• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

4) ปัญหาในครอบครัว การยอมรับจากครอบครัว

2.4 การศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

3. ความต้องการได้รับการยอมรับนับถือ ความต้องการในขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้ชายข้ามเพศ ปรารถนาจะให้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ตนเองได้ยอมรับและตัดสินใจเลือกเพศสภาพของตนเองแล้ว เนื่องจากมนุษย์นั้นจ าเป็นจะต้องอยู่ในสังคม มีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่บางสถานการณ์

การเลือกเพศภาพใหม่ก็อาจเป็นทางเลือกให้การเข้าร่วมสังคมเป็นได้ยากกว่าบุคคลทั่วไป ดังนั้น ความต้องการของผู้ชายข้ามเพศในขั้นนี้ จึงต้องอาศัยความเข้าใจอย่างมากของคนในสังคม เพื่อน ร่วมงาน โดยสิ่งที่ผู้ชายข้ามเพศต้องการ เช่น

3.1 ความต้องการด้านสังคม (Social Need) 3.1.1 การยอมรับจากคนในครอบครัว

3.1.2 การยอมรับจากสังคมและเพื่อนร่วมงานที่สนับสนุนในการเลือกเพศ สภาพของตน และสังคมที่ได้แบ่งแยกจากการเลือกเพศภาพของตน เช่น การใช้สรรพนามบุรุษ ที่สามเพื่อเรียกแทนผู้ชายข้ามเพศ การถูกล้อเลียนจากผู้คนในสังคม

3.1.3 ต้องการให้สังคมเข้าใจผู้ชายข้ามเพศโดยไม่เหมารวมว่าเป็นกลุ่ม เดียวกับกลุ่มหญิงรักหญิง หรือบุคคลที่ต้องการแต่งกายเป็นเพศตรงข้าม

จากการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการพื้นฐานของบุคคลข้ามเพศ พบว่า มีการ ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กะเทย สาวประเภทสอง ผู้หญิง ข้ามเพศ และผู้ให้บริการทางเพศแต่ยังไม่พบการศึกษาที่รวบรวมเกี่ยวข้องกับผู้ชายข้ามเพศ ซึ่งเป็น อีกกลุ่มความหลากหลายทางเพศและเป็นกลุ่มที่สังคมไทยยังไม่ค่อยรู้จัก ซึ่งเป็นการศึกษา เพื่อเป็น การลดผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานด้านต่าง ๆ ที่ผู้ชายข้ามเพศควรจะได้รับ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ การศึกษาความต้องการพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศในประเทศไทย

กรอบแนวคิดการด าเนินงาน

ภาพที่ 2.4 กรอบแนวคิดในการด าเนินงาน (Conceptual Framework) ผู้ชายข้ามเพศที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก

คัดเลือกแบบสุ่ม (Random Sampling) 30 คน ตอบแบบสอบถาม

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

ผู้ชายข้ามเพศที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก จ านวน 8 คน

การสัมภาษณ์เชิงลึก

ผู้วิจัย

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สร้างเป็นแนวทางในการเสนอสิทธิความต้องการพื้นฐาน และน าไปสู่แนวทาง

ในการลดปัญหาการจ ากัดความต้องการพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศต่อไป

บทที่ 3 วิธีด ำเนินกำรวิจัย

รูปแบบกำรวิจัย

การศึกษาความต้องการของผู้ชายข้ามเพศ โดยอาศัยแนวคิดความต้องการพื้นฐานของ มาสโลว์ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่พบเอกสารที่ศึกษาเฉพาะเจาะจง เรื่อง ความต้องการพื้นฐานของ ผู้ชายข้ามเพศ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาในหัวข้อนี้ และเพื่อให้ผู้ชายข้ามเพศมีแนวทางในการ ปฏิบัติตน เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม เป็นแนวทางป้องกันและลดผลกระทบจากการถูกลดทอนสิทธิ

ของผู้ชายข้ามเพศ และสร้างความเท่าเทียมกันกับทุกเพศในสังคม การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed – Method) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศตามแนวคิด ความมาสโลว์ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ

ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง

ประชากรของการศึกษา คือ ผู้ที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้ชายข้ามเพศที่มาจากการรวบรวม ข้อมูลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลยันฮี ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2558 เนื่องจากเป็นแหล่งประชากรผู้ชายข้ามเพศที่มีการวินิจฉัยจากจิตแพทย์อย่างชัดเจนว่า เป็นผู้ชาย ข้ามเพศ โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ชายข้ามเพศที่ถูกคัดเลือกจากเกณฑ์การ คัดเลือกแล้ว จากนั้นจะท าการคัดเลือกแบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อตอบแบบสอบถาม จ านวน 30 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ชายข้ามเพศที่ถูกคัดเลือกจากเกณฑ์

การคัดเข้า และเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จ านวน 8 คน 1. เกณฑ์การคัดเข้าร่วมการศึกษา (Inclusion Criteria)

1.1 ผู้ที่ระบุตนเองว่าเป็นผู้ชายข้ามเพศ หรือผู้ชายข้ามเพศที่ได้รับการวินิจฉัยโดย จิตแพทย์อย่างน้อย 2 ท่าน วินิจฉัยว่าเป็นผู้มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศก าเนิด

1.2 เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ชายข้ามเพศ ซึ่งรับหรือไม่การรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (รับฮอร์โมนเพศหรือการผ่าตัดแปลงเพศก็ได้)

หรือมีอาการป่วยทางจิตเวชที่มีอุปสรรคในการให้ข้อมูลในการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาเชิงปริมาณ เมื่อผ่านเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการศึกษาแล้ว กลุ่มตัวอย่างจะถูกคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อตอบแบบสอบถาม ส่วนกลุ่ม ตัวอย่างการศึกษาเชิงคุณภาพจะมาจากการคัดเลือก ซึ่งจะศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ดังนี้

ภำพที่ 3.1 : เกณฑ์การคัดเข้าและออกจากการศึกษาเชิงลึก โดยการสัมภาษณ์

ที่มำ : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลยันฮี, 2558

เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสม (Mixed – Method) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการการเก็บข้อมูลจึงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบสอบถามส าหรับ การวิจัยเชิงปริมาณ และแนวค าถามแบบกึ่งโครงสร้างส าหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ รายละเอียดของ เครื่องมือการวิจัย มีดังนี้

ข้ามเพศ ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน มีจ านวน 22 ข้อ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศ จ านวน 4 ข้อ (ภาคผนวก) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานตามแนวคิดของมาสโลว์

มีจ านวน 17 ข้อ โดยลักษณะแบบสอบถามจะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณ มี 4 ระดับ โดยให้

ผู้ตอบแบบสอบถามพิจารณาระดับความต้องการว่าอยู่ในระดับใด ก าหนดค่าน ้าหนักของคะแนน 4 ระดับ ดังนี้

ตำรำงที่ 3.1 ระดับควำมต้องกำรของผู้ชำยข้ำมเพศ แบ่งเป็นมำตรำส่วน 4 ระดับ

ระดับ คะแนน (ร้อยละ) เกณฑ์การแปลผลค่าเฉลี่ย ความต้องการ

4 75 – 100 3 – 4.00 ความต้องการระดับสูง

3 50 – 74 2 – 2.99 ความต้องการปานกลาง

2 25 – 49 1 – 1.99 ความต้องการระดับต ่า

1 0 – 24 0 – 0.99 ไม่มีความต้องการนั้นเลย

เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ความต้องการพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศมีขั้นตอนการด าเนินการ ดังต่อไปนี้

1. ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถาม และก าหนดขอบเขตของข้อค าถามจากสิ่งที่ต้องการ ศึกษา คือ ล าดับขั้นความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ล าดับขั้น คือ ความต้องการ ด้านร่างกาย ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความรัก และการมีสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น ความต้องการได้รับการยอมรับนับถือ และความต้องการที่จะได้

พัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตน แล้วสร้างแบบค าถามจากขอบเขตดังกล่าว

2. น าแบบสอบถามที่สร้างเสร็จ แล้วเสนออาจารย์ที่ปรึกษาการวิจัย และปรับปรุงแก้ไข ให้สมบูรณ์ขึ้น

3. แบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้ได้มีการทดสอบความเที่ยงตรง (Content Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) ดังนี้

3.1 ความเที่ยงตรง (Content Validity) (ดาวรุ่ง ค าวงศ์ และทิวทัศน์ สังฆวัตร์, 2555) ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจาณาตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ความถูกต้องเหมาะสม ความครอบคลุม

ข้อถามนั้นกับประเด็นหลักของเนื้อหา ก าหนดคะแนน ดังนี้

+ 1 เมื่อเห็นว่าตรงกับขอบข่ายเนื้อหาตามที่ระบุไว้

0 เมื่อไม่แน่ใจว่าตรงกับขอบข่ายเนื้อหาตามที่ระบุไว้

- 1 เมื่อแน่ใจว่าไม่ตรงกับขอบข่ายเนื้อหาตามที่ระบุไว้

การค านวณด้วยค่าสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้อง (Index of Concordance : IOC) หรือ ดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index : CVI) มีสูตรการค านวณ ดังนี้

IOC หรือ CVI = R N

เมื่อ R คะแนนรวมที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนให้

N จ านวนผู้เชี่ยวชาญ การแปลความหมายของค่า IOC

1. ถ้าได้ค่า IOC มากกว่า 0.02 ขึ้นไป แสดงว่า ค าถามนั้นมีความหมายตรงตามเนื้อหา 2. ถ้าได้ค่า IOC น้อยกว่า 0.02 หรือค่าติดลบ แสดงว่าค าถามข้อนั้นไม่ตรงตามเนื้อหา

โดยจากทดสอบงานวิจัยได้ค่า IOC ความเหมาะสมกับเนื้อหา 0.80

3.2 ความเชื่อมั่น (Reliability) (ดาวรุ่ง ค าวงศ์ และทิวทัศน์ สังฆวัตร์, 2555) ทดสอบ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีของ Cronbach’ Alpha Coefficient โดยใช้เกณฑ์ยอมรับที่มี

ค่ามากกว่า 0.70 ขั้นตอนการทดสอบ คือ ผู้วิจัยน าแบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาความถูกต้อง แล้วไปให้กลุ่มตัวอย่าง จ านวน 30 คน จากนั้นน าผลการตอบแบบสอบถามมาประมาณผลหา ค่าครอนบาร์คแอลฟ่า

ส าหรับค่าความเชื่อมั่นได้จากการแทนด้วย α โดยที่

เมื่อ α ค่าความเชื่อมั่น โดยที่ α มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 k จ านวนข้อในแบบสอบถาม

S2 ความแปรปรวนรวมของแบบสอบถาม

จากการประมวลผลค่าแอลฟ่าเท่ากับ 0.89 ซึ่งค่าที่ได้มากกว่า 0.70 ถือว่าอยู่ในระดับของ ความน่าเชื่อถือ สรุปได้ว่าเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือเพราะมีค่าเข้าใกล้ 1

2. เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวค าถามแบบกึ่งโครงสร้าง มีข้อค าถามจ านวน 4 ข้อ เพื่อศึกษาความต้องการพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศที่เปิดเผยตนเองว่า เป็นผู้ชายข้ามเพศ (ภาคผนวก)

แนวค าถามการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) ในการศึกษาครั้งนี้ได้มีการ ทดสอบความเที่ยงตรง (Content Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) ดังนี้

1. ความเที่ยงตรง (Content Validity) ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจาณาตรวจสอบความเที่ยงตรง ตามเนื้อหา ความถูกต้องเหมาะสม ความครอบคลุม และค าแนะน าสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยจากการทดสอบแนวค าถามสัมภาษณ์เชิงลึกนี้ได้ค่า IOC ความเหมาะสมกับ เนื้อหา 0.82 แสดงว่ามีความเหมาะสมตรงตามเนื้อหา

2. ความเชื่อมั่น (Reliability) ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีของ Cronbach’ Alpha Coefficient โดยใช้เกณฑ์ยอมรับที่มีค่ามากกว่า 0.70 จากการประมวลผลค่าแอลฟ่า เท่ากับ 0.84 ซึ่งค่าที่ได้มากกว่า 0.70 ถือว่าอยู่ในระดับของความน่าเชื่อถือ สรุปได้ว่าเครื่องมือมีความ น่าเชื่อถือเพราะมีค่าเข้าใกล้ 1

กำรเก็บรวบรวมข้อมูล

การด าเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed – Method) ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสัมภาษณ์เป็นในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการรวบรวม ข้อมูลมีขั้นตอนประกอบไปด้วย

1. การวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยจะด าเนินการเก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างผู้ชายข้ามเพศ ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และน าเอาแบบสอบถามที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

2. การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจะด าเนินการเก็บข้อมูลโดยการก าหนดการนัดการสัมภาษณ์

และแจ้งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชายข้ามเพศที่ได้รับการรักษาปัญหาอัตลักษณ์ทางเพศโดยฮอร์โมน ที่เปิดเผยตนเองว่าเป็นผู้ชายข้ามเพศ มีประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบผู้ชายมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และ พร้อมเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้วิจัย

ผู้วิจัยด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยจะท าการ สัมภาษณ์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมงต่อ 1 คน ด้วยตนเอง วิธีการบันทึกข้อมูลจะใช้การจดบันทึก