• Tidak ada hasil yang ditemukan

ให้สนใจและแสดงออกตามความถนัดและความสามารถของตน

3. ให้มีจิตส านึกในคุณค่าและประโยขน์ของศิลปะ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. ให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลินและท างานร่วมกับผู้อื่นได้

5. ให้รู้จักน าศิลปะมาประยุกต์ให้เกิดคุณค่าและรสนิยมที่ดี

วิชาศิลปะในช่วงนี้จะมีรูปแบบที่ชัดเจนมายิ่งขึ้น คือการเน้นไปที่การวาดเขียน ระบายสี สเก็ต ภาพ จัดองค์ประกอบภาพ กล่าวคือ จะเป็นการเรียนการสอนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับทัศนศิลป์ทั้งหมด ส่วนการเย็บปักถักร้อย การช่างและการฝีมือจะถูกบรรจุลงในวิชาหัตถศึกษา อันมีจุดมุ่งหมายในการ ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้มือในอละเครื่องมือในการประดิษฐ์ ผลิตวัสดุตามก าลังวัยและความสามารถ ทั้งให้

เด็กได้น าทักษะเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจ าวันอย่างเกิดประโยชน์ (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2532 : 153-163) ซึ่งวิชาหัตถศึกษาก็คือ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีในปัจจุบัน

โดยวิชาศิลปะในหลักสูตรนี้จะมีความแตกต่างจากหลักสูตรก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก โดยมีจะ เพิ่มรายละเอียดในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่หลากหลายในการผลิตงานศิลปะ ซึ่งในหลักสูตร เดิมจะเน้นไปที่การวาดเขียน ระบายสี ผสมสี หรือสเก็ตภาพเหมือนเป็นหลัก แต่ในหลักสูตรนี้จะมีการ เพิ่มการปั้น การพิมพ์ และการออกแบบจากวัสดุต่าง ๆ เช่น การตัดแปะให้เป็นภาพ 2-3 มิติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเพิ่มการวาดเส้นลายไทยขึ้นมาเพื่อเพิ่มความหลากหลายและให้เด็กได้ซึมซับถึงความเป็น ไทยด้วยในขณะเดียวกัน (เพิ่งอ้าง, 2532 : 170-183)

ประเทศไทยได้รับอิทธิพลและพื้นฐานของศิลปศึกษาในปัจจุบันมาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น สิ่งที่ได้รับมาพร้อม ๆ กันกับแนวคิดและอิทธิพลทางสังคม การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ อื่น ๆ ซึ่งหลักสูตรศิลปศึกษาที่ได้รับมานั้นเป็ นการศึกษาศิลปะแบบพิพัฒนาการนิยม (progressivism) ศิลปะศึกษาเชิงวัฒนธรรม (cultural art education) และศิลปศึกษาแบบ DBAE

(discipline based art education) ที่ปรับศิลปศึกษามาสู่หลักการหรือตัวความรู้ด้วยการมุ่งเน้นให้

อยู่บนหลักแกนพื้นฐาน 4 ข้อ คือ ศิลปะสร้างสรรค์ (creative art) ประวัติศาสตร์ศิลป์ (history of art) สุนทรียศาสตร์ (aesthetic) และศิลปวิจารณ์ (art criticism) (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2548 : 97) เพื่อให้

ผู้เรียนสามารถพัฒนาและเสนอการวิเคราะห์ระดับพื้นฐานในงานศิลปะในเรื่องของโครงสร้าง พัฒนาการ และมุมมองทางวัฒนธรรมในลักษณะที่สามารถบูรณาการมุมมองเหล่านี้ให้เข้าด้วยกันได้

รวมทั้งความสามารถที่จะเข้าใจและประเมินงานศิลปะต่าง ๆ และประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตได้

(เพิ่งอ้าง, 2548 : 99) และอิทธิพลดังกล่าวนี้ ได้กลายมาเป็นหลักสูตรและแนวทางในการวัด ประเมินผลที่เป็นกระบวนการส าคัญส าหรับการศึกษา เพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนในวิชา ศิลปศึกษา (วิชัย จิตมาลีรัตน์, ม.ป.ป. : 13)

แต่ในปี พ.ศ. 2533 ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรศิลปศึกษาให้มีรูปแบบที่

แตกต่างไปจากแนวทางเดิมที่ได้รับมาในข้างต้นเล็กน้อย เนื่องมาจากที่หลักสูตรศิลปศึกษานั้นมีความ หลากหลายในด้านเนื้อหาสาระ จึงท าให้จ าเป็นที่จะต้องขยายขอบเขตความรู้เพื่อให้ควบคุมถึงเนื้อหา สาระที่มีความหลากหลายของศิลปะ คือ บูรณาการ (integration) สหวิทยาการ (interdisciplinary) คตินิยมสรรผสาน (eclecticism) และ บริบทนิยม (contextualism) ซึ่งหลักสูตรนี้ได้มีการปรับใช้ใน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในขณะนั้น (เพิ่งอ้าง, ม.ป.ป. : 2) แต่ยังคงยึดหลักการเรียนการสอนตาม แนวทางศิลปศึกษาแบบ DBAE (discipline based art education) ไว้เป็นพื้นฐาน เพื่อให้เด็กมี

ความหลากหลายในความรู้และความเข้าใจในศิลปะ อีกทั้งยังเพื่อประโยชน์ในการน าไปปรับใช้กับ ชีวิตประจ าวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สิ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นหลักสูตรอันเป็นพื้นฐานของวิชาศิลปะที่สืบเนื่องกันมาถึงในยุคสมัย แห่งปัจจุบัน ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 อันเป็นหลักสูตรที่มีการต่อยอดและปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับ บริบทแห่งยุคสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น แต่ยังคงใจความของพื้นฐานของหลักสูตรและรูปแบบของการเรียน การสอนไว้เช่นเดิม

ในปัจจุบัน โรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทยได้ด าเนินการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ล่าสุดที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในปีการศึกษา 2552 และบังคับใช้อย่างทั่วกันทั้งประเทศในปีการศึกษา 2555 โดยหลักสูตรดังกล่าว จะเป็นหลักสูตรที่ปรับปรุงต่อยอดจาก หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียน

ทุกคน ซึ่งเป็นก าลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตส านึก ในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จ าเป็นต่อการศึกษา ต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุก คนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ พร้อมทั้งยังให้ความส าคัญกับท้องถิ่นในการ เข้ามามีส่วนร่วมในการก าหนดบทบาทและการก าหนดหลักสูตร เพื่อให้มีความสอดคล้องกันระหว่าง ความเป็นวิชาการและความเป็นท้องถิ่นอย่างเหมาะสมตามความต้องการ และเป็นไปอย่างเหมาะสม กับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ (กระทวงศึกษาธิการ, 2551 : 1)

ซึ่งในหลักสูตรฉบับนี้จะบังคับใช้เฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษาและในระดับมัธยมศึกษา เท่านั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะส าคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้มีความรอบรู้อย่างเหมาะสมกับ ยุคสมัยแห่งการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะต้อง รอบรู้ก้าวทันสื่อ สารสนเทศและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มทักษะในการใช้ชีวิตและในการประกอบอาชีพ ต่อไปในอนาคต อันเป็นจุดมุ่งหมายของการเสริมสร้างแนวทางการพัฒนามาตรฐานโรงเรียนให้

เทียบเท่ากับมาตรฐานความเป็นสากล (กระทรวงศึกษาธิการ, 2555 : 3-10)

วิชาศิลปะในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นี้ จะมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม มีจินตนาการ รู้จักสร้างงานศิลปะ เข้าใจใน สุนทรียภาพและสอนให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าทางศิลปะ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 10) โดยในส่วน ของทัศนศิลป์จะอิงอยู่บนมาตรฐาน 2 ประการ คือ

1. มาตรฐาน ศ 1.1 คือ การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

รู้จักวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ สามารถถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะ อย่างเป็นอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวัน

2. มาตรฐาน ศ 1.2 คือ สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและ สากล1

1 มาตรฐาน ศ. คือ มาตรฐานที่ใช้เป็นตัวชี้วัดในวิชาศิลปะ (ศ. ย่อมาจากค าว่า ศิลปะ) อ้างอิงจาก กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 18

(ตารางตัวชี้วัดตามมาตฐาน ศ 1.1) ที่มาตาราง 1 : กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 190

(ตารางตัวชี้วัดตามมาตฐาน ศ 1.1) ที่มาตาราง 2 : กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 192

(ตารางตัวชี้วัดตามมาตฐาน ศ 1.2) ที่มาตาราง 3 : กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 194

ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีคุณภาพและคุณสมบัติของความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ในวิชาทัศนศิลป์

ตามคุณลักษณะที่กระทรวงได้ก าหนดไว้ 2 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 : ส าหรับผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ประถมศึกษาตอนต้น)

1.1 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่าง รูปทรง และจ าแนกทัศนธาตุของสิ่งต่าง ๆ ใน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้าง

งานวาภาพ ระบายสี โดบใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว ภาพปะติด และงานปั้น งาน โครงสร้างเคลื่อนไหวอย่างง่าย ๆ ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเรื่องราว เหตุการณ์ ชีวิต จริง สร้างงานทัศนศิลป์ตามที่ตนชื่นชอบ สามารถแสดงเหตุผลและวิธีการในการปรับปรุงงาน ของตนเอง

1.2 รู้และเข้าใจความส าคัญของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจ าวัน ที่มาของงาน ทัศนศิลป์ในท้องถิ่น ตลอดจนการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น ระดับที่ 2 : ส าหรับผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ประถมศึกษาตอนปลาย)

2.1 รู้และเข้าใจการใช้ทัศนธาตุ รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว สี แสงเงา มีทักษะพื้นฐานใน การใช้วัสดุอุปกรณ์ ถ่ายทอดความคิด อารมณ์ความรู้สึก สามารถใช้หลักการจัดขนาดสัดส่วน ความสมดุล น้ าหนัก แสงเงา ตลอดจนการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมในการสร้างงานทัศนศิลป์

2 มิติ 3 มิติ เช่น งานสื่อผสม งานวาดภาพระบายสี งานปั้น งานพิมพ์ภาพ รวมทั้งสามารถ สร้างแผนภาพ แผนผัง และภาพประกอบเพื่อถ่ายทอดความคิด จินตนาการ เป็นเรื่องราว เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกัน เข้าใจปัญหาในการจัด องค์ประกอบศิลป์ หลักการลดและเพิ่มในงานปั้น การสื่อความหมายในงานทัศนศิลป์ของตน รู้จักวิธีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ตลอดจนรู้และเข้าใจคุณค่าของงานทัศนศิลป์ที่มีผลต่อชีวิต ของคนในสังคม

2.2 รู้และเข้าใจบทบาทของงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนชีวิตและสังคม อิทธิพลของความ เชื่อ ความศรัทธาในศาสนาและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น (เพิ่ง อ้าง, 2551 : 184-185)

นอกจากนี้ ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาจะต้องเรียนวิชาแกนกลางบังคับตามเวลาที่โครงสร้าง ของหลักสูตรได้ก าหนดไว้ คือ

กลุ่มสาระ การเรียนรู้

เวลาเรียน ระดับประถมศึกษา

ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6

ภาษาไทย 200 200 200 160 160 160

คณิตศาสตร์ 200 200 200 160 160 160

วิทยาศาสตร์ 80 80 80 80 80 80

Dokumen terkait