• Tidak ada hasil yang ditemukan

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีขอ

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีขอ"

Copied!
173
0
0

Teks penuh

(1)

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

วิทยานิพนธ์

ของ เจริญชัย วันศรี

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา

กรกฎาคม 2565

ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(2)

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

วิทยานิพนธ์

ของ เจริญชัย วันศรี

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา

กรกฎาคม 2565

ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(3)

Development of Learning Management Model on Constructivist Theory with DLIT Media to Promote Problem-Solving Ability in Mathematics on Probability for

Mathayomsuksa 5 Students

Charoenchai Wansri

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of Requirements for Master of Science (Mathematics Education)

July 2022

Copyright of Mahasarakham University

(4)

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ได้พิจารณาวิทยานิพนธ์ของนายเจริญชัย วันศรี แล้ว เห็นสมควรรับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตรศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

(ผศ. ดร. ปิยะธิดา ปัญญา )

ประธานกรรมการ

(ผศ. ดร. มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล )

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

(รศ. ดร. นิภาพร ชุติมันต์ )

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

(รศ. ดร. ชวลิต บุญปก )

กรรมการ

(ผศ. ดร. มนชยา เจียงประดิษฐ์ )

กรรมการ

มหาวิทยาลัยอนุมัติให้รับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(ศ. ดร. ไพโรจน์ ประมวล )

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

(รศ. ดร. กริสน์ ชัยมูล ) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

(5)

บทคัดย่อ ภาษาไทย

ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย เจริญชัย วันศรี

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล รองศาสตราจารย์ ดร. นิภาพร ชุติมันต์

ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2565

บทคัดย่อ

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ สื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยการวิจัยในครั้งนี้

มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหา เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT กับเกณฑ์ร้อยละ 75 5) เพื่อศึกษาความคงทนในการจัดการเรียนรู้ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบึงมะลูวิทยา อ าเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะ เกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จ านวน 1 ห้องเรียน รวม 37 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 16 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบแบบ ปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rtt) เท่ากับ 0.702 3)

(6)

จ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น แบบอัตนัย จ านวน 4 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rtt) เท่ากับ 0.764 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่

ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน one sample t-test และ t-test (dependent sample) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

5 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 82.29/80.90

2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎี

ของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมความสามารถทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

เรื่อง ความน่าจะเป็น ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6166 แสดงว่าหลังจากจัด กิจกรรมการเรียนรู้แล้ว คิดเป็นร้อยละ 61.66

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติ

วิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติ

วิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีทักษะการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 5 หลังการจัดการเรียนรูตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริม ความสามารถทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังจากการท าแบบทดสอบหลังเรียน คะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 24.27 คะแนน จากนั้นเว้นระยะไป 14 วันแล้วท าการทดสอบ ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.95 คะแนน ซึ่งไม่แตกต่างกัน

ค าส าคัญ : ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, สื่อ DLIT, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน, ความคงทนในการเรียนรู้

(7)

บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ

TITLE Development of Learning Management Model on Constructivist Theory with DLIT Media to Promote Problem-Solving Ability in Mathematics on Probability for Mathayomsuksa 5 Students AUTHOR Charoenchai Wansri

ADVISORS Assistant Professor Maliwan Phattarachaleekul , Ph.D.

Associate Professor Nipaporn Chutiman , Ph.D.

DEGREE Master of Science MAJOR Mathematics Education UNIVERSITY Mahasarakham

University

YEAR 2022

ABSTRACT

Development of constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promotes the ability to solve mathematical problems in probability This research is objective. 1) To develop constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote mathematical problem solving skills on probability for Mathayomsuksa 5 Students effective according to the 75/75 criteria. 2) To determine the effectiveness index of learning activities during pre-school and post-study according to the concept of constructivist theory in conjunction with DLIT media that promotes mathematical problem solving skills on probability for Mathayomsuksa 5 Students. 3) To compare academic achievement based on constructivist theory with DLIT media that promotes mathematical problem solving skills, probability for Mathayomsuksa 5 Students with a 75 percent threshold. 4) To compare problem solving skills The probability of Mathayomsuksa 5 Students using constructivist theory learning management model in conjunction with DLIT media with a 75 percent threshold. 5) To study the permanence of learning management on probability for Mathayomsuksa 5 Students using constructivist theoretical learning management model in conjunction with DLIT media. The samples used in the research were 5th grade students at Bueng Malu Wittaya School, Kantralak District, Sisaket Province. , semester 2, 2021, 1 classroom, 37 students, obtained from cluster random sampling,

(8)

ช the tools used in this research include 1) Constructivist theory learning management plan in conjunction with DLIT media that promotes mathematical problem solving skills. Additional Mathematics Courses on Probability, for Mathayomsuksa 5 Students, 16 Plans 2) Academic Achievement Test Additional mathematics courses on probability in for Mathayomsuksa 5 Students are 30 four-choice , the confidence of the whole test (rtt) is 0.702 3),the mathematical problem solving skills test, subjective probability, 4 questions, the confidence value of the whole test (rtt) is 0.764, the statistics used in the analysis of the data include percentage, average, deviation of one sample t-test, and t-test (dependent sample).

The findings appear as follows:

1. Organizing constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote mathematical problem solving skills. The probability for Mathayomsuksa 5 Students an effective (E1/ E2) is 82.29/80.90.

2. Constructivist Theoretical Mathematical Learning Activity Effectiveness Index in conjunction with DLIT media that promotes the ability to solve mathematical problems, the probability for fifth graders is 0.6166, indicating that after organizing the learning activity, it is 61.66 percent.

3. Students who have been organizing constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote their ability to solve mathematical problems. Achievement in mathematics on probability was statistically significantly higher than the 75 percent threshold at .05.

4. Students who have been organizing constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote their ability to solve mathematical problems. Mathematical problem solving skills on probability are statistically significantly higher than the 75 percent threshold of .05.

5. Learning permanence about probability for Mathayomsuksa 5 Students after managing theoretical learning of constructivist in conjunction with DLIT

(9)

ซ media that promotes the ability to solve mathematical problems. After taking the post-study test The average score was 24.27 points, then spaced out for 14 days and tested, with an average score of 23.95, which did not differ

Keyword : Constructivist Theory, DLIT Media, Problem Solving Capabilities, Academic Achievement, Learning Permanence

(10)

กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงลงได้ด้วยความอนุเคราะห์และการให้ค าปรึกษา แนะน าอย่างดียิ่งจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก รองศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร ชุติมันต์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ ธิดา ปัญญา ประธานกรรมการสอบ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต บุญปก กรรมการสอบ และผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.มนชยา เจียงประดิษฐ์ กรรมการสอบ ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรพรรณ ธรรมมา ข้าราชการบ านาญ นายอัครเจตน์ สีหะ วงษ์ รองผู้อ านวยการช านาญการพิเศษ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ดร.พิชยาศิริ พิมพ์ทราย ครูช านาญ การพิเศษ โรงเรียนบึงมะลูวิทยา นางสาววัชรี บุญเลิศ ครูช านาญการพิเศษ โรงเรียนผาแดงวิทยา และ นางสาวสุกัญญา ดาศรี ครูโรงเรียนรัตนบุรี ผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย

ขอขอบพระคุณอาจารย์ประจ าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคามทุกท่าน ที่ได้อบรมสั่งสอนประสิทธิ์ประสาทวิชาในการศึกษา และให้ค าแนะน าในการศึกษา ค้นคว้าในครั้งนี้

ขอขอบคุณท่านผู้อ านวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนบึงมะลูวิทยา ที่

ให้ความช่วยเหลือ ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและคอยให้ก าลังใจด้วยดีเสมอมา

ขอขอบคุณบิดา มารดา พี่ เพื่อน น้อง ที่เป็นก าลังใจที่ยิ่งใหญ่ ที่ท าให้ผลงานชิ้นนี้ส าเร็จลุล่วง ไปได้ด้วยดี และขอขอบคุณทุกท่านที่ไม่สามารถกล่าวนามได้ทั้งหมด ที่มีส่วนช่วยเหลือในการ ท าการศึกษาเล่มนี้ส าเร็จลงได้ ผู้ศึกษาขอระลึกถึงและขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

สุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอขอบคุณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้ให้ทุนอุดหนุนการ วิจัยส าหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา งบประมาณรายได้คณะวิทยาศาสตร์ ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ.

2565

เจริญชัย วันศรี

(11)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ... ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ... ฉ กิตติกรรมประกาศ... ฌ สารบัญ ... ญ สารบัญตาราง ... ฐ สารบัญรูปภาพ ... ณ

บทที่ 1 ... 1

ภูมิหลัง ... 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ... 5

สมมติฐานของการวิจัย ... 6

ความส าคัญของการวิจัย ... 6

ขอบเขตของการวิจัย ... 6

กรอบแนวคิดของการวิจัย ... 8

นิยามศัพท์เฉพาะ ... 8

บทที่ 2 ... 12

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ... 12

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ... 19

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ ... 28

สื่อ DLIT ... 38

ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ... 40

(12)

ทักษะการแก้ปัญหาของโพลยา ... 46

ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ... 47

ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ... 48

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ... 50

ความคงทนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ... 51

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ... 56

บทที่ 3 ... 60

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ... 60

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ... 61

วิธีด าเนินการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ... 61

แบบแผนที่ใช้ในการวิจัย ... 70

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ... 70

วิธีด าเนินการวิจัย ... 70

การจัดกระท าและการวิเคราะห์ข้อมูล... 71

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ... 72

บทที่ 4 ... 78

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 78

ล าดับขั้นตอนในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 78

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 79

บทที่ 5 ... 86

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ... 86

สรุปผล ... 87

อภิปรายผล ... 87

ข้อเสนอแนะ ... 90

(13)

บรรณานุกรม ... 91

ภาคผนวก... 97

ภาคผนวก ก ... 98

ภาคผนวก ข ... 116

ภาคผนวก ค ... 122

ภาคผนวก ง ... 131

ภาคผนวก จ ... 141

ภาคผนวก ฉ ... 144

ภาคผนวก ช ... 149

ประวัติผู้เขียน ... 156

(14)

สารบัญตาราง

หน้า

ตารางที่ 1 แสดงสาระจ านวนและพีชคณิตในมาตรฐาน ค1.1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5... 24

ตารางที่ 2 แสดงสาระจ านวนและพีชคณิตในมาตรฐาน ค1.2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5... 24

ตารางที่ 3 แสดงสาระจ านวนและพีชคณิตในมาตรฐาน ค1.3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5... 25

ตารางที่ 4 แสดงสาระจ านวนและพีชคณิต ข้อที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 25

ตารางที่ 5 แสดงสาระจ านวนและพีชคณิต ข้อที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 26

ตารางที่ 6 แสดงสาระจ านวนและพีชคณิต ข้อที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 26

ตารางที่ 7 แสดงสาระการวัดและเรขาคณิต ข้อที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 27

ตารางที่ 8 แสดงสาระสถิติและความน่าจะเป็น ข้อที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 27

ตารางที่ 9 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อเรื่อง สาระส าคัญ ตัวชี้วัด และจ านวนชั่วโมงที่ใช้สอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ความน่าจะเป็น ... 62

ตารางที่ 10 แสดงจ านวนข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งหมดและที่ต้องการ เรื่อง ความน่าจะ เป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 66

ตารางที่ 11 แสดงจ านวนข้อสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดและที่ ต้องการ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 68

ตารางที่ 12 แบบแผนการวิจัยแบบมีกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest – Posttest design)... 70

ตารางที่ 13 ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 79

ตารางที่ 14 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ... 82

(15)

ฑ ตารางที่ 15 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ( 22.5 คะแนน) ... 83 ตารางที่ 16 เปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ( 24 คะแนน) ... 84 ตารางที่ 17 แสดงผลวิเคราะห์ความคงทนในการจัดการเรียนรู้ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT84 ตารางที่ 18 ตารางภาคผนวก ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ... 132 ตารางที่ 19 ตารางภาคผนวก ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ... 133 ตารางที่ 20 ตารางภาคผนวก ค่าความยาก (P) ค่าอ านาจจ าแนก (B) และผลการพิจารณาข้อสอบของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ... 136 ตารางที่ 21 ตารางภาคผนวก ค่าความยาก (P) อ านาจจ าแนก (B) และความความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ... 138 ตารางที่ 22 ตารางภาคผนวก ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC) ของแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ... 139 ตารางที่ 23 ตารางภาคผนวก ค่าความยาก (P) ค่าอ านาจจ าแนก (B) และผลการพิจารณาข้อสอบของ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น... 139 ตารางที่ 24 ตารางภาคผนวก ค่าความยาก (P) อ านาจจ าแนก (B) และความความเชื่อมั่นทั้งฉบับของ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น... 140 ตารางที่ 25 ตารางภาคผนวก ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอน สตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ด้วยสถิติ one sample t-test ... 142 ตารางที่ 26 ตารางภาคผนวก ผลการเปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความ น่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอน สตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ( 24 คะแนน) ด้วยสถิติ one sample t-test . 142

(16)

ฒ ตารางที่ 27 ตารางภาคผนวก ผลวิเคราะห์ความคงทนในการจัดการเรียนรู้ เรื่องความน่าจะเป็น ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ สื่อ DLIT ด้วยสถิติ t-test (dependent sample) ... 143 ตารางที่ 28 คะแนนจากแผนจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ... 145

(17)

สารบัญรูปภาพ

หน้า ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดของการวิจัย ... 8 ภาพที่ 2 ทฤษฎีความจ าสองประการ ... 53

(18)

บทที่ 1 บทน า

ภูมิหลัง

การศึกษาเป็นเครื่องมือส าคัญในการสร้างคน สร้างสังคมและสร้างชาติ เป็นกลไกหลักในการ พัฒนาก าลังคนให้มีคุณภาพ สามารถด ารงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขใน กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการศึกษามีบทบาทส าคัญใน การสร้างความได้เปรียบของประเทศเพื่อการแข่งขันและยืนหยัดในเวทีโลกภายใต้ระบบเศรษฐกิจและ สังคมที่เป็นพลวัต ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงให้ความส าคัญและทุ่มเทกับการพัฒนาการศึกษา เพื่อ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตนให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ ภูมิภาคและของโลก (ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเตรียมคนในสังคมไทยให้มี

ทักษะในการด ารงชีวิตส าหรับโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยทักษะชีวิตและการท างาน ทักษะ การเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี โดยพัฒนาเด็กในวัยเรียน และวัยรุ่นให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการท างานและ การใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงานผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

จริงและสอดคล้องกับพัฒนาการของสมองในแต่ละช่วงวัย เน้นพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านศิลปะ ด้าน ภาษาต่างประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์

(ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560)

คณิตศาสตร์มีบทบาทส าคัญยิ่งต่อความส าเร็จในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจาก คณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถ วิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถน าไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิท ธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ อัน เป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้

ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจ าเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็วในยุคโกลาภิวัฒน์ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560) การส่งเสริมให้

ผู้เรียนมีทักษะที่จ าเป็นส าหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นส าคัญ นั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้มี

(19)

2 ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การใช้

เทคโนโลยี การสื่อสารและการร่วมมือ

เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีปัญหาหลายด้าน อาจจะเป็นปัญหา เกี่ยวกับตัวนักเรียนที่ยังไม่มีความใฝ่รู้ในวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างน้อย เพราะการจัดการเรียนการสอน จะค่อนข้างเน้นเนื้อหา เน้นหลักการและทฤษฎี และการสอนของครูส่วนมากเน้นการบรรยายเป็นส่วน ใหญ่ เป็นวิธีการสอนที่สะดวกและรวดเร็ว โดยอาจสืบเนื่องมาจากโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมอื่นเข้า มาร่วมด้วย ท าให้เวลาเรียนไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ส่งผลท าให้นักเรียนไม่เข้าใจ และ เบื่อหน่ายกับการเรียน และเป็นสาเหตุที่ท าให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ า นอกจากนี้อาจเกิดจากนักเรียนส่วนมากไม่ชอบคณิตศาสตร์โดยมีความคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่

ยาก มีกฎระเบียบที่ต้องท่องจ ามากมาย และเป็นวิชาที่ต้องท าแบบฝึกหัดมาก นักเรียนจึงมีความรู้สึก ไม่ชอบ ท้อแท้ และขาดความมั่นใจในการเรียนการสอน และหากได้รับประสบการณ์ในการเรียน เบื้องต้นที่น่าเบื่อแล้ว ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ก็เป็นไปในทางลบมากยิ่งขึ้น เมื่อ พิจารณาด้านการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนแล้ว ก็ยังพบว่า ผู้เรียนยังขาดทักษะในการ แก้ปัญหาโดยผู้เรียนยังไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จากการท า แบบทดสอบระหว่างเรียน ระหว่างภาคเรียน ปลายภาคเรียน ในส่วนของข้อสอบที่เป็นการแก้ปัญหา ผู้เรียนท าคะแนนได้น้อย ส่วนใหญ่ท าไม่ได้เลย โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ที่เป็นแบบท่องจ าเป็นการ จัดการเรียนรู้ที่แบบไม่คงทน ซึ่งต่างจากการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ในบางครั้ง ผู้เรียนขากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่มีอยู่เดิมกับความรู้ใหม่ที่จะเรียนท าให้ผู้เรียนความ คงทนในการจัดการเรียนรู้ และเช่นเดียวกันเมื่อศึกษาข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบึงมะลูวิทยา พบว่าคะแนนสอบรายวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยระดับเทศ 26.04 ซึ่งจ าแนกตามสาระได้ดังนี้

สาระจ านวนและพีชคณิตมีคะแนนเฉลี่ย 26.17 สาระบูรณาการมีคะแนนเฉลี่ย 33.81 สาระสถิติและ ความน่าจะเป็นมีคะแนนเฉลี่ย 25.44 ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ของนักเรียนโรงเรียนบึงมะลู

วิทยา พบว่า คะแนนสอบรายวิชาคณิตศาสตร์ สาระสถิติและความน่าจะเป็นมีคะแนนเฉลี่ย 19.54 (งานวัดผลและประเมินผล, 2563) ซึ่งต่ ากว่าคะแนนเฉลี่ยในสาระสถิติและความน่าจะเป็นมีคะแนน เฉลี่ยระดับประเทศ จากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบึงมะลูวิทยา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ยังไม่ประสบผลส าเร็จเท่าที่ควร ซึ่งสะท้อน

(20)

3 ให้เห็นถึงปัญหาการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนจ าเป็นต้อง ปรับเปลี่ยน เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมี

ทักษะพื้นฐานที่เพียงพอในการน าไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ

กระบวนการการจัดการเรียนรู้ ควรเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการ เรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะน าพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่

จ าเป็นส าหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการ คิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือท าจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางใน การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝน พัฒนาเพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้

ดี บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี

ของคอนตรัคติวิสต์ เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อีกแนวทางหนึ่งที่เน้นผู้เรียน เป็นส าคัญ ท าให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพของตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา สร้างองค์ความรู้

ได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความส าเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ มีกิจกรรมหลากหลาย ตอบสนองตามแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมความสามารถในแต่ละด้าน ได้มีผู้วิจัยให้ความสนใจ ศึกษาว่าการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ (พัชรี เรืองสวัสดิ์, 2562) ทฤษฎีทฤษฎีของคอนสตรีคติวิสต์ให้ความส าคัญในประสบการณ์และกระบวนการของ รายบุคคลในการได้มาซึ่งความรู้ทางคณิตศาสตร์ส่งเสริมให้นักเรียนได้ท ากิจกรรมไตร่ตรองเพื่อ ตรวจสอบความเป็นไปได้ของทางเลือกที่แตกต่างกัน อันเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้

คณิตศาสตร์ในวิถีทางและบริบทที่นักเรียนสามารถถ่ายโยงประสบการส่วนตัวทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่

เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์โดยตรงมาท าให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้ง กระบวนการสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ในลักษณะนี้ จะสนองความต้องการระหว่างบุคคล และ ส่งผลให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้และถ่ายโยงความรู้ต่างๆ ได้อย่างไม่จ ากัดวิชา

การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์จึงมีความส าคัญต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์

มาก และช่วยท าให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์มีความหมาย เนื่องจากความรู้ทางคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่มี

ลักษณะเป็นนามธรรม และใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายซับซ้อนต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการน าความรู้ทางคณิตศาสตร์ ไปใช้งานหรือแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้เรียนเห็น คุณค่าและประโยชน์ของความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยทั่วไปในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

(21)

4 ผู้สอนจึงต้องส่งเสริมและพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนไปพร้อม กับการเรียนรู้เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์ ด้วยการให้ผู้เรียนได้ลงมือท ากิจกรรม หรือตั้งค าถามที่

กระตุ้นให้นักเรียนคิด อธิบาย และให้เหตุผล โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ในการอธิบายเกี่ยวกับ สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจ าวัน การกระตุ้นให้นักเรียนใช้ความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ใน การสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย หรือให้นักเรียนหาวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างจากคนอื่น จึงส่งผล ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ ขั้นตอน หรือกระบวนการทางคณิตศาสตร์ กลวิธีและ ยุทธวิธีแก้ปัญหา ประสบการณ์ที่มีอยู่ไปใช้ในการแก้ปัญหา และความคงทนของผู้เรียนในการจัดการ เรียนรู้ ซึ่งปัญหาทางคณิตศาสตร์มักเป็นปัญหาที่ผู้เรียนไม่คุ้นเคยมาก่อน และต้องใช้การคิดที่

หลากหลาย เพื่อหาแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การแก้ปัญหาเป็น กระบวนการที่จะท าให้ผู้เรียนมีทักษะในการน าความรู้คณิตศาสตร์ไปใช้งานจริง ผู้สอนจึงควรส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนา ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้จากการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จะช่วยให้ผู้เรียนมีแนวทางในการคิดที่หลากหลาย มีนิสัยกระตือรือร้นและ มีความมั่นใจ ในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ตลอดจนเป็นทักษะพื้นฐาน ที่ผู้เรียนสามารถน าไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆ ในชีวิตประจ าวันได้ตลอดชีวิต (สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555) คุณลักษณะของสื่อ ก็เป็นสิ่งส าคัญที่จะช่วยตอบสนองต่อการ จัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ การแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ ความคงทนในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีความส าคัญในการกระตุ้นความ สนใจของผู้เรียนส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจต่อสื่อท าให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้

อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (หงส์สุนีย์ เอื้อรัตนรักษา, 2556) การน าเอาเทคโนโลยีการสื่อสารมา เสริมสร้าง ความเข้มแข็งหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาโดยการจัด การศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ถือเป็นเครื่องมือส าคัญที่ส่งเสริมให้มีการใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงบูรณาการทั้งด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษาสามารถน าโปรแกรมประยุกต์มาใช้ในการติดต่อสื่อสาร ผลิตเอกสาร การสร้างไฟล์

น าเสนอ การสร้างและสืบค้นวิดีโออื่น ๆ ที่สามารถน ามาประยุกต์ใช้ได้สอดคล้องกับภาระงานและ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการสร้างความรู้

จากการลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเข้าถึง เนื้อหาและสื่อที่จ าเป็นในการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นการ ลดความเหลื่อมล้ าทางการศึกษา ลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับ ประชาชนชาวไทยทุกคน (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559) การน าสื่อบน

(22)

5 เครือข่ายมาผนวกกับวิธีการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยการจัด สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่น าเสนอได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟฟิก ตัวอักษร เสียงช่วยให้ผู้เรียน ได้เข้าใจมากขึ้น การน าสื่อ DLIT มาช่วยในการจัดการเรียนรู้ที่ได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟฟิก ตัวอักษร เสียง เป็นการส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และสร้างความคงทนในการจัดการ เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสนใจที่จะพัฒนากิจกรรมการ เรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมความสามารถทักษะในการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อปรับปรุง การจัดรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ที่ก าหนดให้สถานศึกษาต้องจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ซึ่งสอดคล้องกับการ จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ที่ เรื่อง ความน่าจะเป็น ดังนั้นผู้วิจัยได้วิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงาน งานวิจัย และ ทฤษฎีต่างๆ ดังกล่าวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและเป็นประโยชน์สูงสุดในการ จัดรูปแบบการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในต่อ ๆ ไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริม ทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มี

ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75

2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ตามแนวคิด ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความ น่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

5 กับเกณฑ์ร้อยละ 75

4. เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหา เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT กับเกณฑ์ร้อย ละ 75

Referensi

Dokumen terkait

1) The respondents' abilities in physics problem solving skills, based on the results of the analysis, show that students' problem-solving skills were categorized in the

To determine the effect of using biology module based on Cooperative Problem-based Learning to improve students’ problem solving skills, the students' problem solving skill test scores