที่มาของข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ

(8)

ตลอดจนสามารถอธิบายให้เห็นถึงความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ที่กำาหนด โดยเชื่อมโยงถึงภูมิภาค ชาติ และความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นได้โดยมีการใช้หลักฐานมาสนับ สนุนคำาอธิบาย

3.2 การรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ (historical empathy)

การรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ คือ การทำาความเข้าใจความคิด ความเชื่อ และ ความรู้สึกต่าง ๆ ของบุคคลในเหตุการณ์โดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์มาสนับสนุน และแสดง ความคิดเห็นและ/หรือความรู้สึกของตนโดยหลีกเลี่ยงปัจจุบันนิยม เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

มีข้อจำากัดด้านบริบทแวดล้อม เงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความรู้ และความเชื่อที่แตกต่าง จากปัจจุบัน ดังนั้นการนำาแนวคิดและความรู้ในปัจจุบันไปตีความหรือตัดสินอดีตจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาให้นักเรียนเกิดการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ ครูควรฝึกฝน ให้นักเรียนตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน เพื่อให้นักเรียนมีความระมัดระวังใน การแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกของตนที่มีต่อเหตุการณ์โดยการยึดหลักฐานและบริบทของ เหตุการณ์เป็นสำาคัญ ตลอดจนไม่นำาแนวคิดหรือความรู้ในปัจจุบันไปตีความหรือตัดสินเหตุการณ์

ทางประวัติศาสตร์ซึ่งการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบใหญ่ 4 องค์

ประกอบย่อย ดังนี้ (Barton & Levstik. 2004; Davison. 2012; Endacott & Brooks. 2013) 1) การเปิดรับมุมมองที่แตกต่าง มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่

1.1) การระบุความแตกต่างของความคิด ความเชื่อ หรือความรู้สึกของผู้คนใน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์กับปัจจุบัน

1.2) การนำาความคิด ความเชื่อ หรือความรู้สึกของผู้คนในเหตุการณ์มาคาดการณ์

สิ่งที่อาจเกิดขึ้น

2) การศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ มีองค์ประกอบย่อย คือ การอธิบายสภาพ แวดล้อม ความคิด ความรู้ ความเชื่อหรือความรู้สึกที่มีผลต่อการกระทำาของผู้คนในเหตุการณ์ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์

3) การเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันด้วยความเข้าใจ มีองค์ประกอบย่อย คือ การแสดง ความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตนที่มีต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บนฐานของหลักฐานและบริบท ทางประวัติศาสตร์

การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการเสริมสร้าง ให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่รู้รากเหง้า เห็นถึงความสำาคัญของมรดกชาติ และเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ สามารถ ตั้งคำาถามและตรวจสอบที่มาของข้อมูล เรียนรู้ที่จะเห็นถึงความจริงแตกต่างและการอยู่ร่วมกันในความ แตกต่าง เห็นได้จากงานวิจัยของ Davison (2012) และ ศุภณัฐ พานา (2560) ที่พัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกดังกล่าวให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาแล้วพบว่า นักเรียนสามารถอธิบายสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยใช้ความคิด ความเชื่อ หรือ ความรู้สึกของผู้คนใน เหตุการณ์ประกอบคำาอธิบายซึ่งมาจากการอภิปรายกลุ่มและหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาสนับสนุน สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างความคิด ความเชื่อ หรือความรู้สึกของผู้คนในเหตุการณ์ทาง ประวัติศาสตร์ที่กำาหนดกับความคิด ความเชื่อ หรือความรู้สึกของตนได้ว่าแตกต่างกันในประเด็นใด และมีหลักฐานมาสนับสนุน และสามารถนำาความคิด ความเชื่อ หรือความรู้สึกมาอธิบายการกระทำา

(9)

ของผู้คนในเหตุการณ์ได้และใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิง ตลอดจน สามารถแสดงความคิดเห็น หรือความรู้สึกของตนที่มีต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และยกตัวอย่างการนำาสิ่งที่ศึกษาจากเหตุการณ์

มาปรับใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบันหรือการดำาเนินชีวิตประจำาวันของตนได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงมีการ อ้างอิงหลักฐานหรือบริบททางประวัติศาสตร์ ตลอดจนเรียนรู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตนั้นเป็นบทเรียน เพื่อพัฒนาตนไม่ใช่สิ่งที่นักเรียนควรนำามาเป็นเรื่องฝังใจ

สรุป

การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในรูปแบบการเสริมสร้างความทรงจำาส่วนรวม การฝึก ระเบียบวิธี และการใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานสำาคัญในการส่งเสริมให้เป็นพลเมือง ที่รู้รากเหง้า เห็นถึงความสำาคัญของมรดกชาติ มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถตั้งคำาถามและ ตรวจสอบที่มาของข้อมูล ตลอดจนเรียนรู้และยอมรับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หรือความคิดเห็นที่

หลากหลายซึ่งจะนำาไปสู่ความเข้าใจที่ดีต่อกัน เพราะทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้

ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์จะเป็นสิ่งที่ทำาให้นักเรียนประเมินข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในมิติ

ต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อม ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกของผู้คนในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

สภาพการณ์ทางสังคมที่มีผลต่องานเขียนทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนแนวคิดของนักประวัติศาสตร์

ที่มีต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ บนพื้นฐานของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และลดการใช้อคติ

ในการตีความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แต่เป็นการพยามยามทำาความเข้าใจอดีตด้วยสายตาหรือ มุมมองของคนในอดีต

เอกสารอ้างอิง

ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อ ส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ด.

(หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พรกมล จันทรีย์. (2544). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ในระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและ การสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำาแหง. ถ่ายเอกสาร.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2552). อาจารยบูชา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

วิลุบล สินธุมาลย์. (2554). การรับรู้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ลาว : ผ่านแบบเรียนประวัติศาสตร์

ไทยและลาวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ค.ศ.1975-2009). วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์ศึกษา).

นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

ศุภณัฐ พานา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการ สืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทาง ประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถ่ายเอกสาร.

(10)

สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). แนวการสอนประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์ไทย หลากหลายวิธีเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2554). พม่ารบไทย: ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 10.

กรุงเทพฯ: มติชน.

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ. (2557). ชาตินิยมในแบบเรียนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.

Assessment Resource Center for History. (2013). Historical Thinking Skills Scoring Rubric. Retrieved on October, 15, 2019, from http://www.umbc.edu/che/arch/

rubric.php

Barton, K., & Levstik, L. (2004). Teaching History for the Common Good. Mahwah, NJ:

Lawrence Erlbaum Associates.

Centre for the Study of Historical Consciousness. (2014). The Historical Thinking Project Promoting Critical Historical Literacy for 21st Century. Retrieved on October, 15, 2019, from http://historicalthinking.ca

Davison, M. (2012). “It is Really Hard Being in Their Shoes”: Developing Historical Empathy in Secondary School Students. Ed.D. Dissertation (Education).

Aukland: The University of Auckland. Photocopy.

Endacott, J., & Brooks, S. (2013). An Updated Theoretical and Practical Model for Promoting Historical Empathy. Social Studies Research and Practice, 8(1): 41-58.

Lawenthal, David. (1998). Possessed by the Past: The Heritage Crusade and the Spoils of History. New york: Cambridge University Press.

Lemon, M. C. (2003). Philosophy of History: A Guide For Students. London: Routledge.

National Center for History in the Schools. (1996). The National Standards for History.

Retrieved on October, 15, 2019, from http://www.sscnet.ucla.edu/nchs/standards Seixas, P. (2000). Schweigen! Die kinder! Or, Does Postmodern History Have a Place in

the Schools? In. P. N. Stearns, P. Seixas, & S. Wineburg (Eds.), Knowing, Teaching, and Learning History. (pp. 19-37). New York: New York University Press.

The College Board. (2012). AP World History. New York: The College Board.

Referensi

Dokumen terkait

Quan điểm coi phương tiện truyền thông là một phần của lực lượng sản xuất trong bối cảnh cuộc cách mạng công nghiệp 4.0 sẽ giúp chúng ta lý giải những vấn đề như tác động của truyền