• Tidak ada hasil yang ditemukan

มองรอบทิศคิดอย่าง Supply Chain

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "มองรอบทิศคิดอย่าง Supply Chain"

Copied!
11
0
0

Teks penuh

(1)

1

มองรอบทิศคิดอย่าง Supply Chain

เขียนโดย ชิตพงษ์ อัยสานนท์ e-mail: ayasanond@hotmail.com

รองผู้จัดการกองฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน บริษัท การบินไทย จ ากัด (มหาชน) และ น.ศ. หลักสูตร Ph.D in Logistics and Supply Chain Management ม. ศรีปทุม

ร้าน “Sushi 100 Yen”

เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เลยอยากเล่า ประสบการณ์ที่ได้ไปพบเห็น เกี่ยวกับระบบ Logistics และ Supply Chain ที่เกี่ยวพันกับวิถีการด าเนิน ชีวิตประจ าวันของคนในประเทศญี่ปุ่น จากร้าน “Sushi 100 Yen”

ร้าน “Sushi 100 Yen” เป็นร้านที่มีการตบแต่งแบบเรียบง่าย มีความสวยงามตามแบบฉบับ ญี่ปุ่น ภายในร้านมีความสะอาดค่อนข้างมาก มีรายการอาหารและค าอธิบายทั้งภาษาญี่ปุ่นและ ภาษาอังกฤษ มีพนักงานบริการที่ท าหน้าที่บริการ และเป็นคนเก็บเงินด้วยในขณะเดียวกัน ตอนที่ผม ไปนั่งรับประทานนั้น มีพนักงานบริการในร้านเพียง 2 คน พอดีทราบมาก่อนว่าคนต้องแน่นมาก เลย ไปทานประมาณบ่ายสองโมงเวลาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถ้าเทียบเป็นเวลาของบ้านเราก็เที่ยงพอดี ผม แอบมองไปในครัวก็เห็นมีพ่อครัวอยู่ประมาณ 3-4 คน ภายในร้านมีโต๊ะไว้บริการทั้งหมดประมาณ 30 โต๊ะ โต๊ะหนึ่งนั่งได้ประมาณ 4-6 คน ตอนนั้นก็มีผู้คนมารับประทานอาหารประมาณ 10 โต๊ะ มีมุม ส าหรับบริการเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นการบริการแบบ Self service ซึ่งเครื่องดื่มที่เป็นที่

นิยมของคนญี่ปุ่นก็คือ เบียร์และสาเก หากดูสัดส่วนในช่วงเวลาคนเข้ามานั่งรับประทานจนแน่นร้าน กับพนักงานในร้านแล้ว คงบริการไม่ทันแน่ แต่ร้านนี้สามารถตอบโจทย์ได้อย่างรวดเร็ว อร่อย สนุก และทันใจ

ร้าน “Sushi 100 Yen” ได้ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการ บริหารจัดการ มีเครื่องกดรอคิวเพื่อเรียกผู้เข้ามานั่งรอรับประทานอาหารเมื่อมีที่นั่งว่าง บริเวณที่นั่ง รับประทานอาหาร นอกจากจะมีรายการอาหาร และอุปกรณ์การรับประทานอาหาร คือตะเกียบและ เครื่องปรุงรสแล้ว ก็จะมีเครื่องกดน ้าร้อนส าหรับให้ผู้ที่มานั่งรับประทานอาหาร สามารถชงชาญี่ปุ่นได้

ด้วยตัวเอง โดยมีกล่องใส่ผงชาญี่ปุ่นที่เราสามารถหยิบบริการได้ด้วยตัวเอง ตามความชอบใจใน รสชาติที่เข้มข้นมากน้อยต่างกัน ซึ่งวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวญี่ปุ่น จะรับประทาน

(2)

2

อาหารพร้อมกับชาญี่ปุ่นร้อนเป็นส่วนใหญ่ บริเวณที่นั่งจะมีสายพานล าเลียงสองสาย บนและล่าง อาหารประเภท Sushi ที่เป็นที่นิยมหลักๆเช่น ข้าวปั้นหน้าปลาดิบ ข้าวปั้นหน้าปลาหมึก หรือข้าวห่อ สาหร่าย เป็นต้น ก็จะถูกล าเลียงผ่านสายพานด้านล่าง ซึ่งผู้ที่มานั่งรับประทานอาหารสามารถหยิบ เลือกได้เองตามความต้องการ เรียกได้ว่า ผลิตเพื่อเก็บสต็อก (Make to Stock) หรือระบบ Push ที่เป็น อาหารส าเร็จรูป (Finished Food) เป็นสต็อกไว้เมื่อลูกค้าเห็นก็สามารถหยิบ นับเป็นการส่งมอบสินค้า ได้ทันที

บริเวณเหนือที่นั่งรับประทานอาหารหรือโต๊ะของเรา จะมีจอแบบสัมผัส (Touch screen) พร้อมแสดงรูปภาพของอาหารประเภท Sushi ในรสชาติต่างๆ เช่น ข้าวปั้นหน้าเนื้อย่าง เทมปรุระ หรือ มันทอดแบบญี่ปุ่น ซึ่งผู้บริโภคสามารถกดเลือกได้เอง ในกรณีที่ต้องการรสชาติของ Sushi แบบอื่นๆ นอกเหนือไปจากสายพานล าเลียงด้านล่าง โดยจะมีสายพานล าเลียงแยกออกมาต่างหากอีกหนึ่งสายอยู่

ด้านบน เมื่ออาหารมาถึงที่นั่งของเรา ก็จะมีเสียงเหมือนรถด่วน พร้อมไฟกระพริบเพื่อแสดงให้ทราบ ว่าอาหารที่เราได้สั่งพิเศษนั้น ได้มาถึงที่โต๊ะแล้ว เรียกได้ว่าประกอบตามสั่ง (Assembly to Order) หรือ Push-Pull เป็นระบบการท าอาหารตามสั่ง โดยจะเก็บวัตถุดิบ (สต็อก) ในรูปงานระหว่างกระบวนการ (Work in Process: WIP) รอไว้จ านวนหนึ่ง เมื่อลูกค้าสั่ง Sushi ชนิดใด ก็ท าผ่านกระบวนการผลิตจน ได้ Sushi รสชาดที่ต้องการ

(3)

3

ถ่ายภาพ เมื่อ 2 กันยายน 2555 ร้าน “Sushi 100 Yen”, Narita, Tokyo

หลังจากรับประทาน Sushi ได้ไประยะหนึ่ง แน่นอนครับจานเปล่าย่อมเยอะและดูไม่สบาย ตานัก แต่บริเวณที่นั่งของเราจะมีช่องส าหรับให้ผู้ที่มานั่งรับประทานอาหารได้ใส่จานเปล่าที่ไม่

ต้องการแล้วได้ด้วยตัวเอง เมื่อใส่จานเปล่าลงไปในช่องนั้นครบ 5 ใบ จะสามารถเล่มเกมส์กดจากจอ Touch screen ที่อยู่บริเวณเหนือโต๊ะของเรา เกมส์ที่มีให้เล่นนั้นก็มีถึง 5 เกมส์ มีเกมส์แข่งกับซูโม่

เกมส์ตกปลา เกมส์ซื้อของ เกมส์เลือกของ และเกมส์กดแบบ Slot ให้ได้ภาพหรือของที่เหมือนกัน ซึ่ง เราก็สามารถเลือกชนิดของเกมส์ที่อยากจะเล่นได้ ถ้าหากเล่นเกมส์ชนะก็จะได้ของรางวัลเป็นตุ๊กตา ญี่ปุ่นตัวเล็กๆที่ใช้ผูกกับโทรศัพท์มือถือ หรือเป็นตุ๊กตาตัวเล็กๆน่ารักๆ ที่เราสามารถเก็บไว้เป็นที่

ระลึกได้ ออกมาจากตู้อัตโนมัติที่อยู่ด้านบนของโต๊ะ ลักษณะก็เหมือนตู้หยอดเหรียญของบ้านเรา นับเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงประสบการณ์ (Customer Experience Management: CEM) ที่ชาญ ฉลาด สามารถท าให้ผู้ที่มานั่งรับประทานอาหารช่วยท าความสะอาด และเก็บจานเปล่าที่ไม่ต้องการ แล้วได้ดีทีเดียว ทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการกินมากขึ้น หากต้องการชนะเกมส์ที่ตนเองเล่น หรือ อยากได้ตุ๊กตาประเภทอื่น ก็ต้องทานเพิ่มจนครบ 5 จานต่อการเล่นเกมส์หนึ่งครั้ง และเป็นการลดการ ใช้แรงงานของพนักงานบริการในร้านได้ไปในตัวด้วย เรียกว่ายิ่งนกทีเดียวได้หลายตัวจริงๆ

เมื่อเรารับประทานเสร็จก็เพียงแต่กดบนหน้าจอ Touch screen จ านวนจานที่เรา รับประทานทั้งหมดก็จะปรากฏออกมา โดยระบบจะคิดค านวณจากจานเปล่าที่เราได้ใส่ลงไปใน ช่องว่างนั้น แล้วก็สามารถน ารายการนั้นไปช าระเงินที่ Cashier ได้ด้วยตัวเองเรียกว่า ให้เราช่วย พนักงานในร้านอีกแรงหนึ่งเลย ซึ่งวันนั้นผมกับเพื่อนทั้งหมด 4 คนทานไป 46 จานๆละ 100 Yen บวก

(4)

4

ภาษีผู้บริโภคอีก 5 เปอร์เซนต์ ก็เป็นเงินทั้งหมด 4,830 Yen คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 1,727 บาท ก็ไม่

ขอบอกว่ามากหรือน้อยนะครับ

ร้าน “Sushi 100 Yen” นับเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่มีการ ผสมผสานระบบ Logistics และ Supply chain ในการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า โดยผ่านสายพานล าเลียงอาหารที่รวดเร็ว ใช้จอ Touch screen ในการเชื่อมต่อข้อมูลในการสั่งอาหารไปยังห้องครัว และมีระบบบันทึกข้อมูล ภายในตัว มีระบบบริหารงานที่สามารถสร้าง Value Added ให้เกิดขึ้นกับลูกค้าด้วยการเล่นเกมส์ผ่าน จอ Touch screen สามารถลดขั้นตอนในการเก็บจานอาหารที่ไม่ต้องการ สามารถใช้ทรัพยากรแรงงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่ส าคัญสามารถเก็บเงินได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเราสามารถเขียนเป็น Logistics

& Supply Chain Flow Chart ได้ดังนี้ คือ

Logistics & Supply Chain Flow Chart

Physical Distribution Management ค าม ้อง าร

อง ค้า

ดิบ Raw Materials

Warehouse

Inbound Logistics Outbound Logistics

ค้า Customers

ินค้าร ่างท า Work in Process

โรงคร Manufacturing

Facility

Physical Distribution Management Physical Distribution Management ค าม ้อง าร

อง ค้า Customers ค้า

ค้า Customers

Information Flow (Supply Chain) Material Flow

ินค้าร ่างท า Work in Process

CEM

CRM

EDI

Logistics & Supply Chain Flow Chart ของร้าน “Sushi 100 Yen”

ร บ น าร “โ จิ ิ ์” องร้าน “Sushi 100 Yen”

จาก Inbound Logistics การจัดการโลจิสติกส์จะเน้นไปที่การเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรม ตั้งแต่ขั้นตอนในการจัดหาวัตถุดิบ (Raw Material) สินค้า (Goods) และบริการ (Services) การ

(5)

5

เคลื่อนย้ายจากต้นทาง (Source of Origin) ไปยังผู้บริโภคปลายทาง (Final Destination) ได้ทันเวลา (Just in Time) และมีประสิทธิภาพ โดยมีการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การแปลกเปลี่ยนข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์ และติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ คือ ระบบ Touch Screen ซึ่งเป็นรูปแบบของ EDI (Electronic Data Interchange) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ ที่

ใช้อยู่เป็นประจ าในรูปแบบมาตรฐานผ่านทางคอมพิวเตอร์ EDI เป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในธุรกิจ อิเลคทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เอกสารจ าพวกใบสั่งซื้อ, ใบเสนอราคา, ใบก ากับสินค้า และ เอกสารอื่น ๆ เมื่อน า EDI มาใช้แทนได้ประสบความส าเร็จเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ EDI ไม่ได้เป็นเป้าหมายโดยตัวของมันเอง เมื่อได้ใช้งานจะเกิดผลประโยชน์ทางด้าน IT เช่น ลด ค่าใช้จ่ายในการคีย์ข้อมูล, ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น, ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น และลดงานทางด้าน เอกสารซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การเคลื่อนย้ายสินค้าในความหมายของโลจิสติกส์ยังครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้า (Cargoes Carriage) การเก็บรักษาสินค้า (Warehousing) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ (Procurement) และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการคาดคะเนของ ตลาด (Market Predict) โดยมีเป้าหมายที่ส าคัญคือ

o ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)

o การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)

o การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)

o การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)

o การลดต้นทุนการด าเนินการเกี่ยวกับสินค้า การดูแลและขนส่งสินค้า (Cargo Handling & Carriage Cost)

กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

(6)

6

Logistics Activities

Logistics

Customer service

Demand Forecasting

Inventory Management

Material Handling Order Processing

Location Selection

Packaging

Procurement

Reverse Logistics

Part and Service Support

Traffic and Transportation

Warehousing And Storage

กิจกรรมโลจิสติกส์ของร้าน “Sushi 100 Yen” สามารถก่อให้เกิด 7Rs for logistics Management ได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ มีการบริหารวัตถุดิบ ในปริมาณที่ถูกต้อง มีการส่งมอบสินค้า และบริการถูกที่ ถูกต้อง ทันเวลา และถูกใจ ( Managing Right Materials in Right Quantity, for delivery at the Right Time and Right Place, from the Right Source, with the Right Service, and at the Right Price to customers)

โ จิ ิ ์ บโซ่อ ปทาน

หลักการของโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ การให้ความส าคัญกับทุกส่วนของการผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิต โรงงาน ผู้ค้าส่ง จนถึงผู้ค้าปลีก ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการสร้างความพึงพอใจให้กับ ลูกค้า โดยทุกส่วนต้องมีการประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิต ค าว่า “โลจิสติกส์” (Logistics) กับ “โซ่อุปทาน” (Supply Chain) ถูกน ามาใช้ในความหมาย ที่ใกล้เคียงกันบางครั้งมีการใช้ในความหมายที่สลับกัน เนื่องจากมีหน้าที่และความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กันโดยตรง อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เรื่องนี้มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ค านึงถึงความพอใจของลูกค้าเป็นหลัก ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สามารถสรุปได้ดังนี้

โลจิสติกส์ โซ่อุปทาน

-เน้นพันธกิจเกี่ยวกับ Movement Function คือ -เน้นบทบาทเกี่ยวกับความสัมพันธ์และความ

(7)

7 การเคลื่อนย้าย สินค้าจัดเก็บและการกระจาย สินค้าและบริการข้อมูลข่าวสาร

-เป็นการจัดการในระดับปฏิบัติการ Action Plan

ร่วมมือระหว่างองค์กร Relationship &

Collaborative เพื่อให้โซ่อุปทานมีความบูรณาการ -เป็นการด าเนินงานในระดับกลยุทธ์ Strategic Level

ในส่วนของ Outbound Logistics ร้าน “Sushi 100 Yen” สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับ ลูกค้าได้ โดยใช้การบริหารการตลาดเชิงประสบการณ์ (CEM – Customer Experience Management) เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM – Customer Relationship Management) ในการที่ให้ลูกค้ามี

ความสนุกกับเกมส์จากจอ Touch Screen อันเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับธุรกิจ นอกเหนือไปจากมาตราฐานการบริการที่มีอยู่เดิมแล้ว ซึ่งน าไปสู่การสร้างความได้เปรียบในเชิงการ แข่งขัน (Competitive Advantage) ตามหลักการของนโยบายการตลาดได้เป็นอย่างดี

ารใช้ Supply chain/logistics เป็น ย ทธ์ร ด บองค์ ร องร้าน “Sushi 100 Yen”

กลยุทธ์ (Strategy) เป็นการวางแผนที่มีการก าหนดวิสัยทัศน์ มีการก าหนดเป้าหมายระยะ ยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการท างานที่มีความสามารถ ในการปรับตัวสูง ส าหรับการท างานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการท างานที่คล่องตัว ต้องการด าเนินงานมีประสิทธิภาพสูง ในการน าสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคต มีถ้อยค าส าคัญที่จะได้พบเห็น ที่มีการกล่าวถึงกันมาก ในแวดวงการบริหารจัดการ และการวางแผน กลยุทธ์ และที่มักจะได้ยินอยู่เสมอๆ เช่น คิดกว้าง-มองไกล มองไปข้างหน้า รู้จุดแข็ง-จุดอ่อนและ สถานการณ์ขององค์การ

ร้าน “Sushi 100 Yen” ได้ออกแบบระบบโซ่อุปทาน (Supply chain process design) มีการ ออกแบบระบบการไหลของ Sushi บนสายพานล าเลียง (Supply chain physical network design) มีการ เชื่อมโยงและการบริหารข้อมูล ข่าวสาร การสั่ง การผลิต การส่งอาหารผ่านสายพานล าเลียง และการ ตรวจสอบรายการอาหารเพื่อการช าระเงิน โดยหน้าจอ Touch screen (Logistics information system design) นับเป็นโครงสร้างของร้าน ที่มีการสอดประสานการท างานของพนักงานภายในร้านได้อย่างมี

(8)

8

ประสิทธิภาพ (Logistics organisational structure) ซึ่งการออกแบบโครงสร้างทั้ง 4 ข้างต้นนั้น เป็น หลักการและพื้นฐานที่ส าคัญของการใช้ Supply chain/logistics ในระดับกลยุทธ์ขององค์กร

Supply chain planning framework ของร้าน“Sushi 100 Yen”

การใช้ Supply chain/logistics เป็นกลยุทธ์ของร้านนั้น เพื่อมุ่งเน้นการเติบโต (Growth Strategy) เป็นการขยายธุรกิจไปในทิศทางต่างๆ และเป็นผู้น าด้านต้นทุนที่ต ่ากว่าคู่แข่งขัน (Cost Leadership Strategy) ท าให้สามารถจ าหน่ายสินค้าได้ในราคาถูกกว่า เป็นการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) เป็นแนวคิด นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ของร้าน (Company/competitive strategy)

Possible logistics strategies ของร้าน“Sushi 100 Yen”

ารแ แน คิด อง Agility and leanness ที่ได้จา ร้าน “Sushi 100 Yen”

(9)

9

Agility คือ ความสามารถที่จะน าส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ หลักการ โดยรวมแล้ว Agility คือ ความสามารถขององค์กรอุตสาหกรรมที่ใช้ความร่วมมือกันในองค์กร ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอุตสาหกรรม โดยค านึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นส าคัญ และเน้นถึงความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการนั้น โดยผ่าน Touch screen และสายพาน ล าเลียงอาหาร

The foundations of agility

ารพื้นฐาน อง ารท างานที่ค ่อง แ ่องไ องร้าน Sushi 100 Yen

1. Synchronize activities through shared information. Through shared information and process alignment there is in effect one set of numbers and a single schedule for the entire supply chain.

การประสานกิจกรรมต่างๆโดยส่งข้อมูลผ่าน Touch Screen ที่ร้าน Sushi 100 yen น ามา ประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ Information Flow ที่ถูกต้อง

2. Work smarter, not harder. Time is being spent on activities that typically create cost but do not create a benefit for the customer.

เป็นการลดขั้นตอนการท างาน ท าให้ประหยัดแรงงาน เพิ่มผลผลิต การบริการและสร้างความ พึงพอใจให้กับลูกค้า

3. Partner with suppliers to reduce in-bound lead time. Suppliers have often been chosen on the basis of price rather than their responsiveness.

การสั่ง Sushi ผ่าน Touch Screen เป็นการสั่งสินค้าที่สะดวก รวดเร็ว เรียกว่า Direct Order โดยสั่งตรงไปที่พ่อครัว ท าให้ขั้นตอนในการส่งมอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. Seek to reduce complexity. Complexity may be generated by multiple variants of the same product.

การสั่งตรงไปยังพ่อครัวเป็นการลดขั้นตอน ไม่ต้องผ่านพนักงานบริการที่ร้าน ท าให้ไม่

เสียเวลารอคอยนานโดยไม่จ าเป็น

5. Postpone the final configuration/assembly/ distribution of products

เมื่อพ่อครัวได้รับ Order ที่ลูกค้าสั่งก็สามารถผลิต จัดส่ง ได้โดยตรงและมีความถูกต้องเม่นย า ตามที่ลูกค้าต้องการ

6. Manage processes not just functions

(10)

10

การใช้ระบบ Touch Screen เป็นการประยุกต์ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร จัดการข้อมูล ระหว่างลูกค้า พ่อครัว และพนักงานบริการ เรียกได้ว่า ทุกคนรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั่วถึง เท่ากัน หมด และที่ส าคัญสามารถตรวจสอบได้

7. Utilize appropriate performance metrics.

ระบบ Touch Screen สร้างอรรถประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ในเรื่องของ การใช้แรงงานของพนักงานในร้าน เป็นการลดต้นทุนในขบวนการท างาน และท าให้

ขบวนการบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Lean Manufacturing หมายถึง เป็นระบบบริหารจัดการด้านการผลิตให้สอดคล้องกับความ ต้องการของลูกค้าแบบทันที ซึ่งลูกค้าของร้าน Sushi 100 Yen สามารถสั่งอาหารที่ต้องการไปยัง ห้องครัวได้โดยตรง ท าให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และลดการสูญเสียในวงจรการผลิต ซึ่งเป็นหลักการ ในระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing System) คือ “เป็นระบบการผลิตที่มุ่งเน้นในเรื่องการ ไหล (Flow) ของงานเป็นหลัก โดยท าการก าจัดความสูญเปล่า (Waste) ต่าง ๆ ของงาน และ เพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับตัวสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด (Customer Satisfaction) การน าเอา Lean Manufacturing มาใช้ในร้าน Sushi 100 Yen สร้างให้เกิดขบวนการ ท างานดังนี้ คือ

เทคนิคการปรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นไปโดยรวดเร็ว และลดเวลาในการตระเตรียม เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต โดยเฉพาะวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

ช่วยให้โรงงานซึ่งในที่นี้ก็คือ ห้องครัว สามารถปรับปรุงหน่วยผลิต ด้วยการจัดเครื่องอุปกรณ์

กับพื้นที่ท างานให้สอดคล้อง ต่อการผลิตล็อตเล็กๆ แต่สามารถไหลไปได้อย่างต่อเนื่อง เรียก ได้ว่า Make and Right to Order

ทันเวลาพอดี (Just in Time) ส าหรับการผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ลดจ านวนสินค้าในสต็อก รวมถึงรอบเวลาในการผลิต

ทันเวลาพอดี (Just in Time) ส าหรับผู้จัดส่งวัตถุดิบและอะไหล่ ซึ่งหมายถึงห้องครัว สามารถ ส่งของป้อนหน่วยผลิตอย่างสม ่าเสมอ และทันเวลาตามเวลาผลิต

Lean Manufacturing จะช่วยในการปรับโครงสร้างของการผลิต ลดของเสียในระหว่างการ ผลิต รวมไปถึงจุดที่เกิดของเสียต่างๆ เช่น การรอคอย การขนส่ง สินค้าขาดสต็อก การผลิตเกิน และ สินค้าล้นสต็อก นอกจากนั้น ยังลดความผันแปรในการผลิตตลอดทั้งกระบวนการ เช่น การบริหาร วัตถุดิบ การสื่อสารภายในร้านโดยผ่านระบบ Touch Screen การลดขั้นตอนในการผลิตและอื่นๆ

(11)

11

ร้าน “Sushi 100 Yen” ถือเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างที่ดี ในการบริหารจัดการ Supply chain/logistics ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้สร้างภาระงานให้กับพนักงานในร้าน ให้ต้องท างานหนักขึ้น แต่กลับท าให้การท างานนั้น ถูกต้อง ถูกที่ ถูกใจ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเป็นการสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจ

เอ ารอ้างอิง

1. James R.Stock, Douglas M.Lambert, “Strategic Logistics Management”; Fourth Edition,2001 2. Martin Christopher, “Logistics & Supply Chain Management”: Fourth edition Pearson Education limited, 2011.

3. http://www.logisticafe.com/2009/09/lean-manufacturing-system/

4. http://www.gembaspc.com/ และ http://ie-im.blogspot.com

Referensi

Dokumen terkait

8% SIMILARITY INDEX 5% INTERNET SOURCES 4% PUBLICATIONS 4% STUDENT PAPERS 1 2% 2 1% 3 1% 4 1% 5 1% 6 1% 2023_AACL_BIOFLUX.pdf ORIGINALITY REPORT PRIMARY SOURCES Submitted