• Tidak ada hasil yang ditemukan

สอน “การเงิน” อย่างไรในโรงเรียน

3.3 มุ่งมั่นในการทำงาน

117 ภาพที่ 1 : รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาการเงินและการลงทุนเบื้องต้น 1 (Introduction to Finance and Investment 1)

กิจกรรม Cash In

รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมปฐมบทรายวิชา ให้นักเรียนถ่ายรูป ภาพคู่กับเงินของตนเองในคาบเรียน โดยไม่จำกัดจำนวนเงินและไม่

จำกัดประเภทของเงิน

กิจกรรมนี้จะทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานและความ ตื่นเต้นในการหาเงินในรูแบบเหรียญหรือธนบัตรของตนเอง จุดประสงค์ของกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้รู้ว่าเรื่องของเงินเป็นเรื่อง ใกล้ตัวของตนเองอย่างมาก

กิจกรรมกรณีศึกษา : พฤติกรรมทางการเงินและการวางแผนทางการเงิน

รายละเอียดกิจกรรม : ให้นักเรียนสอบถามอาจารย์ภายในโรงเรียน เกี่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมทางการเงินและการ วางแผนทางการเงิน จากนั้นให้นักเรียนสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และนำเสนอในรูปแบบของโปสเตอร์

ภาพที่ 2 : ผลงานการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์

118 กิจกรรมวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของตนเองด้วย “SWOT Analysis”

รายละเอียดกิจกรรม : ให้นักเรียนศึกษาศูนย์การ เรียนรู้จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ปัจจัย ภายในและศูนย์การเรียนรู้ปัจจัยภายนอก โดยแต่ละ ศูนย์จะมีใบความรู้อธิบายความหมาย ลักษณะของ ปัจจัยแต่ละหัวข้อที่นำมาวิเคราะห์สุขภาพทางการเงิน

ของตนเอง จากนั้นผู้สอนอธิบายและยกตัวอย่าง การวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของตนเองด้วย

“SWOT Analysis” ป ร ะ ก อ บ ด ้ ว ย จ ุ ด แ ข็ ง (Strengths) ,จุดอ่อน (Weaknesses), โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats)

ภาพที่ 3 : ใบความรู้ของศูนย์การเรียน

จากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ตนเองลงในกระดาษ Post-It แต่ละสีตามที่กำหนด และนำมาแปะลงในกระดาน กิจกรรมหน้าชั้นเรียน กิจกรรมนี้จะทำให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ และสำรวจทักษะทางการเงินพื้นฐาน ของตนเองว่ามีจุดเด่นจุดด้อยใดที่ควรส่งเสริมหรือพัฒนาได้ และมีปัจจัยภายนอกใดที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ทางการเงินของตนเอง

119 ภาพที่ 4 : กิจกรรมกระปุกออมสิน “ออมเงิน ออมใจ”

รายละเอียดกิจกรรม : ให้นักเรียนประดิษฐ์กระปุกออมสินของตนเอง ในรูปแบบใดก็ได้ โดยจะต้องทำจากวัสดุ

เหลือใช้ที่มีอยู่ในบ้านของตนเอง จากนั้นให้นักเรียนออมเงินลงในกระปุกออมสินเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วัน และบันทึกรายรับ-รายจ่ายลงในใบกิจกรรมที่กำหนดให้ โดยกิจกรรมนี้จะส่งเสริมทักษะการออมเงินซึ่งเป็นทักษะ แรกเริ่มที่สำคัญที่ควรปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ให้นักเรียนรู้คุณค่าของเงิน รู้รายรับรายจ่ายของตนเองในแต่ละวัน และมี

การปรับลดในส่วนของรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป

ภาพที่ 5 : การบันทึกรายรับ-รายจ่ายของนักเรียนกิจกรรม “ออมเงิน ออมใจ”

สรุป

การสอน “การเงิน” ในโรงเรียน ควรเป็นสิ่งที่หลาย ๆ โรงเรียนให้ความสนใจและความสำคัญ เนื่องจาก ทักษะการเงินจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันในแต่ละวัน ในประเทศไทยเองยังพบโรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับเนื้อหา ในรายวิชาการเงินที่น้อย เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่มีหลักสูตรการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและ ตอนปลาย หากนำมาปรับใช้ในโรงเรียนผู้สอนสามารถปรับเนื้อหาทางการเงินที่ยากให้อยู่ในรูปแบบกิจกรรมที่สร้าง ความสนุกและความสนใจดึงดูดให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและอยากเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทางการเงินเพื่อนำไปปรับ ใช้ในชีวิตประจำวันหรือการทำงานในอนาคตต่อไป

120 เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (4 ed.). กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562,7 พฤศจิกายน). สอนนักเรียนให้รู้จักวางแผนทางการเงิน.

https://www.trueplookpanya.com/blog/content/76626/-teamet- (ม.ป.ป.). สหราชอาณาจักรสอนวิชาการเงินตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา. รักลูก (สาระเรื่องเรียน).

https://www.rakluke.com/learning-all/education/item/financial.html

Financial Capability. (2022). Only four in ten children and young people say they’ve had some financial education at school. https://www.fincap.org.uk/en/articles/schools

Money Class Team. (2564, 9 มิถุนายน). 4 เหตุผล การเงินส่วนบุคคลควรบรรจุในโรงเรียน.

https://moneyclass.co//4 เหตุผล การเงินส่วนบุคคลควรบรรจุในโรงเรียน

121

122

การปรับรูปแบบการเรียนการสอนเมื่อนักเรียนหมดไฟในการทำงานศิลปะ ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

กฤตยภรณ์ ศิรินุพงศ์

สาขาศิลปะ โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) บทนำ

สถานการณ์สภาวะโรคระบาดโควิด-19 ที่ยาวนานเกือบสามปี นักเรียนถูกจำกัดให้เลือกเรียนออนไลน์

อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อรัฐบาลประกาศให้มีมาตรการให้ทุกโรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบปกติ ด้วยเหตุนี้ทำ ให้นักเรียนปรับพฤติกรรมอย่างฉับพลัน หลังจากหยุดเรียนเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อนักเรียนอย่างมากในแง่

วิถีชีวิต สุขภาพจิต แรงจูงใจ และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต นักจิตวิทยาเรียกอาการนี้ว่า “Hitting Pandemic Wall” นักเรียนกำลังประสบปัญหาสิ่งที่เรียกว่า Cognitive overload คือ สภาวะสมองเต็ม การเรียนรู้ที่เต็มเกิน รับไหว เนื้อหาการเรียนที่ถูกอัดแน่น และไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาการเรียนครบถ้วนขณะเรียนออนไลน์ ส่งผลให้

นักเรียนเกิดความเครียด ไม่มีสมาธิ กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เรียนรู้ได้ยาก การจัดการควบคุมอารมณ์

ตนเองได้ยากมากขึ้น อาจส่งผลกระทบไปสู่สภาวะโรคซึมเศร้า หากไม่ได้รับการแก้ไข

จากการสังเกตของผู้สอน เมื่อเข้าสู่การเรียนการสอนแบบปกติหลังจากสถานการณ์โควิด นักเรียนมีอาการ เหนื่อย ท้อแท้ คิดงานไอเดียไม่ออก การเรียนรู้เข้าใจยาก ผลกระทบระยะยาวจากการเรียนออนไลน์มาอย่าง ยาวนาน ถึงแม้ว่าจะได้กลับมาเรียนใช้ชีวิตกับเพื่อนที่โรงเรียน ในสถานการณ์ปกติแล้วก็ตาม แต่พฤติกรรมที่พบ เห็นและคำพูดที่มักได้ยินบ่อย คือ หมดไฟ ภาวะหมดไฟของวัยเรียนที่ไม่ต้องรอถึงวัยทำงาน คำฮิตที่ถูกพูดถึงอยู่

บ่อยในชั้นเรียน คือ ภาวะอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Burnout Syndrome คือ สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เกิดจากความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ขาดความสนุกในการทำงานหรือการเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน จำเป็นจะต้องตระหนักต่อปัญหาเหล่านี้อย่างมาก ผู้เขียนจึงอยากหยิบยกทฤษฎี

การเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศิลปะ ซึ่งเป็นวิชาที่

จำเป็นอย่างมากต้องประคองความรู้สึกและอารมณ์เพราะการทำงานศิลปะจำเป็นต้องใช้พลังงาน ใช้ความคิด รวมถึงอารมณ์ในการทำงาน สมาธิที่จำเป็นต้องจดจ่ออยู่กับชิ้นงานเพื่อให้สำเร็จตามที่วางแผน ครูผู้สอนจำเป็น อย่างมากที่ต้องช่วยจุดไฟการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่หมดไฟจากการเรียนการทำงานศิลปะไปซะก่อน

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญกับการเป็นมนุษย์

การคิดภายใน และความรู้สึกของนักเรียนแต่ละคน มนุษย์มีคุณค่า มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายใ นที่จะ พัฒนาศักยภาพการทำงานของตนเอง หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองแบบ องค์รวม ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ

123 หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาแบบมนุษยนิยม (Maslow, Rogers and Combs)

มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา

การนำมาปรับใช้รูปแบบการเรียนการสอน ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962)

นักเรียนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ คือ ต้องการความมั่นคงปลอดภัย ต้องการความ รักต้องการการยอมรับของกลุ่มเพื่อนและครู หากความต้องการขั้นพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างมากพอ นักเรียนจะสามารถพัฒนาไปสู่ขั้นการพัฒนาที่สูงสุด หากครูผู้สอนเข้าใจความต้องการในขั้นต้นจะสามารถช่วยให้

ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การให้อิสระและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ การให้ความรักความใส่ใจในรายละเอียด เล็กๆน้อยๆ การจดจำ การเรียกชื่อ การถามหา การยอมรับในผลงานทัศนคติความคิดของผู้เรียน

แนวคิดการเรียนรู้ของ โคมส์ (Combs) คือ ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ เพราะความรู้สึก และเจตคติจะขับเคลื่อนต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างเจตคติ มุมมองการทำงานที่ดีต่อรายวิชาศิลปะ คุณค่าต่อการทำงานให้ออกมาสร้างสรรค์ ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นเจตคติที่ดีในการสร้างงาน ศิลปะ การให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าความสามารถ พรสวรรค์ ความตั้งใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด ความตั้งใจในการเรียนรู้สร้างงานศิลปะ

แนวคิดการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles) ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้หากมีส่วนร่วม มีอิสระที่เรียนในสิ่งที่ตน ต้องการและใช้วิธีการที่พอใจ มีลักษณะพิเศษเฉพาะตน มีความสามารถ เสรีภาพในการตัดสินใจและเลือกทำ การ นำมาปรับใช้ในรูปแบบการเรียนการสอน ครูผู้สอนทำความเข้าใจ ยอมรับความแตกต่าง ไม่เอารสนิยมของตัว ผู้สอนเข้าไปจำกัดความคิดปิดกั้นเพียงเพราะเค้าไม่เหมือนผู้อื่น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกทำ ตัดสินใจได้ด้วย ตนเอง เป็นการฝึกยอมรับผลการกระทำนั้นๆของตนเอง

นักเรียนได้ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนจะเรียนรู้เมื่อไม่มีความหวาดกลัว

เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหา นักเรียนจะเรียนรู้เฉพาะสิ่งที่ตนเองสนใจ

ความรู้สึก (Feeling) มีความสำคัญเท่ากับ ความจริง

นักเรียนจะ เรียนรู้ได้ดี

เมื่อได้รับ ความต้องการ พื้นฐาน 4 ข้อ