• Tidak ada hasil yang ditemukan

แสดงผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดกากผลมะนาวจากวิธีการท าแห้ง

27 ที่ผ่านการท าแห้งแบบเยือกแข็งและท าแห้งพ่นฝอย 1 g มีปริมาณกรดซิตริกเท่ากับ 324.28 ± 61.87 และ 295.63 ± 43.31 mg ตามล าดับ และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ (P>0.05)

จากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดกากผลมะนาวจากการท าแห้ง แบบเยือกแข็งและแบบพ่นฝอยด้วย DPPH (ตาราง 6)โดยเทียบกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ วิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิกพบว่าสารสกัดกากผลมะนาวที่ผ่านการท าแห้งแบบเยือกแข็งให้ค่า EC50 น้อยกว่าสารสกัดที่ผ่านการท าแห้งแบบพ่นฝอย ดังนั้นวิธีการท าแห้งเยือกแข็งให้สารสกัด จากกากผลมะนาวที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่า และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05

ตาราง 5 แสดงผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดกากผลมะนาวจากวิธีการท าแห้ง

HaCaT เซลล์เปรียบทียบกับการระคายเคืองผิวหนังมนุษย์พบว่าสารจ าพวกสารลดแรงตึงผิวประจุ

ลบ (anionic surfactant) จะไวกับ HaCaT เซลล์มากกว่าผิวหนังมนุษย์ถึง 10-100 เท่า(31) ดังนั้น ความเข้มข้นของสารสกัดกากผลมะนาวจึงควรใช้ในความเข้มข้นต ่ากว่า 1.25% ดังนั้นในการ เตรียมต ารับมาสก์จึงใช้ความเข้มข้นของสารสกัดกากผลมะนาวเป็น 1%

ภาพประกอบ 3 แสดงผลการทดความเป็นพิษต่อเซลล์ HaCaT ด้วยวิธี MTS assay

4.2 การพัฒนามาสก์จากสารสกัดกากผลมะนาว

การพัฒนามาสก์โดยการศึกษาความหนืดและพฤติกรรมการไหล การประเมิน drying time และการประเมินสมบัติเชิงกลของมาสก์ไม่ผสมสารสกัดกากผลมะนาวและมาสก์ที่ผสมสาร สกัดกากผลมะนาว ใช้ PVA เป็นสารก่อฟิล์มเดี่ยวเปรียบเทียบกับสูตรต ารับที่ผสม NaCMC พบว่า สูตรต ารับที่ใช้ PVA เป็นสารก่อฟิล์มเดี่ยวลักษณะภายนอกเป็นสารละลายข้นหนืดคล้ายเจลสีใส เมื่อแห้งสามารถลอกออกเป็นแผ่นได้ เมื่อเติม NaCMC ในต ารับมาสก์จะได้สารละลายข้นหนืด คล้ายเจลลักษณะขุ่นมากขึ้น เมื่อแห้งสามารถลอกออกเป็นแผ่นได้เช่นกัน

4.2.1 สมบัติของมาสก์

จากการศึกษาความหนืดและพฤติกรรมการไหลของเบสมาสก์พบว่าเมื่อเพิ่มความ เข้มข้นของ PVA ท าให้ความหนืดเพิ่มขึ้น (F1-F4) (ตาราง 7) เช่นเดียวกับงานวิจัยเกี่ยวกับมาสก์

ป้องกันสิวแบบลอกออกจากสารสกัดมัลเบอร์รี่ ซึ่งพบว่าความเข้มข้นของพอลิเมอร์ก่อเจลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนืดของมาสก์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการสร้างพันธะและยึดเกาะกันของของเหลวที่

มากขึ้นท าให้ความหนืดเพิ่ม(32)

0 20 40 60 80 100 120

Vi ab ilit y (% )

concentation (mg/mL)

29 การเพิ่ม NaCMC ลงในสูตรต ารับท าให้ความหนืดเพิ่มขึ้นอย่างมาก (F5-F8) เมื่อ เปรียบเทียบกับสูตรต ารับที่ใช้ PVA เดี่ยว โดยความหนืดจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของพอลิเมอร์

ที่มากขึ้น (ตาราง 7) การผสมกันของพอลิเมอร์สองชนิดส่งผลต่อความหนืดของมาสก์ และการ เพิ่มขึ้นของ NaCMC ที่เป็นสารเพิ่มความหนืดท าให้มาสก์มีความหนืดเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ งานวิจัยมาสก์หน้าจากกรีนเคลย์และว่านหางจระเข้ พบว่าหากเพิ่มเข้มข้นของ PVA และ Carbopol ทั้งคู่จะท าให้ความหนืดเพิ่มขึ้น และการเพิ่มความเข้นข้นของพอลิเมอร์หนึ่งชนิดใดก็ท า ให้ความหนืดของมาสก์เพิ่มขึ้นเช่นกัน(22) โดยความหนืดของพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นได้ด้วยการเพิ่มความ เข้มข้นและเพิ่มอุณหภูมิให้กับพอลิเมอร์(33)

ความหนืดของสูตรต ารับมาสก์ลดลงเมื่อผสมสารสกัดกากผลมะนาว (ตาราง 7 และ 8) การเติมสารสกัดท าให้ต ารับมาสก์มีความหนืดลดลง เนื่องจากสารสกัดกากผลมะนาวมีความ เป็นกรดสูงและมีสารกลุ่มฟีนอลิกที่มีหมู่ hydroxyl จ านวนมาก อาจเกิดอันตรกิริยาที่ acetyl group ท าให้การละลายหรือการพองตัวของ PVA ลดลง ส่งผลให้ความหนืดของมาสก์ลดลง(34) เช่นเดียวกับต ารับมาสก์หน้าที่ผสมสารสกัดบัวบกความเข้มข้น 5% w/w ที่พบว่าค่า pH และความ หนืดของมาสก์ผสมสารสกัดบัวบกลดลงเมื่อเทียบกับมาสก์พื้นฐาน เนื่องจากปริมาณของ แอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นจากสารสกัดและในสารสกัดบัวบกมีองค์ประกอบหลักสารจ าพวก triterpenoid ซึ่งมีหมู่ hydroxyl มาก รบกวนการเกิด hydrogen bond ของน ้าและไคโตซานหรือ PVA ท าให้การพองตัวของพอลิเมอร์ลดลง ความหนืดของมาสก์จึงลดลง(35)