• Tidak ada hasil yang ditemukan

พื้นที่สีเขียวสาธารณะสวนลุมพินีกับการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม

ตาราง 2 ผลการด าเนินการวิจัยจากผู้ให้ข้อมูลส าคัญ รวมทั้งหมด 30 คน

ล าดับ หัวข้อการค้นพบ จ านวนคน คิดเป็น % 1 ความต้องการใช้งานและกิจกรรม 30 100%

1.1 ความต้องการใช้งานเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ (ทางอารมณ์) 25 83.33%

1.2 ความต้องการใช้งานเป็นสถานที่ออกก าลังกาย 28 93.33%

2 ความปลอดภัย 27 90%

2.1 ความปลอดภัยด้านโรคโควิด-19 24 80%

2.2 ความปลอดภัยด้านฝุ่นละออง P.M 2.5 23 76.67%

3 ข้อจ ากัดการใช้งาน 27 90%

4 ข้อเสนอแนะ 27 90%

4.1 การสร้างภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่ดี 24 80%

4.2 การออกแบบพื้นที่ให้น่าใช้งานและการอ านวยความสะดวกที่ดี 23 76.67%

5 การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี 30 100%

5.1 การพัฒนาพื้นที่สีเขียวสาธารณะ 25 83.33%

5.2 การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวสาธารณะ 24 80%

1. ความต้องการใช้งานและกิจกรรม

พื้นที่สีเขียวสาธารณะเป็นสิ่งพื้นฐานที่ท าให้ร่างกายของมนุษย์ได้สัมผัสและใกล้ชิดกับ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด (อนิศรา อ่อนบุญญะ, 2549) พื้นที่สีเขียวมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่

กับความต้องการและลักษณะเฉพาะของพื้นที่นั้นๆ (Bonsignore R.E, 2003) ซึ่งเป็นสถานที่

ส าหรับพักผ่อนหย่อนใจเพื่อท าให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ใช้งานสดชื่นแจ่มใสอยู่

ตลอดเวลากับการได้ใกล้ชิดธรรมชาติอย่างเป็นประจ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งส าหรับพื้นที่สีเขียวใน เขตเมืองตามองค์การอนามัยโลก (WHO) จากเกณฑ์มาตรฐานสากลขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ก าหนดและวางรูปแบบไว้ว่าเมืองใหญ่ๆ ควรจะต้องมีพื้นที่สีเขียวที่มากกว่า 9 ตารางเมตร/

คน (ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, 2561) ซึ่งจากรายงานข้อมูลของส านัก สิ่งแวดล้อมและส านักยุทธศาสตร์และประเมินผล (กรุงเทพมหานคร) ค้นพบว่าพื้นที่สีเขียวที่เป็น สวนสาธารณะปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเทียบกับอัตราส่วนของพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่

ที่ 6.23 ตารางเมตร/คน ที่ไม่รวมกลุ่มประชากรแฝงต่างๆ เช่น ที่เป็นคนต่างชาติหรือจากชนบทเข้า มาอยู่อาศัย มาท่องเที่ยว และมาท างานในเขตเมือง เป็นต้น ดังนั้นพื้นที่สีเขียวสาธารณะกับ

ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครยังคงไม่ถึงค่าเฉลี่ยที่ควรมีตามมาตรฐานสากลก าหนด (กอง หอสมุดเเละศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2564)

ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2574 จะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด หรือ “Super-Aged Society” ด้วยประชากรสูงอายุประมาณ 28% ของประเทศ (Population and Housing Census, 2010) ซึ่งปัญหาหลักของกลุ่มผู้สูงอายุเองคือการเปลี่ยนแปลงของสมรรถสภาพทางกายที่ถดถอย ลง ท าให้การด าเนินชีวิตประจ าวันมีความยากล าบากมากยิ่งขึ้น (โรงพยาบาลบ ารุงราษฎร์, 2558) ทั้งความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางอารมณ์ และทางสังคม ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการด าเนินชีวิตลดน้อยลง (อัญชลี จุมพฎจามีกร, 2565) ซึ่งผู้สูงอายุบางคนก็มี

ความต้องการที่หลากหลายรูปแบบส าหรับการด าเนินชีวิตประจ าวันให้มีความสุข (เรณุการ์

ทองค ารอด, 2008) และส าหรับผู้สูงอายุในสังคมเมืองบางคนก็อยากที่จะใช้ชีวิตนอกที่อยู่อาศัย ด้วยเช่นกันตามความสะดวกและโอกาสที่เหมาะสม เช่น การใช้บริการพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ส าหรับออกก าลังกายหรือท ากิจกรรมสันทนาการต่างๆ ระหว่างวัน เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและ สุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ (ณัฐธิดา จงรักษ์ และ นัฎฐิกา นวพันธ์, 2562) ซึ่งบางครั้งก็ต้องถูก จ ากัดด้วยสภาพปัญหาต่างๆ ที่ไม่เอื้ออ านวยในสังคมเมือง เช่น พื้นที่สีเขียวสาธารณะอยู่ห่างไกล จากพื้นที่อยู่อาศัย สภาพร่างกายไม่เอื้ออ านวยเพราะอายุเพิ่มขึ้น รวมไปถึงพื้นที่สีเขียวสาธารณะ บางแห่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่แท้จริง เป็นต้น โดยที่กิจกรรมและการใช้งานของ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1.1 ความต้องการใช้งานเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ (ทางอารมณ์)

ความเพลิดเพลินในการท ากิจกรรมสันทนาการต่างๆ ร่วมกันของกลุ่มผู้สูงอายุนั้น จะ ท าให้ผู้สูงอายุเองไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิตหลังช่วงเกษียณอายุ ท าให้สุขภาพกายและ สุขภาพจิตมีความแข็งแรง สดชื่น แจ่มใสอยู่ตลอดเวลา ช่วยให้ผู้สูงอายุลืมความเจ็บป่วย หรือ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาเบียดเบียนร่างกายได้ในระดับหนึ่งจากการที่ได้ออกก าลังกายอย่าง ต่อเนื่องและเป็นประจ า (ศุภวรรณ ทองแท้ และ ด าเกิง อัศวสุนทรางกูร, 2564) ซึ่งคนทั่วไปอาจจะ เข้าใจว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้มีความต้องการอะไรมากส าหรับการใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลาย ส่วน ใหญ่ก็ออกไปพักผ่อนตามสถานที่สาธารณะต่างๆ พบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจใน ระหว่างวันก็เพียงพอแล้ว (ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต, 2546) แต่ส าหรับมุมมองของกลุ่มผู้สูงอายุเอง นั้นกลับมองว่าการได้ออกมาใช้ชีวิตข้างนอกที่อยู่อาศัย เป็นการที่ได้มาสัมผัสกับบรรยากาศพื้นที่สี

เขียวที่เป็นธรรมชาติ ได้ออกมานั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจในสถานที่ที่มีความสงบ ได้มาออกก าลัง กายเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และได้มาพบปะพูดคุยร่วมกับกลุ่มเพื่อนๆ ท ากิจกรรมสันทนา

การต่างๆ ร่วมกัน ที่มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริงถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมาก และ ท าให้ผู้สูงอายุเองเกิดความสุขและอยากที่จะใช้ชีวิตของตนเองให้ได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น (Ali M. J.;

Rahaman M. & Hossain S. I, 2022)

เช่นค ากล่าวของ แดง2 อายุ 80 ปี ผู้สูงอายุที่มาใช้บริการสวนลุมพินีเป็นประจ า ที่ให้

ข้อมูลว่า

“ก่อนที่ใกล้จะเกษียณอายุผมได้วางแผนว่าจะพักผ่อนอยู่บ้านเฉยๆ เพื่อฟื้นฟู

สภาพร่างกายและพักผ่อนให้มากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิต ผ่านไปหลายปีก็เกิดความรู้สึกเบื่อ เพราะมีชีวิตประจ าวันที่เหมือนกันในทุกๆ วัน และสภาพร่างกายก็ไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิมจาก การที่ไม่ได้ค่อยท าอะไรมากมาย แต่ก็ยังมีการออกก าลังกายบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่เพียงพอเท่าไหร่

เพราะส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการพักผ่อนมากเกินสมควร ปัจจุบันได้มีการออกมาใช้ชีวิตประจ าวัน นอกที่อยู่อาศัยตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ มากยิ่งขึ้น ได้มาออกก าลังกายและพบปะพูดคุยกับ เพื่อนๆ ที่ไม่ได้เจอกันนานเกี่ยวกับข่าวสารต่างๆ ในชีวิตประจ าวันร่วมกัน รวมทั้งสัมผัสกับ บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์อยู่เป็นประจ า ท าให้สุขภาพร่างกายกลับมาแข็งแรง และร่าเริง แจ่มใสที่ดียิ่งขึ้น”

เช่นเดียวกับ ส้ม อายุ 68 ปี ผู้สูงอายุที่มาใช้บริการสวนสวนลุมพินีเป็นประจ า ได้ให้

ข้อมูลว่า

“พื้นที่สีเขียวสาธารณะในเขตเมืองยังคงไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับผู้คนที่อาศัยอยู่

ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่สีเขียวที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ มีต้นไม้ที่เพียงพอและเอื้อต่อ การด ารงชีวิตของสัตว์ด้วยนานาชนิดด้วยเช่นกัน เพราะพื้นที่สีเขียวส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อให้

มนุษย์ใช้งานเท่านั้น แต่บางสถานที่ก็ยังใช้งานไม่ได้เป็นไปตามประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จาก ข้อจ ากัดของสถานที่เหล่านั้น โดยส าหรับพื้นที่ที่มีความกว้างไม่เพียงพอก็ท ากิจกรรมได้น้อย และ บางพื้นที่ก็ไม่ตอบสนองกับการใช้งานของผู้สุงอายุที่แท้จริง ท าให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เลือกไปใช้งาน ตามสถานที่ต่างๆ ที่มีความสะดวกมากกว่า เช่น สวนลุมพินี ที่มีกลุ่มผู้สูงอายุจ านวนมากมาใช้

บริการ และท ากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน และที่ส าคัญที่นี่มีระบบนิเวศค่อนข้างสมบูรณ์”

การจัดสภาพแวดล้อมสาธารณะท าให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณะ และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดเป็นการประยุกต์ใช้พื้นที่สาธารณะที่เหมาะสมส าหรับเมือง (Praornpit Katchwattana, 2022) เป็นมาตรฐานในการจัดการสภาพแวดล้อมในเขตเมืองที่ดีและ มีพื้นที่สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะท าให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ส าหรับทุกคนและเป็นเป้าหมาย

2นามที่ปรากฏในงานวิจัยนี้ทั้งหมดเป็นนามสมมุติ (Pseudonym) เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล

หรือองค์ประกอบหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง (Chiesura. A, 2004) โดยที่

เป้าหมายที่: 11 มาตรา 11.6 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่ส่งเสริมการพัฒนาและการเข้าถึงสู่พื้นที่สี

เขียวส าหรับคนกลุ่มต่างๆ เป็นต้น (United Nation, 2022) โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องท าให้

ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีระบบสังคมเมือง และมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีในการ ด าเนินชีวิตประจ าวัน (Brundtland. G. H, 1985)

ประเทศไทยได้น าหลักแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมาปรับใช้ร่วมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรอบของแนวทางและทิศทางในการพัฒนาประเทศควาบคู่กับที่ได้ยึด หลักการและแนวคิดของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มุ่งสู่เป้าหมายอย่างเดียวกันคือการ พัฒนาที่ยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนด้วยเช่นกัน (ส านักงานพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2554) ดังนั้นแล้วการพัฒนาพื้นที่สีเขียวสาธารณะก็เป็นส่วนหนึ่งใน การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยเช่นกัน ซึ่งหากมีพื้นที่สีเขียวให้บริการที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี เพียงพอ และมี

ประสิทธิภาพก็จะช่วยเพิ่มการใช้งานที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกคน (ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์, 2543) โดยเฉพาะอย่างยิ่งส าหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงและใช้สอยพื้นที่สีเขียวสาธารณะได้อย่าง สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผลที่จะตามมา คือ สภาพจิตใจและสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ ซึ่ง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของสังคมสูงวัยในเขตเมืองเป็นสังคมที่น่าอยู่อาศัยและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น (ศุภวรรณ ทองแท้ และ ด าเกิง อัศวสุนทรางกูร, 2564) เพราะการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีส าหรับ ผู้สูงอายุซึ่งมีความส าคัญและจ าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเข้าใจและ สามารถในการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่ลดน้อยลง โดยที่ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงความ เสื่อมถอยลงของทุกระบบในร่างกาย (สิริพงศ์ กุลสุขรังสรรค์ และคณะ, 2564) ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการทนต่อความกดดันความเครียด และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ (ภัทฐิตา พงศ์ธ นา, 2565) รวมถึงการออกแบบสวนสาธารณะระดับชุมชนต้องท าให้เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุด้วย เช่นกัน (ทศพร อนันตพิพัฒน์, 2552) ดังนั้น การให้บริการพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ดีส าหรับกลุ่ม ผู้สูงอายุต้องค านึงถึงความสามารถในการเข้าใช้บริการ และสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสม

ยกตัวอย่างค าพูดของ ทอง อายุ 78 ปี ผู้สูงอายุที่มาใช้บริการสวนลุมพินีเป็นประจ า ที่ให้ข้อมูลว่า

“เมื่อ 20-30 ปีที่ผ่านมาสวนสาธารณะที่นี่ (สวนลุมพินี) มีสภาพแวดล้อมที่ดีและ มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก โดยมีผู้คนมากมายเข้ามาใช้งานอย่างเป็นประจ า และที่

ส าคัญพื้นที่ส่วนใหญ่โดยรวมมีสภาพแวดล้อมความเป็นธรรมชาติอย่างมาก ท าให้ผู้สูงอายุ