• Tidak ada hasil yang ditemukan

การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ทั้งในส่วนของข้อมูลประเภทเอกสาร และ ข้อมูลทางดนตรี ซึ่งได้ด าเนินการตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยมีล าดับดังนี้

4.1 การศึกษาประวัติความเป็นมา การอพยพและการตั้งถิ่นฐาน และสภาพทาง สังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอในประเทศไทย

การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี

ทางสังคมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีการหน้าที่นิยม (Functionalism) ของมาลีนอฟสกี้

(Bronislaw Malinowski) ในประเด็นเรื่อง การอธิบายวัฒนธรรมในด้านความสัมพันธ์ว่า วัฒนธรรม สนองความต้องการของปัจเจกบุคคล คือ วัฒนธรรมทุกด้านมีบทบาทหน้าที่ตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์ และการปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Interaction) ในประเด็นเรื่อง การ ติดต่อระหว่างสองวัฒนธรรม อาจท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การหยิบยืม การ ยอมรับ การปรับเปลี่ยนหรือปรับตัวทางวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรมที่แข็งแรงกว่าจะกลืนวัฒนธรรม ที่อ่อนกว่า รวมถึงทฤษฎีการผลิตซ ้าทางวัฒนธรรม (Cultural reproduction) จากแนวความคิด ของมาร์กซิสม์ (Marxism) ในประเด็นเรื่องวัฒนธรรมเป็นการผลิตซ ้าโดยการถ่ายทอด การผลิต การเผยแพร่ เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมและเพื่อปกป้อง ด ารงรักษา สร้างความแตกต่างในกลุ่มชนชาติ

พันธุ์

ผู้วิจัยได้บูรณาการแนวคิดทฤษฎีเหล่านี้ และได้ก าหนดเป็นแนวทางในการวิเคราะห์

ข้อมูล โดยพิจารณาจากมิติที่ปรากฏตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอใน ประเทศไทย โดยมีประเด็นส าคัญดังนี้

4.1.1 ศึกษาประวัติความเป็นมา เป็นการศึกษาเพื่อทราบถึงประวัติความเป็นมาของ กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ รวมถึงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอที่เกี่ยวกับคติชนวิทยา เช่น ต านาน เรื่อง เล่า หรือนิทานของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น

4.1.2 การอพยพและการตั้งถิ่นฐาน เป็นการศึกษาเพื่อทราบถึงการอพยพย้ายถิ่นที่

อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ รวมถึงการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

4.1.3 สภาพทางสังคม เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงสภาพทางสังคมในบริบทสาระ ต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอในประเทศไทยในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยประเด็นส าคัญ ได้แก่

4.1.3.1 สภาพบ้านเรือนในปัจจุบัน 4.1.3.2 ภาษา

4.1.3.3 ศาสนา 4.1.3.4 การปกครอง 4.1.3.5 การศึกษา 4.1.3.6 การแต่งกาย 4.1.3.7 อาหาร

4.1.3.8 การประกอบอาชีพ 4.1.3.9 ประเพณี

4.1.3.10 พิธีกรรม ความเชื่อและค่านิยมต่าง ๆ

4.2 การศึกษาและวิเคราะห์ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอในประเทศไทย ตาม แนวทางของศาสตร์มานุษยดุริยางควิทยา

ส าหรับวัตถุประสงค์นี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ดนตรีในบริบททางดุริยางคศิลป์เป็นหลัก โดยอาศัยแนวทางการศึกษาของศาสตร์มานุษยดุริยางควิทยา (Ethnomusicology) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้

ก าหนดขอบเขตของการศึกษาและวิเคราะห์ดนตรี โดยการจ าแนกเป็นองค์ความรู้ทางดนตรีที่

ส าคัญ 2 ด้าน ได้แก่ เครื่องดนตรี และบทเพลง ดังนี้

4.2.1 เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีที่ปรากฏในวัฒนธรรมดนตรีของกลุ่มชาติพันธุปะโอในประเทศไทย ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 6 ชนิด ได้แก่ คะหย่า, โถ่ง เม่ ชว่า, ม่อง, แช๊, ชิ๊ง, และหย่าก๊าง

ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการศึกษาและวิเคราะห์เครื่องดนตรีต่าง ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งแนวทางการศึกษาเครื่องดนตรีของ Geneviève Dournon, (2000) ในประเด็นเรื่อง การศึกษาเครื่องดนตรีตามลักษณะทางกายภาพ รวมถึงแนวทางการบันทึกข้อมูลเครื่องดนตรี แนว ทางการจ าแนกประเภทเครื่องดนตรีของ Eric Von Honbostel และ Curt Sachs ในประเด็นเรื่อง การจ าแนกเครื่องดนตรีตามวิธีการก าเนิดเสียง รวมถึงแนวทางการศึกษาระบบเสียงของ ศรัณย์

นักรบ (2557) ในประเด็นเรื่อง การศึกษาระบบเสียงของเครื่องดนตรี โดยการเปรียบเทียบกับระบบ เซ็นต์ (Cent system)

ผู้วิจัยได้บูรณาการแนวคิดและทฤษฎีเหล่านี้ และได้ก าหนดแนวทางการศึกษาและ วิเคราะห์เครื่องดนตรีส าหรับงานวิจัยนี้ในประเด็นส าคัญ ได้แก่

(1) การเรียกชื่อ (Designation) เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงชื่อของเครื่อง ดนตรีในภาษาถิ่น รวมถึงชื่ออื่น ๆ หรือการเรียกชื่อของเครื่องดนตรีในภาษาอื่น ๆ (ถ้ามี)

(2) ที่มา (Origin) เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงที่มาของเครื่องดนตรี ทั้งในมิติ

ทางภูมิศาสตร์ เช่น สถานที่หรือท้องถิ่นที่มาของเครื่องดนตรี และมิติทางกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กลุ่ม ชาติพันธุ์ที่ใช้เครื่องดนตรี หรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่เป็นเจ้าของเครื่องดนตรีมาก่อน (ถ้ามี) เป็นต้น (3) ลักษณะทางกายภาพ (Organological identification) เป็นการวิเคราะห์เพื่อ ทราบถึงรายละเอียดทางกายภาพของเครื่องดนตรี เช่น ขนาด รูปทรง วัสดุที่ใช้ เป็นต้น

(4) การจ าแนกประเภท (Category) เป็นการวิเคราะห์เพื่อจัดจ าแนกเครื่องดนตรีเพื่อ ทราบถึงชื่อของเครื่องดนตรีในภาษาถิ่น รวมถึงชื่ออื่น ๆ หรือ ชื่อของเครื่องดนตรีในภาษาอื่น ๆ (ถ้า มี)

(5) โครงสร้างและส่วนประกอบ (Structure & Components) เป็นการวิเคราะห์เพื่อ ทราบถึงส่วนประกอบของเครื่องดนตรีว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ใช้วัสดุที่คงทนหรือไม่คงทน สามารถแยกส่วนหรือถอดประกอบได้หรือไม่ เป็นต้น

(6) ระบบเสียง (Tuning system) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงระบบเสียงของเครื่อง ดนตรี โดยอาศัยระบบเซ็นต์ (Cent system)

(7) การบรรเลง (Playing) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรี

(8) การผลิต (Manufacture) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงแหล่งผลิตเครื่องดนตรี

หรือการน ามาจากแหล่งอื่น (ถ้ามี) 4.2.2 บทเพลง

การศึกษาบทเพลงเริ่มจากการถอดเสียงและบันทึกบทเพลงโดยอาศัยโน้ตดนตรี

สากล เพื่อต้องการแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด ทั้งนี้บทเพลงที่ได้น ามาศึกษาวิเคราะห์

ประกอบด้วย บทเพลงจ านวน 2 บทเพลง ได้แก่ บทเพลงเหง้าแต๊กและบทเพลงเหง้าแก้ ทั้งสองบท เพลงเป็นบทเพลงพื้นบ้านที่มีเนื้อหาสะท้อนเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ การต่อสู้ และ ความทุกข์ยากของบรรพบุรุษ

ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการศึกษาและวิเคราะห์บทเพลงต่าง ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทฤษฎีการศึกษาและวิเคราะห์บทเพลงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีการหน้าที่นิยม (Functionalism) ของมาลีนอฟสกี้ (Bronislaw Malinowski) ในประเด็นเรื่อง การอธิบายวัฒนธรรม ในด้านความสัมพันธ์ว่า วัฒนธรรมสนองความต้องการของปัจเจกบุคคล คือ วัฒนธรรมทุกด้านมี

บทบาทหน้าที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และผู้วิจัยได้ศึกษาจากหนังสือเรื่องดนตรีชาติ

พันธุ์วิทยา ในประเด็นเรื่อง บทบาทหน้าที่ของดนตรีพื้นบ้านและดนตรีชาติพันธุ์ ของศรัณย์ นักรบ กล่าวว่า ดนตรีหรือบทเพลงพื้นบ้านและดนตรีชาติพันธุ์มีบทบาทหน้าที่ ได้แก่ 1. ดนตรีประกอบ พิธีกรรม (Ritural Music) 2. ดนตรีประกอบพิธีการ (Ceremonial Music) 3. ดนตรีประกอบการ เฉลิมฉลอง (Celebrated Music) ทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล 4. ดนตรีส าหรับการเกี้ยวพา ราสี (Courting Music) 5. ดนตรีประกอบการท างาน (Work Music)

ทั้งนี้ผู้วิจัยได้บูรณาการแนวคิดและทฤษฏีเหล่านี้ และได้ก าหนดเป็นแนวทาง การศึกษาและวิเคราะห์บทเพลงส าหรับงานวิจัยนี้ ในประเด็นส าคัญ ได้แก่

(1) ประวัติความเป็นมา (Historical Background) เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบ ถึงประวัติความเป็นมาของบทเพลง

(2) โครงสร้างและรูปแบบ (Structure & Form) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึง โครงสร้างและรูปแบบของบทเพลง

(3) ความหมาย (Meaning) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงความหมายโดยรวมของ บทเพลง

(4) สื่อของเสียง (Medium) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงสื่อของเสียงในบทเพลง เช่น บทเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี หรือบทเพลงขับร้อง หรือบทเพลงขับร้องประกอบการ บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี เป็นต้น

(5) ค าร้อง (Text setting) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึง ลักษณะค าร้อง แบ่ง ออกเป็น 2 ลักษณะคือ ค าพยางค์ (Syllable) และการเอื้อน (Melismatic)

(6) กลุ่มเสียง (Toneset) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงกลุ่มเสียงของบทเพลง (7) ช่วงเสียง (Range) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงช่วงเสียงที่ปรากฏในบทเพลง (8) การด าเนินท านอง (Melodic Contour) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงการด าเนิน ท านองในลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในบทเพลง

(9) อัตราจังหวะ (Time signature) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงการก าหนดอัตรา จังหวะของบทเพลง

(10) อัตราความเร็ว (Tempo) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงระดับความช้า-เร็วของ บทเพลง

(11) บทบาทหน้าที่ (Role & Functions) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบถึงบทบาทหน้าที่

ทางสังคมของบทเพลง