• Tidak ada hasil yang ditemukan

การศึกษาความเป็นไปได้ของการลดจำนวนพนักงานทำความสะอาดแบบประจำวัน

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "การศึกษาความเป็นไปได้ของการลดจำนวนพนักงานทำความสะอาดแบบประจำวัน"

Copied!
95
0
0

Teks penuh

(1)

สําหรับการทําความสะอาดแบบประจําวัน กรณีศึกษา : อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท

THE STUDY OF POSSIBILITY OF REDUCING THE NUMBER OF CLEANING STAFF FOR DAILY CLEANING

CASE STUDY: PATUMWAN RESORT JURISTIC PERSON

บัญชา กองปรีชาสกุล

BUNCHA KONGPRECHASAKUL

การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร

คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม

พ.ศ. 2553

(2)

CLEANING STAFF FOR DAILY CLEANING

CASE STUDY: PATUMWAN RESORT JURISTIC PERSON

BUNCHA KONGPRECHASAKUL

AN INDEPENDENT STUDY SUBMITIED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR MASTER

OF SCIENCE PROGRAM IN FACILITY MANAGEMENT FACULTY OF ARCHITECTURE SRIPATUM UNIVERSITY

2010

 

(3)

การทําความสะอาดแบบประจําวัน กรณีศึกษา : อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท THE STUDY OF POSSIBILITY OF REDUCING THE NUMBER OF CLEANING STAFF FOR DAILY CLEANING

CASE STUDY: PATUMWAN RESORT JURISTIC PERSON นักศึกษา นายบัญชา กองปรีชาสกุล รหัส ประจําตัว 52801166

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร คณะ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม

อาจารยที่ปรึกษา อาจารยนันทนา อุตมเพทาย

คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม อนุมัติใหนับการคนควาอิสระฉบับนี้เปน สวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต

……… คณบดีคณะสถาปตยกรรมศาสตร

(พลเอกเสรี พุกกะมาน)

วันที่………….เดือน……….พ.ศ……….

คณะกรรมการสอบ

ผูชวยศาสตราจารย ดร.สมบูรณ เวสน กรรมการ ผูชวยศาสตราจารย ดร.อรรจน เศรษฐบุตร กรรมการ อาจารยนันทนา อุตมเพทาย กรรมการ

(4)

 

หัวขอเรื่อง การศึกษาความเปนไปไดของการลดจํานวนพนักงานทําความ สะอาดสําหรับการทําความสะอาดแบบประจําวัน กรณีศึกษา : อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท

THE STUDY OF POSSIBILITY OF REDUCING THE NUMBER OF CLEANING STAFF FOR DAILY CLEANING CASE STUDY: PATUMWAN RESORT JURISTIC PERSON ชื่อนักศึกษา นายบัญชา กองปรีชาสกุล

อาจารยที่ปรึกษา อาจารยนันทนา อุตมเพทาย

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร

คณะ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม

พ.ศ. 2553

บทคัดยอ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อ ศึกษาลักษณะ รวมถึงประเมินเวลาในการทําความสะอาด แบบประจําวันของ อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท ทั้งนี้เพื่อนําเสนอวิธีและขั้นตอนการทํางานเพื่อใชใน การลดจํานวนพนักงานทําความสะอาดใหแกฝายบริหารอาคารชุด ปทุมวัน รีสอรท เนื่องจากฝาย อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท มีความตองการที่จะประหยัดคาใชจายในสวนของการบริการทําความ สะอาด ทั้งนี้เพื่อนําเงินที่สามารถประหยัดไดไปใชประโยชนในการซอมบํารุงอาคารชุดในสวนอื่นที่

สามารถเพิ่มมูลคาใหแกอาคารได

การศึกษาครั้งนี้ใชวิธีการสอบถาม และการสังเกตการณการทํางานจริง จากพนักงานทํา ความสะอาดที่อาคารชุดดังกลาว รวมถึงการศึกษาลักษณะพื้น ขั้นตอนและกิจกรรมทําความ สะอาด เพื่อทําการวิเคราะห และประเมินเวลาที่ตองใชในการทําความสะอาดแบบประจําวัน โดย ใชหลักการการบริหารเวลา การวางแผนทรัพยากรมนุษย และการบริหารทรัพยากรอาคาร แลวจึง ทําการสรางตารางการปฎิบัติงาน โดยสัมพันธกับกิจกรรมทําความสะอาดที่ตองทําเปนประจําวัน ทุกวัน และพื้นที่สวนกลางเทาเดิม จึงสามารถสันนิฐานในเบื้องตนไดวาความสะอาดยังคงเดิม

(5)

 

จากผลการศึกษาพบวา อาคารชุดปทุมวัน รีสอรทนั้น ใชเวลาทําความสะอาดตอวัน 105.5 ชั่วโมง ซึ่งตองใชพนักงานทําความสะอาด 11.72 คน (พนักงานทําความสะอาดทํางาน 9 ชั่วโมงตอ วันตอคน) จึงสามารถสรุปไดวา อาคารชุดดังกลาว สามารถใชพนักงานทําความสะอาด 12 คน ก็

เพียงพอแลว

จากการศึกษาความเปนไปไดของการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาด แบบประจําวัน ซึ่งใชวิธีการวางแผนบริหารทรัพยากรอาคาร การบริหารเวลา และการบริหารทรัพยากรบุคคล มา สรางแนวทางในการจัดทําตารางการทํางานของพนักงานทําความสะอาด ของอาคารชุดปทุมวัน รี

สอรท นั้น ตารางการทํางานดังกลาว สามารถนําไปปรับใชกับอาคารชุดพักอาศัยอื่น ๆ ที่มีขนาด พื้นที่ ลักษณะพื้น และความตองการของกิจกรรมทําความสะอาดที่ใกลเคียงกันได อยางไรก็ตาม สําหรับการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาดของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท นั้น จะตองมีการ ติดตามประสิทธิภาพในการทําความสะอาด ตลอดจนความพึงพอใจของทั้งผูพักอาศัยภายใน อาคารหลังจากการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาดภายในระยะเวลา 1 เดือน

(6)

 

กิตติกรรมประกาศ

การคนควาอิสระหัวขอเรื่อง"การศึกษาความเปนไปไดของการลดจํานวนพนักงานทําความ สะอาด แบบประจําวัน กรณีศึกษ อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท"ฉบับนี้สําเร็จลุลวงไดดวยดีเพราะ ความเมตตาชวยเหลือและความอนุเคราะหอยางยิ่งจาก อาจารยนันทนา อุตมเพทาย อาจารยที่

ปรึกษาคนควาอิสระ ที่ไดกรุณาเสียสละเวลาใหความรูคําปรึกษาแนะนําตั้งแตเริ่มจัดหาหัวขอการ คนควาอิสระ ตรวจและแกไขขอบกพรองตาง ๆ ทําใหการคนควาอิสระ ฉบับนี้สมบูรณยิ่งขึ้น ผูวิจัยขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ขอบพระคุณ คณาจารยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร ทรัพยากรอาคาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ไดประสิทธประสาทวิชาความรูใหแกผูวิจัยมาตลอด ระยะเวลาที่ไดศึกษา รวมทั้งเพื่อนรวมชั้นเรียนรุนที่ 3 ทุกคน และที่สําคัญที่สุด ขอขอบพระคุณปา สมบัติ บุญทศ และขอขอบคุณคุณชุติมา ธาระเขตต ที่ชวยสงเสริมและใหการสนับสนุนเปน กําลังใจใหตลอดมา

ขอขอบคุณ ฝายบริหารอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท ทุกทานที่ไดกรุณาใหผูวิจัยนําขอมูล มา ทําการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งหวังวาประโยชนจากคนควาอิสระฉบับนี้คงเกิดแกอาคารชุดแหงนี้ เชนกัน

ทายนี้คุณประโยชนจากการศึกษาคนควาอิสระฉบับนี้ ขอมอบใหแกผูมีพระคุณตอผู

ศึกษาครั้งนี้ทุกทานที่ใหความชวยเหลือและใหกําลังใจเสมอมา

บัญชา กองปรีชาสกุล ผูจัดทํา

(7)

 

สารบัญ 

หนา  

บทคัดยอ I กิตติกรรมประกาศ III  สารบัญ IV 

สารบัญตาราง VI สารบัญรูปภาพ        VII 

บทที่ 1 บทนํา      1

  ความเปนมาและความสําคัญของการปญหา 1

วัตถุประสงคของการศึกษา 4  

สมมติฐานของการศึกษา 4  

คําถามของการศึกษา 4

กรอบแนวคิดของการศึกษา 4

ขอบเขตของการศึกษา 5

ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 5

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวของ 6

 

แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรอาคาร 6  

แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการบริหารเวลา 9

แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย 10

ขอมูลพื้นฐานอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 15

บทที่ 3 วิธีการดําเนินการศึกษา 20

 

ลักษณะ ชนิด และวิธีดูแลรักษาพื้นผิวตาง ๆ ของอาคารชุดพักอาศัย 20 ลักษณะและขั้นตอนการทํางานการทําความสะอาดโดยทั่วไป 23

ลักษณะและขั้นตอนการทํางานการทําความสะอาด

(8)

 

สารบัญ(ตอ)

หนา 

สําหรับการทําความสะอาดแบบประจําวันอาคารชุด ปทุมวัน รีสอรท 29 ความหมายของสีตามกิจกรรมทําความสะอาด 38

คําอธิบายสัญลักษณ 39

บทที่ 4 การวิเคราะหขอมูล 46

การประเมินเวลาในการทําความสะอาดแบบประจําวัน

ของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 46 การวิเคราะหการทําความสะอาดเพื่อการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาด

แบบประจําวันของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 48 ความหมายของสีตามกิจกรรมทําความสะอาด 59

คําอธิบายสัญลักษณ 60

บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา ประโยชน และขอเสนอแนะ 70

สรุปผลการศึกษาเพื่อประเมินเวลาในการทําความสะอาด

แบบประจําวันของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 70

นําเสนอวิธีและขั้นตอนการทํางานเพื่อใชในการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาด 71 ใหแกอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท

ความหมายของสีตามกิจกรรมทําความสะอาด 76

คําอธิบายสัญลักษณ 77

ประโยชนและขอเสนอแนะจากการศึกษาความเปนไปไดในการลดจํานวน 83 พนักงานทําความสะอาด สําหรับการทําความสะอาดประจําวัน

บรรณานุกรม ประวัติผูศึกษา

(9)

 

สารบัญตาราง

หนา

ตารางที่1: ตารางแสดงตําแหนงพื้นที่สวนกลาง ลักษณะพื้น พื้นที่โดยรวม

ของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 16

ตารางที่ 2: ตารางแสดงการปฎิบัติงานของพนักงานทําความสะอาด 14 คน

ของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 33 ตารางที่ 3: ตารางแสดงการประเมินเวลาการทําความสะอาดแบบประจําวัน

ของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 47

ตารางที่ 4: ตารางแสดงการวิเคราะหการทําความสะอาดแบบประจําวัน

ของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 48 ตารางที่ 5: ตารางแสดงการปฎิบัติงานของพนักงานทําความสะอาด 12 คน

ของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 71

(10)

 

สารบัญรูปภาพ

หนา

ภาพที่ 1: กรอบแนวความคิดของการศึกษาความเปนไปไดของการลดจํานวน  

พนักงานทําความสะอาด 4  ภาพที่ 2: ภาพแสดงความสัมพันธของการวางแผนบุคคลากรทํางานความสะอาด  

กับการบริหารทรัพยากรอาคาร                       9 

ภาพที่ 3: ภาพแสดงพื้นที่สวนกลางของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท 17

(11)

บทนํา

1.1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา

อาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครเปนจํานวนมากไดถูกสรางขึ้น เปนเวลานานมากกวาสิบปแลว เมื่ออาคารมีอายุมากขึ้น คาใชจายในการซอมบํารุงและการ ปรับปรุงพัฒนาอาคารถือเปนสิ่งจําเปนอยางยิ่งในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยนั้น ๆ ใหยังคง สภาพสวยงาม และมีความนาอยูดังเดิม ทั้งนี้เพื่อรักษาและเพิ่มมูลคาใหแกอาคารดังกลาว ดังนั้น คาใชจายในการซอมบํารุงอาคารจึงเพิ่มขึ้นอยางเห็นไดชัดและไมสามารถหลีกเหลี่ยงได

แหลงเงินทุนที่อาคารชุดพักอาศัยจะนํามาปรับปรุง ซอมแซมอาคารชุดพักอาศัยนั้น โดยทั่วไป มีอยูดวยกัน 2 แหลง คือ

1. คาใชจายสวนกลางที่เจาของหองชุดเปนผูจาย โดยปกติจะจายเปนรายเดือนหรือราย ไตรมาส

2. เงินกองทุน (Sinking Fund) ซึ่งมาจากการรวมมือรวมใจกันของเจาของรวมในอาคารชุด พักอาศัย

จะเห็นไดวา อาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมมีขอจํากัดเปนอยางมากในการไดมาซึ่ง เงินทุน ดังนั้นการประหยัดหรือการพยายามลดคาใชจายที่สามารถหลีกเหลี่ยงไดเปนสิ่งจําเปนใน ยุคปจจุบันเปนอยางมาก

ในแตละอาคารนั้น จะมีคาใชจายหลัก ๆ หรือที่ใชอยูเปนประจําดังตอไปนี้

1. คารักษาความปลอดภัย 2. คารักษาความสะอาด

(12)

3. คาบริการดูแลสวน

4. คาบริการฉีดและกําจัดแมลง 5. คาบริการดูแลบํารุงรักษาลิฟท

6. คาดูแลบํารุงรักษาตู MDB

7. คาดูแลบํารุงรักษาหมอแปลงไฟฟา 8. คาประกันภัยอาคาร

9. คาดูแลบํารุงรักษาระบบแอร และอื่นๆอีกมากมาย

อยางไรก็ตาม หากฝายบริหารอาคาร มีการบริหารฝายอาคารที่ดี มีประสิทธิภาพแลว จะ สามารถประหยัดคาใชจายบางอยางได (ซึ่งถือเปนคาใชจายที่สามารถหลีกเหลี่ยงได) อาทิ เชน

 คาบริการรักษาความสะอาด

 คาไฟฟา (สวนกลาง)

 คารักษาความปลอดภัย

 คาดูแลรักษาภูมิทัศน

 คาบํารุงรักษาตู MDB

คาบริการทําความสะอาด ซึ่งเปนหนึ่งในคาใชจายที่ตองเกิดขึ้นเปนประจําตั้งแตเริ่ม โครงการ ถึงแมจะเปนคาใชจายที่ไมสูงมากนักเมื่อเทียบกับคาใชจายอื่น ๆ แตคาใชจายในการ บริการทําความสะอาดเปนคาใชจายที่ตองจายเปนประจําทุกเดือน และหากมีการบริหารจัดการ การทําความสะอาด การวางแผนดานทรัพยากรบุคคลที่ดี คาบริการทําความสะอาด จะเปนหนึ่งใน คาใชจายที่สามารถประหยัดได

(13)

การศึกษาครั้งนี้ เปนการศึกษาความเปนไปไดของการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาด ของ อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท ซึ่งเปนอาคารสูง ขนาด 38 ชั้น โดยอาคารชุดปทุมวัน รีสอรทใชบริ

การทําความสะอาดจากบริษัทรักษาความสะอาดแหงหนึ่ง ซึ่งวางแผนในการใชทรัพยากรบุคคลทํา ความสะอาด จํานวน 14 คน ปจจุบันมีคาบริการรักษาความสะอาด 166, 000 บาทตอเดือน ประกอบดวย

หัวหนาพนักงานทําความสะอาด 16, 500 บาท/คน/เดือน ใชบริการ 1 คน คิดเปน 16, 500 บาท พนักงานทําความสะอาด 11, 500 บาท/คน/เดือน ใชบริการ 13 คน คิดเปน 149, 500 บาท รวมคาบริการทําความสะอาดตอเดือน 166, 000 บาท

ลักษณะงานทําความสะอาดประจําวัน ใชเวลาทํางาน 9 ชั่วโมงตอวันตอคน จึงมีเวลาใน การทําความสะอาดอาคารทั้งหมด 126 ชั่วโมงตอ 14 คน ตอวัน พื้นที่สวนกลางที่ตองทําความ สะอาด ประกอบดวย พื้นที่ทางเดินสวนกลางในอาคารชุดประมาณ 38,899 ตารางเมตร รวมถึง พื้นที่ลานจอดรถ 8 ชั้น สระวายน้ํา 1 สระ, หองออกกําลังกาย 1 หอง, หองเซาวนา 1 หอง, หองเด็ก เลน 1 หอง, หองสควอช 1 หอง, สวนหยอม, ล็อปบี้ การนําขยะจากแตละชั้น ลงมาทิ้งที่สวน ทําลายขยะ จํานวน 38 ชั้น การลางทําความสะอาดถังขยะ จํานวน 60 ใบ การทําความสะอาด หองน้ําสวนกลาง

ทางฝายบริหารอาคารมีความตองการจะลดจํานวนพนักงานทําความสะอาดลง จาก ปจจุบัน 14 คน ใหเหลือ 12 คน ทั้งนี้ เพื่อประหยัดคาใชจายตอเดือนไดประมาณ 23, 000 บาทตอ เดือน หรือ 276, 000 บาทตอป ดังนั้นผูศึกษาจะนําความตองการของฝายบริหารอาคารดังกลาวมา ทําการศึกษาถึงความเปนไปไดในการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาดลง ทั้งนี้เพื่อตอบสนอง ความตองการของฝายบริหารอาคารตอไป

(14)

1.2 วัตถุประสงคของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาลักษณะ รวมถึงประเมินเวลาในการทําความสะอาดแบบประจําวันของ อาคาร ชุดปทุมวัน รีสอรท

2. เพื่อนําเสนอวิธีและขั้นตอนการทํางานเพื่อใชในการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาด ใหแกฝายบริหารอาคารชุด ปทุมวัน รีสอรท และสามารถนําไปปฏิบัติไดจริง

1.3 สมมติฐานการศึกษา

การบริหารเวลา การวางแผนทางดานทรัพยากรมนุษย และการจัดเตรียมตารางทํางาน รักษาความสะอาดอยางชัดเจน ใหแกพนักงานทําความสะอาด จะชวยลดจํานวนพนักงานทําความ สะอาดใหแกฝายบริหารอาคาร ปทุมวัน รีสอรท ได

1.4 คําถามของการศึกษา

ความเปนไปไดของการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาดของ ฝายบริหารอาคารชุด ปทุมวัน รีสอรท จากปจจุบัน ใชพนักงานทําความสะอาด 14 คน และลดลงใหเหลือ 12 คน สามารถทําไดอยางไร

1.5 กรอบแนวคิดของการศึกษา

 

การบริหารเวลา

การบริหารทรัพยากรอาคาร ดานกระบวนการการทํางาน

การวางแผนทรัพ ยากรมนุษย

การวางแผนบุคคลากรทํา ความสะอาดภายในอาคาร

พักอาศัย

ภาพที่ 1 ภาพแสดงกรอบแนวคิดของการศึกษาความเปนไปไดของการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาด

(15)

1.6 ขอบเขตของการศึกษา

1. การศึกษาจะศึกษาเฉพาะการวางแผน และการสรางตารางทํางานของพนักงานทําความ สะอาดสําหรับการทําความสะอาดแบบประจําวัน โดยใชอาคารชุด ปทุมวัน รีสอรท เปน กรณีศึกษา เทานั้น

2. การศึกษาจะศึกษาเฉพาะความเปนไปไดของการลดจํานวนพนักงานทําความสะอาด สําหรับการทําความสะอาดแบบประจําวัน โดยใชอาคารชุด ปทุมวัน รีสอรท เปน กรณีศึกษา เทานั้น

1.7 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ

ชวยในการวางแผน และสรางตารางทํางานของพนักงานทําความสะอาดสําหรับ การทําความสะอาดแบบประจําวัน ของฝายอาคารชุด ปทุมวัน รีสอรท เพื่อการลดจํานวน พนักงานทําความสะอาด สงผลในการประหยัดตนทุนดานการบริการรักษาความสะอาด ได ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว

(16)

แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวของ

ในบทนี้ จะกลาวถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรอาคาร แนวคิดทฤษฎี

เกี่ยวกับการบริหารเวลา แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย และขอมูลพื้นฐาน ของอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท ซึ่งประกอบดวย

1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรอาคาร 2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารเวลา

3. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย

4. ขอมูลพื้นฐานอาคารชุดปทุมวัน รีสอรท มีรายละเอียดตอไปนี้

2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรอาคาร

2.1.1 ความหมายของการบริหารทรัพยากรอาคาร

Facilities Management แปลเปนไทยวา "การบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ" (จากคํา นิยามของอาจารยเสริชย โชติพานิช แหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) ซึ่งไดใหคํานิยามไววา "การบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ เพื่อใหสนองประโยชนสุขของเจาของทรัพยากรนั้น ๆ"

โดยสามารถขยายความได ดังนี้

ทรัพยากรกายภาพ

ความหมายงาย ๆ ที่เห็นชัดที่สุดคือ อาคาร และพื้นที่ในอาคาร บางสวนเปนที่ดิน บางสวนเปน

(17)

สวนประกอบของอาคาร เชน เครื่องกลตาง ๆ ที่ใชในอาคาร เฟอรนิเจอร ประตู หนาตาง กอกน้ํา โถ สวม ฯลฯ

ประโยชนสุข

ถาตามนิยามของตํารา การจัดการแบบตะวันตก ก็อาจเรียกเปน "ประโยชนสูงสุด"

หากแตเมื่อพวงกลิ่นแนวคิดทางตะวันออกไวดวยแลว ประโยชนสูงสุด แตเปนทุกข ก็ไมเรียกเปน ประโยชน ผูศึกษาจึงขอใชคําวา "ประโยชนสุข"

เจาของทรัพยากร

ในความหมายเบื้องตน จะหมายถึง ผูใชอาคาร เจาของอาคาร สวนในความหมายที่ลึกซึ้ง จะหมายถึง สังคมรอบขาง เพื่อนบาน หรือใหลึกและกวางยิ่งกวานั้นคําวา "เจาของทรัพยากร" อาจ หมายความวา ประชากรของประเทศ หรือ อาจเปนเพื่อนรวมโลกเลยก็ได

สําหรับความหมายอยางเปนทางการของ Facility Management (FM) หรือ การบริหาร ทรัพยากรกายภาพ ในภาษาไทย หมายถึง กระบวนการทํางาน บริหารจัดการ กํากับการใชและ ดูแลซอมบํารุงอาคารและทรัพยากรกายภาพ ไดแก สิ่งกอสราง อุปกรณอาคาร อุปกรณสํานักงาน สถานที่และสภาพแวดลอม ใหมีความพรอมและตอบสนองการใชงาน เอื้อใหเกิดประโยชนสูงสุด ตอผูใชและเจาของอาคาร โดยกําหนดใหกิจกรรมและเปาหมายขององคกรเปนศูนยกลาง อาคาร เปนเครื่องมือสนับสนุนองคกรในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในทางปฏิบัติถือเปนการบูร ณาการการปฏิบัติงานดานอาคารสถานที่ทั้งเชิงปฏิบัติการและบริหารจัดการทั้งหมดเขาดวยกัน โดยประยุกตหลักวิชาการบริหารจัดการสมัยใหม การทํางานเนนในเรื่องการบริหารจัดการ ทรัพยากรที่เปนกายภาพและงานปฏิบัติการที่เกี่ยวของ ครอบคลุมตั้งแตเมื่ออาคารเริ่มใชงานไป จนถึงสิ้นสุดความตองการที่จะใชงานอาคารตอไป

2.1.2 แนวคิดในการบริหารทรัพยากรกายภาพ

Facility Management มุงเนนใหการใหบริการตอผูคนในอาคาร (People) การทํางาน (Process) และอาคารสถานที่ (Place) ใหสามารถทํางานกันไดอยางสอดคลอง เพื่อบรรลุผลสําเร็จ ขององคกรตามที่มุงหมายไว

(18)

ปฏิสัมพันธของคน งาน และอาคาร

การใชอาคารและความตองการในอาคารสมัยใหม สามารถอธิบายไดโดยอาศัย ความสัมพันธของ 3 องคประกอบสําคัญ คือ คน งาน และ อาคาร

- คน (People) หมายถึง ผูใชอาคาร ไดแก พนักงาน ผูมาติดตอธุรกิจ ผูรับรอง ชาวบานขางเคียง ใหความพึงพอใจในการมาใชสถานที่นั้น ๆ และ เกิดผลการทํางานที่มีคุณค มีประสิทธิภาพของ องคการ เพื่อความเจริญเติบโตมั่นคงในชีวิตการทํางานของตน

- การทํางาน (Process) หมายถึง กิจกรรม ธุรกิจ หรือธุรกรรม ที่เกิดขึ้นภายในอาคารนั้น ตองการ ใชอาคารปฏิบัติงานทั้งในเวลาและนอกเวลาทํางานปกติ เพื่อใหไดผลตามที่กําหนดไวอยางถูกตอง นอกจากนี้ยังมีงานที่เกี่ยวกับกิจกรรมพิเศษ และเกี่ยวของกับชุมชน ตลอดจนกิจกรรมของภาครัฐ และเอกชน

- อาคาร (Place) หมายถึง อาคาร พื้นที่ทํางาน สถานที่และบริเวณสิ่งแวดลอม แลเเครื่องใช

สํานักงาน ซึ่งตองมีบรรยากาศสดใส นาทํางาน สะอาด มีแสงและอุณหภูมิที่พอเหมาะ การใชงาน ภายในอาคารมีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย มีการบริการที่ดี และมี

คุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้ อาคารตองสงเสริมใหเกิดการปฏิบัติที่มีตนทุนในการบริหารงานที่ต่ําที่สุด อีกดวย

2.1.3 ความสัมพันธของการวางแผนบุคคลากรทํางานความสะอาดกับการบริหารทรัพยากรอาคาร การทําความสะอาดภายในอาคารพักอาศัย เปนหนึ่งในกระบวนการทํางาน (Process) ของ การบริหารทรัพยากรอาคารที่จัดวามีความสําคัญไมนอยกวากระบวนการงาน (Process) ดานอื่น ๆ เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดเปนกิจกรรมการทํางานที่ตองเกิดขึ้นทุกวันเปนประจํา และ เปนสื่อสําคัญที่กอใหเกิดสภาพอาคารพักอาศัย (Place) ที่นาอยู มีความสะอาดตา เกิดความ ความรูสึกสบายตา สบายใจ สําหรับผูพักอาศัย (People) ตลอดจน พนักงานและบุคคลภายนอกที่

ไดมาพบเห็น

(19)

คน (People)

การทํางาน (Process)

อาคาร (Place) การบริหาร

ทรัพยากรอาคาร

การวางแผนบุคคลากรทํางานความ สะอาดภายในอาคารพักอาศัย

ภาพที่ 2 ภาพแสดงความสัมพันธของการวางแผนบุคคลากรทํางานความสะอาดกับการบริหาร ทรัพยากรอาคาร

2.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารเวลา

2.2.1 ความหมายของการบริหารเวลา

ปรัชญาการบริหารเวลา (Albert Stackmore อางถึงในชาญชัย อาจินสมาจาร, 2535)

"ทํางานใหฉลาดขึ้น ไมใชใหหนักขึ้น"

“เวลามีคายิ่งกวาทอง ทองใชวาจะซื้อเวลาได" เวลาเปนทรัพยากรที่มีคาของทุกคน ยิ่งคน ที่รูคุณคาของเวลามากเทาใด ยอมสามารถเก็บเกี่ยวคุณประโยชนจากการใชเวลาใหมีคุณคา ไดมากเพียงนั้น” (ผศ.จุฬาภรณ โสตะ)

การบริหารเวลา เปนการจัดการสิ่งตางๆ ในเวลาที่มีอยู ใหสําเร็จลุลวงไปไดดวยดี แตใช

เวลานอยที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด (จุฬาภรณ โสตะ และอมรรัตน ภูกาบขาว ,2543.) การบริหารเวลา คือ การรูจักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทํางานอยางถูกตองและ เหมาะสม และไมจําเปนวาจะตองเปนนักบริหารเทานั้นที่จะสามารถบริหารเวลาและการ

ทํางาน ทุกคนก็สามารถทําไดเพียงแตรูจักที่จะแบงเวลาและจัดสรรเวลาของตนเองใหถูกตองและ เหมาะสมตามวันเวลาที่กําหนด

(20)

2.2.2 แนวคิดทฤษฎีของการบริหารเวลา ขั้นตอนการวางแผนเวลา

- กําหนดแผนการทํางาน

- การจัดลําดับความสําคัญของงาน - ตรวจสอบแผนการจัดสรรเวลา - กําหนดและแจกจาย

- การควบคุมเวลา ระบบการบริหารเวลา

- การกําหนดความสําคัญ (Set Priorities) โดยใชสัญลักษณแทนดังนี้

A = งานที่มีความสําคัญตองทํากอน

B = งานที่มีความสําคัญเชนกัน แตรองลงไป ถาหากวามีเวลาก็ควรทํา C = แมไมทําขณะนี้คงไมกอใหเกิดความเสียหาย

- วางแผน (Planning) คือ การตระเตรียมการสําหรับปฏิบัติงานตามแผน โดยไมจําแนก วาเปนงานเล็กหรืองานใหญ การวางแผนมีความยากงายสลับซับซอนแตกตางกันตาม ขอบขายของงานที่จะปฏิบัติ อาจทําในรูปแบบของตารางปฏิบัติงาน

- การปฏิบัติตามตารางที่กําหนด (Projecting Schedule Time) คือ การทํางานตามแบบ แผนที่กําหนดไว ดังนี้

ขั้นที่ 1 ตั้งคําถามเกี่ยวกับอนาคตหลาย ๆ คําถาม แลวคิดหาคําตอบและเหตุผลประกอบ คําถามตาง ๆ เหลานั้น

ขั้นที่ 2 กําหนดเปาหมายระยะสั้นและระยะยาวที่เปนจริงได

2.3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย

2.3.1 ความหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย

การวางแผนทรัพยากรมนุษย หมายถึง กระบวนการพยากรณความตองการของทรัพยากร มนุษย ของหนวยงานหรือองคการ ไวลวงหนา วามีความตองการบุคลากรประเภทใด ระดับใด เมื่อใด วิธีการไดมาเปนอยางไร มาจากไหน รวมถึงมีนโยบายและแนวทางดําเนินการอยางไร เพื่อที่จะทําใหเกิดประโยชนสูงสุดในการปฏิบัติงาน

(21)

2.3.2 แนวคิดของกระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย

การวางแผนทรัพยากรมนุษย เปนกระบวนการที่ตอเนื่อง ดังไดกลาวมาแลวขางตน ซึ่งเปน กระบวนการที่จะตองดําเนินการ 4 ขั้นตอนดวยกันคือ

 การเตรียมการ (Preparation)

 การสรางแผน (Plan formulation)

 การปฏิบัติตามแผน (Plan implementation)

 การประเมินผล (Plan evaluation)

โดยในการดําเนินการ 4 ขั้นตอนดังกลาวจะตองมีการเก็บรวบรวมขอมูล ศึกษาและ วิเคราะหขอมูลเพื่อนํามาตัดสินใจดําเนินการ ดังนั้นในการวางแผนทรัพยากรมนุษยเพื่อตอบ คําถามที่ไดเคยกลาวมาแลวในหัวขอการวางแผนคือ จะทําอะไร จะทําอยางไร จะใหใครทํา และจะ ทําเมื่อไหร

การเตรียมการวางแผน (preparation)

ในการวางแผนนั้น การเตรียมการเปนขั้นตอนแรก ซึ่งผูวางแผนจะตองรวบรวมขอมูล ศึกษา และ วิเคราะหขอมูลในประเด็นที่สําคัญดังตอไปนี้

1. ศึกษาวัตถุประสงคขององคกร เพื่อเปนการกําหนดขอบเขตของการวางแผน 2. วิเคราะหสถานการณ โดยหลังจากมีการกําหนดวัตถุประสงคแลว ผูวางแผน จะตองรวบรวมขอมูลมาวิเคราะหถึงสถานการณในปจจุบันและที่จะดําเนินการในอนาคต

3. กําหนดเปาหมายของแผนงาน เมื่อทราบวัตถุประสงคและสถานการปจจุบันแลว ผูวางแผนจะสามารถกําหนดเปาหมายของแผนงานวาจะตองทําอะไรในอนาคต โดยเปาหมาย จะตองมีความชัดเจน พอที่จะใชเปนแนวทางในการดําเนินงานนั้นตอไป

4. พิจารณาความสอดคลอง ผูวางแผนจะตองพิจารณาความสอดคลองระหวาง วัตถุประสงคขององคกรกับเปาหมายของแผนงานวามีความสอดคลองกันมากนอยเพียงใด หากมี

(22)

ความขัดแยงกันจะตองมีการปรับปรุงเพื่อใหมีความสอดคลองกันมากขึ้น เพื่อไมใหเกิดปญหาใน การทํางานในอนาคต

5. พิจารณาความเปนไปไดในประเด็นนี้ ผูวางแผนจะตองรวบรวมขอมูลที่เกี่ยวของ กับแผนงานมาวิเคราะหเพื่อที่จะมาดูวาแผนงานที่วางไวมีความเปนไปไดมากนอยเพียงใด

การสรางแผน (plan formulation)

การสรางแผนประกอบดวยขั้นตอนยอย 3 ขั้นตอนดวยกันคือ

1. กําหนดทางเลือก หลังจากที่ไดมีการรวบรวมขอมูลในขั้นตอนแรกแลว ผูวางแผน จะตองประมวลผลเพื่อกําหนดทางเลือกปฏิบัติตางๆ ในการที่จะทําใหบรรลุเปาหมายได ทั้งนี้ใน การกําหนดทางเลือกนั้นจะตองพยายามสรางทางเลือกที่เปนไปไดใหมากที่สุด เพื่อจะใชในการ ประกอบการตัดสินใจได

2. เลือกทางเลือกที่เหมาะสม เมื่อกําหนดทางเลือกไดแลวผูวางแผนจะตองพิจารณา ถึงขอดีขอดอยของแตละทางเลือกเพื่อทําการคัดเลือกทางเลือกที่เหมาะสมมาใชในการจัดทํา แผนการปฏิบัติตอไป

3. กําหนดแผน ขั้นตอนยอยนี้เปนการกําหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและการใช

ทรัพยากรและปจจัยตางๆ ที่จะสนับสนุนการดําเนินงานของแผนระยะเวลาและบุคคลที่เกี่ยวของ เพื่อนํามาเขียนเปนแผนใหชัดเจนตอการปฏิบัติในการดําเนินงานใหเกิดประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลตรงกับความตองการมากที่สุด การปฏิบัติตามแผน (plan implementation)

ในขั้นตอนนี้เปนการนําแผนที่ไดมีการกําหนดจากขั้นตอนที่ 2 ไปทําการปฏิบัติตามแผน ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีขั้นตอนยอยๆ ดังนี้

(23)

1. การกําหนดบุคลากร ในขั้นตอนยอยนี้ การวางแผนจะตองกําหนดบุคลากรที่จะ รับผิดชอบการปฏิบัติในแตละสวนเพื่อใหการทํางานมีประสิทธิภาพและเปนไปตามวัตถุประสงค

ขององคกร

2. การจัดสรรทรัพยากร เนื่องจากทรัพยากรมีจํากัด ดังนั้น องคกรจะตองจัดสรร ทรัพยากรหรือปจจัยตางๆ ที่เกี่ยวของกับการดําเนินงานใหเหมาะสมและเกิดประโยชนสูงสุดกับ องคกร

3. การสรางความเขาใจ เปนสิ่งสําคัญอีกประการหนึ่งที่ผูวางแผนจะตองสื่อสารและ สรางความเขาใจรวมกันในกลุมผูปฏิบัติงาน เพื่อใหสามารถปฏิบัติงานตามที่ตองการไดอยาง เหมาะสม

4. การควบคุม การดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพจะตองมีการติดตามผล เพื่อใหมั่นใจ ไดวา แผนงานที่ไดวางไวนั้นไดมีการดําเนินการไปตามแผน และมีความเหมาะสมกับสถานการณ

เพื่อใหการดําเนินงานเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การประเมินผล (plan evaluation)

เมื่อมีการนําแผนไปปฏิบัติแลว ผูควบคุมแผนจะตองมีการประเมินผลวาแผนนั้น สามารถบรรลุวัตถุประสงคและเปาหมายที่กําหนดไวไดหรือไม และการปฏิบัติงานนั้นเปนไปตาม แผนที่วางไวหรือไม ขอมูลที่ไดจากการประเมินผลจะเปนขอมูลยอนกลับหรือบทเรียนที่ไดเรียนรู

เพื่อนํามาปรับปรุงแผนหรือการวางแผนในครั้งตอไป โดยในขั้นตอนที่ 4 นี้ มีประเด็นที่ผูเกี่ยวของ กับการวางแผนและผูปฏิบัติตามแผนจะตองปฏิบัติดังนี้

1. เปรียบเทียบ ในที่นี้หมายถึงวาผูที่ควบคุมแผนจะตองเก็บขอมูลการดําเนินงาน จริง แลวนํามาเปรียบเทียบกับแผนที่ไดวางไว วามีความแตกตางมากนอยเพียงใด เพื่อที่จะไดมี

การวิเคราะหถึงปญหา สาเหตุและอุปสรรค ที่จะนํามาปรับปรุงแผนใหดียิ่งๆ ขึ้นไป

2. การวิเคราะหปญหา ในประเด็นนี้ผูควบคุมแผนจะตองนําขอมูลที่รวบรวมไดมา ประกอบการวิเคราะหปญหา อุปสรรค และผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อคนหาสาเหตุที่แทจริง

(24)

3. เสนอความคิด เมื่อมีการประมวลผลขอมูลที่ไดวิเคราะหแลว ผูควบคุมแผน จะตองนําเสนอแนวความคิดในการปรับปรุงและแกไขการดําเนินงาน เพื่อใหแผนงานที่ไดวางไว

สามารถดําเนินการไดตออยางมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

จากที่ไดกลาวมาถึงกระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษยขางตน จะเห็นวาในทางปฏิบัติ

แลว แผนบุคลากรจะเกี่ยวของโดยตรงกับคน ซึ่งถือเปนปจจัยสําคัญของการบริหารและองคกร ดังที่กลาวมาตั้งแตตนของเรื่องนี้ นอกจากนี้ เรื่องคนยังเปนปจจัยที่มีความออนไหวตอการ เปลี่ยนแปลงมากที่สุด ทั้งนี้เพราะคนหรือทรัพยากรมนุษยเปนปจจัยสําคัญที่จะทําใหองคกร สามารถพัฒนาและเจริญเติบโตไดอยางมั่นคง และแมแตแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ

ยังกลาวย้ําถึง “คน” วาเปนศูนยกลางของการพัฒนา ดังนั้น การวางแผนคนจึงมีความสําคัญ และ เปนกระบวนการที่ตอเนื่อง มิใชทําเพียงครั้งเดียว และแผนที่ดีนั้นจะตองมีความยืดหยุน สามารถ ปรับปรุงใหสอดคลองกับแนวโนมกับสถานการณ เพื่อใหการปฏิบัติงานเปนไปตามวัตถุประสงค

เปาหมาย และมีประสิทธิภาพอยูเสมอ

2.3.3 แนวคิดการคาดการณความตองการดานทรัพยากรมนุษยขององคกร

1. การคาดการณจากสมการพื้นฐาน วิธีการนี้จะเปนการคํานวณหาจํานวนบุคลากรที่

องคการตองการในแตละชวงเวลา จากสูตรพื้นฐานทางคณิตศาสตรตอไปนี้

จํานวนบุคลากรที่ตองการเพิ่มขึ้น = จํานวนบุคลากรที่ตองการทั้งหมด – จํานวนบุคลากร คงเหลือ

จํานวนบุคลากรที่ตองการทั้งหมด = จํานวนงานอัตราสวนของงานตอบุคลากร 2. การใชแบบจําลองการวางแผนรวม (Aggregate Planning Model) วิธีการนี้จะ คาดการณปริมาณความตองการบุคลากรขององคการในชวงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให

สามารถนํามาใชงานไดอยางมีประสิทธิภาพ

3. การใชวิธีการทางสถิติ (Statistical Forecasting Methods) วิธีการนี้จะนําหลักการ ทางสถิติและคณิตศาสตร เชน กําหนดการเสนตรง (Linear Programming) และการ วิเคราะหการถดถอย (Regression Technique) มาชวยในการพยากรณความตองการ ทรัพยากรมนุษยขององคการในชวงระยะเวลาที่สนใจ

(25)

4. การใชแบบจําลองของมารคอฟ (Markov-model) วิธีการนี้นําหลักการคณิตศาสตร

ขั้นสูงมาประยุกตในการศึกษาและวิเคราะหการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรมนุษยใน อนาคต เพื่อองคการจะไดจัดเตรียมแผนในการสรรหา การคัดเลือก การฝกอบรมและการ พัฒนาบุคลากรใหมีความพรอมในการปฏิบัติหนาที่ในแตละตําแหนง

จากแนวคิดการคาดการณความตองการดานทรัพยากรมนุษยขององคกร ผูศึกษาเลือก การใชแบบจําลองการวางแผนรวม เพื่อการศึกษาความเปนไปไดในการลดจํานวนพนักงานทํา ความสะอาดสําหรับการทําความสะอาดประจําวัน ของ อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท จํานวน 38 ชั้น ซึ่งจะไดกลาวถึงใน บทที่ 3 ตอไป

2.4 ขอมูลพื้นฐาน อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท

อาคารชุดนิติบุคคลปทุมวัน รีสอรท เปนอาคารที่กอสรางมาเปนเวลานานกวา 10 ปแลว ที่ตั้งอาคารอยูบริเวณ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จุดเดนของอาคารชุดปทุมวัน รี

สอรท คือ การมีพื้นที่อาคารอยูใกลกับ สถานีรถไฟฟาบีทีเอส (สถานีพญาไท) และ แอรพอต ลิงค

(สถานีพญาไท) ซึ่งถือเปนอาคารชุดที่มีการคมนาคมที่สะดวกมาก อาคารชุดปทุมวัน รีสอรท จัดเปนอาคารประเภทพักอาศัย จํานวน 1 อาคาร โดยแบงเปน จํานวนชั้นพักอาศัย 30 ชั้น และ จํานวนชั้นที่จอดรถ 8 ชั้น รูปแบบหองชุดแบงประเภทและจํานวนหองดังนี้

หองรูปแบบ A ขนาดพื้นที่ 49 ตารางเมตร จํานวน 180 หอง หองรูปแบบ B ขนาดพื้นที่ 60 ตารางเมตร จํานวน 240 หอง หองรูปแบบ C ขนาดพื้นที่ 75 ตารางเมตร จํานวน 180 หอง หองรูปแบบ D ขนาดพื้นที่ 90 ตารางเมตร จํานวน 90 หอง รวมหองพักอาศัยทั้งหมด 690 หอง พื้นที่หองชุดรวม 47, 000 ตารางเมตร พื้นที่สวนกลางรวม 38, 899 ตารางเมตร ลักษณะหองตาง ๆ ที่ถือเปนพื้นที่สวนกลาง (ถือเปนพื้นที่ที่ตองทําความสะอาด) คือ

Referensi

Dokumen terkait

ลักษณะเปนไมยืนตนมีขนาดความสูง 40-50 เมตร ลําตนตรง เปลือกหนาเรียบสีเทาหรือเทาปนขาว เสนรอบวงมีขนาด 4-7 เมตร หรือมากกวา ประโยชนจากตนยางมีมากมาย เชน ใชในงาน กอสรางบานเรือน