• Tidak ada hasil yang ditemukan

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

5.1 การเกิดสวนสัตว์ในภูมิภาคต่าง ๆ

5.1.2 สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

ผู้เข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ.2520 – 2530 เฉลี่ยประมาณ 200,000 คนต่อปี

ส่วน พ.ศ.2530 มีผู้เข้าชมเฉลี่ย 500,000 คน แสดงให้เห็นถึงความนิยมในการพักผ่อนหย่อนใจที่

เพิ่มขึ้นในสวนสัตว์ของประชาชนในเขตภาคเหนือ

ภาพประกอบ 7 แรดอินเดียในสวนสัตว์เชียงใหม่

ที่มา : ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทจวน วรรณรัตน์. หน้า 37.

สัตว์ดุสิตไปปล่อยนั้นจะน าเฉพาะสัตว์กีบ เช่น กวางป่า กวางดาว เก้ง เนื้อทราย หรือม้าลาย ข้อดี

ของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวคือเป็นสวนสัตว์ที่ใกล้เคียงธรรมชาติอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร ท า ให้สัตว์สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ การชมสัตว์จึงเป็นการชมสัตว์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในธรรมชาติแทนการดู

สัตว์จากกรงแคบ ๆ ที่สวนสัตว์ดุสิต1 ต่อมา พ.ศ.2527 องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ได้รับ อนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่ด าเนินการของสวนสัตว์เพิ่มขึ้นอีก 2,500 ไร่ สวนสัตว์เปิด เขาเขียวจึงมีพื้นที่ด าเนินการทั้งหมด 3,000 ไร่2

มูลเหตุของการสร้างสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนั้นสอดคล้องกับนายสัตวแพทย์อลงกรณ์

มหรรณพ อดีตผู้อ านวยการสวนสัตว์ดุสิตที่ได้อธิบายถึงการสร้างสวนสัตว์ที่เขาเขียว ไว้ว่า

เดิมพื้นที่บริเวณเขาเขียวเป็นไร่มันส าปะหลัง เราสร้างสวนสัตว์

เปิดเขาเขียวไว้เพื่อเป็นสถานที่ที่ไว้ระบายสัตว์จากสวนสัตว์ดุสิตที่ออก ลูกหลานมากมาย อีกทั้งยังเป็นการปล่อยให้สัตว์ได้คุ้นเคยกับธรรมชาติ เมื่อ สัตว์โตเต็มที่และเรียนรู้ที่จะอยู่ในธรรมชาติได้ อาจมีการปล่อยสัตว์เหล่านั้น กลับคืนสู่ธรรมชาติได้ โดยเฉพาะสัตว์ที่ได้รับบริจาคจากประชาชน นอกจาก สวนสัตว์ที่เขาเขียวแล้ว สวนสัตว์เชียงใหม่ก็เป็นที่ระบายสัตว์จากสวนสัตว์

ดุสิตเหมือนกัน 3

จุดเด่นของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว คือ ความเป็นธรรมชาติ สัตว์ทุกตัวมีอิสระที่จะไปที่ใด ได้ ไม่ถูกขังอยู่ในกรงเหมือนสวนสัตว์อื่น นอกจากนี้ยังมีจ านวนสัตว์และพื้นที่มากกว่าแห่งอื่น ๆ ด้วย ใน พ.ศ.2525 สวนสัตว์เปิดเขาเขียว มีจ านวนสัตว์ทั้งหมด 362 ตัว แบ่งเป็นสัตว์เลี ้ยงลูกด้วย นม จ านวน 167 ตัว สัตว์ปีก 67 ตัว และสัตว์เลื ้อยคลาน 28 ตัว4 ในเดือนตุลาคม 2530 สัตว์ในสวน

1 ไพบูลย์ สุขสุเมฆ. (2515, 29 มิถุนายน). สวนสัตว์เปิด แห่งแรกที่เขาเขียว. สยามรัฐ. หน้า 10.

2ส านักนายกรัฐมนตรี. (2535). 60 ปี ส านักนายกรัฐมนตรี. หน้า 240.

3 นายสัตวแพทย์อลงกรณ์ มหรรณพ. อดีตผู้อ านวยการสวนสัตว์ดุสิต. สัมภาษณ์, 22 มกราคม 2565.

4 พิทยา ตามรสุวรรณ. (2525). การออกแบบสัญลักษณ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส าหรับสวน สัตว์ดุสิต. หน้า 8.

สัตว์เปิดเขาเขียวมีทั้งหมด 4,755 ตัว แบ่งเป็น สัตว์ปีก มีจ านวน 4,126 ตัว สัตว์เลี ้ยงลูกด้วยนม มี

จ านวน 517 ตัว สัตว์เลื ้อยคลานมีจ านวน 96 ตัว1

ประเภทของสัตว์ที่เด่นได้แก่ เกาะชะนีแดง วัวแดง เนื้อทราย เกาะนก กรงม้าลาย คอกวัว สวนกวาง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในบางส่วนยังมีคอกซึ่งไม่สอดคล้องกับการเป็นสวนสัตว์เปิดที่สัตว์จะ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ

ในทศวรรษ 2530 การเดินทางมาชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ประชาชนนิยมเดินทางมาด้วย รถยนต์ส่วนตัว หากเป็นคนในพื้นที่ใกล้เคียงจะเดินทางมาด้วยรถจักรยานยนต์ หากเป็นวันหยุด นักขัตฤกษ์หรือวันส าคัญต่าง ๆ จะมีประชาชนมาเยี่ยมชมจ านวนมาก ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมแสดง ดนตรี โชว์สัตว์2

การเกิดขึ้นของสวนสัตว์ในภูมิภาคต่าง ๆ นอกจากจะเป็นการสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อน ใจแล้ว ยังเป็นพื้นที่ส าคัญในการเผยแพร่และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความส าคัญของ ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า รวมถึงยังเป็นสถานที่ส ารองที่องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ใช้ในการโยกย้ายสัตว์จากสวนสัตว์ดุสิต

ภาพประกอบ 8 กรงนกขนาดใหญ่ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สร้างขึ้น พ.ศ.2526 ที่มา : ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทจวน วรรณรัตน์. หน้า 37.

1 ศิริวรรณ รุ่งสว่าง. (2530). โครงการออกแบบเลขนศิลป์สิ่งพิมพ์โฆษณา ส าหรับสวนสัตว์เปิด เขาเขียว. หน้า 15-16.

2 นายสัตวแพทย์สุเมธ กมลนรนารถ. อดีตรองผู้อ านวยการองค์การสวนสัตว์. สัมภาษณ์, 24 พฤษภาคม 2565.

นอกจากการเปิดสวนสัตว์ในภูมิภาคต่าง ๆ แล้ว ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ ารุงสัตว์ของสวนสัตว์ดุสิตยังได้มีการรับรักษาสัตว์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมี

การออกนอกพื้นที่สวนสัตว์เพื่อจับสัตว์ที่หลุดจากกรงเมื่อได้รับการขอความช่วยเหลือจาก ประชาชน รวมไปถึงสวนสัตว์ดุสิตยังรับบริจาคสัตว์ป่าที่ประชาชนไม่สามารถเลี ้ยงดูได้อีกด้วย1 สวนสัตว์ท าหน้าที่เสมือนพื้นที่ปลอดภัยของสรรพสัตว์

5.2 การเกิดสวนสัตว์เอกชน

Garis besar

Dokumen terkait