• Tidak ada hasil yang ditemukan

View of การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) THE DEVELOPMENT OF GROUP COUNSELING MODEL FOR ENHANCING HAPPINESS OF THE STUDENTS OF SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY, PRASARNMI

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "View of การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) THE DEVELOPMENT OF GROUP COUNSELING MODEL FOR ENHANCING HAPPINESS OF THE STUDENTS OF SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY, PRASARNMI"

Copied!
18
0
0

Teks penuh

(1)

THE DEVELOPMENT OF GROUP COUNSELING MODEL FOR ENHANCING HAPPINESS OF THE STUDENTS OF SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY, PRASARNMIT DEMONSTRATION SCHOOL (SECONDARY)

สมคิด กอมณี*

Somkit komanee*

โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายมัธยม)

Demonstration School Srinakharinwirot University (Secondary Division)

Corresponding Author Email: Somkid@swu.ac.th Received: November 01, 2021; Revised: December 20, 2021; Accepted: December 20, 2021

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุข ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการให้

การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2562 จํานวน 1,697 คน ได้จากการ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากนักเรียนที่มีคะแนนความสุข ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา จากนั้นแล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้ง หนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ12 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุข ของนักเรียน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาใด ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสุขของ นักเรียน มีค่าความ เที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .93 และวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์ องค์ประกอบ เชิงยืนยัน และ 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) อยู่ระหว่าง .60-1.00 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จํานวน 1,697 คนมีค่าเฉลี่ยความสุข โดยรวมอยู่ระดับน้อย ความสุขโดยรวม ของนักเรียน ประกอบด้วย ความสุข 2 ด้าน คือ 1) ความสุขด้านจิตใจ: การยอมรับ ตนเอง ความเป็นตัวของตัวเอง จุดมุ่งหมายในชีวิต การควบคุมตนเองและความพอเพียงของตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับน้อย และ 2) ความสุขด้านสังคม: การยอมรับผู้อื่น การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ความสามารถในการจัดการ ความขัดแย้ง และจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย

2.การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน เป็นรูปแบบที่ได้ประยุกต์

แนวคิดและเทคนิคของทฤษฎีต่าง ๆ ของการให้การปรึกษากลุ่มที่ประกอบด้วย ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบยึดบุคคล

(2)

เป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบวิเคราะห์ การสื่อสาร ระหว่างบุคคล และทฤษฎีการให้คําปรึกษากลุ่มการรู้คิดและพฤติกรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นประยุกต์

หลักการ และขั้นประเมินผลให้การปรึกษากลุ่ม

3. ความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มทดลอง หลัง ได้รับการใช้รูปแบบการให้การปรึกษา กลุ่มและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าความสุขของนักเรียนกลุ่มควบคุม ที่ไม่ได้รับ การใช้ รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลการประเมินของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อกลุ่ม ที่ใช้ในการเสริมสร้างความสุข โดยทําการสนทนากลุ่ม เฉพาะหลังการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสุข โดยใช้กลุ่มสัมพันธ์ อย่างมาก เพราะนักเรียนได้เรียนรู้ความสุขของนักเรียนได้อย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้แนวคิด การอภิปราย ซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์และให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรม ทําให้มีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อน ๆ และบุคคลอื่น ทําให้เกิดการเรียนรู้

และนําข้อมูลและวิธีการมาประยุกต์ใช้ในความสุขได้ง่ายขึ้น

คําสัญคัญ: การพัฒนารูปแบบการให้คําปรึกษาแบบกลุ่ม เพิ่มความสุข ABSTRACT

The puposes of this research topic “The development of group counseling model for enhancing happiness of the students of Srinakharinwirot University; Prasarnmit Demonstration School (Secondary ) were 1) to study the happiness of the students of Srinakharinwirot University; Prasarnmit Demonstration School (Secondary), 2) to develop the group counseling model for enhancing happiness of the students of Srinakharinwirot University;

Prasarnmit Demonstration School (Secondary), and 3) to study the effect of the group counseling model for enhancing happiness of the students of Srinakharinwirot University; Prasarnmit Demonstration School (Secondary ) . The subjects of this research included two groups. The first group consisted of 1,697 adolescent students. They were studying in the first semester in the academic year 2019. They were purposively selected from the students whose happiness scores were lower than fifty percentile and volunteered to attend the experiment. They were then randomly assigned into two groups: an experimental group and a control group. Each group consisted of 12 adolescent students. The experimental group participated in the group counseling while the control group did not receive any counseling. The research instruments were 1) the happiness scale with the reliability coefficient (alpha) of .96 and its construct validity was confirmed through factor analysis, and 2) the group counseling model for enhancing the happiness of the adolescent students with the IOC (Item Objective Congruence) ranged from .60-1.00. The research results were as follows: 1. The total mean score of happiness of the 1,697 students of the secondary schools in was lower. The students’ happiness consisted of two dimensions: the psychological happiness dimension and the social happiness dimension. 1)The mean scores of the dimension of the psychological happiness included self-acceptance, purpose in life, autonomy, self- regulation, and self-sufficiency revealed low; and 2) the mean scores of the dimension of the social happiness included other-acceptance, positive relationship with others, conflict management ability and social contribution revealed low. 2.The development of group counseling model for enhancing happiness of the students. was a form

(3)

Applied concepts and techniques of various theories of group counseling: The Person-Centered Group Counseling and Behavioral Group Counseling and Transactional Analysis Group Counseling and Cognitive Behavior Group Counseling. The 4 steps are collective, analysis, applied principles and the evaluation stage for group counseling 3. The happiness of the experimental group after participating in the group counseling model and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at .01 level. 4. Evaluation of the satisfaction of the experimental group on the group was used to develop happiness by discussing specific groups after the experiment. And at the end of the follow-up, it was found that the students in the experimental group were satisfied with happiness. by using highly correlated groups because students can learn about the happiness of their students systematically. They learned the concept of discussion, asked to obtain useful information and cooperate in activities, making social interaction with friends and other people, resulting in learning and easier to apply information and methods to happiness

Keywods: Development of Group Counseling Model, Enhancing Happiness บทนํา

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ได้กําหนดให้ “ความสุข” ของคนไทยเป็น เป้าหมายหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม เป็นคนดีมี

คุณธรรม และทําประโยชน์เพื่อส่วนรวม ทําให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สติปัญญา ตลอดจนความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบ อาชีพ และมีความมั่นคงในการดํารงชีวิต นําไปสู่ความ เข้มแข็งของครอบครัว ชุมชนและสังคมไทย ได้มุ่งจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสุขสมบูรณ์ ทั้งทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมใน การดํารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพื่อให้เป็นคนไทยที่สมบูรณ์สําหรับการดําเนินชีวิตของนักเรียนนั้น ส่วนใหญ่นักเรียนใช้เวลาอยู่ใน โรงเรียน และเวลาส่วนใหญ่ของนักเรียนจะอยู่ในห้องเรียน เพื่อเรียนหนังสือ

นอกจากนี้นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี อยู่ในวัยที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในการ ปรับตัวทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์

สังคมและสติปัญญาทั้งยังจะต้องมีการตัดสินใจในการเลือก เรียนสายวิชาใดวิชาหนึ่งให้เหมาะกับตัวเอง บิดา มารดาให้

ความสุขด้านจิตใจและอาจส่งผลให้ ความสุขด้านสังคมกับบุคคลรอบข้างตามมาได้ สอดคล้องกับ ประณต เค้าฉิม (พ.ศ.

2558: 711; อ้างถึงใน Harowitz, ค.ศ.1962 ) เกี่ยวกับสภาพความเป็นสุขในช่วงอายุ พบว่า มีความสุขอยู่ในช่วงอายุ

ตอนกลางของชีวิต เช่น ในด้านทัศนคติและพฤติกรรม รวมทั้ง ความสุขในชีวิต

ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์อาจารย์แนะแนวของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) เกี่ยวกับความสุข ผลการสัมภาษณ์ สรุปได้ว่าความสุขของนักเรียน ความสุขด้านการเรียน มีจุดมุ่งหมายในการเรียนและได้

เรียนรู้การมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนได้ และทํากิจกรรมร่วมกับเพื่อน ลดความขัดแย้งกับเพื่อน และได้ช่วยเหลือเพื่อน ปรึกษากับเพื่อน และ ความสุขด้านครอบครัว พ่อแม่เข้าใจและปรึกษาได้ ตามลําดับ

ในการศึกษาลักษณะความสุขของนักเรียนนั้น ผู้วิจัยได้ใช้คําถามปลายเปิดเพื่อสํารวจ เกี่ยวกับลักษณะความสุข ตามความคิดเห็นของนักเรียน จํานวน 100 คน ผลการสํารวจ พบว่า ลักษณะความสุขของนักเรียน ได้แก่ การมีจุดมุ่งหมาย ในชีวิต อยากเรียนให้ได้เกรดดี การมีความเป็นตัวของตัวเอง การมีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพ และสามารถรักษา

(4)

สัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนและบุคคลอื่นได้ การได้รับการยอมรับจากเพื่อนและครู ตลอดจนการอุทิศตนเพื่อสังคม โดยช่วยเหลือกิจกรรม ในโรงเรียนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม รวมทั้ง มีความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียน

นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับความสุขของนักเรียน ผลการสัมภาษณ์สรุปได้ว่าที่มีความสุข ต้องมีจิตใจที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ จากการสัมภาษณ์และการสํารวจเบื้องต้น รวมทั้ง จากการประมวลเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า 1) ความสุขด้านจิตใจ ได้แก่ การยอมรับตนเอง ความเป็นตัวของตัวเอง จุดมุ่งหมายในชีวิต การควบคุม ตนเองด้านอารมณ์ ความพอเพียงของตนเอง และ 2) ความสุขด้านสังคม ได้แก่ การยอมรับผู้อื่น การมีสัมพันธภาพที่ดีกับ บุคคลอื่น ความสามารถในการจัดการความขัดแย้งและมีจิตสาธารณะ

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน ทั้งนี้ เพราะว่า การให้คําปรึกษากลุ่ม (Group Counseling) เป็นกระบวนการสร้างสัมพันธภาพแห่งความเข้าใจ ความไว้วางใจ ความอบอุ่น การยอมรับนับถือ การสื่อสารที่ตรงไปตรงมาที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้มีโอกาสแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ ทั้งความรู้สึกทางบวกและทางลบ รวมทั้งข้อสงสัยต่าง ๆ ของตนเอง สามารถตั้งคําถามและแสดงความคิด ความรู้สึก ภายใต้บรรยากาศแห่งการยอมรับ และให้ความช่วยเหลือซึ่งกัน ซึ่งจะ นําไปสู่การเข้าใจและยอมรับตนเอง (ค.ศ.Corey, 2016: 5-7)

ในการพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนนั้น ผู้วิจัยได้ประยุกต์ ทฤษฎี

ต่างๆ ในการให้คําปรึกษากลุ่ม ได้แก่ ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Group Counseling) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม (Behavioral Group Counseling) ทฤษฎีการให้การปรึกษา กลุ่มแบบวิเคราะห์การสื่อสารระหว่าง บุคคล (Transactional Analysis Group Counseling) และทฤษฎีการให้คําปรึกษา กลุ่มการรู้คิดและ พฤติกรรม(Cognitive Behavior Group Counseling) นําไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน จํานวน 12 คน และทํา Focus Group ภายหลังการทดลอง

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์จะศึกษาและพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษา กลุ่มเพื่อเสริมสร้าง ความสุขให้นักเรียน ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ที่สนใจ และพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี

ต่อไปในอนาคต คําถามการวิจัย

1. ความสุขของนักเรียนประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มในการเสริมสร้างความสุขของนักเรียนจะต้องมีรูปแบบอย่างไรและสามารถ นํามาใช้ในการเสริมสร้างความสุขให้แก่นักเรียนได้จริงมาก น้อยเพียงใด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

3. เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

3.1 เปรียบเทียมความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลังการติดตามผล

(5)

3.2 เปรียบเทียมความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองหลังการทดลอง และหลังการติดตามผล

4. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความสุข ของนักรียน ภายหลังได้รับการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักรียน และเมื่อสิ้นสุดการ ติดตามผลโดยใช้สนทนากลุ่มเฉพาะ

สมมติฐานการวิจัย

1. ความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลองรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลัง การติดตามผล เพิ่มขึ้นกว่าได้รับรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม

2. ความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลองรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลัง การติดตามผล สูงกว่าได้รับรูปแบบการให้การปรึกษากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม บทนํา

ผลการวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1. ประโยชน์ในเชิงวิชาการ การวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาความสุข ซึ่งทําให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับกลุ่ม รวมทั้งการ พัฒนาความมีสุข โดยใช้กลุ่มในการพัฒนาที่มีการประยุกต์ เทคนิค และหลักการด้านจิตวิทยา เพื่อนํามาพัฒนาความมีสุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาความมีสุข หรือสนใจในการนําไปศึกษาในประชากรกลุ่มอื่น นอกจากนี้ยังได้ทราบถึง ความมีสุขเป็นอย่างไร ความมีสุขในด้านอะไรบ้างที่จําเป็นต้องได้รับการพัฒนาและให้ความสําคัญ

2. ประโยชน์เชิงปฏิบัติ ผลการศึกษาครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการปฏิบัติ ดังนี้

2.1 ผลการศึกษาทําให้ได้ข้อมูลจากแบบวัดความมีสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลันศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) อย่างละเอียด ซึ่งสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาได้

2.2 รูปแบบ เพื่อพัฒนาความมีสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีการประยุกต์เทคนิคต่าง ๆ ได้แก่

บทบาทสมมติ สถานการณ์จําลอง การอภิปรายกลุ่ม ซักถาม การให้กําลังใจ สถานการณ์เกี่ยวกับความมีสุข โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1) ขั้นมีส่วนร่วม เป็นการเรียนรู้ลงมือปฎิบัติตามกิจกรรมที่เตรียมไว้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์โดยตรง 2) ขั้นวิเคราะห์ ให้

ผู้เรียนได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์พฤติกรรมต่าง ๆ และอภิปรายร่วมกัน 3) ขั้นประยุกต์หลักการเป็นขั้นที่ให้

ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดต่อไปถึงการเรียนรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตจริง 4) ขั้นประเมินผล เป็น ขั้นตอนจะต้องประเมินผลว่าผู้เรียนได้รับผลตามที่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ทําให้นักเรียนมีความมีสุขมากขึ้น

วิธีดําเนินการวิจัย ประชากร

ประชากรที่ศึกษา เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) การศึกษา 2562 ซึ่งมี จํานวน 1,697 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากนักเรียนในข้อ 2.1 ที่มีคะแนนความสุขตั้งแต่เปอร์เซ็น

(6)

ไทล์ที่ 50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จํานวน 24 คน จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่ายมาจํานวน 12 คน แล้วสุ่มนักเรียน เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองมี นักเรียน จํานวน 12 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วม การให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาใด ๆ

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรที่ใช้ในในการศึกษาความสุขของนักเรียน ตัวแปรที่ศึกษา คือ 1.1 ความสุขด้านจิตใจ (Psychological Happiness) แบ่งเป็น 1) การยอมรับตนเอง (Self-Acceptance)

2) ความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) 3) จุดมุ่งหมายในชีวิต (Purpose in Life) 4) การควบคุมตนเอง (Self-Regulation) 5) ความพอเพียงของตนเอง (Self-Sufficiency) 1.2 ความสุขด้านสังคม (Social Happiness) แบ่งเป็น 1) การยอมรับผู้อื่น (Others-Acceptance)

2) การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น (Positive Relationships with Others) 3) ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management Ability) 4) จิตสาธารณะ (Social Contribution)

2. การพัฒนารูปแบบการให้คําปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ตัวแปรที่ศึกษา คือ

2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม

2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสุขของนักเรียน โดยประกอบด้วย 1) ความสุขด้านจิตใจ

2) ความสุขด้านสังคม

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาความสุข

1.1 ผู้วิจัยนําแบบวัดความสุขไปทดลองใช้กับนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 100 คน เพื่อหาคุณภาพของแบบวัดความสุข

1.2 ผู้วิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินผลเพื่อทราบว่านักเรียนมีความสุขโดยผู้วิจัยนําแบบวัดความสุข ฉบับสมบูรณ์ไปเก็บข้อมูลจากนักเรียนจํานวน 1,697 คน แล้วนําผลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติ ต่อไป

2. ผู้วิจัยหาคุณภาพของกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุข โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-objective Congruence: IOC) ของคะแนนจากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน

3. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลของกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุข โดยผู้วิจัยดําเนินการทํากลุ่มเพื่อ เสริมสร้างความสุข โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และเมื่อ สิ้นสุดการทดลองและติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อกลุ่มเพื่อพัฒนาความสุข

(7)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.1 แบบวัดความสุขของนักเรียน มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และ วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง ของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

1.2 รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน มีค่า ดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ

1.1 วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ของข้อคําถามแบบวัดความสุข โดยใช้สูตรคํานวณ ค่า ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการ (Item-objective Congruence: IOC) (วรรณี แกมเกตุ, 2550:

211-217) ผลการวิเคราะห์ อยู่ระหว่าง .60-1.00

1.2 วิเคราะห์ค่าอํานาจจําแนกรายข้อของแบบวัดความสุข โดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation:) (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. 2550: 98) ผลการวิเคราะห์ เท่ากับ 0.93

1.3 วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบวัดความสุขที่สร้างขึ้นด้วย การหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ของครอนบาค (Cronbach) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2555: 120) ผลการวิเคราะห์ เท่ากับ 0.79 ทํานายความสุขร้อยละ 73 (R2 = 0.738)

2. การวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย

2.1 ตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามที่ทําการเก็บจริง นําข้อมูลที่ได้มาเปลี่ยนเป็นรหัสตัวเลข เพื่อทํา การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป ลงรายการข้อมูลทั้งหมด

2.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของความสุข กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล โดยใช้ Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test

2.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบความสุขระหว่งกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมในระก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และ หลังการติดตามผล Mann- Whitney U Test

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน สรุปผลการวิจัย ดังนี้

1. การศึกษาความสุขของนักเรียน พบว่า ความสุขของนักเรียนอยู่ในระดับน้อย (x=2.59, σ = .83) มีค่าเฉลี่ยดังนี้

ความสุขด้านจิตใจ ความสุขการยอมรับตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (x =2.73, σ = 87)ความเป็นตัวของ ตัวเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (x = 2.52, σ = .81) จุดมุ่งหมายในชีวิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (x = 2.62, σ = .86) ความเป็นตัวของตัวเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (x = 2.68, σ = .84) ความพอเพียงของตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับน้อย (x = 2.72, σ = .74)

ความสุขด้านสังคม ความสุขการยอมรับผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (x = 2.54, σ = .75) การมีสัมพันธภาพที่

ดีกับบุคคลอื่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (x = 2.38, σ = .77) ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับน้อย (x = 2.47, σ = .85).จิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (x = 2.65, σ = .73)

2. การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม ผู้วิจัยประยุกต์แนวคิดและเทคนิคของ ทฤษฎีต่าง ๆ ของการ ให้การ ปรึกษา ประกอบด้วย ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่ม5 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบยึดบุคคลเป็น

(8)

ศูนย์กลาง ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบวิเคราะห์การสื่อสารระหว่าง บุคคล ทฤษฎีการให้คําปรึกษากลุ่มการรู้คิดและพฤติกรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนในการดําเนินการ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นประยุกต์หลักการ และขั้นเมินผลให้การปรึกษากลุ่ม

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนของความสุขของกลุ่มทดลอง (n=12 ) และกลุ่มควบคุม (n=12 ) ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล

ความสุข ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง หลังการติดตามผล

x SD แปล

ผล

x SD แปลผล x SD แปล

ผล กลุ่มทดลอง

1.การยอมรับตนเอง 1.77 .79 น้อย 4.18

.84 สูง 4.19 .87 สูง

2. ความเป็นตัวของตัวเอง 1.78 .82 น้อย 4.29 .81 สูง 4.30 .80 สูง

3. จุดมุ่งหมายในชีวิต 1.79 .78 น้อย 4.30 .83 สูง 4.30 .80 สูง

4.การควบคุมตนเอง 1.85 .83 น้อย 4.40 .84 สูง 4.42 .86 สูง

5.ความพอเพียงของตนเอง 1.82 .80 น้อย 4.65 .79 สูง 4.65 .79 สูง

ความสุขด้านจิตใจ 1.80 .80 น้อย 4.37 .79 สูง 4.38 .80 สูง

6.การยอมรับผู้อื่น 1.87 .80 น้อย 4.34 .80 สูง 4.35 .82 สูง

7.การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 1.76 .83 น้อย 4.53 .78 สูง 4.53 .80 สูง

8.ความสามารถในการจัดการความ ขัดแย้ง

1.80 .76 น้อย 4.35 76 สูง 4.36 79 สูง

9.จิตสาธารณะ 1.81 .82 น้อย 4.44 83 สูง 4.45 80 สูง

10.ความสุขด้านสังคม 1.79 .81 น้อย 4.42 .82 สูง 4.43 .80 สูง

12.ความสุขด้านจิตใจ + ความสุข ด้านสังคม

1.79 .81 น้อย 4.39 .81 สูง 4.40 80 สูง กลุ่มควบคุม

1.การยอมรับตนเอง

1.78 .72 น้อย 1.78 .72 น้อย 1.78 71 น้อย

2. ความเป็นตัวของตัวเอง 1.78 .79 น้อย 1.78 79 น้อย 1.78 .69 น้อย

3. จุดมุ่งหมายในชีวิต 1.80 .73 น้อย 1.80 .72 น้อย 1.80 79 น้อย

4.การควบคุมตนเอง 1.84 .74 น้อย 1.84 .84 น้อย 1.84 .76 น้อย

5.ความพอเพียงของตนเอง 1.82 .98 น้อย 1.82 .91 น้อย 1.82 .88 น้อย

ความสุขด้านจิตใจ 1.80 .79 น้อย 1.80 .79 น้อย 1.80 .78 น้อย

6.การยอมรับผู้อื่น 1.86 .87 น้อย 1.86 .80 น้อย 1.86 .83 น้อย

7.การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น .76 .86 น้อย 1.76 .78 น้อย 1.76 .82 น้อย

8.ความสามารถในการจัดการความ ขัดแย้ง

1.80 .74 น้อย 1.80 .64 น้อย 1.80 .76 น้อย

(9)

ความสุข ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง หลังการติดตามผล

x SD แปล

ผล

x SD แปลผล x SD แปล

ผล

9.จิตสาธารณะ 1.80 .98 น้อย 1.80 .91 น้อย 1.80 .88 น้อย

10.ความสุขด้านสังคม 1.80 .86 น้อย 1.80 .79 น้อย 1.80 .82 น้อย

11.ความสุขด้านจิตใจ + ความสุขด้าน สังคม

1.80 .82 น้อย .80 0.79 น้อย 1.80 .79 น้อย

3. เปรียบเทียบความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล

ผลการวิจัย พบว่า ความสุข โดยรวมของนักเรียนกลุ่มทดลอง ระหว่างหลังการทดลอง และก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และระหว่างหลังการติดตามผล และหลังการทดลอง และระหว่างหลังการ ติดตามผล และก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยค่าเฉลี่ย หลังการติดตามผล (x= 4.40, SD .80) มากกว่า หลังการทดลอง (x= 4.39, SD .81) และหลังการทดลอง มากกว่า ก่อนการทดลอง (x=1.79, SD .81) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบความสุข โดยรวมและรายด้านของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลัง การติดตามผล

ตัวแปร ระยะเวลา x SD ระยะการทดลอง การให้การปรึกษาที่

นํามาเปรียบเทียบ

Negative Rank

Positi ve Rank

Ties Z P

1. การยอมรับ ตนเอง

ก่อนการ ทดลอง

1.77 .79 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

4 19 0 -1.115 ** .000

หลังการ ทดลอง

4.18 .84 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

7 15 5 -2.285** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.19 .87 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

0 9 0 -3.163** .000 2. ความเป็น

ตัวของตัวเอง

ก่อนการ ทดลอง

1.78 .82 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

0 12 0 -1.165** .000 หลังการ

ทดลอง

4.29 .81 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 14 6 -2.111** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.30 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

9 15 0 -3.124** .000

(10)

ตัวแปร ระยะเวลา x SD ระยะการทดลอง การให้การปรึกษาที่

นํามาเปรียบเทียบ

Negative

Rank Positi ve Rank

Ties Z P

3. จุดมุ่งหมาย ในชีวิต

ก่อนการ ทดลอง

1.79 .78 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

4 10 0 -1.581** .000 หลังการ

ทดลอง

4.30 .83 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

5 15 7 -2.254** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.30 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

2 13 0 -3.311** .000 4. การควบคุม

ตนเอง

ก่อนการ ทดลอง

1.85 .83 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

4 0 0 -1.231** .000 หลังการ

ทดลอง

4.40 .84 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 16 0 -1.354** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.42 .86 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

4 15 0 -3.161** .000 5. ความ

พอเพียงของ ตนเอง

ก่อนการ ทดลอง

1.82 .80 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

4 0 0 -1.206** .000 หลังการ

ทดลอง

4.65 .79 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 18 0 -1.458** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.65 .79 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

4 14 0 -3.061** .000 6. ความสุข

ด้านจิตใจ

ก่อนการ ทดลอง

1.80 .80 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

2 0 0 -1.116** .000 หลังการ

ทดลอง

4.37 .79 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 13 0 -1.358** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.38 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

4 14 0 -1.061** .000 7. การยอมรับ

ผู้อื่น

ก่อนการ ทดลอง

1.87 .80 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

5 19 0 -1.059** .000 หลังการ

ทดลอง

4.34 .80 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 17 0 -3.150** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.35 .82 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

0 11 0 -3.059** .000

(11)

ตัวแปร ระยะเวลา x SD ระยะการทดลอง การให้การปรึกษาที่

นํามาเปรียบเทียบ

Negative

Rank Positi ve Rank

Ties Z P

8. การมี

สัมพันธภาพที่

ดีกับบุคคลอื่น

ก่อนการ ทดลอง

1.76 .83 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

0 14 0 -1.488** .000 หลังการ

ทดลอง

4.53 .78 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 12 6 -2.241** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.53 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

8 16 0 -3.124** .000 9. ความ

สามารถในการ จัดการความ ขัดแย้ง

ก่อนการ ทดลอง

1.81 .82 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

4 0 0 -1.171** .000 หลังการ

ทดลอง

4.44 .83 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 19 0 -1.348** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.45 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

4 15 0 -3.462** .000 10. จิต

สาธารณะ

ก่อนการ ทดลอง

1.79 .81 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

6 0 0 -1.273** .000 หลังการ

ทดลอง

4.39 .81 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 12 0 -1.264** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.40 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

5 16 0 -3.154** .000 11. ความสุข

ด้านสังคม

ก่อนการ ทดลอง

1.79 .81 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

3 0 0 -1.373** .000 หลังการ

ทดลอง

4.42 .82 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 12 0 -1.244** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.43 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

5 14 0 -3.174** .000 12. ความสุข

ด้านจิตใจ+

ความสุขด้าน สังคม

ก่อนการ ทดลอง

1.79 .81 หลังการทดลอง-ก่อน การทดลอง

6 0 0 -1.174** .000 หลังการ

ทดลอง

4.39 .81 หลังติดตามผล- หลัง การทดลอง

0 11 0 -1.256 ** .000 หลังการ

ติดตามผล

4.40 .80 หลังติดตามผล-ก่อน การทดลอง

0 12 0 -2.244** .000

4. เปรียบเทียบความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลองกับกลุมควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการ ติดตามผล

ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทดลอง ความสุขโดยรวม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลองความสุขระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01 โดยมี

Referensi

Dokumen terkait

Based on the comparison of N-gain increase in each critical thinking skill dimension for each group of students,the development result of elementary clarification