• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบความร่วมมือการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืนแห่ง สหประชาชาติด้านการต่อต้านการทุจริต

0.853

การรับรู้กลยุทธ์การด าเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของพนักงาน 0.845 3.2.5 น าแบบสอบถามที่สมบูรณ์ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจ านวน 401 คน

การประมวลผลด้วย SPSS (Statistical Package for Social Sciences) เพื่อ หาความสัมพันธ์

ทางสถิติโดยใช้ระดับความเชื่อมั่นในระดับร้อยละ 95 (α = .05) เป็นหลักเกณฑ์ในการยอมรับหรือ ปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย

3.4.2 การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสามารถจ าแนกออกได้ 2 ลักษณะ คือ การวิเคราะห์ด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)

1. การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นการอธิบายให้ทราบ ถึงลักษณะข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยสามารถแยกการวิเคราะห์ตามแบบสอบถามได้ ดังนี้

แบบสอบถามส่วนที่ 1 เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบ ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา ต าแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ลักษณะของงาน และอายุงานในบริษัท แสดงผลการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ (Percentage) และแจกแจงความถี่ (Frequency)

แบบสอบถามส่วนที่ 2 เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อความ ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย หลักการด้านสิทธิมนุษยชน หลักการด้านแรงงาน หลักการ ด้านสิ่งแวดล้อม และหลักการด้านการต่อต้านการทุจริต แสดงผล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

แบบสอบถามส่วนที่ 3 การรับรู้กลยุทธ์การด าเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของพนักงานบริษัทโล จิสติกส์ต่างชาติที่เข้ามาด าเนินธุรกิจในประเทศไทยแห่งหนึ่ง ประกอบไปด้วย ความยั่งยืนด้าน สังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ แสดงผลการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

2. การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยใช้ทดสอบสมมติฐาน ดังนี้

2.1 การวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ t-test (Independent t-test) เพื่อทดสอบความ แตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ เพศ

2.2 การวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ One Way ANOVA ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ได้แก่ อายุ

การศึกษา ต าแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ลักษณะของงาน และอายุงานในบริษัท

2.3 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เป็น การวิเคราะห์ผลกระทบเชิงสาเหตุหรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว ได้แก่ กรอบความ

ร่วมมือการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ และตัวแปรตาม 1 ตัว ได้แก่

การรับรู้กลยุทธ์การด าเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของพนักงานในบริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติที่เข้ามา ด าเนินธุรกิจในประเทศไทยแห่งหนึ่ง มีข้อก าหนดว่าตัวแปรอิสระเหล่านั้นจะต้องไม่มีความสัมพันธ์

กัน หากผลการทดสอบพบว่ามีความสัมพันธ์กันเอง จะเรียกว่าเกิดปัญหา Multicollinearity โดย สามารถพิจารณาได้จากค่าทางสถิติ ดังนี้

2.3.1 ค่าความเบ้ (Skewness) คือระดับความเอนเอียงหรือความไม่สมมาตรของ การแจกแจงของข้อมูล โดยพิจารณาได้จากโค้งความถี่ หรือวัดความเบ้ (measure of skewness) จากค่าสัมประสิทธิ์ความเบ้ ซึ่งมีวิธีการค านวณหลายวิธี ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์ความเบ้ที่

ค านวณได้เป็นดังนี้ั

สัมประสิทธิ์ความเบ้ = 0 แสดงว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบสมมาตร สัมประสิทธิ์ความเบ้ < 0 แสดงว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบเบ้ซ้าย สัมประสิทธิ์วามเบ้ > 0 แสดงว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบเบ้ขวา จากข้อเสนอแนะของไคลน์ (Kline. 2016) กล่าวว่า ตัวแปรที่มีค่าความเบ้เกิน 3 ถือว่าเป็นค่าความเบ้ที่สูงผิดปกติ กลายเป็น Multicollinearity ซึ่งอาจจะท าให้เกิดปัญหาในการ วิเคราะห์ได้

2.3.2 ค่าความโด่ง (Kurtosis) คือระดับความสูงโด่งหรือความไม่สมมาตรของ การแจกแจงของข้อมูล โดยพิจารณาได้จากโค้งความถี่ จากค่าสัมประสิทธิ์ความโด่ง ซึ่งมีวิธีการ ค านวณหลายวิธี ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์ความโด่งที่ค านวณได้เป็นดังนี้ั

สัมประสิทธิ์ความโด่ง = 0.263 แสดงว่าโด่งปกติ ความสูงของโค้งสมมาตร สัมประสิทธิ์ความโด่ง > 0.263 แสดงว่าโด่งสูง ความสูงของโค้งอยู่ในระดับสูง สัมประสิทธิ์ความโด่ง ˂ 0.263 แสดงว่าโด่งต ่า ความสูงของโค้งอยู่ในระดับต ่า ไคลน์ (2016) กล่าวไว้ว่า ตัวแปรที่มีค่าความโด่งเกิน 10 ถือว่าเป็นค่าความโด่งที่

สูงจนผิดปกติ กลายเป็น Multicollinearity ซึ่งจะท าให้เกิดปัญหาในการวิเคราะห์

2.3.3 ค่า Variance Inflation Factor (VIF) และ ค่า Tolerance คือค่าทางสถิติที่

แสดงปัจจัยหรือผลกระทบของตัวแปรอิสระตัวหนึ่งในสมการถดถอยเชิงซ้อนว่าจะมีอิทธิพลต่อค่า ความแปรปรวน (variance) ของสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระต่าง ๆ ในสมการถดถอยเชิงซ้อนมาก น้อยเพียงใด โดยท าการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระทั้งหมดในสมการถดถอย เชิงซ้อน ถ้าตัวแปรอิสระตัวนั้นมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระอื่นมาก ๆ ก็จะมีผลต่อการค านวณ ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระอื่น ๆ ในสมการถดถอยเชิงซ้อนมาก ท าให้ค่าสัมประสิทธิ์ของตัว

แปรอิสระเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก หรือมีความแปรปรวนมากนั่นเอง (Kleinbaum.

1998) ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณาคือ

ค่า VIF ˂ 10 ตัวแปรอิสระไม่มีความสัมพันธ์กัน

ค่า VIF ≥ 10 ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กัน แสดงว่าเกิด Multicollinearity และค่า tolerance มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 หากผลการทดสอบพบว่า

ค่า tolerance เข้าใกล้ 1 และมีค่ามากกว่า 0.10 แสดงว่าตัวแปรเป็นอิสระจากกัน ค่า tolerance เข้าใกล้ 0 แสดงว่าเกิด multicollinearity

2.3.4 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อใช้ในการทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวแปรที่อิสระต่อ กัน หรือทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จะมีค่า ระหว่าง -1 ≤ r ≤ 1 (ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2560)

การอ่านค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์นั้นคือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเข้าใกล้ - 1 หรือ 1 แสดงว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง แต่หากมีค่าเข้าใกล้ 0 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กัน ในระดับน้อย หรือไม่มีเลย ส าหรับการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยทั่วไปอาจใช้เกณฑ์

ดังนี้ (Hinkle, Wiersma & Jurs. 2003) ค่า r ระดับของความสัมพันธ์

0.90 - 1.00 มีความสัมพันธ์กันสูงมาก 0.70 - 0.90 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง 0.50 - 0.70 มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง 0.30 - 0.50 มีความสัมพันธ์กันในระดับต ่า 0.00 - 0.30 มีความสัมพันธ์กันในระดับต ่ามาก

เครื่องหมาย +,- หน้าตัวเลขสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จะบอกถึงทิศทางของ ความสัมพันธ์ หาก r มีเครื่องหมายบวก แสดงว่า มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน (ตัวแปร หนึ่งมีค่าสูง อีกตัวแปรก็จะมีค่าสูงตามไปด้วย)หรือหาก r มีเครื่องหมายลบ แสดงว่ามี

ความสัมพันธ์กันไปในทิศทางตรงกันข้าม (ตัวแปรหนึ่งมีค่าสูง ตัวแปรอีกตัวจะมีค่าต ่า)

2.3.5 ค่า Durbin – Watson (D.W.) ใช้ทดสอบความเป็นอิสระกันของความ คลาดเคลื่อน คือ ในการทดสอบว่าตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ภายในตัวเองหรือไม่ โดยมีเกณฑ์

ในการพิจารณาวัดค่า Durbin-Watson ดังนี้ (กัลยา วานิชย์บัญชา. 2545) มีค่าอยู่ในช่วง 1.5 – 2.5 แสดงว่ามีความเป็นอิสระ

มีค่าอยู่ในช่วง 2.6 – 4.0 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบ มีค่าอยู่ในช่วง 0 – 1.4 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก ในกรณีที่ค่า Durbin-Watson ที่ได้ มีค่าน้อยกว่า 1.5 และมากกว่า 2.5 แสดงว่า เกิด Autocorrelation หรือตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ภายในตัวเอง ซึ่งจะท าให้การค านวณใน สมการการวิเคราะห์ความถดถอยพหุเชิงเส้นมีปัญหา