• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย

3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 20 คะแนน และตอนที่ 2 แบบอัตนัย จ านวน 5 ข้อ ข้อละ 3 คะแนน รวม 15 คะแนน คะแนนทั้ง 2 ตอน รวมเป็น 35 คะแนน ในการสร้างและหาคุณภาพของ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้ด าเนินการ ดังนี้

3.1 วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียน และผลการเรียนรู้ในสาระวิทยาศาสตร์

เพิ่มเติม วิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ด้านพุทธิพิสัยที่ต้องการวัด ดังตาราง 7

3.2.1 แบบปรนัย จ านวน 25 ข้อ ใช้ส าหรับวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับ จ า เข้าใจ ประยุกต์ใช้ และประเมินค่า แต่ละข้อมีค าตอบที่ถูกต้องทีสุดเพียง 1 ตัวเลือก ตอบถูกให้

1 คะแนน หากตอบผิดหรือไม่ตอบให้ 0 คะแนน

3.2.2 แบบอัตนัย จ านวน 5 ข้อ โดยมีการก าหนดสถานการณ์ 1 สถานการณ์

เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตอบข้อค าถามปลายเปิดที่เกี่ยวกับสถานการณ์ จ านวน 5 ข้อ ใช้ส าหรับวัด พฤติกรรมการเรียนรู้ระดับสร้างสรรค์ โดยแต่ละข้อให้คะแนนโดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบแยก องค์ประกอบ (Analytic rubric scoring) คะแนนเต็มข้อละ 3 คะแนน

3.3 น าแบบวัดที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจพิจารณาความ เหมาะสมและความชัดเจนของภาษาที่ใช้ รวมถึงความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และ พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัด แล้วน ามาแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา

3.4 น าแบบวัดที่ได้แก้ไขตามค าแนะน าของอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 5 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์และด้านการวัดและ ประเมินผล ตรวจพิจารณาลักษณะของข้อค าถาม ภาษาที่ใช้ และความสอดคล้องของข้อค าถาม กับจุดประสงค์การเรียนรู้ และพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัด และประเมินความเที่ยงตรงเชิง เนื้อหา (Item Objective Congruence Index: IOC) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60- 1.00 (ภาคผนวก ข) ซึ่งถือว่าแบบวัดผลสัฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับ จุดประสงค์และพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัด และมีความเหมาะสมในการน าไปใช้ ผู้วิจัยได้

ด าเนินการแก้ไขตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้

1) แก้ไขข้อค าถามให้เข้าใจง่าย ไม่ก ากวม

2) แก้ไขตัวเลือกของข้อค าถามบางข้อให้มีความถูกต้อง ชัดเจน

3.5 น าแบบวัดที่ปรับปรุงตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้กับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เคยเรียนเนื้อหาเรื่องนี้มาแล้ว จ านวน 44 คน เพื่อหาข้อบกพร่องในการใช้

ภาษา ความเหมาะสมของข้อค าถามกับเวลาที่ใช้ท าแบบวัด

3.6 น าแบบวัดมาวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบวัด ดังนี้

3.6.1 น าแบบวัดตอนที่ 1 แบบปรนัย มาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความยากง่าย (p) และค่าอ านาจจ าแนก (r) ของแบบวัดเป็นรายข้อ และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของ แบบวัด โดยค านวณจากสูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) พบว่า แบบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฉบับที่ 1 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.17-0.83 ค่าอ านาจจ าแนกอยู่

ระหว่าง 0.20-0.73 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฉบับที่ 2 มี

ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.23-0.83 ค่าอ านาจจ าแนกอยู่ระหว่าง 0.13-0.60 และค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 จากนั้นคัดเลือกข้อค าถามจากทั้ง 2 ฉบับ จ านวน 20 ข้อ ไปสร้างเป็นแบบวัด ฉบับจริง ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.23-0.80 และค่าอ านาจจ าแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.60 3.6.2 น าแบบวัดตอนที่ 2 แบบอัตนัย มาตรวจให้คะแนนโดยผู้วิจัยและครู

ชีววิทยาในโรงเรียน 1 ท่าน สุ่มผลคะแนนของผู้ประเมิน 1 ท่าน มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (PE) และค่าอ านาจจ าแนก (D) โดยใช้เทคนิคร้อยละ 25 ของวิทนีย์ และซาเบอร์ (Whitney and Saber) และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบวัด โดยค านวณจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient: α) พบว่า แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฉบับที่

1 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.21-0.47 ค่าอ านาจจ าแนกอยู่ระหว่าง 0.24-0.94 และค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฉบับที่ 2 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20- 0.53 ค่าอ านาจจ าแนกอยู่ระหว่าง 0.39-0.82 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 โดยผู้วิจัยเลือก สถานการณ์และข้อค าถามจากแบบวัดฉบับที่ 2 ไปสร้างเป็นแบบวัดฉบับจริง

3.6.3 น าผลคะแนนจากแบบวัดแบบอัตนัยทั้ง 2 ฉบับ มาหาค่าความเชื่อมั่น ของเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจข้อสอบอัตนัย (Rater Agreement Index: RAI) จากผู้ประเมิน 2 คน ได้

ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.94 และฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.95 ซึ่งอยู่ในระดับสูง (มีค่าเข้าใกล้ 1) แสดงว่าผู้ประเมินทั้ง 2 คน ตรวจให้คะแนนใกล้เคียงกัน

3.7 น าข้อค าถามที่คัดเลือกไว้จากทั้ง 2 ฉบับ มาสร้างเป็นแบบวัดจริง จ านวน 25 ข้อ แบ่งเป็น ตอนที่ 1 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 20 ข้อ และตอนที่ 2 แบบอัตนัย 5 ข้อ โดยมีค่าความ ยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 เฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 0.48 และค่าอ านาจจ าแนก (r) อยู่

ระหว่าง 0.20-0.82

3.8 น าแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 3 การด าเนินการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียน นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี อ าเภอล าลูกกา จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จ านวน 2 ห้อง รวม 83 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียน นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จ านวน 1 ห้อง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รวม 42 คน

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้ระยะเวลา ทั้งหมด 18 คาบ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่าน Google Meet

แบบแผนการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองขั้นต้น (Pre-Experiment Design) โดยใช้แบบแผนการ ทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pretest-Posttest Design) โดยมีแบบแผนการทดลอง ดังตาราง 8

ตาราง 8 แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pretest-Posttest Design)

กลุ่ม สอบก่อนทดลอง การทดลอง สอบหลังทดลอง

E T1 X T2

เมื่อ E แทน กลุ่มตัวอย่าง

X แทน การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

T1 แทน การวัดความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และการทดสอบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้

T2 แทน การวัดความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และการทดสอบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนการด าเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย ผู้วิจัยด าเนินการทดลองและเก็บข้อมูล ดังนี้

1. สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม จ านวน 1 ห้องเรียน จาก 2 ห้องเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จ านวน 42 คน

2. ก่อนการทดลอง ปฐมนิเทศนักเรียนด้วยการแนะน าวิชาเรียน ชี้แจงจุดประสงค์

การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และข้อตกลงต่าง ๆ จากนั้นท าการวัดความตระหนักทาง วิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้แบบวัดความตระหนักทาง วิทยาศาสตร์และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้เวลารวม 2 คาบ

3. ด าเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานจ านวน 5 แผน ใช้เวลารวม 18 คาบ (ไม่รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน) โดยในการจัดการเรียนรู้แต่

ละแผนผู้วิจัยจะมีการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในระหว่างการจัดการเรียนรู้ และการพูดคุย สนทนาเพื่อสอบถามความรู้สึกของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน และในแผนการ จัดการเรียนรู้ที่ 2 ลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ชีววิทยาคืออะไร นักเรียนมีการท าวิจัยนอกเหนือจากเวลาเรียน

4. เมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง ผู้วิจัยวัดความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้แบบวัดความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้เวลารวม 2 คาบ

5. ตรวจให้คะแนนและน าผลคะแนนความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานต่อไป ระยะที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยด าเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติดังนี้

1. สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1.1 ค่าเฉลี่ย (Mean)

1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) 2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

2.1 ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Item Objective Congruence Index: IOC) ส าหรับการตรวจสอบความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน แบบวัดความ ตระหนักทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.2 ค่าความยากง่าย (p) ค่าอ านาจจ าแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยค านวณจากสูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) ของแบบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน ตอนที่ 1 แบบปรนัย

2.3 ค่าความยากง่าย (PE) ค่าอ านาจจ าแนก (D) โดยใช้เทคนิคร้อยละ 25 ของ วิทนีย์ และซาเบอร์ (Whitney and Saber) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยค านวณจากสูตร

สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient: α) และค่าความเชื่อมั่นของ เกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจข้อสอบอัตนัย (Rater Agreement Index: RAI) ของแบบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน ตอนที่ 2 แบบอัตนัย

2.4 อ านาจจ าแนก โดยใช้การทดสอบที (t-test for Independent Samples) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยค านวณจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient: α) ของแบบวัดความตระหนักทางวิทยาศาสตร์

3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน

3.1 ทดสอบสมมติฐานข้อ 1 ใช้สถิติเพื่อเปรียบเทียบความตระหนักทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โดยใช้ t-test for Dependent Samples

3.2 ทดสอบสมมติฐานข้อ 2 ใช้สถิติเพื่อเปรียบเทียบความตระหนักทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเทียบกับเกณฑ์ที่

ก าหนด (ระดับมากที่สุด) โดยใช้ t-test for One Sample

3.3 ทดสอบสมมติฐานข้อ 3 ใช้สถิติเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โดยใช้ t-test for Dependent Samples

3.4 ทดสอบสมมติฐานข้อ 4 ใช้สถิติเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเทียบกับเกณฑ์ที่ก าหนด (ร้อยละ 60) โดยใช้ t-test for One Sample