• Tidak ada hasil yang ditemukan

แก้ไขรัฐธรรมนูญ50 จะนำมาซึ่งความสงบสุขจริงหรือ

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "แก้ไขรัฐธรรมนูญ50 จะนำมาซึ่งความสงบสุขจริงหรือ"

Copied!
3
0
0

Teks penuh

(1)

แก้ไขร ัฐธรรมนูญ ปี 50 จะนำำมำซึ่งควำมสงบสุขจริงหรือ นำยนพดล ปกรณ์นิมิตดี

อำจำรย์ประจำำคณะนิติศำสตร์

มหำวิทยำล ัยศรีปทุม noppadon.pa@spu.ac.th การแก ้ไขรัฐธรรมนูญ จะนำามาซึ่งความสมานฉันท์ของ ผู ้คนในชาติ อันส่งผลให ้เกิดความสงบสุขเรียบร ้อย ในบ ้านเมือง จริงหรือ...? หรือการบังคับใช ้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยอ ้างหลักนิติรัฐ คือการนำามาซึ่งความสงบสุขอย่างแท ้จริงใช่

หรือไม่...? 2 คำาถามนี้ล ้วนแล ้วแต่เป็นคำาถามที่ผู ้คนในสังคม นี้ คงอยากจะทราบความกระจ่างที่ชัดเจนว่า เมื่อไรบ ้านนี้เมืองนี้

จะมีแต่ความสงบสุขเรียบร ้อย เสียที

คนที่จะตอบคำาถามนี้ ได ้ดีคือใคร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ ฝ่ายบริหาร ? ถ ้าเป็นฝ่ายนิติบัญญัติจะเกี่ยวข ้องกับการออก กฎหมาย หรือถ ้าฝ่ายบริหาร ก็จะเกี่ยวข ้องกับการบังคับการให ้ เป็นไปตามกฎหมาย

จากข่าวสารที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ จะเห็นได ้ว่า มี

การประชุมร่วมของรัฐสภา ระหว่างวันที่ 16 – 17 กันยายน เพื่อ พิจารณา เรื่องด่วนขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของ รัฐสภา ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การประชุมร่วมของรัฐสภานี้ เพื่อถกปัญหาการแก ้ไข รัฐธรรมนูญตามข ้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์

ข ้อเสนอของคณะกรรมการฯที่เห็นว่าควรแก ้ไข

รัฐธรรมนูญปี2550 มีอยู่ด ้วยกันรวม 6 ประเด็น ได ้แก่ 1.มาตรา 237 ประเด็นการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน ้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง 2. มาตรา 93-98 ประเด็นที่มาของ ส.ส.

3.มาตรา 111-121 ประเด็นที่มาของ ส.ว.

4.มาตรา 190 ประเด็นการทำาหนังสือสัญญา ที่ต ้องได ้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

5. มาตรา 265 ประเด็นการดำารงตำาแหน่ง ทางการเมืองของ ส.ส.

(2)

6.มาตรา 266 ประเด็นการแก ้ไขปัญหาความ เดือดร ้อนให ้กับประชาชนของ ส.ส. และ ส.ว.

จากการประชุมร่วมกันของรัฐสภาสะท ้อนให ้เห็นถึง ความพยายามของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ในการสร ้าง ความสมานฉันท์ โดยหยิบยกประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ มาเป็นส่วน หนึ่งในการตอบโจทก์ของปัญหาความขัดแย ้งที่เกิดขึ้น แต่ในอีก แง่มุมหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาบางท่านกลับมองว่า การแก ้ไข รัฐธรรมนูญนี้มิได ้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนแต่ประการใด

ประโยชน์ในที่นี้ ถ ้าจะพิจารณาเป็นสองลักษณะคือ ประโยชน์โดยตรง กับโดยอ ้อม ก็อาจมองเห็นได ้ว่า ประโยชน์

โดยตรงที่เป็นรูปธรรมที่จะตกได ้ถึงมือพี่น ้องประชาชน อาจไม่เห็น เด่นชัด แต่ในเรื่องประโยชน์โดยอ ้อม หรือผลพลอยได ้ ถ ้าหากมี

การแก ้ไขรัฐธรรมนูญใน 5-6 ประเด็นเหล่านี้ จะช่วยยุติปัญหา ความขัดแย ้งบางส่วนของคนในชาติ เพียงบางกลุ่มได ้จริง ที่มี

การกล่าวอ ้างยกเอาพี่น ้องประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมาเป็น พวกตนจนก่อกำาเนิดความขัดแย ้ง การแก ้ไขรัฐธรรมนูญ ก็น่าจะ เป็นประโยชน์ ถ ้าจะนำามาซึ่งความสงบสุขแก่ผู ้คนในบ ้านเมืองได ้ อย่างแท ้จริง

ความขัดแย ้งมาจากไหน โดยธรรมชาติของมนุษย์

ย่อมต ้องการ รวมตัวเพื่อการเอาตัวรอด การขัดแย ้งของกลุ่มผล ประโยชน์หรือกลุ่มบุคคล ก็เช่นเดียวกัน ก็จะต ้องพยายามรวบรวม ผู ้คนให ้อยู่ในฝ่ายตนให ้ได ้มากที่สุด เพื่อการเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อการเอาตัวรอด

การหาพรรคหาพวก การเล่นพรรคเล่นพวก เพื่อสร ้าง ความชอบธรรมให ้ตนเอง จึงอาจเป็นวิสัยธรรมชาติของผู ้คนบาง คนไปเสียแล ้วกระมัง

ธรรมชาติของมนุษย์บางคนมีนิสัยเคยชิน คือถ ้าพูดอะไร แล ้ว ทำาให ้ตัวเองดูไม่ดี ดูแล ้วภาพพจน์ไม่ดีในสายตาของคนอื่น ก็จะไม่พูด แม ้ตัวเองจะทำาผิด ก็จะหาเหตุผลกลบซะเพื่อให ้ตัว เองดูดี ถ ้าทำาแล ้วตัวเองได ้ประโยชน์ ก็ต ้องอ ้างว่าทำาเพื่อคนอื่น เพื่อให ้ตนเองดูดี

บางคนเห็นหน ้ากัน ก็ไม่ถูกกันตั้งแรกวันแรกที่เจอ พูด อะไรไปก็ดูไม่น่าฟังสำาหรับอีกฝ่ายที่ไม่ใช่พวกตน ถ ้าใครเป็น พวกเดียวกัน ถึงแม ้พูดแย่แค่ไหน ก็ชมได ้ นิสัยแบบนี้ก็มีให ้เห็น สำาหรับคนธรรมดาเดินดิน ทำางานตามออฟฟิค ก็มีให ้เห็นก็เยอะ มากมาย ทั้งหญิงและชาย ฉะนั้นจะนับประสาอะไรกับนักการ

(3)

เมือง อันเป็นบุคคลสาธารณะ ซึ่งก็เคยเป็นประชาชนมาก่อน เหมือนกัน

ความจริงใจของคน ในสังคมยุคปัจจุบัน จึงอาจดูลด น ้อยไปแล ้วกระมัง จึงเกิดอาการพูดอย่าง คิดอีกอย่าง ทำาอีก อย่าง แก ้ตัวอีกอย่าง พรุ่งนี้จะอย่างไรก็ไม่รู ้ แล ้วจะเป็นตัวอย่าง อย่างไร ให ้กับเด็กหรือเยาวชนของชาติในอนาคต

ฉะนั้น คำาตอบของการแก ้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อสร ้างความ สมานฉันท์ อันนำามาซึ่งความสงบสุข จะเป็นคำาตอบจากใจจริง หรือเป็นเพียงข ้ออ ้าง หรือนัยแฝงต ้องการทำาเพียงยุติปัญหาความ ขัดแย ้งระหว่างกลุ่มบุคคล หรือยอมร่วมมือกันเพื่อจุดมุ่งหมาย อะไร ก็คงไม่มีใครรู ้หรือกล ้าฟันธงได ้ดี เท่ากับตัวของคนที่กล่าว อ ้างเรื่องนี้เอง

แต่ความสงบสุขในสังคมนี้ ที่เชื่อว่าสามารถสร ้างให ้เกิดขึ้น ได ้แน่ คือ การเริ่มต ้นสร ้างความสงบสุขทางใจ ให ้กับตนเองก่อน ตามแนวทางคำาสอนของพุทธศาสนา โดยอาศัยคุณธรรม ๔ ประการ คือ พรหมวิหาร ๔ อันประกอบด ้วย

๑. เมตตา ปรารถนาให ้เขามีความสุข ๒. กรุณา ปรารถนาให ้เขาพ ้นจากทุกข์

๓. มุทิตา พลอยยินดีด ้วยเมื่อเขาได ้ดี

๔. อุเบกขา ทำาใจเป็นกลาง วางเฉย

ฉะนั้นถ ้าทุกคนในสังคมนี้ยึดหลักแนวคำาสอนของศาสนา ต่างๆ เพื่อการปฏิบัติตนเป็นคนดีอย่างแท ้จริง ทั้งกาย วาจา ใจ ความสงบสุขย่อมเกิดขึ้นได ้แน่ โดยเริ่มต ้นที่ตัวเราก่อน และสอน สิ่งดีๆเหล่านี้ให ้กับเด็กหรือเยาวชนของชาติ เพื่อที่วันหนึ่งฟ้า คงจะเปลี่ยนสีสำาหรับการเมืองไทย มีแต่ภาพรอยยิ้มและความ สงบสุขของผู ้คนได ้เสียทีกระมัง สวัสดีครับ

Referensi

Dokumen terkait

รูปแบบการบริหารการจัดการความรู้เพือพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพืนทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 AN ADMINISTRATIVE MODEL ON KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR PERSONNEL DEVELOPMENT

ไดแก การมีอิสระในการปกครองตนเองและการอยูภายใตการกํากับดูแลโดยรัฐ สวนการกระจาย อํานาจสูการปกครองทองถิ่น ถือเปนเครื่องมือการบริหารงานของรัฐในการปรับเปลี่ยนโครงสราง