• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวิเคราะห์ข้อมูล

Dalam dokumen Wasin Sriwittayarat (Halaman 34-37)

รายการภาพประกอบ

6. ความมีเอกลักษณ์

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

2. วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Statistical Inference)

2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันส่งผลต่อระดับการพัฒนาตนเอง ต่างกัน โดยการวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติ t-test ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระใน กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ เพศ และการวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติ F-test ทดสอบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยตัวแปรอิสระในกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ได้แก่ อายุ ศาสนา สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และประเภทข้าราชการ ด้วยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

2.2 การวิเคราะห์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อระดับการพัฒนาตนเองของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และการมีกรอบความคิดแบบโต (Growth Mindset) ต่อระดับ การพัฒนาตนเองของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สมการ ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

บทที่ 4 ผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามจากประชากรจำนวน 121 คน ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์และตารางประกอบการบรรยายตามลำดับ ดังนี้

4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.2 ลำดับขั้นในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

x̅ แทน ค่าเฉลี่ย

S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t แทน ค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบค่าที

F แทน ค่าสถิติ F ที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน SS แทน ค่าผลบวกกำลังสอง (Sum of Squares)

df แทน องศาแห่งความเป็นอิสระ (Degrees of freedom) MS แทน ค่ากำลังสองเฉลี่ย (Mean Squares)

r แทน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

B แทน ค่าสัมประสิทธิ์ของการถดถอยพหุคูณของตัวแปรต้น Beta แทน ค่าสัมประสิทธิ์ของการถดถอยในรูปแบบมาตรฐานแสดง ถึงน้ำหนักของความสำคัญหรืออิทธิพลของตัวแปรต้นแต่ละด้านต่อตัวแปรตาม

Std. error แทน ค่าที่แสดงระดับของความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการใช้

ตัวแปรต้นทั้งหมดมาพยากรณ์ตัวแปรตาม

R แทน ค่าที่แสดงระดับของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต้น ทั้งหมดกับตัวแปรตาม ซึ่งเรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์พหุคูณ

R2 แทน ค่าที่แสดงอิทธิพลของตัวแปรต้นทั้งหมดที่มีต่อตัวแปรตาม Sig. แทน ค่าความน่าจะเป็นที่คำนวณได้จากตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ

* แทน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

** แทน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4.2 ลำดับขั้นในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ได้แก่

วิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ วิเคราะห์ระดับ กรอบความคิดแบบโต (Growth Mindset) และวิเคราะห์ระดับการพัฒนาตนเอง

ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Statistical Inference) ได้แก่

การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันส่งผลต่อระดับการพัฒนาตนเองต่างกัน และการวิเคราะห์

แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ต่อระดับการพัฒนาตนเองของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และ การมีกรอบความคิดแบบโต (Growth mindset) ต่อระดับการพัฒนาตนเองของข้าราชการองค์การ บริหารส่วนจังหวัดปัตตานี

Dalam dokumen Wasin Sriwittayarat (Halaman 34-37)