• Tidak ada hasil yang ditemukan

จ านวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจ าแนกตามขนาดสถานศึกษา

สถานศึกษา

ประชากร กลุ่มตัวอย่าง

ผู้บริหาร ครูผู้สอน รวม ผู้บริหาร ครูผู้สอน รวม

เล็ก 55 879 934 6 99 105

กลาง 19 721 740 2 83 85

ใหญ่ 8 732 740 1 83 84

ใหญ่พิเศษ 3 474 477 1 54 55

รวม 85 2,806 2,891 10 329 339

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1 แบบสอบถาม

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่

พึงประสงค์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ส าหรับสถานศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ซึ่งแบบสอบถามมีลักษณะเป็น แบบตรวจสอบรายการ (Check list) แบบเติมค าและแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการสังเคราะห์จากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ รายการ (Check list) สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของผู้ตอบแบบสอบถาม

77 ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามระดับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพส าหรับสถานศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตาม แนวคิดของ Likert (Likert’ Rating Scale) โดยมีค าถามครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพส าหรับสถานศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ใน 5 ด้าน โดยก าหนดเกณฑ์ระดับคะแนน สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน ดังนี้

5 หมายถึง อยู่ในระดับมากที่สุด 4 หมายถึง อยู่ในระดับมาก 3 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง 2 หมายถึง อยู่ในระดับน้อย 1 หมายถึง อยู่ในระดับน้อยที่สุด

ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ลักษณะค าถามเป็นค าถามปลายเปิด

4. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพส าหรับสถานศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ มีวิธีการสร้างและหาคุณภาพดังนี้

4.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และ หลักการด าเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จากเอกสาร ต ารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ามาประกอบเป็นแนวความคิดแล้วสร้างแบบสอบถามภายใต้กรอบแนวคิด

4.2 ศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการสร้างแบบสอบถามประเภทต่าง ๆ จากหนังสือ วิจัยเบื้องต้นของ บุญชม ศรีสะอาด (2554) หนังสือพื้นฐานการวิจัยการศึกษาของ บุญชม ศรีสะอาด และคณะ (2552) และศึกษาแบบสอบถามงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมก าหนดรูปแบบและ ขอบเขตของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

4.3 ก าหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย รวมถึงศึกษาประเด็นเนื้อหาและโครงสร้าง ของแบบสอบถามและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนใน 5 ด้าน

4.4 ก าหนดรูปแบบข้อค าถามโดยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็น แบบตรวจสอบรายการ (Check List) ส่วนสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ เป็นมาตราส่วน

ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

78 4.5 สร้างแบบสอบถามฉบับร่าง ตรวจสอบความถูกต้อง ครอบคลุมคุณลักษณะ ที่ต้องการวัด การใช้ภาษาที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ แล้วปรับปรุงแก้ไขก่อนเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญให้

ข้อเสนอแนะอีกครั้ง

4.6 น าแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาความสอดคล้อง ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสอบถามโดยใช้เทคนิค IOC (Index of Item-Objective Congruence) หรือดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อค าถาม ซึ่งจะต้องมีค่าดัชนี

ความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.6–1.00 โดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมด 5 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่

ก าหนดไว้ ดังนี้

4.6.1 จบการศึกษาทางด้านการวัดและประเมินผล ด้านการวิจัยทางการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป

4.6.2 ด ารงต าแหน่ง ผู้อ านวยการ ศึกษานิเทศก์ของหน่วยงานทางการศึกษา หรืออาจารย์ประจ ามหาวิทยาลัย

4.6.3 มีประสบการณ์ทางด้านการบริหารโรงเรียน อย่างน้อย 5 ปี หรือ ปฏิบัติงานทางด้านวิชาการไม่น้อยกว่า 5 ปี

โดยมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัย ดังนี้

1. อาจารย์ ดร.สุรเชต น้อยฤทธิ์ การศึกษาระดับปริญญาเอก อาจารย์ภาควิชาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

2. ดร.เพ็ญศรี บุตรโคตร การศึกษาระดับปริญญาโท สาขา การวิจัยและ ประเมินผลการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและประเมินผล

3. นางจิอาภา คะนึงเพียร การศึกษาระดับปริญญาโท สาขา การบริหาร การศึกษา (ค.ม.) ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

4. นายสมศักดิ์ บุญโต การศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหาร การศึกษา ต าแหน่ง รองผู้อ านวยการโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร

5. นางจินตนา วงษ์สุนทร การศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสอน ภาษาไทย ต าแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูช านาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

4.7 น าแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญแล้ว น าไปทดลอง ใช้เพื่อหาคุณภาพของแบบสอบถาม โดยน าไปลองใช้ (Try Out) กับผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 30 คน

4.8 น าแบบสอบถามที่ทดลองใช้น ามาหาค่าอ านาจจ าแนกรายข้อโดยใช้สัมประสิทธิ์

สหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson โดยดูจากค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item–Total Correlation) และเลือกข้อค าถามที่มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

79 (บุญชม ศรีสะอาด, 2553) ซึ่งมีค่าอ านาจจ าแนกรายข้อของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน

ตั้งแต่ .227-.902 และมีค่าอ านาจจ าแนกรายข้อของแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์

ตั้งแต่ .205-.857

4.9 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) โดยเกณฑ์ความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้จะมีค่าตั้งแต่

.70 ขึ้นไป (บุญชม ศรีสะอาด, 2554)

4.10 น าแบบสอบถามจัดพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างต่อไป

5. การเก็บรวบรวมข้อมูล

5.1 ผู้วิจัยด าเนินการขอหนังสือจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถึงผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เพื่อขออนุญาตและอ านวยความ สะดวกในการจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

5.2 น าแบบสอบถามพร้อมหนังสือขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบจัดส่ง

แบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง ผ่านตู้ รับ-ส่ง หนังสือราชการของแต่ละโรงเรียน โดยผู้วิจัยนัดหมาย วัน เวลา เพื่อเก็บแบบสอบถามกลับคืนใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และติดต่อกลับคืนด้วยตัวเอง ในกรณีไม่มีการตอบกลับ

6. การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยด าเนินการวิเคราะห์และน าเสนอข้อมูลจากแบบสอบถาม ดังนี้

6.1 น าแบบสอบถามที่ได้รับคืนทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบ จากนั้นน ามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส าเร็จรูป ดังนี้

6.1.1 วิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบ

แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage) แล้วน าเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง

6.1.2 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, S.D.) โดยก าหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2553)

ค่าเฉลี่ย 4.51 - 5.00 หมายถึง อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.50 หมายถึง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 - 3.50 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51 - 2.50 หมายถึง อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 หมายถึง อยู่ในระดับน้อยที่สุด

80 6.1.3 วิเคราะห์จัดล าดับความส าคัญความต้องการจ าเป็นโดยใช้สูตร

PNImodified ของนงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช (สุวิมล ว่องวาณิช, 2550) PNImodified = (I - D)/D

I (Important) หมายถึง สภาพที่ควรจะเป็น D (Degree of success) หมายถึง สภาพที่เป็นจริง 6.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

6.2.1 สถิติพื้นฐาน

1) ร้อยละ (Percentage) 2) ค่าเฉลี่ย (Mean)

3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 6.2.2 สถิติที่ ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ

1) การหาค่าอ านาจจ าแนกรายข้อของแบบสอบถาม โดยใช้สัมประสิทธิ์

สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ตามวิธี Item Total Correlation

2) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์

แอลฟา (Alpha Coefficient) ของ ครอนบาค (Cronbach)

ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการด าเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิด ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพส าหรับสถานศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุรินทร์

ตอนที่ 1 ศึกษาการด าเนินงานของโรงเรียนต้นแบบที่มีผลการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในเรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1. ขั้นตอนการด าเนินการ

น าผลการวิจัยที่ได้จากระยะที่ 1 มาสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์แนวทางการ พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพส าหรับ สถานศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เพื่อใช้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจาก โรงเรียนต้นแบบที่มีผลการปฏิบัติดีเยี่ยม (Best Practice) ในด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จ านวน 3 โรงเรียน ได้แก่