• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่อง การรับรู้คุณค่าของสินค้าและการรับรู้ทางกายภาพการบริการที่ส่งผลต่อความ ภักดีของลูกค้าผ่านความพึงพอใจในสินค้าเครื่องปรุงรสของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด มีวัตถุประสงค์

(1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณค่าของสินค้า (Perceived Value) ระดับการรับรู้ทางกายภาพในการ ให้บริการ (Tangibility) ระดับความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ระดับความภักดี

ของลูกค้า (Customer Loyalty) ในสินค้าเครื่องปรุงรสของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด (2) เพื่อศึกษา อิทธิพลการรับรู้คุณค่าของสินค้า (Perceived Value) และการรับรู้ทางกายภาพในการให้บริการ (Tangibility) ที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ในสินค้าเครื่องปรุงรส ของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้า (Customer Loyalty) ในสินค้าเครื่องปรุงรสของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด ผู้วิจัยด าเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในวิจัยตามกรอบแนวคิดที่

สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการพัฒนาสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้

คือ ร้านค้าที่จ าหน่ายสินค้าเครื่องปรุงรสของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด จ านวน 400 ร้าน ผู้วิจัยใช้

วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) โดยเทียบเป็นสัดส่วนตามจ านวนลูกค้าของแต่ละ ศูนย์กระจายสินค้า เพื่อให้ได้ผู้ตอบแบบสอบถามจ านวน 400 ร้าน โดยสามารถสรุปผล อภิปราย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาส่วนที่ 2 ระดับความคิดเห็นของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่

ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า ตัวแปรด้านการรับรู้คุณค่าของสินค้า มี

ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ความภักดีของลูกค้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความพึง พอใจของลูกค้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการรับรู้ทางกายภาพในการให้บริการโดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด แสดงดังตารางที่ 13

ตารางที่ 13 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

ตัวแปร Mean S.D.

การรับรู้คุณค่าของสินค้า 3.44 0.579

การรับรู้ทางกายภาพในการให้บริการ 3.73 0.683

ความพึงพอใจของลูกค้า 3.68 0.658

ความภักดีของลูกค้า 3.56 0.641

1. ระดับความคิดเห็นของการรับรู้คุณค่าของสินค้า

ระดับความคิดเห็นของการรับรู้คุณค่าของสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยมี

ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าอยู่ระหว่าง 0.671 – 0.802 เมื่อพิจารณารายข้อ ค าถาม พบว่า ระดับความคิดเห็น “ท่านรู้สึกดีในด้านมาตรฐานของเครื่องปรุงรสจาก บริษัท เอฟ- พลัส จ ากัด” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.51 รองลงมามี 2 ระดับความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ (1) ระดับความคิดเห็น “รสชาติของเครื่องปรุงรสจาก บริษัทเอฟ-พลัส จ ากัด เป็นที่ชื่นชอบลูกค้า”

และ (2) ระดับความคิดเห็น “จากสินค้าและบริการท าให้ท่านขายเครื่องปรุงรสจาก บริษัท เอฟ- พลัส จ ากัด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 และล าดับสุดท้ายคือ ระดับความคิดเห็น “เครื่องปรุงรสจาก บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด ขายดีกว่าเครื่องปรุงรสจากบริษัทอื่น” มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.31

2. ระดับความคิดเห็นของการรับรู้ทางกายภาพในการให้บริการ

ระดับความคิดเห็นของการรับรู้ทางกายภาพในการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าอยู่ระหว่าง 0.755 – 0.824 เมื่อพิจารณา รายข้อค าถาม พบว่า ระดับความคิดเห็น “พนักงานของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด มีบุคลิกภาพที่ดี การ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.83 รองลงมาคือ ระดับความคิดเห็น “บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด จัดหน่วยรถในการให้บริการได้อย่างเหมาะสม” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ล าดับ

สุดท้ายคือ ระดับความคิดเห็น “บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด มีอุปกรณ์และเครื่องมือส าหรับการ ให้บริการที่ดี” มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.59

3. ระดับความคิดเห็นของความพึงพอใจของลูกค้า

ระดับความคิดเห็นของความพึงพอใจของลูกค้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.68 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าอยู่ระหว่าง 0.732 – 0.812 เมื่อพิจารณารายข้อค าถาม พบว่า ระดับความคิดเห็น “ท่านพึงพอใจในการให้บริการของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด” มีค่าเฉลี่ย มากที่สุดเท่ากับ 3.82 รองลงมาคือ ระดับความคิดเห็น “ท่านพึงพอใจต่อการอ านวยความสะดวก ของพนักงานจาก บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ล าดับสุดท้ายคือ ระดับความ คิดเห็น “ท่านพึงพอใจต่อราคาที่เหมาะสมของสินค้าเครื่องปรุงรสจาก บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด” มี

ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.52

4. ระดับความคิดเห็นของความภักดีของลูกค้า

ระดับความคิดเห็นของความภักดีของลูกค้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าอยู่ระหว่าง 0.719 – 0.795 เมื่อพิจารณารายข้อค าถาม พบว่า ระดับความคิดเห็น “เมื่อบริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด จัดกิจกรรมเครื่องปรุงรสใดๆ ท่านยินดีที่จะ เข้าร่วมกิจกรรมนั้น” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.62 รองลงมาคือ ระดับความคิดเห็น “ท่านยินดีที่

จะแนะน าให้ร้านค้าอื่นขายเครื่องปรุงของ บริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 ล าดับ สุดท้ายคือ ระดับความคิดเห็น “ท่านยังคงเลือกซื้อเครื่องปรุงรสของบริษัท เอฟ-พลัส จ ากัด ถึงแม้ว่า เครื่องปรุงรสบริษัทอื่นจะลดราคา” มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.50

ผลการศึกษาส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยการวิเคราะห์ค่ าสัมประสิทธิ์

สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’ correlation coefficient) พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างตัวแปรมีค่าอยู่ระหว่าง 0.547 – 0.751 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์รายด้านระหว่างการรับรู้

คุณค่าของสินค้าและความพึงพอใจของลูกค้า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.655 หมายถึง มีความสัมพันธ์ในระดับสูงและไปในทิศทางเดียวกัน ความสัมพันธ์รายด้านระหว่างการ รับรู้ทางกายภาพในการให้บริการและความพึงพอใจของลูกค้า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.676 หมายถึง มีความสัมพันธ์ในระดับสูงและไปในทิศทางเดียวกัน ความสัมพันธ์รายด้าน ระหว่างความพึงพอใจของลูกค้าและความภักดีของลูกค้า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.751 หมายถึง มีความสัมพันธ์ในระดับสูงและไปในทิศทางเดียวกัน

ผลการศึกษาส่วนที่ 4 ผลการทดสอบสมมติฐาน

ผู้วิจัยได้ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple regression) สามารถสรุปผลการทดสอบสมมติฐาน แสดงดังตารางที่ 14

ตารางที่ 14 แสดงผลการทดสอบสมมติฐาน

สมมติฐาน ผลการทดสอบ

สมมติฐานที่ 1 การรับรู้คุณค่าของสินค้ามีผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ

ของลูกค้า ยอมรับสมมติฐาน

สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ทางกายภาพในการให้บริการมีผลเชิงบวกต่อ

ความพึงพอใจของลูกค้า ยอมรับสมมติฐาน

สมมติฐานที่ 3 ความพึงพอใจของลูกค้ามีผลเชิงบวกต่อความภักดีของ

ลูกค้าต่อสินค้า ยอมรับสมมติฐาน