• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความเป็นเพศที่สะท้อนผ่านวิชาศิลปะ

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "ความเป็นเพศที่สะท้อนผ่านวิชาศิลปะ"

Copied!
132
0
0

Teks penuh

(1)

โดย

นางสาว ธีรนาฎ อินอ่อน

รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individual Study) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2561

(2)

เด็ก เพศ ศิลปะ : ความเป็นเพศที่สะท้อนผ่านวิชาศิลปะ กรณีศึกษา โรงเรียนเยาวลักษณ์วิทยาธนบุรี

โดย

นางสาว ธีรนาฎ อินอ่อน

รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individual Study) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2561

(3)

บัณฑิต สาขามานุษยวิทยา

...

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ด ารงพล อินจันทร์) หัวหน้าภาควิชามานุษยวิทยา วันที่ ... เดือน ... พ.ศ. ...

อาจารย์ที่ปรึกษา

...

(อาจารย์ศศิธร ศิลป์วุฒยา)

.../.../...

กรรมการสอบ

...

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพร ศิริศักดิ์ด าเกิง) .../.../...

(4)

ค าส าคัญ : เด็กประถมวัย (Elementary School Student) / เพศสภาวะ (Gender) / ศิลปะ (Art) / ชีวอ านาจ (Bio-power) / ทัศนวัฒนธรรม (Visual Culture) / การรับรู้ทางทัศนะ (Visual Literacy)

ผู้ศึกษา : นางสาว ธีรนาฎ อินอ่อน รหัสนักศึกษา 03580098 ภาควิชา : มานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศศิธร ศิลป์วุฒยา

ปีการศึกษา : 2561 จ านวนหน้า : 124

บทคัดย่อ

งานศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักสูตรและวิธีการสอนวิชาศิลปะเพื่อให้เข้าใจ ถึงกระบวนการขัดเกลาของความเป็นเพศที่มีกระบวนการปลูกฝังต่อเด็ก 2) ศึกษาเพื่อเข้าใจถึงค่านิยม ของสังคมวัฒนธรรมที่เข้ามามีบทบาทต่อการควบคุมพฤติกรรมและความคิดของผู้คนที่มีรัฐเป็นผู้

ก าหนดและควบคุมอยู่เบื้องหลัง 3) ศึกษาโลกทัศน์ในชีวิตประจ าวันของเด็กเพื่อเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผล ต่อการรับรับรู้และการหล่อหลอมความเป็นเพศของเด็ก อันเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการท างานศิลปะของเด็ก ผ่านวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยาด้วยกรอบแนวคิดชีวอ านาจ (Bio-power) ของมิ

เชล ฟูโกต์ (Michael Foucault) และกรอบแนวคิดที่ว่าด้วยเพศสภาวะ (Gender) โดยใช้มุมมองทาง ทัศนวัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมทางสายตา (Visual Culture) ด้วยการวิเคราะห์ผ่านการตีความด้วย วิธีการของการรับรู้ทางทัศนะ หรือการอ่านภาพ (Visual Literacy) มาเป็นแนวคิดหลักในการศึกษา เพื่อท าความเข้าใจ โดยกลุ่มเป้าหมายในการศึกษามีทั้งหมด 17 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนประจ าวิชา ศิลปะและอาจารย์ผู้มีความรู้ในการออกแบบหลักสูตรการศึกษาไทย จ านวน 3 คน เด็กนักเรียนชั้น ประถมวัย จ านวน 10 คน ผู้ปกครอง จ านวน 4 คน

(5)

อย่างแท้จริงผ่านการมอง ในขณะเดียวกันก็เป็นการสอนให้เด็กรับรู้ได้ถึงความงามอันเป็นรสนิยมที่ถูก ฝึกฝนได้ด้วยสายตา

นอกจากนี้ วิชาศิลปะยังเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นเพศในการท าหน้าที่สะท้อนให้

เห็นถึงกระบวนการเลี้ยงดูของพ่อแม่ การอบรมสั่งสอนของครูอาจารย์ เพื่อนที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน และสื่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อต้องการปลูกฝังในส านึกของความเป็นเพศ กับเด็กโดยแซกซึมสิ่งดังกล่าวลงในชีวิตประจ าวันของเด็ก จนกลายมาเป็นโลกทัศน์และกลายมาเป็น ตัวตนของเด็กในที่สุด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นสิ่งสะท้อนจากภาพวาดของเด็กในชั้นประถมวัย โดยเฉพาะเด็กในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อยู่ในวัยของการกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ประกอบกับเด็กในวัยนี้ยังเป็นวัยที่ไม่มีวุฒิภาวะหรือวิจารณญาณมากพอในการตระหนักถึง กระบวนการที่เข้ามากระท ากับตัวเขาได้มากนัก จึงท าให้เด็กต้องตกอยู่ในภาวะของการขัดเกลาทาง สังคม เพื่อให้เด็กเกิดส านึกอันเป็นหนึ่งเดียวกันในสังคมและสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมี

ความสุขด้วยการเป็นพลเมืองที่มีคุณลักษณะตามที่รัฐ/สังคมต้องการ

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2561 ลายมือชื่อนักศึกษา ………..

ลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ...

(6)

ขอขอบคุณครอบครัวที่เลี้ยงดูและสนับสนุนกันจนมาถึงวันนี้ได้ โดยเฉพาะแม่ที่คอยเข้าใจ ให้

ก าลังใจและคอยอยู่เคียงข้างลูกคนนี้มาโดยเสมอ

ขอขอบคุณอาจารย์ทุก ๆ ท่านที่คอยให้ความเอ็นดูและให้ค าแนะน าในเรื่องต่าง ๆ ให้กับลูก ศิษย์คนนี้ไม่ว่าจะในเรื่องใดก็ตาม โดยเฉพาะพี่เกด อาจารย์ที่ปรึกษาในงานศึกษาครั้งนี้ ที่คอย ช่วยเหลือในทุก ๆ เรื่องจนท าให้งานศึกษาในครั้งนี้สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ขอขอบคุณพี่แพร พี่ฝ้ายและอาจารย์ต้นที่ให้ค าแนะน าและให้ก าลังใจในวันที่อ่อนล้าจนต้อง เสียน้ าตา

ขอขอบคุณเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคนที่อยู่เคียงข้างในวันที่สุขและทุกข์ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่าน มา

ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลทุกท่านที่ท าให้งานศึกษาเล่มนี้สามารถผ่านลุล่วงมาได้ด้วยดี

ขอขอบคุณตัวเองที่ไม่ยอมแพ้และต่อสู้มาจนมีวันนี้

และสุดท้ายนี้ หวังว่างานศึกษาฉบับนี้จะมีประโยชน์กับผู้อื่นบ้างไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม

ขอขอบคุณทุกคนอีกครั้งจากใจ…

ธีรนาฎ อินอ่อน 13 พฤษภาคม 2562

(7)

เรื่อง หน้า

บทคัดย่อ ………..………. ก

กิตติกรรมประกาศ ... ค

สารบัญ ……… ง

บทที่

1 บทน า ... 1

2 แนวคิดที่เกี่ยวข้อง ... 12

แนวคิดเรื่องชีวอ านาจ (bio-power) ... 12

แนวคิดเรื่องเพศสภาวะ (gender) ... 16

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ... 20

วรรณกรรมเกี่ยวกับเด็ก ... 20

วรรณกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ... 27

วรรณกรรมที่เกี่ยวเพศ ... 36

3 พัฒนาการของหลักสูตรศิลปศึกษาในประวัติศาสตร์และ ความเป็นมาของศิลปศึกษาในไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ………. 46

4 ความเป็นเพศที่สะท้อนผ่านวิชาศิลปะ ... 60

เป้าประสงค์และกระบวนการสอนในวิชาศิลปะ ... 61

ปัญหาของการเรียนการสอนศิลปะและผลกระทบต่อการรับรู้ของเด็ก .... 64

ความเป็นเพศบนความเป็นภาพ ... 69

(8)

หน้า

ความเป็นชายในภาพวาด ... 73

ลักษณะการวาดภาพระบายสีของเด็กผู้ชาย ... 74

สิ่งสะท้อนผ่านเรื่องราวของงานศิลปะของเด็กผู้ชาย ... 77

ความเป็นหญิงในภาพวาด ... 82

ลักษณะการวาดภาพระบายสีของเด็กผู้หญิง ... 83

สิ่งสะท้อนผ่านเรื่องราวของงานศิลปะของเด็กผู้หญิง ... 85

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางเพศ ... 91

5 บทวิเคราะห์และบทสรุป ... 107

ภาพภายใต้บงการ ... 107

เบื้องหลังของภาพวาดของเด็กป. 6 (ประถมศึกษาชั้นปีที่ 6) ... 108

ชีวิตประจ าวันภายใต้อ านาจ ... 110

สรุปผลการศึกษา ... 113

บรรณานุกรม ... 117

ประวัติผู้ศึกษา ... 124

(9)

1 ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญ

ศิลปะ วิชาแห่งสุนทรียะและความงามที่ท าให้คนได้สัมผัสถึงความอิสระและสามารถเข้า ใจความเป็นธรรมชาติได้อย่างถ่องแท้ ศิลปะเป็นสิ่งซึ่งสะท้อนความคิด ทัศนะ อุดมการณ์และค่านิยม ของคนในแต่ละสังคมในแต่ละยุคสมัย สิ่งซึ่งสรรค์สร้างความจรรโลงใจเช่นนี้ กลับเป็นหนึ่งใน กระบวนการของอ านาจแห่งศาสนาและรัฐที่เข้ามาครอบง าก าหนดแนวทางให้กับศิลปะ

“ฉันไม่เอื้อนเอ่ยอันใด แต่ฉันวาดทุกสิ่ง”

(Pablo Ruiz Picasso 1881-1973)

ค ากล่าวข้างต้นเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ศิลปะเป็นสื่อกลางที่ไม่ต้องการค าเอื้อนเอ่ยใด ๆ ใน การอธิบาย เพียงแค่จ้องมองภาพวาด รูปปั้นหรือผลงานทางศิลปะก็สามารถท าให้ผู้คนเข้าใจถึงแก่น แกนหรือสารที่สอดแทรกอยู่ในงานศิลปะนั้น ๆ ได้ผ่านการตีความ อีกทั้งศิลปะยังเป็นสื่อที่สามารถ สื่อสารและท าให้ผู้คนเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างไม่แบ่งแยกชนชั้น

ศิลปะ จึงกลายมาเป็นกระบวนการของศาสนาและรัฐเลือกน ามาใช้ในการปกครองและ ควบคุมคนในสังคมให้มีทิศทางเดียวกันตามที่สังคมเห็นชอบและเป็นไปตามที่อ านาจแห่งโครงสร้าง ส่วนบนอย่างรัฐและศาสนาต้องการ ซึ่งการจะกล่อมเกลาให้ผู้คนเห็นชอบและปฏิบัติตามอย่างเต็ม ประสิทธิภาพที่สุดก็คือ การปลูกฝังอุดมการณ์และส านึกให้กับคนในสังคมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เด็กทุกคน จึงจะต้องผ่านการอบรม สั่งสอน และเลี้ยงดูให้อยู่บนพื้นฐานของจารีตและเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมที่

เป็นไปตามที่รัฐและศาสนาก าหนดขึ้น เพื่อควบคุมผู้คนในสังคมให้อยู่ใต้อาณัติของอ านาจของ โครงสร้างทางสังคม (สรุปความ ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2557)

การศึกษา เป็นกระบวนการและวาทกรรมใหม่ที่ส าคัญของรัฐในการเข้าไปควบคุมจัดการ ความคิดของผู้คนโดยเริ่มตั้งแต่เด็กวัยเยาว์ในชั้นประถมไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา อันเป็นการศึกษา แบบบังคับที่คนในสังคมไทยควรต้องได้รับ โรงเรียนจึงเปรียบเสมือนกับโรงหล่อที่เป็นแม่แบบส าคัญที่

คอยท าหน้าที่หล่อหลอมให้ตัวเด็กมีทัศนะ ความคิด ความเชื่อ มุมมองและรับรู้ถึงกฎเกณฑ์ของสังคม

(10)

ในรูปแบบเดียวกัน การศึกษาจึงเป็นสิ่งที่เข้ามาจัดการความคิดและปลูกฝังสิ่งที่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการศึกษาและโรงเรียนนั้นมีความกว้างขวางมาก รัฐจึงประสบ ความส าเร็จเป็นอย่างมากในการครอบง าผู้คน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เด็กทุกคนจ าเป็นจะต้องเข้าสู่ระบบ การศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากพอที่รัฐจะฉกฉวยโอกาสนี้ ในการเข้าไป จัดการปลูกฝังระบบความคิดที่รัฐได้สร้างขึ้นให้แก่ประชาชนในตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเริ่มตั้งแต่การปลูกฝัง เด็กในชั้นประถมศึกษาไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งรัฐจะเข้าไปจัดการรูปแบบความคิดและพฤติกรรม ของเด็ก เช่น การฝึกให้เด็กนั่งหลังตรงชิดกับผนักเก้าอี้ในที่นั่งประจ าของตัวเองและมองตรงไปที่

คุณครูที่ก าลังสอนอยู่ การอ่านหนังสือที่สายตาจะต้องห่างจากหนังสือประมาณ 1 ศอก เพื่อไม่ให้เป็น การเสียสายตา หรือการสอนให้เด็กฝึกเป็นคนพูดจาฉะฉาน มั่นใจในตัวเองเพื่อบุคลิกภาพที่ดี การสอน ให้เด็กเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนจะได้เป็นที่รักของผู้ใหญ่ เป็นต้น การจัดระเบียบพื้นที่และท่าทางให้กับ เด็กไม่เพียงแต่เป็นการท าให้โรงเรียนกลายเป็นเครื่องจักรส าหรับการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็น เครื่องจักรส าหรับการควบคุมดูแล จัดระเบียบสูงต่ า และการให้รางวัลตอบแทนส าหรับผู้ที่ประพฤติ

ตามและสามารถรักษาตนให้อยู่ในระเบียบวินัยได้อย่างดีเยี่ยม สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการฝึกฝนผ่าน การเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือการแสดงออกที่อันน่าพึงพอใจของสังคมที่ก าหนดโดยรัฐแล้วทั้งสิ้น (Michel Foucault, 2547 : 26-29)

ศิลปะยังเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทางอ านาจรัฐที่ท าหน้าที่ควบคุม ปลูกฝังกฎเกณฑ์และ ค่านิยมต่าง ๆ ของสังคมผ่านการบรรจุให้ศิลปะกลายมาเป็นวิชาในหลักสูตรของการศึกษาในภาค บังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษา วิชาศิลปะจึงเป็นหนึ่งในการหล่อหลอมเด็กให้เติบโต และเป็นไปตามในสิ่งที่รัฐบอก โดยเฉพาะในเรื่องเพศ ศิลปะมีส่วนร่วมในการปลูกฝังให้เด็กรู้จักความ เป็นเพศผ่านการระบายสี การวาดภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นหญิงและความเป็นชายให้แยก ออกจากกันได้ชัดเจน และยังเป็นการท าให้พวกเขารับรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ทางเพศที่เหมาะสมตาม สิ่งที่สังคมต้องการได้ในขณะเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การสอนให้เด็กรู้จักการวาดภาพที่สังเกตจากสิ่ง รอบตัว ซึ่งในศิลปศึกษาในหลักสูตรประถมศึกษาที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2506 และหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในระดับมัธยมศึกษาปี พ.ศ. 2544 ได้อธิบายไว้ว่า การร่างภาพในงานออกแบบ หากต้องการเสริมความเหมือนจริงควรจ าเป็นที่จะต้องวาดให้

รายละเอียดต่าง ๆ เช่น ผู้ชายอาจจะต้องมีหนวด ผูกเน็กไทด์ สวมกางเกง หรือลักษณะเด่นที่บ่งบอก ถึงความเป็นชาย และผู้หญิงอาจวาดให้ใส่ตุ้มหู ปากหนา ผมยาว สวมกระโปรง หรือสัญลักษณ์ที่บ่ง บอกถึงเพศหญิงให้ชัดเจนเพื่อความสมจริงและให้เด็กได้วาดในสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นได้จากสิ่ง

(11)

รอบตัวในชีวิตประจ าวัน (กรมวิชาการ, 2506 : 29 และ กระทรวงศึกษาธิการ, 2547 : 52) ซึ่งแม้ว่า การฝึกให้เด็กวาดจากสิ่งที่เด็กสังเกตเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่รอบตัวของพวกเขาในชีวิตประจ าวัน ดูเหมือนจะ ไม่ได้เป็นการปลูกฝังความเป็นเพศที่ส าคัญต่อเด็กเท่าใดนัก แต่การสอนให้เด็กหมั่นสังเกตและวาดเป็น ภาพออกมานั้น ถือเป็นหนึ่งกระบวนการที่จะท าให้เด็กซึมซับถึงความเป็นเพศที่เป็นไปตามลักษณะ ต่าง ๆ ในชีวิตจริงว่าแต่ละเพศจะต้องมีลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสม ในขณะเดียวกันก็เป็นการท า ให้เด็กตระหนัก จดจ า พัฒนาและน ามาปรับใช้ตามความเป็นเพศที่เหมาะสมกับเพศสภาพของตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามสิ่งที่ตนเองพบเห็นในชีวิตประวัน ฉะนั้นการสอนในรูปแบบดังกล่าว จึงถือเป็น จุดเริ่มต้นของกระบวนการปลูกฝังทางเพศที่ส าคัญเป็นอย่างมาก

ดังนั้น วิชาศิลปะจึงเป็นหนึ่งในกระบวนการของอ านาจของรัฐที่เข้ามาจัดการควบคุมโดยเริ่ม ตั้งแต่ระบบความคิด ความเชื่อและรูปแบบการปฏิบัติต่าง ๆ ให้กับคนในสังคม เพื่อกลายมาเป็นคนดี

และมีคุณภาพตามคุณลักษณะที่สังคมและรัฐต้องการ

งานวิจัยในเรื่อง เด็ก เพศ ศิลปะ : ความเป็นเพศที่สะท้อนผ่านวิชาศิลปะ จึงต้องการศึกษา กระบวนการการเรียนรู้ การปลูกฝังและการรับรู้ของเด็กในเรื่องของความเป็นเพศผ่านการเรียนการ สอนในวิชาศิลปะ เพื่อให้เข้าใจถึงการรับรู้ในเรื่องเพศของเด็กที่สะท้อนผ่านการวาดภาพ การระบายสี

หรือผ่านจากงานที่ได้รับมอบหมายในวิชาศิลปะว่าเป็นอย่างไร โดยสังเกตการจากวิธีการท างานศิลปะ และมองผลงานศิลปะของเด็กเพื่อที่จะสามารถน าไปวิเคราะห์และตีความหมายถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่

เบื้องหลังของภาพหรือผลงานศิลปะของเหล่าเด็ก ๆ ได้อย่างกระจ่างมากยิ่งขึ้น

อีกประการก็คือเด็กในช่วงชั้นประถมศึกษานั้น มีการรับรู้และแสดงออกต่อเรื่องเพศผ่านงาน ศิลปะแตกต่างกันอย่างไร และการปลูกฝังในเรื่องดังกล่าว มีลักษณะหรือปัจจัยเช่นใดบ้างในการสร้าง ความเป็นเพศให้กับเด็ก และได้ส่งผลต่อการแสดงออกและทัศนคติของเด็กอย่างไรและมากน้อย เพียงใด โดยข้อสงสัยทั้งหมดดังกล่าวนี้ จึงได้น ามาสู่งานศึกษาวิจัยในครั้งนี้

วัตถุประสงค์

1. ศึกษาเพื่อเข้าใจถึงค่านิยมของสังคมวัฒนธรรมที่เข้ามามีบทบาทต่อการควบคุมพฤติกรรม และความคิดของผู้คนที่มีรัฐเป็นผู้ก าหนดและควบคุมอยู่เบื้องหลัง

(12)

2. ศึกษาโลกทัศน์ในชีวิตประจ าวันของเด็กเพื่อเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรับรู้และการ หล่อหลอมความเป็นเพศของเด็ก อันเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการท างานศิลปะของเด็ก

สมมติฐำนในกำรศึกษำ

วิชาศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องเพศของผู้คนโดยมีรัฐเป็นผู้

ควบคุม ซึ่งมิได้ให้ผู้คนตระหนักรู้เฉพาะในเรื่องเพศที่ได้รับมาตามเพศสภาพโดยก าเนิดของตนเท่านั้น แต่ยังให้รับรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเพศอื่นด้วยเช่นกัน การสร้างส านึกในเรื่องเพศจึงเป็นส่วนหนึ่ง ของการแบ่งแยกความเป็นชาย หญิงและเพศอื่น ๆ ให้แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงด้วยการก าหนดให้

เด็กชายจะต้องเริ่มวาดภาพตัวเด็กชายขึ้นมา เพื่อให้รู้ว่าผู้ชายจะต้องถูกวาดให้ออกมาเป็นเช่นไร และ เด็กหญิงควรจะต้องวาดในลักษณะเช่นใด เพื่อให้เด็กได้ซึมซับบทบาทและความเป็นเพศของตนผ่าน การหล่อหลอมเด็กด้วยเทคนิคทางศิลปะ เช่น การระบายสี การสังเกต การให้เด็กจินตนาการถึงสิ่ง รอบตัว ฯลฯ ความรู้และความสนุกสนานได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการในการรับรู้ในเรื่อง เพศของเด็กในชั้นประถมศึกษา ซึ่งเด็กจะพร้อมรับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเต็มใจ เพราะช่วงวัยแห่งความ อยากรู้อยากเห็น จึงท าให้พวกเขากระตือรือร้นที่จะอยากรู้ในสิ่งรอบตัว ประกอบประสบการณ์ชีวิตที่

ยังไม่มากนัก จึงเป็นผลให้เด็กยังขาดความสามารถในการแยกแยะและหลงเชื่อในสิ่งที่ผู้ใหญ่สั่งสอน จนกลายมาเป็นบุคลิกและทัศนะพื้นฐานของเด็กไปในที่สุด และเพื่อให้เด็กได้เติบโตขึ้นตามมาตรฐาน และเป็นประโยชน์แก่รัฐได้มากที่สุด

ขอบเขตของกำรศึกษำ

การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาก าหนดขอบเขตไว้ 2 ด้าน คือ ขอบเขตด้านเนื้อหาและขอบเขตของ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา

ด้ำนเนื้อหำ

ผู้ศึกษาก าหนดขอบเขตทางด้านเนื้อหาโดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มเนื้อหาที่ได้มาจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบปฐม ภูมิที่ได้มาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางภาคสนาม เพื่อให้เข้าใจถึงบริบทแวดล้อมที่ว่าด้วยลักษณะ

(13)

ทั่วไปของโรงเรียน ลักษณะการเรียนการสอนของคุณครูและนักเรียนในวิชาศิลปะ โดยจะเริ่มดูตั้งแต่

วิธีการสอนวาด สอนระบายสี หรือการอธิบายในการสอนว่า การสอนเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายมี

ลักษณะอย่างไร การแสดงออกของเด็กที่มีการเรียนศิลปะนั้นเป็นเช่นไร และวิชาศิลปะส่งผลต่อทัศนะ หรือการแสดงออกเรื่องเพศของเด็กอย่างไร

2. กลุ่มเนื้อหาที่ได้จากการค้นคว้างานเชิงเอกสาร หรือข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อส ารวจถึง แนวทางของการสอนศิลปะผ่านหลักสูตรการศึกษาและเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ที่น ามาศึกษา ประกอบกัน เพื่อท าความเข้าใจถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังของวิชาศิลปะว่า แท้จริงแล้ววิชาศิลปะนั้นมีจุด มุ่งเน้นไปในทิศทางใด ถูกก าหนดควบคุมโดยรัฐอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงของวิชาศิลปะนั้นเป็น เช่นไรและส่งผลอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และตอบค าถาม ของงานวิจัยในครั้งนี้

ด้ำนประชำกร

การเลือกกลุ่มประชากร จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. คณะครูผู้ท าหน้าที่สอนในวิชาศิลปะ

2. กลุ่มนักเรียนในวิชาศิลปะชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

3. กลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนในวิชาศิลปะชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ระเบียบวิธีกำรศึกษำ

ศึกษาโดยโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ และรวบรวมข้อมูลทั้งในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ

ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างและสังเกตการณ์ และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่

ข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษาข้อมูลจากเอกสารประกอบการเรียนการ สอนในวิชาศิลปะของในชั้นประถมศึกษาในแต่ละชั้นปี

1. การค้นคว้าข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มประชากรตัวอย่าง โดยแยก ชุดค าถามเป็น 2 ชุด ส าหรับจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน คือ ด้านวิธีการสอนของผู้สอน จุดประสงค์ของรายวิชาและผลสัมฤทธิ์ในทางการสอน

(14)

1.1 ค าถามส าหรับผู้สอน โดยจะสอบถามถึงประวัติส่วนตัว ประสบการณ์ด้าน การสอน วิธีการสอน ความสัมพันธ์และทัศนคติที่มีต่อนักเรียน ปัญหาในการท า การสอน และผลสัมฤทธิ์ในการสอน เป็นต้น

1.2 ค าถามส าหรับนักเรียน โดยจะสอบถามถึงประวัติส่วนตัว ประสบการณ์

และปัญหาในด้านการเรียน โดยเฉพาะในวิชาศิลปะ ความสัมพันธ์และทัศนคติ

ที่มีต่อผู้สอน และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เป็นต้น

2. การค้นคว้าจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเอกสารการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับ หลักสูตรในวิชาศิลปะในระดับประถมศึกษาของแต่ละชั้นปี ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปี

ที่ 1-6 เพื่อท าความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของวิชา และเพื่อท าความเข้าใจต่อกระบวนการ เรียนการสอนในวิชาศิลปะ

3. สังเกตการณ์ ชีวิตประจ าวันในโรงเรียน การจับกลุ่มสนทนา กิจกรรมของนักเรียน การ สอนของผู้สอน ปฏิกิริยาของนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนและผู้สอน โดยเฉพาะวิธีการ แสดงออก ความใคร่รู้และความสนใจที่มีต่อวิชาศิลปะ สิ่งที่ผู้สอนต้องการเน้นย้ าในเนื้อหา ของวิชา และกระบวนการปลูกฝังความเป็นเพศในวิชาศิลปะผ่านการจ้องมองและตีความ ภาพวาดและผลงานศิลปะของเด็ก เป็นต้น

กรอบแนวคิดที่ใช้ประกอบกำรวิเครำะห์

วิธีในการวิจัยในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้เลือกน าเอากรอบแนวคิดที่ว่าด้วย ทัศนวัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมทางสายตา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการตีความเพื่อค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้เบื้องหลังภาพ ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสื่อ ภาพวาด งานศิลปะหรือวัตถุต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงความหมาย จุดประสงค์และอ านาจที่คอยควบคุมอยู่เบื้องหลังผ่านการจ้องมองวัตถุดังกล่าวนั้น มาใช้เพื่อเป็น แนวทางในการมองและวิเคราะห์ผลงานศิลปะของเด็ก ๆ ในชั้นประถมศึกษาที่ผู้ศึกษาได้คัดเลือกและ รวบรวมมาจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม

ทัศนวัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมทางสายตา (visual culture) เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการจับ จ้องมองดู (gaze) ที่เป็นหัวใจของการรับรู้ของมนุษย์ (perception) การมองจึงถูกพัฒนาให้มีความ สลับซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนความหมาย (meaning exchange) การบริโภค ความหมายและการต่อรองความหมาย การมองจึงเป็นสิ่งที่มีนัยยะส าคัญไปจนถึงขั้นของการอ่าน

(15)

ความหมาย (reading) ที่มาพร้อมกับภาษาของสื่อที่มองเห็นในระดับของสัญญะ (sign) ที่ซ่อนอยู่ใน ตัวสื่อ (media) หรือตัวบท (text) ต่าง ๆ ในการบริโภคความหมายนั้น การจับจ้องมองดูกันและกัน ของมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยอ านาจของการสื่อสารของมนุษย์ในชีวิตประจ าวัน ไม่ว่าจะเป็นการ แสดงออกทางกาย (gesture) ใบหน้า (facial expression) การแต่งกาย (fashion) ฯลฯ ซึ่งทั้งหมด ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามกรอบของสังคมและวัฒนธรรมที่ได้ก าหนดขึ้นไว้แล้ว (Rawlongbus, 2559 : ออนไลน์) การมองจึงเป็นเรื่องของอ านาจ ผู้ที่จ้องมองคือผู้ที่มีอ านาจมากกว่า และผู้ที่ถูกจ้องมองคือผู้

ที่มีอ านาจในการต่อรองน้อยกว่าผู้จ้องมอง (เพิ่งอ้าง, 2559 : ออนไลน์)

ทัศนวัฒนธรรม จึงเป็นผลผลิตส าคัญของสภาวะหลังสมัยใหม่ที่อาศัยภาพตัวแทน เช่น โทรทัศน์ ซึ่งโทรทัศน์คือสิ่งที่เกิดจากการจัดระเบียบ คัดสรร ควบคุม เพื่อให้ภาพที่สะท้อนออกมานั้น เกิดความสมบูรณ์แบบมากที่สุด เพื่อให้การรับรู้ของผู้คนคล้อยเอนไปกับสิ่งที่ก าลังจับจ้องดูอยู่ (ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2557 : 220) ซึ่งภาพภาพหนึ่งสามารถบ่งบอกเราได้ถึง ความคิด ‘ของ’ การเห็น และ ความคิดในฐานะการเห็นมีประวัติศาสตร์ ‘ความคิด’ (idea) มาจากค ากริยาในภาษากรีกที่หมายถึง

“การมอง/เห็น” (see) รากของค าศัพท์ของมันจึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับวิธีการคิด เราที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมตะวันตกที่ถูกชี้น าด้วยกระบวนทัศน์ของการเห็น การมอง การดู

และการรับรู้ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันและเป็นส่วนส าคัญที่เข้ามาก าหนดมโนทัศน์ของผู้คนให้มี

‘ความคิด’ ที่ผูกพันกับรูปลักษณ์ของภาพ (picture) และภาพลักษณ์ (image) (น้ าอ้อย อ่าวสินธุ์ศิริ, 2561 : ออนไลน์) วัฒนธรรม ‘การมอง’ หรือ ‘การดู’ จึงเป็นสิ่งที่ถูกผูกติดไว้กับวัฒนธรรมวัตถุ

(material culture) เพราะวัฒนธรรมการดูหรือการใช้สายตาเป็นส่วนส าคัญของการผลิตหรือ ออกแบบสิ่งต่าง ๆ วัฒนธรรมทางสายตาจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ การมองของมนุษย์จึง ต้องถูกควบคุมหรือถูกให้ฝึกมองสิ่งต่าง ๆ สายตาของมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาด้วย เช่นเดียวกับการออกแบบวัตถุให้ออกมาเป็นรูปทรงต่างตามที่ต้องการ (ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2552 : 16)

Michel Foucault ได้กล่าวถึงอ านาจที่แฝงอยู่ภายในภาพที่สามารถครอบง าความจริง หรือ สร้างชุดความจริงชุดใหม่ขึ้นมา (construction) ตามเจตจ านงของผู้ผลิต ซึ่งอ านาจนั้นอาจจะเป็น อ านาจของรัฐ ทุน หรืออ านาจของปัจเจกชนคนใดคนหนึ่งก็ได้ โดยภาพจะท าหน้าที่เป็นวาทกรรม (discourse) ในการเชิงอภิปรายความหมายต่างที่มันอ้างถึง และคนอื่นที่มีอ านาจน้อยกว่าจะต้อง ยอมรับในความหมายที่ถูกก าหนดขึ้น (Rawlongbus, 2559 : ออนไลน์)

(16)

ส่วน Roland Barth ก็ได้อธิบายถึงการท างานของมายาคติที่ท างานอย่างเงียบ ๆ โดยที่เราไม่

ทันได้รู้สึกตัว ผ่านการแอบอิงตัวของมันเข้ากับบรรทัดฐาน/ขนบ (norms) และ ธรรมเนียม/ข้อตกลง (convention) ทางวัฒนธรรมและสังคม เพราะในภาพหนึ่ง ๆ ที่เราเห็นนั้น จะสื่อถึงความหมายอย่าง ตรงไปตรงมากับสิ่งที่น าเสนออยู่เบื้องหน้า (denotative meaning) และความหมายแฝงที่ซ่อนเร้นอยู่

ภายในภาพ (connotative meaning) นั้น ๆ (เพิ่งอ้าง, 2559 : ออนไลน์) ตัวบทของยุคหลังสมัยใหม่

ที่เต็มไปด้วยความแยบยล ยอกย้อน และย้อนแย้งทางความคิดหรือมโนทัศน์ ความสามารถในการ พลิกแพลงเล่นค าและความหมายจนก่อเป็นนัยที่ซ้อนทับกันหลายชั้นหรือขัดกันไปโดยปริยาย ตลอดจนการชื่นชอบที่จะค้นคว้า เสนอ และสร้างค าใหม่ ดังจะพบอยู่ในภาพ ภาพจึงเป็นสิ่งที่ท าให้

เราหลงเชื่อไปว่าโลก/สังคมนั้นเหมือนกับรูปถ่ายที่เราเห็น มายาของภาพ (รูปคือเงาเหมือนของสังคม และสังคมเหมือนกับรูปถ่าย) มาประจบกับความคิดที่ว่า การรับรู้ด้วยสายตาเป็นประหนึ่งการบันทึก รูปผ่านอวัยวะการมองก่อนที่จะถูกแปร/ล้างโดยสมอง ซึ่งผ่านตัวกรอง/ตัวกลางของความเป็นจริง หลายชั้นระหว่างการรับรู้ทางสายตาและภาพที่เราสร้างขึ้น อาทิ ความคาดหวัง ความปรารถนาที่เป็น ตัวปรับเปลี่ยนการรับรู้ด้วยตา (สายัณห์ แดงกลม, 2551 : 141-143)

ค่านิยมในสังคมและวัฒนธรรมที่ถูกก าหนดขึ้น จึงเป็นสิ่งซึ่งเป็นผลมาจากการจับจ้อง การ มองและการดู ที่ถูกผลิตซ้ าผ่านนวัตกรรมของความเป็นสมัยใหม่อย่างเช่นในโลกแห่งปัจจุบัน ที่สื่อเข้า มามีบทบาทมากต่อชีวิตประจ าวันของผู้คน หรือกล่าวได้ว่ามันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของ มนุษย์ในสังคมปัจจุบันไปเสียแล้วก็ว่าได้ การผลิตซ้ าค่านิยมผ่านสื่อนั้นเป็นสิ่งที่ทรงอิทธิพลต่อผู้คน เป็นจ านวนมาก ดังเช่น การสร้างค่านิยมความขาวขึ้นมา เพื่อตอกย้ าถึงความเหนือกว่าของความเป็น คนขาวและขีดเส้นแบ่งให้ความเป็นคนขาวนั้นชัดเจนขึ้นมา ซึ่งเช่นเดียวกับความเป็นชายที่จะต้อง อาศัยความเป็นหญิงเพื่อแบ่งแยกให้ความเป็นหญิงและชายออกจากกันอย่างสิ้นเชิงนั้น หรือการสร้าง ภาพลักษณ์ เช่น ความสุภาพ ความหยาบคาย หรือมารยาทต่างทางสังคม ฯลฯ ก็เพื่อที่จะก าหนด มาตรฐานจ าลอง (normative mode) ขึ้นก็เพื่อท าให้สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่

สร้างขึ้นเพื่อก าหนดและควบคุมการมองของผู้คนให้เห็นชอบในสิ่งเดียวกันและยอมรับซึ่งสิ่งที่ก าลัง ควบคุมอยู่ (สมเกียรติ ตั้งมโน, 2549 : 78)

ฉะนั้น ‘การเห็น’ จึงเป็นความจริงที่ผ่านปฏิบัติการของการเลือกสรร การท าให้เป็นนามธรรม และการเปลี่ยนรูป ‘การคัดเลือก’ จึงเป็นกระบวนการที่น ามาซึ่งการเลือกของผู้มีอ านาจและจัดการให้

สิ่งนั้นกลายมาเป็นแหล่งทรัพยากรที่เรียกว่า ‘ค่านิยม’ จากสิ่งที่เคยเป็นทัศนะส่วนตัวกลายมาเป็น ทัศนะส่วนรวมที่กลายมาสู่จารีต ประเพณีหรือกลายมาเป็นความจริงของสังคมไปในที่สุด ด้วยการท า

(17)

ให้สิ่งที่คัดเลือกมาผ่านกระบวนการท าให้กระจ่าง (illumination) หรือการน ามาสู่การท าให้มองเห็น ถึงความส าคัญของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับได้ในที่สุด (น้ าอ้อย อ่าวสินธุ์

ศิริ, 2561 : ออนไลน์) ดังกับภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เห็นเฉพาะสิ่งที่ผู้สร้างต้องการให้เห็น ให้เชื่อ ในสิ่งที่ภาพนั้น ๆ ก าลังบอกเล่าเรื่องราวที่ผู้สร้างตั้งใจสร้างขึ้นมาและสอดแทรกให้เห็นเฉพาะในสิ่งที่

อยู่ในกรอบของภาพเท่านั้น

การรับรู้ทางทัศนะ หรือ การอ่านภาพ (visual literacy) เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการอ่านภาพ (image) ด้วยการตีความและค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในภาพผ่านการทักษะทางตา ซึ่งหนึ่งใน แนวคิดที่มีความเกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิด ทัศนะวัฒนธรรม (visual culture) ซึ่งคิดนี้เกิดมาจากการ มนุษย์เชื่อภาพว่า ภาพคือภาษาอย่างหนึ่งที่สามารถสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้กับมนุษย์ได้ผ่าน การมอง จึงเกิดกรอบคิดที่ใช้เพื่ออธิบายในการตีความและหาความหมายของภาพหนึ่ง ๆ ที่เราได้พบ เห็น เพื่อท าความเข้าใจในสารที่ซ่อนอยู่ภายในภาพ เนื่องจากผัสสะทางตาเป็นผัสสะที่ส าคัญในการ รับรู้ของมนุษย์ที่สามารถรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านภาพถึง 90% ของการรับรู้ทั้งหมดของมนุษย์ ด้วย ความที่มนุษย์สามารถรับสารต่าง ๆ ได้ผ่านการมองเห็น การรับรู้ส่วนใหญ่ของมนุษย์จึงเป็นการรับรู้

ผ่านภาพที่เรามองเห็นในสิ่งต่าง ๆ ผ่านสายตา ซึ่งการมองเห็นมิได้เป็นเพียงการท างานผ่านเฉพาะ ผัสสะทางตาเท่านั้น แต่การมองเห็นยังเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับสมองในส่วนที่เป็นการคิดวิเคราะห์อย่าง Cortex โดยตรง จึงท าให้เราสามารถเข้าใจความหมายของภาพที่เห็นได้อย่างทันที แต่ความเข้าใจ ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสายตาของมนุษย์ถูกฝึกฝนให้สามารถรับรู้ในภาพเหล่านั้นผ่าน ประสบการณ์และการจดจ าของมนุษย์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลาใน การสร้างและท าความเข้าใจภาพ (สรุปความจาก Brian Kennedy, 2010 : ออนไลน์ และ Toledo Museum of Art, 2013 : ออนไลน์)

ดังนั้นความสามารถในการอ่านภาพไม่ได้เป็นเพียงการท าให้เราเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ได้อย่าง ง่ายดายเท่านั้น แต่การอ่านภาพยังเป็นการเพิ่มศักยภาพทางความคิดให้กับมนุษย์ได้สามารถเข้าใจโลก ได้อย่างลึกซึ้ง อีกทั้งยังช่วยให้มนุษย์รู้เท่าทันถึงสิ่งที่แอบแฝงอยู่ในภาพที่ถูกสร้างขึ้น ดังค ากล่าวที่ว่า

“Visual literacy is the ability to construct meaning from images. It’s not a skill. It uses skills as a toolbox. It’s a form of critical thinking that enhances your intellectual capacity” – Brian Kennedy (2010) หรือกล่าวได้ว่า การอ่านภาพไม่ได้เป็นเพียงการที่ท าให้คุณ เข้าใจได้ถึงความหมายของภาพเท่านั้น แต่การอ่านภาพออกยังเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะเพิ่มพูน

(18)

สติปัญญาให้กับมนุษย์ จากค ากล่าวนี้ จึงท าให้การอ่านภาพเป็นเรื่องที่ส าคัญในการเรียนรู้และท า ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ซึ่งผู้ศึกษาจะน าแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการมองงานผลงานที่เด็กได้รับมอบหมายในวิชา ศิลปะ เพื่อตีความและมองหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในผลงานว่า มีจุดใดที่สามารถบ่งบอกถึงการปลูกฝัง เรื่องความเป็นเพศของหญิงและชาย ประกอบกับผลงานที่เด็กสร้างสรรค์ออกมานั้น มีส่วนสะท้อนให้

ผู้ศึกษาเห็นถึงคุณลักษณะของความเป็นเพศตามบรรทัดฐานที่รัฐก าหนด/สร้างขึ้นหรือไม่ อย่างไร เพื่อ ค้นให้เห็นถึงเบื้องหลังความคิดของเด็กที่ได้ซึมซับจากสิ่งรอบตัวในชีวิตประจ าวัน โดยเฉพาะสิ่งที่เด็ก ได้รับรู้จาการเรียนศิลปศึกษา

สถำนที่ในกำรศึกษำ

โรงเรียนเยาวลักษณ์วิทยา ธนบุรี 126 ซอย 28 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์

บูรณะ กรุงเทพฯ 10140

ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ

เพื่อเข้าใจถึงกระบวนการปลูกฝังเรื่องเพศและการสร้างความเป็นเพศผ่านการสอดแทรกใน การเรียนการสอนวิชาศิลปะ โดยวิธีการสอนในรูปแบบและเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้เด็กมีความคุ้นชินและ ซึมซับเรื่องความเป็นเพศผ่านกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากการเรียนวิชาศิลปะ และเพื่อเข้าใจถึง กระบวนการรับรู้ความเป็นเพศของเด็กที่สะท้อนผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแต่ละชิ้น และใน แต่ละชั้นเรียน เพื่อเข้าใจถึงการรับรู้ของแต่ละในช่วงวัย และสิ่งที่ถูกปลูกฝังของเด็กในแต่ละช่วงวัย ด้วยเช่นกัน

(19)

ระยะเวลำและแผนกำรด ำเนินงำน

กันยายน - ธันวาคม ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และลง ภาคสนาม เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น

มกราคม - กุมภาพันธ์ ลงภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อ ศึกษาเอกสารและวิธีการเรียนการสอน

มีนาคม - เมษายน ตรวจสอบ แก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม และวิเคราะห์ข้อมูล พฤษภาคม สรุป ตรวจสอบ แก้ไข และจัดท ารูปเล่ม

นิยำมศัพท์เฉพำะ

1. เด็ก ในงานวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กที่อยู่ในช่วงวัย 6-12 ปี หรือเด็กที่อยู่ในช่วงชั้น ประถมศึกษา ที่เป็นวัยแห่งความพร้อมของการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อน ามาปรับใช้และ พัฒนาบุคลิกภาพ เสริมสร้างความรู้ให้พร้อมส าหรับการเติบโตในอนาคต

2. เพศ ในงานวิจัยในครั้งนี้ คือ บทบาท หน้าที่ ความประพฤติ หรือทัศนะที่ถูกก าหนดขึ้น เพื่อให้เหมาะสมตามเพศสภาพ หรือสิ่งที่ก าหนดก าหนดความเป็นเพศที่เหมาะสมกับความ เป็นหญิงหรือความเป็นชายหรือความเป็นเพศอื่น ๆ เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติของแต่เพศให้

เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับในสังคม

3. ศิลปะ ในงานวิจัยในครั้งนี้ คือ หลักสูตรวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) ในระดับชั้นประถมศึกษา 4. รัฐ ในงานวิจัยในครั้งนี้ คือ หน่วยงานที่มีบทบาทในการควบคุมและก าหนดโครงสร้างทาง สังคม หรือวิถีปฏิบัติ ค่านิยม จารีต กฎหมายหรือวัฒนธรรม เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลและ ชี้น าแนวทางการใช้ชีวิตของคนในประเทศเพื่อให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถอยู่

ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

Referensi

Dokumen terkait

15 วารสารบริหารการศึกษา มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 30 มกราคม – มิถุนายน 2562 ผลการวิจัย พบว่า 1 ความต้องการจ

ข้อมูลบทความ : วันรับพิจารณา 25 มีนาคม 2562/ วันแก้ไข 30 เมษายน 2562/ วันตอบรับ 24 พฤษภาคม 2562/ วันตีพิมพ์ 28 มิถุนายน 2562 อุตสาหกรรมศึกษา URL :