• Tidak ada hasil yang ditemukan

ทฤษฏีเครื่องมือส าหรับเก็บข้อมูล

4. ค่าส าคัญที่บ่งบอกกายภาพของแสงกับพืช

2.4. ทฤษฏีเครื่องมือส าหรับเก็บข้อมูล

1. เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เทอร์โมคัปเปิลสร้างจากโลหะตัวน าต่างชนิดกัน 2 ตัว ท าการเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันที่ เรียกว่าจุดวัดอุณหภูมิ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิด ไว้ เรียกว่าจุดอ้างอิง หากจุดทั้งสองมีอุณหภูมิต่างกันก็จะท าให้มีการน ากระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิล ทั้งสองข้าง (เกศฎา, 2546) แสดงดังภาพที่ 17 เป็นวงจรที่ใช้อธิบายผลของปรากฏการณ์ซีแบ็ค ดังข้างต้น

ภาพที่ 17 หลักการท างานของเทอร์โมคัปเปิล ที่มา: (นวภัทรา, 2555)

ตามทฤษฎีพื้นฐานของผลต่างของเทอร์โมอิเล็กทริก เกิดจากการส่งผ่านทางกระแสไฟฟ้าและ ทางความร้อนของโลหะที่ต่างกันจึงท าให้เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้าตกคร่อมที่โลหะนั้นๆ ความต่าง ศักย์นี้จะสัมพันธ์กับความจริงที่ว่า อิเล็กตรอนในปลายด้านร้อนของโลหะจะมีพลังงานความร้อน มากกว่าปลายทางด้านเย็น จึงท าให้อิเล็กตรอนที่มีความเร็ววิ่งไปหาปลายด้านเย็น ที่อุณหภูมิเดียวกัน นี้การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนแปลงไปตามโลหะที่ต่างชนิดกันด้วย ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่า โลหะที่ต่างกันจะมีการน าความร้อนที่ต่างกัน

การเลือกเทอร์โมคัปเปิลเพื่อใช้งานในงานวิจัย ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมตามคุณสมบัติของเทอร์

โมคัปเปิลแบบมาตรฐาน (Characteristic of Standard Thermocouples) ซึ่งหากเลือกใช้งานไม่

เหมาะสมจะท าให้เทอร์โมคัปเปิลเกิดปัญหาตามมา เช่น ได้ข้อมูลที่คาดเคลื่อน ค่าพารามิเตอร์หายไป เป็นต้น ทั้งนี้แบ่งคุณสมบัติของเทอร์โมคัปเปิลที่ได้มาตรฐานออกเป็น 5 คุณสมบัติ ดังนี้

1.โครงสร้าง (Construction) โครงสร้างของเทอร์โมคัปเปิลมีลักษณะแสดงดังภาพที่ 18 โดยต้องมี

ลักษณะดังนี้คือตัวน ามีความต้านทานต่ า ให้สัมประสิทธิ์อุณหภูมิสูง ต้านทานต่อการเกิดออกไซด์ที่

อุณหภูมิสูง ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่น าไปใช้วัดค่า ท่อป้องกันส่วนมากจะท าจาก สแตนเลส เพราะ ความไวของเทอร์โมคัปเปิลขึ้นอยู่กับความหนาของท่อป้องกัน ขนาดของสายเทอร์โมคัปเปิลก าหนดได้

จากการใช้งานแต่ละอย่าง

ภาพที่ 18 โครงสร้างของเทอร์โมคัปเปิล ที่มา: (นวภัทรา, 2555)

2. ความไว (Sensitivity) จากตารางแรงเคลื่อนของ NBS แสดงว่าย่านของแรงเคลื่อนจาก เทอร์โมคัปเปิลจะมีค่าน้อยกว่า 100 mV แต่ความไวที่แท้จริงในการใช้งานจะขึ้นอยู่กับการใช้วงจร ปรับสภาพสัญญาณและตัวเทอร์โมคัปเปิลเอง แรงดันไฟฟ้าที่ได้จากเทอร์โมคัปเปิลมาตรฐานต่างๆ แสดงดังภาพที่ 17

3. ย่านการใช้งาน (Range) ย่านอุณหภูมิการใช้งานและความไวในการวัดของเทอร์โมคัปเปิล แต่ละตัว จะแตกต่างกันตามแต่ละสมาคมจะก าหนด ในส่วนที่ส าคัญคือค่าแรงเคลื่อนที่ออกมาจากแต่

ละอุณหภูมิ จะต้องอ้างอิงกับตารางค่ามาตรฐานของแต่ละสมาคมที่ใช้ให้ถูกต้องเป็นเอกภาพเดียวกัน หมดทั้งระบบ

4. เวลาตอบสนอง (Time Response) เวลาตอบสนองของเทอร์โมคัปเปิลขึ้นอยู่กับขนาด ของสายและวัสดุที่น ามาท าท่อป้องกันตัวเทอร์โมคัปเปิล

5. การปรับสภาพสัญญาณ (Signal Conditioning) ปกติแรงเคลื่อนของเทอร์โมคัปเปิลจะมี

ขนาดน้อยมากจึงจ าเป็นต้องมีการขยายสัญญาณ โดยใช้ออปแอมป์ขยายความแตกต่างที่มีอัตราขยาย สูงๆ

ภาพที่ 19 แรงดันไฟฟ้าที่ได้จากเทอร์โมคัปเปิลมาตรฐานแบบต่างๆ ที่มา: (นวภัทรา, 2555)

Dokumen terkait