• Tidak ada hasil yang ditemukan

การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม"

Copied!
136
0
0

Teks penuh

(1)

การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม THE DEVELOPMENT OF THAI READING COMPREHENSION USING

AN EXTENSIVE READING ACTIVITIES OF GRADE 6 STUDENTS IN ISALAMIC PRIVATE SCHOOL

โดย นูรีซะห์ วานา

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2560

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(2)

THE DEVELOPMENT OF THAI READING COMPREHENSION USING AN EXTENSIVE READING ACTIVITIES OF GRADE 6 STUDENTS

IN ISALAMIC PRIVATE SCHOOL

BY

NUREESAH WANA

A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR

THE DEGREE OF MASTER OF EDUCATION IN CURRICULUM AND INSTRUCTION

FACULTY OF EDUCATION

GRADUATE SCHOOL, RANGSIT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2017

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(3)

วิทยานิพนธ์เรื่อง

การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

โดย นูรีซะห์ วานา

ได้รับการพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2560 ---

รศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ประธานกรรมการสอบ

--- ดร.นิภาพร เฉลิมนิรันดร

กรรมการ

--- ดร.ศรีสมร พุ่มสะอาด

กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัยรับรองแล้ว

(ผศ.ร.ต.หญิง ดร.วรรณี ศุขสาตร) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

15 มกราคม 2561

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(4)

Thesis entitled

THE DEVELOPMENT OF THAI READING COMPREHENSION USING AN EXTENSIVE READING ACTIVITIES OF GRADE 6 STUDENTS

IN ISALAMIC PRIVATE SCHOOL by

NUREESAH WANA

was submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of Master of Education in Curriculum and Instruction

Rangsit University Academic Year 2017

--- Assoc.Prof. Sita Yiemkuntitavorn, Ph.D.

Examination Committee Chairperson

--- Nipaporn Chalermnirundorn, Ed.D.

Member

--- Srisamorn Pumsa-ard, Ed.D.

Member and Advisor Approved by Graduate School

(Asst.Prof.Plt.Off.Vannee Sooksatra, D.Eng.) Dean of Graduate School

January 15, 2018

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(5)

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ส าเร็จลุล่วงได้ด้วยดี เนื่องจากความเมตตากรุณาและช่วยเหลืออย่างดียิ่ง จาก ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ที่ได้มอบทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ดร.มณีเพ็ญ อภิบาลศรี

และดร.ศรีสมร พุ่มสะอาด อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.นิภาพร เฉลิมนิรันดร กรรมการการ สอบวิทยานิพนธ์ และ รศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่ได้เสียสละ เวลาอันมีค่าเพื่อให้ค าปรึกษา ค าแนะน าและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่ตลอดเวลา ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณมาอย่างสูง

ขอกราบขอบพระคุณ ดร.สมเกียรติ ทานอก อาจารย์ดวงฤดี มะยีแต และอาจารย์รอปีอะ สาเระ ที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นอย่างดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณผู้อ านวยการ คณะครู และนักเรียนโรงเรียนส่งเสริม ศาสน์ จังหวัดปัตตานีที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยและ ขอขอบพระคุณอาจารย์นูรมา ดอเลาะ และอาจารย์มารีแย มาแฮ ครูผู้สอนโรงเรียนส่งเสริมศาสน์

ส าหรับการให้การอธิบายและช่วยเหลือในการท าวิจัยครั้งนี้

ขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดา และครอบครัว ที่สนับสนุนให้ผู้วิจัยได้รับการศึกษาอย่าง เต็มก าลัง และคอยให้ก าลังใจและห่วงใย ช่วยเหลือให้ผู้วิจัยมีก าลังใจ ความมานะและความอดทน จนท าให้ผู้วิจัยประสบความส าเร็จในการท าวิจัยครั้งนี้ ประโยชน์ใดที่เกิดจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้

ผู้วิจัยขอมอบเพื่อเป็นการน้อมร าลึก พระคุณบิดา มารดา บูรพาจารย์ ทุกท่านที่ประสาทวิชาความรู้

แก่ผู้วิจัย

นูรีซะห์ วานา ผู้วิจัย

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(6)

ลายมือชื่อนักศึกษา ...ลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา...

5709606 : สาขาวิชาเอก: หลักสูตรและการสอน; ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน) ค าส าคัญ : ความเข้าใจในการอ่าน, บทอ่าน, กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา

นูรีซะห์ วานา: การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่าน นอกเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (THE DEVELOPMENT OF THAI READING COMPREHENSION USING AN EXTENSIVE READING ACTIVITIES OF GRADE 6 STUDENTS IN ISALAMIC PRIVATE SCHOOL) อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.ศรีสมร พุ่มสะอาด, 125 หน้า.

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาและ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา กลุ่ม

ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ก าลังเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนส่งเสริมศาสน์ จังหวัดปัตตานี จ านวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มนักเรียน 1 ห้องจาก 4 ห้อง ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทอ่านนอกเวลา 30 บท 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จ านวน 4 แผน 3) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกและ 4) แบบวัด ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา เครื่องมือวิจัยทั้ง 4 ประเภทได้ตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุก ฉบับ ส าหรับแบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านมีค่าความยาก ง่ายเท่ากับ 0.23 – 0.80 ค่าอ านาจ จ าแนกเท่ากับ 0.27 – 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเป็นผู้จัดการ เรียนรู้ด้วยตนเองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนส่งเสริมศาสน์ โดยใช้เวลา 4 สัปดาห์

รวม 16 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ ค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาสูงกว่าก่อนเข้า ร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักเรียนมีความ พึงพอใจต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาอยู่ในระดับมาก ( = 4.27)

x

x

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(7)

Student’s Signature ……….Thesis Advisor’s Signature………..………..

5709606 : MAJOR: CURRICULUM AND INSTRUCTION;

M.Ed. (CURRICULUM AND INSTRUCTION)

KEYWORDS : READING COMPREHENSION, EXTENSIVE READING, EXTENSIVE READING ACTIVITIES

NUREESAH WANA: THE DEVELOPMENT OF THAI READING COMPREHENSION USING AN EXTENSIVE READING ACTIVITIES OF GRADE 6 STUDENTS IN ISALAMIC PRIVATE SCHOOL. THESIS ADVISOR: SRISAMORN PUMSA-ARD, Ed.D., 125 p.

The objectives of this study were to study 1) Grade 6 students’ Thai reading comprehension ability in an Islamic private school by using extensive reading activities, and 2) Grade 6 students’ satisfaction towards the extensive reading activities. The sample group consisted of 30 students of Songsermsat School at Pattani Province in the first semester of academic year 2017 and they were selected by using a cluster random sampling method. The research tools were 1) 30 lessons of the extensive reading, 2) 4 lesson plans, 3) a Thai language reading comprehension test, and 4) the questionnaire regarding the satisfaction in extensive reading activities. All of the research tools were validated by 3 experts with the consistency index of Item-Objective Congruence Index (IOC) at 1.00. The test of reading comprehension had difficulty value at 0.23 – 0.80, the discrimination at 0.27 – 0.67 and reliability at 0.89.The data were collected in the teaching classes which lasted for 4 weeks or 16 hours in total. The data were analyzed using means ( ), standard deviation (S.D.) and t-test Dependent Samples.

The results revealed that 1) Grade 6 students’ reading comprehension ability after using extensive reading activities increased at the significant level of 0.01, and 2) the students’

satisfaction in using extensive reading activities was at a high level with = 4.27.

x

x

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(8)

สารบัญ

หน้า

กิตติกรรมประกาศ

บทคัดย่อภาษาไทย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

สารบัญ

สารบัญตาราง สารบัญรูป

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา 1.2 1.2 ค าถามในการวิจัย

1.3 1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.4 1.4 สมมติฐานการวิจัย 1.5 1.5 ขอบเขตของการวิจัย 1.6 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ

1 3 4 4 4 6 1.7 1.7 ประโยชน์ที่ได้รับ

1.8

6

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7

2.1 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนส่งเสริมศาสน์ 8

2.2 กิจกรรมการอ่านนอกเวลา 13

2.3 บทอ่าน

2.4 กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

16 18 2.5 ทฤษฎีการอ่าน

2.6 ความเข้าใจในการอ่าน

2.7 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.9 กรอบความคิดในการวิจัย

23 30 35 42 44

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(9)

สารบัญ (ต่อ)

หน้า บทที่ 3

บทที่ 4

วิธีด าเนินการวิจัย

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.2 เครื่องมือ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

45 45 46 49 51 52 4.1 ผลการศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียน

ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา

4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมที่ใช้

บทอ่านนอกเวลา

4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

52

54 56

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 57

5.1 สรุปผลการวิจัย 5.2 อภิปรายผล 5.3 ข้อเสนอแนะ

57 58 60

บรรณานุกรม 61

ภาคผนวก 66

ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญ 67

ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 73

ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ภาคผนวก ง ตัวอย่างบทอ่านนอกเวลาและภาพกิจกรรม

102 117

ประวัติผู้วิจัย 125

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(10)

สารบัญตาราง

หน้า ตารางที่

2.1 2.2 3.1 3.2

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปผลการสร้างเครื่องมือ

การเก็บข้อมูลในการทดลองใช้บทอ่านนอกเวลาในการพัฒนาความเข้าใจ ในการอ่านภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

10 11 49 50 4.1 ผลการเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยโดยกิจกรรมใช้บทอ่าน

นอกเวลา (N = 30)

53 4.2 คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของนักเรียน

ที่มีต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา

54

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(11)

สารบัญรูป

หน้า รูปที่

2.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย 44

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(12)

บทที่ 1 บทน ำ

1.1 ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ

การอ่าน (Reading) มีความส าคัญในการพัฒนาความคิดอย่างอิสระ สามารถสร้างภาพแบบ จินตนาการของตนเองจากการตีความจากภาพที่ได้รับจากการอ่านของผู้เรียน ท าให้ได้รับสาระ ความรู้ต่างๆ ท าให้เป็นผู้ทันโลก ทันเหตุการณ์ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังค ากล่าว ของเซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษได้แสดงให้เห็นว่า การอ่านท าให้คนเป็นคน โดยสมบูรณ์เพราะการอ่านจะช่วยให้มนุษย์ได้รับความคิด ความรู้ และความบันเทิงมีผลต่อการ ด ารงชีวิตและพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้เจริญและพัฒนายิ่งขึ้น(เลอสรวง วังศรี, 2554, น. 1) สอดคล้องกับทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทักษะการอ่านออก (Reading) เป็นทักษะที่จ าเป็น ที่สุดใน 3 ทักษะการเรียนรู้ คือ 3R Reading (การอ่าน) Writing (เขียนได้) และ Rithemeties (คิดเลข เป็น) (เยาวเรศ ภักดีจิตร, 2557, น. 3)ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงให้ความส าคัญกับเรื่องการอ่าน ตลอดมาและในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาการ 2551, น. 31) ได้ก าหนดให้การอ่านเป็นสาระที่ 1 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยก าหนดตัวชี้วัดไว้ในมาตรฐาน ท 1.1 โดยใช้

กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อน าไปในการตัดสินใจแก้ปัญหาในการด าเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่านวัตถุประสงค์เบื้องต้นของการอ่านโดยทั่วไปแล้วคือเพื่อความเข้าใจในเรื่องที่

อ่าน โดยมีค าอธิบายรายวิชา ท 16101 ภาษาไทย 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกล่าวไว้ว่า ฝึกอ่าน ออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง อธิบายความหมายของค า ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร อ่านเรื่องสั้นๆ อย่างหลากหลาย แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์และแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อน าไปใช้ในการด าเนินชีวิต อย่างงานเขียนเชิงอธิบาย ค าสั่ง ข้อแนะน า และปฏิบัติตาม อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิและ กราฟ เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ มีมารยาทในการอ่าน เพื่อให้

นักเรียนมีใจรักการอ่านมากขึ้น ควรปลูกฝังและสร้างทัศนคติให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการ

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(13)

อ่านหนังสือ สื่อทุกรูปแบบ สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่าน เพื่อท าให้การ อ่านเป็นที่สนใจมากขึ้น (บัลลังก์ โรหิตเสถียร และนงศิลินี โมสิกะ, 2553, น. 5)

ปัจจุบันพบว่านักเรียนส่วนมากยังมีปัญหาการอ่านไม่ออก ส่งผลให้มีผลการเรียนรู้ต่ า โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะนักเรียนร้อยละ 80 ใช้ภาษา มลายูในการสื่อสารในชีวิตประจ าวันจึงมีผลท าให้ผลสอบระดับชาติเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้

นักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 พบว่ามีจ านวนนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จ านวนมาก โดยเฉพาะผล การเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 ในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี

เขต 1 พบว่า จังหวัดปัตตานี มีนักเรียนชั้น ป.3 จ านวน 3,637 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 19 และเขียน ไม่ได้ร้อยละ 27 ส าหรับนักเรียนชั้น ป.6 มีจ านวน 3,860 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 16 และเขียนไม่ได้

ร้อยละ 16 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีค่าเฉลี่ย ต่ ากว่าระดับประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ, น. 2557) รวมผลจากนักเรียนในโรงเอกชนสอนศาสนา ที่เปิดการสอนแบบศาสนาอย่างเดียว และสอนศาสนาควบคู่สามัญซึ่งมีจ านวนมากถึง 185 โรงเรียน (ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี, 2559, น. 1) โรงเรียนส่งเสริมศาสน์จังหวัด ปัตตานีเป็นโรงเรียนเอกชนโรงเรียนหนึ่งที่สอนศาสนาควบคู่สามัญในแผนกประถมซึ่งมีนักเรียน ทั้งหมด 998 คน นักเรียนทั้งหมดร้อยละ 90 จะใช้ภาษามลายูในการสื่อสารในชีวิตประจ าวันไม่ค่อย ได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร มักใช้เฉพาะในโรงเรียนจึงท าให้การใช้ภาษาไทยโดยเฉพาะการอ่าน ไม่เป็นไปตามที่หลักสูตรก าหนด โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีจ านวน 133 คน ในปี

การศึกษา 2559 พบว่ามีผลการสอบภาษาไทยดังนี้

1) นักเรียนที่มีผลการสอบภาษาไทยได้ดี จ านวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 29.32 2) นักเรียนที่มีผลการสอบภาษาไทยพอใช้ จ านวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 26.32 3) นักเรียนที่มีผลการสอบภาษาไทยควรแก้ไข จ านวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 44.36 จากคะแนนเห็นได้ว่านักเรียนที่มีผลการสอบภาษาไทย (รวมถึงการอ่านออก) ที่อยู่ในระดับ ควรแก้ไขจะมีอยู่จ านวนมากกว่านักเรียนที่อยู่ในระดับพอใช้ และในระดับดี

เพื่อให้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้นได้สัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจ านวน 2 คน กล่าวว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังกล่าวต้องปรับปรุง แก้ไขในการใช้ภาษาไทย ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่คล่องและออกเสียงไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะความเข้าใจในอ่านอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุงกล่าวคือ ผู้เรียนไม่สามารถแปลความหมาย

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(14)

ตีความ และเข้าใจจุดประสงค์ที่ผู้เขียนจะสื่อถึงได้ จึงเป็นผลกระทบต่อผลการเรียนรู้ในทุกๆ รายวิชาและทุกๆสาระการเรียนรู้ แต่จะสังเกตได้ว่านักเรียนที่อ่านหนังสืออยู่ในระดับดีจะมีผลการ เรียนรู้ดีไปด้วยซึ่งสอดคล้องกับผลการ ศึกษาของเนาวรัตน์ นุ่มอุรา (2544, น. 2-3) ว่าความสามารถ ในการอ่านของนักเรียนอยู่ในระดับต่ า ทั้งความสามารถในการอ่าน และการท าความเข้าใจในเนื้อ เรื่องที่อ่าน ไม่สามารถเรียงล าดับเหตุการณ์ คาดการณ์ล่วงหน้า และจับใจความส าคัญของเรื่องที่ได้

อ่าน

ด้วยความส าคัญและสภาพปัญหาดังกล่าวจึงมีผู้วิจัยหลายท่านพยายามพัฒนาความเข้าใจใน การอ่านของนักเรียนเช่นงานวิจัยของเจะรอเมาะ มะดีเยาะ และนิสากร จารุมณี (2555, น. 2) การใช้

บทอ่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอิสลามในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเปรียบเทียบกับการสอน โดยใช้บทอ่านทั่วไปของนักเรียนมุสลิมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุด ผลปรากฏ ว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้บทอ่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอิสลามสามารถพัฒนาทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษได้ดีกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้บทอ่านเนื้อหาทั่วไป

ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนภาษาไทยมีความสนใจที่จะใช้สื่อประเภทบทอ่านเพื่อแก้ปัญหา ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบกับยังมีงานวิจัยเป็น จ านวนน้อยที่ด าเนินการโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาเพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจในการอ่าน ภาษาไทยกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผู้วิจัยจึงคาดหวังว่าการใช้

กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาจะช่วยพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้

1.2 ค ำถำมในกำรวิจัย

1.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีความเข้าใจใน การอ่านภาษาไทยหลังเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาดีขึ้นหรือไม่

1.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลามาก น้อยเพียงใด

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(15)

1.3 วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.3.1 เพื่อศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา

1.3.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมที่ใช้บท อ่านนอกเวลา

1.4 สมมติฐำนกำรวิจัย

1.4.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีความเข้าใจใน การอ่านภาษาไทยหลังเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บท อ่านนอกเวลา

1.4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความความพึงพอใจอยู่ในระดับมากต่อกิจกรรมที่ใช้

บทอ่านนอกเวลา

1.5 ขอบเขตของกำรวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ก าหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้

1.5.1 ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง

1) ประชากรที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ก าลังเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จ านวน 4 ห้องเรียน รวมจ านวน นักเรียนทั้งหมด 130 คน ซึ่งเป็นผู้เรียนที่มีความสามารถเก่ง ปานกลาง อ่อนคละกัน

2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ก าลังเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จ านวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการ

สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(16)

1.5.2 ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บทอ่านนอกเวลาที่เป็นการเล่าเรื่อง ที่มีลักษณะ

โครงสร้างของบทอ่านเชิงความเรียง (Expository Text) โดยมีเนื้อหาหลากหลายสาระส าคัญ รวมทั้งหมด 30 เล่ม ดังนี้

1) ประเพณี จ านวน 4 บท 2) ภูมิศาสตร์ จ านวน 6 บท 3) ศาสนา จ านวน 5 บท 4) อาเซียน จ านวน 5 บท 5) สมุนไพร จ านวน 3 บท 6) การงานอาชีพ จ านวน 5 บท 7) วิทยาศาสตร์ จ านวน 2 บท 1.5.3 ตัวแปรในกำรวิจัย

ตัวแปรต้น ได้แก่ การใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา ตัวแปรตาม ได้แก่

1) ความเข้าใจในการอ่านบทอ่านนอกเวลาในประเด็นต่อไปนี้ สรุปใจความส าคัญ ความเข้าใจเนื้อเรื่อง และรู้ความหมายค าศัพท์

2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่าน นอกเวลา

1.5.4 ระยะเวลำ

ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 25 วัน

1.5.5 สถำนที่ในกำรวิจัย

โรงเรียนส่งเสริมศาสน์ อ าเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(17)

1.6 นิยำมศัพท์เฉพำะ

บทอ่ำน หมายถึง เรื่องราวหรือข้อความภาษาไทยที่เรียบเรียงขึ้นเป็นความเรียงมีความยาว ประมาณ 4 - 5 หน้า ที่มีเนื้อเกี่ยวกับด้านสังคมศึกษา ได้แก่ ภูมิศาสตร์ ประเพณี ศาสนาและอาเซียน ด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทรัพยากรและสมุนไพร และด้านการงานอาชีพ

กิจกรรมกำรอ่ำนนอกเวลำ หมายถึง การที่ครูจัดให้นักเรียนอ่านบทอ่านภาษาไทยที่มี

โครงสร้างเนื้อหาที่หลากหลาย อ่านนอกเวลาเรียนตั้งแต่ 14.00 - 15.00 น. ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ควำมเข้ำใจในกำรอ่ำน หมายถึง การที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถอ่านสรุป ใจความส าคัญ ความเข้าใจเนื้อเรื่อง และรู้ความหมายค าศัพท์ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่าน นอกเวลา

ควำมพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมที่

ใช้บทอ่านนอกเวลาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

1.7 ประโยชน์ที่ได้รับ

1.7.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีความเข้าใจ ในการอ่านภาษาไทยดีขึ้นหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา

1.7.2 ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยส าหรับ ผู้เรียนชั้นประถม ศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

1.7.3 วิธีการและผลการศึกษา ค้นคว้า และท าวิจัยโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา กับกลุ่มตัวอย่างและพื้นที่อื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทยแก่นักเรียน

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(18)

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การท าวิจัยเรื่อง การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี

ที่6 ที่ใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผู้วิจัยได้ท าการศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ น าเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้

2.1 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนส่งเสริมศาสน์

2.1.1 ข้อมูลทั่วไป

2.1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2.2 กิจกรรมการอ่านนอกเวลา

2.2.1 ความหมายของการอ่านนอกเวลา 2.2.2 คุณลักษณะของการอ่านนอกเวลา 2.2.3 กลวิธีในการอ่านนอกเวลา

2.2.4 ประโยชน์ของการอ่านนอกเวลา 2.3 บทอ่าน

2.3.1 ความหมายของบทอ่าน 2.3.2 ประเภทของบทอ่าน 2.4 กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

2.4.1 นโยบายกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

2.4.2 วัตถุประสงค์กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

2.4.3 ค าส าคัญกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

2.5 ทฤษฎีการอ่าน

2.5.1 ความหมายของการอ่าน 2.5.2 ความส าคัญของการอ่าน 2.5.3 หลักการอ่านภาษาไทย 2.5.4 จุดมุ่งหมายของการอ่าน

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(19)

2.6 ความเข้าใจในการอ่าน

2.6.1 ความหมายของความเข้าใจในการอ่าน 2.6.2 องค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่าน

2.6.3 องค์ประกอบในการอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่าน 2.6.4 ระดับความเข้าใจในการอ่าน

2.7 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.7.1 ความหมายของความพึงพอใจ 2.7.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.7.3 ความส าคัญของความพึงพอใจ 2.7.4 การวัดความพึงพอใจ

2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.8.1 งานวิจัยในประเทศ 2.8.2 งานวิจัยในต่างประเทศ

2.9 กรอบความคิดในการวิจัย

2.1 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนส่งเสริมศาสน์

2.1.1 ข้อมูลทั่วไป

1) วิสัยทัศน์

โรงเรียนส่งเสริมศาสน์มุ่งพัฒนาผู้เรียนและบุคลากรมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่คุณธรรม มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมให้โรงเรียน จัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นด้านวิชาการ มีสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู

บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน และโรงเรียนพร้อมที่จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 2) ปรัชญา

วิทยาดี สามัคคี มีจริยธรรม

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(20)

3) เป้าหมาย

เป้าหมายของโรงเรียน

3.1) นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

3.2) นักเรียนและบุคลากรมีจิตส านึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3.3) ครูและบุคลากรมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

3.4) โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

3.5) โรงเรียนมีสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 3.6) ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

4) พันธกิจ

พันธกิจของโรงเรียน

4.1) พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน มุ่งเน้นด้านวิชาการ ควบคู่คุณธรรม

4.2) พัฒนาผู้เรียนและบุคลากรให้มีจิตส านึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.3) พัฒนาครูและบุคลากรทางด้านวิชาการสู่มาตรฐานวิชาชีพ

4.4) พัฒนาการบริหารจัดการอย่างมีระบบ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย 4.5) พัฒนาโรงเรียนให้มีสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ที่

หลากหลาย

4.6) เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเรียน

5.1) มีความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์

5.2) ซื่อสัตย์ สุจริต 5.3) มีวินัย

5.4) ใฝ่เรียนรู้

5.5) อยู่อย่างพอเพียง 5.6) มุ่งมั่นในการท างาน 5.7) รักความเป็นไทย 5.8) มีจิตสาธารณะ

5.9) ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(21)

2.1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

1) โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตารางที่ 2.1 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา

ระดับประถมศึกษา

ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6

□ กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย 200 200 200 160 160 160

คณิตศาสตร์ 200 200 200 160 160 160

วิทยาศาสตร์ 80 80 80 80 80 80

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม - สังคมศึกษา

- ประวัติศาสตร์

80 80 80 80 80 80

40 40 40 40 40 40

สุขศึกษาและพลศึกษา - สุขศึกษา

- พลศึกษา

40 40 40 40 40 40

40 40 40 40 40 40

ศิลปะ 80 80 80 80 80 80

การงานอาชีพและเทคโนโลยี 40 40 40 80 80 80

ภาษาต่างประเทศ 40 40 40 80 80 80

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน) 840 840 840 840 840 840

□ รายวิชาเพิ่มเติม

อิสลามศึกษา 40 40 40 40 40 40

□ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว 30 30 30 30 30 30

กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี 40 40 40 40 40 40

กิจกรรมชุมนุม 40 40 40 40 40 40

กิจกรรมจินตคณิต 10 10 10 10 10 10

รวมเวลาเรียน (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) 120 120 120 120 120 120

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(22)

ตารางที่ 2.2 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

รายวิชา / กิจกรรม เวลาเรียน (ชม. / ปี) (ชม. / สัปดาห์) รายวิชาพื้นฐาน (840) ชม. / ปี

ท 16101 ภาษาไทย 200 5

ค 16101 คณิตศาสตร์ 200 5

ว 16101 วิทยาศาสตร์ 80 2

ส 16101 สังคมศึกษา 80 2

ส 16101 ประวัติศาสตร์ 40 1

พ 16101 สุขศึกษา 40 1

พ 16101 พลศึกษา 40 1

ศ 16101 ศิลปะ 80 2

ง 16101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 80 2

อ 16101 ภาษาอังกฤษ 80 2

รวมเวลาเรียนพื้นฐาน 840 ชั่วโมง / ปี

รายวิชาเพิ่มเติม

อ 16201 อิสลามศึกษา 40 1

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว 30 1

กิจกรรมนักเรียน -ลูกเสือ / เนตรนารี

-ชุมนุม

40 40

1 1

กิจกรรมจินตคณิต 10 1

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นตามโครงสร้างหลักสูตร 1,000 ชั่วโมง / ปี

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(23)

2) ค าอธิบายรายวิชา และตัวชี้วัด

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 160 ชั่วโมง / ปี จ านวน 2.0 หน่วยกิต ศึกษาและฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง อธิบายความหมายของค า ประโยค และข้อความที่เป็นโวหาร อ่านจับใจความเรื่องอย่างหลากหลายจากสื่อต่างๆ โดยจับเวลาแล้วถาม เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน แยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน อธิบายการน าความรู้และความคิดจาก เรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการด าเนินชีวิต อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย ค าสั่ง ข้อแนะน า และ ปฏิบัติตาม อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ อ่านหนังสือ ตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ และมีมารยาทในการอ่าน คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด และครึ่งบรรทัดตามรูปแบบอักษรไทย เขียนค าขวัญ ค าอวยพรและประกาศโดยใช้ค าได้ถูกต้อง ชัดเจนและเหมาะสม เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน เขียน เรียงความ เขียนย่อความ เขียนจดหมายส่วนตัว กรอกแบบรายการต่างๆ เขียนตามจินตนาการและมี

มารยาทในการเขียน พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจ ตั้งค าถาม ถามตอบเชิงเหตุผล วิเคราะห์ความ น่าเชื่อถือพูดรายงานประเด็นที่ศึกษาจากเรื่องที่ฟังและดู พูด พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและ น่าเชื่อถือ มีมารยาทในการฟัง ดูและพูด วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของค าในประโยค ใช้ค าได้

เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลทั้งค าราชาศัพท์ระดับภาษาและภาษาท้องถิ่น รวบรวมและบอก ความหมายของค าภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ระบุลักษณะของประโยคสามัญ ประโยครวม ประโยคซ้อนรวมทั้งกลุ่มค าหรือวลี แต่งบทร้อยกรอง วิเคราะห์เปรียบเทียบส านวน สุภาษิต ค า พังเพย แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดี วรรณกรรม เล่านิทานพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ท่องจ าบทอาขยานและบทร้อยกรองได้อย่างมีคุณค่า กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนประมวลค า แต่งประโยค เขียนข้อวามและสร้างสรรค์ ผลงงานหลากหลายรูปแบบฝึกให้สังเกตค า ประโยคและ ข้อความ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการแสดงบทบาทสมมุติเพื่อฝึกทักษะการใช้ภาษาและ การเรียนรู้ด้วยเกม ฝึกการท างานกลุ่ม การวางแผนและพัฒนากระบวนการคิด เพื่อให้เกิดความเข้าใจ หลักภาษา เกิดทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สามารถน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ มีความชื่น ชมเห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยและภูมิใจในภาษาประจ าชาติ (โรงเรียนส่งเสริมศาสน์, 2560, น. 4)

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

(24)

รหัสตัวชี้วัด

ท 1.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6, ป.6/7, ป.6/8, ป.6/9 ท 2.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6, ป.6/7, ป.6/8, ป.6/9 ท 3.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6

ท 4.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6

ท 5.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4 รวม 34 ตัวชี้วัด

2.2 กิจกรรมการอ่านนอกเวลา

2.2.1 ความหมายของการอ่านนอกเวลา

ริชาร์ดส, แพลท, และแพลท (Richards, Platt, J., & Platt, H., 1992, p. 133) ได้ให้ค านิยาม ว่า การอ่านนอกเวลา คือ การอ่านหนังสือหรืออ่านเรื่องราวต่างๆ เป็นจ านวนมากเพื่อจะได้ความ เข้าใจทั่วๆ ไปในสิ่งที่อ่าน เป็นการมุ่งที่จะพัฒนานิสัยการอ่านที่ดี เพื่อพัฒนาความรู้ด้านค าศัพท์

โครงสร้างและเพื่อส่งเสริมความชอบในการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับแวริ่ง (Waring, 2000, p. 6) ที่ว่า ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องง่ายๆ ซึ่งท าให้อ่านได้อย่างไม่มีปัญหาหรือยุ่งยาก และยังเกิดความมั่นใจพึงพอใจ

และผู้เรียนเลือกเนื้อหาที่สนใจได้เอง (Mutoh & Bamford, 1998) นอกจากนั้น ฮิล (Hill, 1992, p. 2) ได้กล่าวว่า สื่อที่อ่านต้องมีความเชื่อมโยงกับความสนใจของผู้เรียนและอยู่ในระดับที่เหมาะสม

กับความสามารถของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนอ่านได้เร็วและสนุกกับการอ่าน

จากค านิยามของแนวการอ่านนอกเวลาที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การอ่านนอกเวลาคือ การที่

ผู้อ่านเลือกเรื่องที่จะอ่านตามความสนใจและระดับความสามรถของตน และในการอ่านมักจะช่วย ให้เกิดพัฒนาการด้านค าศัพท์ได้

2.2.2 คุณลักษณะของการอ่านนอกเวลา

นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงคุณลักษณะของการอ่านนอกเวลาไว้ดังนี้

เดย์และแบมฟอร์ด (Day & Bamford, 1998, pp. 7-8) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านนอกเวลาได้กล่าวถึง คุณลักษณะของการอ่านนอกเวลา 10 ประการ ดังนี้

มหาว ิทยาล ัยรังส ิต

Rangsit University

Referensi

Dokumen terkait

i STORY GRAMMAR STRATEGY IN IMPROVING STUDENTS’ READING COMPREHENSION OF NARRATIVE TEXT AT THE TENTH GRADE OF SMA NEGERI 1 BINTAN TIMUR SKRIPSI Submitted as a Partial