• Tidak ada hasil yang ditemukan

O J E D - ThaiJo

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "O J E D - ThaiJo"

Copied!
15
0
0

Teks penuh

(1)

An Online Journal of Education http://www.edu.chula.ac.th/ojed

O J E D

OJED, Vol. 13, No. 3, 2018, pp. 449-463

การศึกษาสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

A STUDY STATE AND PROBLEMS OF USING THE CHINESE CURRICULUM IN SCHOOL WITH CONFUCIUS CLASSROOMS IN BANGKOK AND PERIMETERS

นายนนทวัชร ชมเชย * Nontawat Chomchoei อาจารย ดร.บุญฑริกา บูลภักดิ์ **

Buntarika Bulapakdi, Ph.D

บทคัดยอ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนที่มีการจัดตั้ง หองเรียนขงจื่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรคือ โรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จํานวน 5 โรงเรียน ผูใหขอมูลคือ ผูอํานวยการโรงเรียน รองผูอํานวยการฝายวิชาการ หัวหนากลุมสาระ การเรียนรูภาษาตางประเทศ ครูผูสอนภาษาจีนทั้งครูผูสอนชาวไทยและครูผูสอนชาวจีน รวมทั้งสิ้น 71 คน เครื่องมือที่ใช

ไดแก แบบสอบถามแบบมาตรสวนประมาณคา วิเคราะหขอมูลโดยแจกแจกความถี่ หาคารอยละคาเฉลี่ยเลขคณิต และ สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย 1) งานบริหารหลักสูตร พบวา ภาพรวมของการปฏิบัติอยูในระดับมาก เมื่อพิจารณาเปนรายดาน พบวา ดานการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกตาง ๆ แกผูใชหลักสูตร มีการปฏิบัติมากที่สุด คาเฉลี่ยเทากับ 4.98 อยูในระดับ มากที่สุด ปญหา พบวา ภาพรวมอยูในระดับนอย เมื่อพิจารณาเปนรายดาน พบวา ดานการเตรียมบุคลากร ประสบ ปญหา มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.47 อยูในระดับนอย 2) งานสอน พบวา ภาพรวมของการปฏิบัติอยูในระดับปานกลาง เมื่อ พิจารณาเปนรายดาน พบวา ดานการวางแผนการสอน มีการปฏิบัติมากที่สุด มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.67 อยูในระดับมาก ปญหา พบวา อยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเปนรายดาน พบวา ดานการจัดกิจกรรมการเรียนรูและกิจกรรมเสริม หลักสูตร ประสบปญหา มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.77 อยูในระดับปานกลาง

* นิสิตมหาบัณฑิตสาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเปนผูนําทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

E-mail Address: gt.nontawat@gmail.com

**อาจารยประจําสาขาวิชาภาควิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเปนผูนําทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

E-mail Address: buntarika@hotmail.com ISSN1905-4491

วารสารอิเล็กทรอนิกส

ทางการศึกษา

(2)

Abstract

This research had the objective to study the state and problems of using Chinese curriculum of the school that had Confucius classroom in Bangkok and Perimeters. The information providers were people involving in using Chinese curriculum of the school that had establishments of schools in Thailand for 5 schools including directors of school, vice directors on academic department, head of foreign language learning group. Chinese teachers including Thai and Chinese teachers in the total of 71 people. The tools used were questionnaires of rating scale. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, arithmetic means and standard deviation.

From the research result 1) as for the curriculum management work, it was found that the overall picture of the operation was at a high level. When considering on each aspect, it was found that the aspect of providing various convenience to the course users. There was the most operation which was at 100.00 percent. The means was 4.98 which was at the highest level. As for the problem, it was found that the overall picture was at a low level. When considering on each aspect, it was found that personnel preparation aspect faced the most problems which was 100.00 percent with the means of 2.47 which was at a low level. 2) as for teaching work, it was found that the overall picture of the operation was at an average level. When considering on each aspect, it was found that the teaching plan aspect had the most operation which was 100.00 percent with the means of 3.67. It was in a high level. As for the problem, it was found to be on the average level. When considering on each aspect, it was found that learning activity aspect and course promotional activity would have the most problems which was 98.21 percent. The means was 2.77 which was at an average level.

คําสําคัญ: หลักสูตรภาษาจีน / หองเรียนขงจื่อ

KEYWORDS: CHINESE CURRICULUM / CONFUCIUS CLASSROOMS บทนํา

นับตั้งแตการกาวเขาสูคริสตศตวรรษที่ 21 สาธารณรัฐประชาชนจีน (ประเทศจีน) มีการพัฒนา ประเทศทั้งทางดานเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการทหาร วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีอยางกาวกระโดด สงผล ใหประเทศจีนมีความเจริญกาวหนาและสามารถกาวขึ้นมาเปนมหาอํานาจของโลกไดในเวลาอันรวดเร็ว ในฐานะของการเปนประเทศมหาอํานาจของโลก ประเทศจีนมีบทบาทและอิทธิพลอยางมากตอการสงเสริม การพัฒนาในดานตาง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกโดยเฉพาะทางดานเศรษฐกิจและการคาการลงทุน ประกอบกับจํานวนประชากรและจํานวนผูบริโภคที่มากเปนอันดับ 1 ของโลก ทําใหประเทศจีนกลายเปน ตลาดที่ใหญและมีอํานาจซื้อขายสูงที่ทั่วโลกจับจอง ปจจุบันประเทศจีนมีการคา การลงทุนและความรวมมือใน ดานตางๆจํานวนมากกับนานาประเทศทั่วโลก การติดตอสื่อสารและการไปมาหาสูระหวางกันจึงมากขึ้นตามไป ดวย ดังนั้น สิ่งสําคัญที่จะเขามามีบทบาทอยางมากก็คือภาษาจีน ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกใหความสําคัญและสงเสริม ใหมีการเรียนการสอนภาษาจีนอยางแพรหลาย เพราะการเรียนรูภาษาจีน นอกจากจะชวยใหเราสามารถ ติดตอสื่อสารกับชาวจีนไดโดยตรงแลว ยังชวยใหเรามีความเขาใจชาวจีนและวัฒนธรรมความเปนจีนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเปนประโยชนตอกาคาการลงทุนและความรวมมือระหวางกัน ดังนั้น ภาษาจีนจึงเปนภาษาที่มี

ความสําคัญยิ่งในโลกปจจุบัน และมีแนวโนมที่จะทวีความสําคัญยิ่งขึ้นในอนาคต (สํานักงานเลขาธิการสภา

(3)

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงกอใหเกิดแรงบันดาลใจแกเด็กและเยาวชนไทยใหหันมาสนใจ ภาษาจีนเปนอยางมาก (อารยา พิบูลนครินทร, 2559) นอกจากนี้ยังเปนที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมูประชาชน ชาวไทยวาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยในภาษาและวัฒนธรรมจีน อีกทั้งยังทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอยางตอเนื่อง ไดรับรางวัลตางๆจากจีนหลายรางวัล โดยเฉพาะอยางยิ่งไดรับเลือกใหเปน “สิบมิตรที่ดีที่สุดในโลกของชาวจีน” (บัญชา ธนบุญสมบัติ, 2558)

จากความสําคัญของภาษาจีน สํานักงานสงเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Office of Chinese Language Council International หรือ Hanban: ฮั่นปน) ซึ่งเปนหนวยงานของรัฐบาลจีนที่

รับผิดชอบในการสนับสนุนและสงเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศตาง ๆ จึงไดกอตั้งสถาบันขงจื่อ และหองเรียนขงจื่อขึ้นทั่วโลก เปนองคกรที่ดําเนินการเรียนการสอนภาษาจีนโดยไมแสวงหาผลกําไร มีสํานักงานใหญของสถาบันขงจื่อตั้งอยู ณ กรุงปกกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสนองความตองการของ ประชาชนทั่วโลกในการเรียนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน และเปนการสนับสนุนการพัฒนาดานการเรียน การสอนภาษาจีนในประเทศไทย ใหนักเรียนไดเรียนรูและเขาใจภาษาและวัฒนธรรมจีนอยางเปนระบบทุก ดาน ในป พ.ศ. 2548 สถาบันขงจื่อและหองเรียนขงจื่อไดกอตั้งขึ้นในประเทศตางๆ โดยสถาบันขงจื่อจะจัด ตั้งอยูในสถาบันอุดมศึกษา สวนหองเรียนขงจื่อจะจัดตั้งอยูในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งสํานักงานสงเสริมการเรียน การสอนภาษาจีนนานาชาติ (Office of Chinese Language Council International หรือ Hanban: ฮั่น ปน) จะจัดสงครูสอนภาษาจีนและครูอาสาสมัครชาวจีนไปสอนในสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยและโรงเรียน มัธยมศึกษา ปจจุบันมีสถาบันขงจื่อจาก 134 ประเทศทั่วโลก แยกเปนสถาบันขงจื่อ 500 แหง และหองเรียน ขงจื่อ 1,012 แหง (มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย, 2560) สําหรับประเทศไทยมีโรงเรียนที่เปดสอนภาษาจีนถึง 1,610 แหง นักเรียนที่เรียนภาษาจีนมีจํานวนมากกวา 5 แสนคน มีการจัดตั้งสถาบันขงจื่อในระดับ มหาวิทยาลัย 12 แหง และหองเรียนขงจื่อในระดับประถมและมัธยมศึกษาอีก 11 แหง (โรงเรียนจิตรลดา, 2553)

อยางไรก็ตาม จากผลรายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับ มัธยมศึกษา พบวา การเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษา จัดอยูในกลุมสาระการเรียนรู

ภาษาตางประเทศภายใตหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดย ภาษาจีนถูกกําหนดใหเปนเพียงสาระการเรียนรูทางเลือกที่ใหอยูในดุลยพินิจของสถานศึกษา ที่จะจัดทํา รายวิชาและการจัดการเรียนรูตามความเหมาะสม ไมไดถูกกําหนดใหเปนสาระการเรียนรูพื้นฐานที่ตองเรียน ตลอดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนภาษาอังกฤษ (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2559) และจาก การศึกษางานวิจัยเรื่อง “การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถม-มัธยมศึกษา” ของศูนยจีน ศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พบวานับตั้งแตเปดการเรียนการสอนภาษาจีนอยางเสรีเปนตนมา แตละ โรงเรียนตางก็จัดทําหลักสูตรกันเองภายในกรอบกวาง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้การจัดการเรียน การสอนในแตละชวงชั้นก็ยังขาดความตอเนื่องของหลักสูตร (รณพล มาสันติสุข, 2551) ทั้งนี้หองเรียนขงจื่อใน ประเทศไทย ประจําป 2559 มีเปาหมายสําคัญคือ 1) การยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาจีนที่เปน ปญหาสําคัญในปจจุบัน โดยการวางแผนระยะยาวในการยกระดับ คุณภาพดานการเรียนการสอนโดย การศึกษาวิจัยตามหลักการเรียนการสอนภาษา การสํารวจสภาพทั่วไปของผูเรียนในปจจุบัน การสราง สภาพแวดลอมดานการเรียนการสอนและการใชภาษาจีนที่ถูกตองใหกับผูเรียนมากขึ้นโดยการจัดกิจกรรม การนํามาตรการที่ตางกันมาใชกับระดับการเรียนการสอนที่ตางกัน คือ ในระดับมัธยมศึกษาใหศึกษารูปแบบ การสอนแบบสาธิตของจีน และการประเมินและคัดเลือกผูเรียนที่มีผลการเรียน ดีเดน ใหจัดอยูในชั้นเรียน

(4)

พิเศษ หรือชั้นเรียนยกระดับ สําหรับนักเรียนที่มีชั่วโมงเรียนครบตามที่กําหนดไวในโรงเรียนที่เปดหลักสูตร ภาษาจีน ระยะยาว 2) การใชการสอบวัดระดับความรูภาษาจีน (HSK) เพื่อสงเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน โดยการนําผลสอบ HSK ของผูเรียนมาเปนตัวประเมินผลการสอนของผูสอนเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียน การสอน และการนําการสอบภาษาจีนในรูปแบบตางๆมาเปนมาตรฐานในการชี้วัดความสามารถดานภาษาจีน ของผูเรียน (หาน ซี, 2560)

จะเห็นไดวาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยมีปญหาเกิดขึ้นหลายประการ สิ่งที่สําคัญอยาง หนึ่งที่มีผลตอการเรียนการสอนคือการใชหลักสูตร ดังที่ Taba (1962) กลาวไววา การใชหลักสูตรเปนแผน การสําคัญที่นําไปสูการจัดการเรียนการสอนเพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของหลักสูตร หรือเพื่อใหผูเรียนไดรับ ความรูและประสบการณตามที่กําหนด ซึ่งสอดคลองกับ วิชัย วงศใหญ (2554) ที่ไดกลาวถึงวัตถุประสงคของ การใชหลักสูตรวาเปนการดําเนินการจัดการเรียนการสอนใหภารกิจในเบื้องแรกของสถานศึกษาบรรลุ

เปาหมาย คือการจัดการศึกษาใหกับผูเรียนไดรับการศึกษาที่สมบูรณที่สุด ทั้งนี้การใชหลักสูตรจะประสบ ผลสําเร็จและมีคุณภาพนั้นประกอบดวย งานบริหารหลักสูตรและงานสอน ซึ่งสอดคลองกับ ปรียาพร วงศอนุตรโรจน (2553) ไดกลาวไววา งานบริหารหลักสูตรเปนการวางแผนและเตรียมหลักสูตรกอนมีการใช

หลักสูตร การเตรียมความพรอมดานตาง ๆ เชน เอกสารประกอบการเรียน สื่อการสอน อาคารสถานที่

บุคลากรและความพรอมของครูผูสอน เปนตน สําหรับงานสอนนั้น เปนหนาที่หลักของครูผูสอนที่จะตองมี

การวางแผนและเตรียมการในการนําหลักสูตรไปใช ตองศึกษาวิเคราะห ทําความเขาใจหลักสูตรที่จะนําไปใช

ใหเขาใจตรงกัน เพื่อใหปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ครูตองไดรับการอบรม ความรู ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับ การใชหลักสูตร ทั้งนี้การนําหลักสูตรไปใชยังตองคํานึงถึง งบประมาณ วัสดุอุปกรณ เอกสารหลักสูตร สถานที่

และแหลงเรียนรู ที่พรอมจะสนับสนุนการนําหลักสูตรไปใชอีกดวย (บุญเลี้ยง ทุมทอง, 2554)

อยางไรก็ตาม โรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อในประเทศไทยจํานวน 11 แหง ไดมีการนํา หลักสูตรภาษาจีนมาใชเพื่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน แตยังไมมีการศึกษาสภาพและปญหาการใช

หลักสูตร ผูวิจัยจึงตองการศึกษาสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียน ขงจื่อ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากมีจํานวนโรงเรียนที่จัดตั้งหองเรียนขงจื่อจํานวน 5 แหง ซึ่งมี

จํานวนมากกวาในเขตภูมิภาคอื่นของประเทศไทย (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2559) เพื่อนําผล การศึกษาไปใชเปนแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรภาษาจีน ของโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียน ขงจื่อ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและในประเทศไทยใหมีประสิทธิภาพมากขึ้นตอไป

วัตถุประสงค

1. เพื่อศึกษาสภาพการใชหลักสูตรภาษาจีน ของโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

2. เพื่อศึกษาปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีน ของโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

(5)

วิธีดําเนินการวิจัย ประชากร

ประชากรที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อ ในประเทศไทยจํานวน 5 โรงเรียน ที่อยูในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไดแก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ผูใหขอมูล คือ ผูอํานวยการโรงเรียน รองผูอํานวยการฝายวิชาการ ครูหัวหนากลุมสาระการเรียนรู

ภาษาตางประเทศ โรงเรียนละ 5 คน ครูผูสอนภาษาจีนชาวไทย จํานวน 23 คน ครูผูสอนชาวจีน จํานวน 33 คน รวมผูใหขอมูลทั้งสิ้น จํานวน 71 คน

ขอบเขตเนื้อหา

การวิจัยนี้เปนการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีน ของโรงเรียนที่มีการจัดตั้ง หองเรียนขงจื่อในประเทศไทย โดยใชกรอบเนื้อหาที่เกี่ยวของกับการใชหลักสูตรจากแนวคิดของ ใจทิพย

เชื้อรัตนพงษ (2539) ซึ่งไดแบงการใชหลักสูตรออกเปน 2 งาน คือ งานบริหารหลักสูตร และงานสอน โดยมี

สาระสําคัญดังนี้

1. งานบริหารหลักสูตร

1.1 การศึกษาวิเคราะหและทําความเขาใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบ หลักสูตร

1.2 การเตรียมบุคลากรในโรงเรียน 1.3 การจัดครูเขาสอน

1.4 การจัดตารางสอน 1.5 การจัดแผนการเรียน

1.6 การจัดบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน 1.7 การจัดสิ่งอํานวยความสะดวกตางๆ แกผูใชหลักสูตร 1.8 การนิเทศติดตามและประเมินผลการใชหลักสูตร 1.9 การประชาสัมพันธหลักสูตรแกผูปกครองและชุมชน 2. งานสอน

2.1 การทําความเขาใจหลักสูตรแมบทและปรับปรุงใหสอดคลองกับสภาพและความ ตองการของทองถิ่น

2.2 การวางแผนการสอน

2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2.4 การพัฒนาและใชสื่อการเรียนการสอน

2.5 การจัดสอนซอมเสริม

2.6 การวัดและประเมินผลการเรียนรู

(6)

เครื่องมือที่ใชในการวิจัย

เครื่องมือที่ใชในการวิจัยในครั้งนี้ เปนแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตรา สวนประเมินคา 5 ระดับ ไดแบงออกเปน 2 ฉบับ

ฉบับที่ 1 สําหรับผูบริหารในโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อ

ฉบับที่ 2 สําหรับครูผูสอนภาษาจีนในโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อ ขั้นตอนการสรางเครื่องมือ

ในการวิจัยครั้งนี้ผูวิจัยสรางเครื่องมือโดยดําเนินการ ดังนี้

1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการศึกษาสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีน ของโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อนํามาสรางเครื่องมือ

2. กําหนดกรอบแนวคิดที่จะใชสําหรับการสรางเครื่องมือ โดยยึดกรอบแนวคิดของใจทิพย

เชื้อรัตนพงษ (2539) ไดแบงการใชหลักสูตรออกเปน 2 งาน คือ งานบริหารหลักสูตร และงานสอน

3. สรางเครื่องมือตามกรอบแนวคิดและเสนอเครื่องมือตออาจารยที่ปรึกษาในการทําวิจัย เพื่อ ตรวจแกไข

4. เสนอเครื่องมือใหผูเชี่ยวชาญตรวจสอบ จํานวน 3 คน เพื่อประเมินคาความเที่ยงตรงหรือ ความสอดคลองของแบบสอบถาม ซึ่งมีคาดัชนีความสอดคลอง (IOC) เทากับ 1.00

5. นําแบบสอบถามที่ปรับปรุงแกไขตามคําแนะนําของผูเชี่ยวชาญ อาจารยที่ปรึกษาในการทํา วิจัยที่สมบูรณแลวไปใชในการเก็บขอมูล

การเก็บรวบรวมขอมูล

1. ผูวิจัยติดตอขอหนังสือจากสํานักงานบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย เพื่อขอความอนุเคราะหจากผูบริหารสถานศึกษา ที่เปนกลุมตัวอยางในการเก็บรวบรวมขอมูล 2. ผูวิจัยดําเนินการสงแบบสอบถามจํานวน 71 ฉบับ ซึ่งผูตอบแบบสอบถามคือกลุมประชากร ขางตน โดยกําหนดเวลานัดหมายรับคือแบบสอบถามดวยตัวเอง

3. ผูวิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลจากโรงเรียน ซึ่งไดรับแบบสอบถามกลับคืนทั้งหมด 71 ฉบับ คิดเปนรอยละ 100

4. ผูวิจัยตรวจสอบความถูกตองของขอมูลที่ไดรับจากแบบสอบถามอีกครั้งกอนที่จะนําขอมูลไป วิเคราะหเพื่อสรุปผลการวิจัย

การวิเคราะหขอมูล

การวิเคราะหสถานภาพและขอมูลทั่วไปของผูที่ตอบแบบสอบถาม ใชการหาคาความถี่ และคาเฉลี่ย รอยละ (Percentage) และวิเคราะหขอมูลเกี่ยวกับสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีนเปน แบบสอบถามมาตราสวนประมาณคา 5 อันดับ ใชการหาคาเฉลี่ยและคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พรอมทั้ง นําเสนอในรูปแบบของตารางประกอบคําบรรยาย

(7)

ผลการวิจัย

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะหขอมูลสถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม

ขอมูลทั่วไปของของผูบริหาร/รองผูอํานวยการฝายวิชาการ/หัวหนากลุมสาระการเรียนรู

ภาษาตางประเทศ เมื่อจําแนกตามเพศพบวา ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเปนเพศหญิง คิดเปนรอยละ 66.67 มีอายุผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีอายุมากกวา 50 ป คิดเปนรอยละ 53.33 ตําแหนงพบวาผูดํารงตําแหนง ผูบริหาร หัวหนากลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศ และ รองผูอํานวยการฝายวิชาการ คิดเปนรอยละ 33.33 เทากัน ระดับการศึกษาของผูตอบแบบสอบถามสวนใหญ สําเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาโทและมี

ประสบการณการทํางานมากวา 20 ปขึ้นไป

ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะหสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีน ของโรงเรียนที่มีการจัดตั้ง หองเรียนขงจื่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1. งานบริหารหลักสูตร

1.1 ดานการศึกษาวิเคราะหและทําความเขาใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบ หลักสูตร

สภาพดานการวิเคราะหและทําความเขาใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 95.00 การปฏิบัติมีคาเฉลี่ยเทากับ 3.36 อยูในระดับปานกลาง โดยการศึกษาและทําความเขาใจการวัดและการประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรูและตัวชี้วัด ของกลุมสาระ การเรียนรูรายวิชาเพิ่มเติม (ภาษาจีน) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อ เปนแนวทางใหครูออกแบบการวัดและประเมินผล เชน การฟง การพูด ฯลฯ ใหสอดคลองกับการจัดกิจกรรม การเรียนรู มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.27 อยูในระดับปานกลาง

ปญหาดานการวิเคราะหและทําความเขาใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 62.22 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.83 อยูในระดับนอย โดยครูยัง ขาดความเขาใจในองคประกอบของหลักสูตรภาษาจีน เชน จุดมุงหมายของหลักสูตร จุดประสงค เนื้อหา การวัดและการประเมินผล ฯลฯ ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 86.67 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.31 อยูใน ระดับนอยที่สุด

1.2 ดานการเตรียมบุคลากรในโรงเรียน

สภาพดานการเตรียมบุคลากรในโรงเรียน พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 100.00 การปฏิบัติมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.44 อยูในระดับมาก โดยโรงเรียนสนับสนุนใหครูเขารับการอบรม สัมมนา และ ศึกษาดูงานจากหนวยงานภายนอก ทั้งในและตางประเทศ เพื่อทําความเขาใจเกี่ยวกับการใชหลักสูตร และ กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.93 อยูในระดับมากที่สุด

ปญหาการเตรียมบุคลากรในโรงเรียน พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.47 อยูในระดับนอย โดยระยะเวลาในการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานจาก หนวยงานภายนอก รวมทั้งการศึกษาตอของครูสอนภาษาจีน ทั้งในและตางประเทศ เปนอุปสรรคตอภาระงาน สอน ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.87 อยูในระดับปานกลาง

(8)

1.3 ดานการจัดครูเขาสอน

สภาพดานการจัดครูเขาสอน พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ย เทากับ 4.33 อยูในระดับมาก โดยมีการคัดเลือกครูผูสอนชาวไทยโดยการพิจารณาจากความรูความสามารถ ความถนัดและความเชี่ยวชาญในวิชาภาษาจีน เชนการฟง การพูด การอาน การเขียน ความถนัดทางดาน วรรณกรรมจีน ความถนัดทางดานประวัติศาสตรจีน ฯลฯ หรือครูสอนภาษาจีนตองมีผลการสอบวัดความรู

ภาษาจีน (HSK) ไมต่ํากวาระดับ 5 มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.87 อยูใน ระดับมากที่สุด

ปญหาดานการจัดครูเขาสอน พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 93.33 การประสบปญหามีคาเฉลี่ยเทากับ 2.69 อยูในระดับปานกลาง โดยมีการเปลี่ยนครูอาสาสมัครชาวจีนบอย จึงสงผลใหขาดความตอเนื่องของเนื้อหารายวิชาและการจัดกิจกรรมการเรียนรูใหกับผูเรียน มีผูประสบปญหา มากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 การประสบปญหามีคาเฉลี่ยเทากับ 4.20 อยูในระดับมาก

1.4 ดานการจัดตารางสอน

สภาพดานการจัดตารางสอน พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ย เทากับ 4.20 อยูในระดับมาก โดยโรงเรียนมีการจัดตารางสอนตามโครงสรางหลักสูตรภาษาจีนโดยคํานึงถึง แผนการสอนและลักษณะของวิชาอยางเหมาะสม มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ย เทากับ 4.53 อยูในระดับมากที่สุด

ปญหาดานการจัดตารางสอน พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 100.00 มี

คาเฉลี่ยเทากับ 1.63 อยูในระดับนอย โดยการจัดคาบสอนไมเหมาะสมกับภาระงานสอนและภาระงานที่

นอกเหนือจากการสอนของครูผูสอนชาวไทยและครูผูสอนชาวจีน ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.73 อยูในระดับนอย

1.5 ดานการจัดแผนการเรียน

สภาพดานการจัดแผนการเรียน พบวาภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ย เทากับ 1.63 อยูในระดับนอยที่สุด โดยโรงเรียนมีการจัดแผนการเรียนตามความสามารถและความสนใจของ ผูเรียนภาษาจีน มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 5.00 อยูในระดับมากที่สุด

ปญหาดานการจัดแผนการเรียน พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 46.67 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.14 อยูในระดับนอยที่สุดโดยโรงเรียนมีการรับนักเรียนเขาเรียนในแผนการเรียนภาษาจีนที่

ไมเหมาะสมกับเกณฑการคัดเลือก ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 46.67 การประสบปญหามีคาเฉลี่ย เทากับ 1.14 อยูในระดับนอยที่สุด

1.6 ดานการจัดบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการเรียนรู

สภาพดานการจัดบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการจัดการเรียนรู พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ

คิดเปนรอยละ 93.33 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.62 อยูในระดับมากที่สุด โดยโรงเรียนมีการสนับสนุนใหครูผูสอน เลือกใชสื่อการเรียนรูที่ผูเรียนสามารถใชประโยชนเพื่อเพิ่มพูนทักษะทางภาษาจีนทั้งในและนอกสถานศึกษา เชน รายการโทรทัศนและภาพยนตรภาคภาษาจีน เพลงจีน หองสมุดจีน และโรงเรียนสงเสริมใหครูผูสอน ภาษาจีน ในหองเรียนขงจื่อนําเทคโนโลยีมาปรับใชในการผลิตสื่อการจัดการ มีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ

(9)

ปญหาดานการจัดบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการจัดการเรียนรู พบวา ภาพรวมของ การประสบปญหา คิดเปนรอยละ 77.80 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.86 อยูในระดับนอย โดยวัสดุหลักสูตรที่ไดรับ การสนับสนุนจากสํานักงานสงเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (HANBAN) ไมเหมาะสมกับผูเรียน เชน หนังสือแบบเรียนหรือหนังสืออานนอกเวลายากเกินความรูความสามารถของผูเรียน ประสบปญหามาก ที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.47 อยูในระดับนอย

1.7 ดานการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกตาง ๆ แกผูใชหลักสูตร

สภาพดานการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกตางๆแกผูใชหลักสูตร พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ

คิดเปนรอยละ 100.00 การปฏิบัติมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.98 อยูในระดับมากที่สุด โดยโรงเรียนไดจัดสิ่งอํานวย ความสะดวกในดานตาง ๆ เชน หองเรียนภาษาจีน หอง Lab ทางภาษา และหองสมุดจีน และ โรงเรียนจัดใหมี

เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเอื้อตอการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาจีน เชน คอมพิวเตอรจอทัชสกรีน ระบบอินเตอรเน็ตไรสาย ฯลฯ มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 5.00 อยูใน ระดับมากที่สุดเทากัน

ปญหาดานการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกตางๆแกผูใชหลักสูตร พบวา ภาพรวมของ การประสบปญหา คิดเปนรอยละ 76.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.50 อยูในระดับนอย โดยคาใชจายในการปรับปรุง และพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกตางๆในการใชหลักสูตรภาษาจีน เกินงบประมาณที่คาดการณไวลวงหนา ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 46.67 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.56 อยูในระดับนอย

1.8 ดานการนิเทศติดตามและประเมินผลการใชหลักสูตร

สภาพดานการนิเทศติดตามและประเมินผลการใชหลักสูตร พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ

คิดเปนรอยละ 100.00 การปฏิบัติมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.07 อยูในระดับมาก โดยมีการจัดทํารายงานการนิเทศ กํากับ ติดตาม และประเมินผลการใชหลักสูตรของหองเรียนขงจื่อ มีการปฎิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.80 อยูในระดับมากที่สุด

ปญหาดานการนิเทศติดตามและประเมินผลการใชหลักสูตร พบวาภาพรวมของการประสบ ปญหา คิดเปนรอยละ 53.33 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.35 อยูในระดับนอยที่สุด โดยครูผูสอนชาวจีน ไมนําผล การนิเทศการสอนมาปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพ ประสบปญหามาก ที่สุด คิดเปนรอยละ 93.33 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.50 อยูในระดับนอย

1.9 ดานการประชาสัมพันธหลักสูตรแกผูปกครองและชุมชน

สภาพดานการประชาสัมพันธหลักสูตรแกผูปกครองและชุมชน ภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปน รอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.52 อยูในระดับมากที่สุด โดยโรงเรียนประชาสัมพันธหลักสูตรโดยการใช

สื่อตาง ๆ เชน เว็บไซตของโรงเรียน วารสารสื่อสิ่งพิมพ การประชุม ฯลฯ มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 5.00 อยูในระดับมากที่สุด

ปญหาดานการประชาสัมพันธหลักสูตรแกผูปกครอง พบวาภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 26.67 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.25 อยูในระดับนอยที่สุด โดยการประชาสัมพันธหลักสูตรไมทั่วถึงกับ กลุมผูตองการเขารับการศึกษาในหลักสูตรภาษาจีน ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 46.67 การประสบ ปญหามีคาเฉลี่ยเทากับ 1.25 อยูในระดับนอยที่สุด

(10)

2. งานสอน

2.1 ดานการทําความเขาใจเกี่ยวกับหลักสูตรและปรับหลักสูตรใหสอดคลองกับความตองการ ของทองถิ่น

สภาพดานการทําความเขาใจหลักสูตรและปรับหลักสูตรใหสอดคลองกับความตองการของ ทองถิ่น พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 80.80 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.07 อยูในระดับปานกลาง โดยมี

การเลือกเนื้อหาและประสบการณเรียนรูใหเหมาะสมกับผูเรียนภาษาจีน มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.57 อยูในระดับมาก

ปญหาดานการทําความเขาใจหลักสูตรและปรับหลักสูตรใหสอดคลองกับความตองการของ ทองถิ่น พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 95.98 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.05 อยูในระดับ ปานกลาง โดยครูผูสอนชาวจีนขาดความรู ความเขาใจในกระบวนการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรให

สอดคลองกับบริบทของโรงเรียนและความตองการของทองถิ่น ประสบปญหา คิดเปนรอยละ 100.00 การประสบปญหามีคาเฉลี่ยเทากับ 3.89 อยูในระดับมาก

2.2 ดานการวางแผนการสอน

สภาพดานการวางแผนการสอนของครูผูสอนภาษาจีนในโรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อ พบวา ภาพรวมมีการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.67 อยูในระดับมาก โดยมี

การออกแบบบทเรียนโดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรูใหผูเรียนไดพัฒนาทั้งดานความรู ทักษะ และคานิยม ทางวัฒนธรรมจีน มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.96 อยูในระดับมาก

ปญหาดานการวางแผนการสอน พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 95.54 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.65 อยูในระดับปานกลาง โดยครูผูสอนชาวจีนขาดความรูและความเขาใจในการเขียน แผนการจัดการเรียนรูตามรูปแบบของโรงเรียน ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 การประสบ ปญหามีคาเฉลี่ยเทากับ 3.63 อยูในระดับมาก

2.3 ดานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร

สภาพดานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบวาภาพรวมมี

การปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 99.24 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.25 อยูในระดับมาก โดยครูมีการจัดการเรียนรูการสะกด คําอานภาษาจีนและอานออกเสียงใหถูกตองตามสัทอักษรพินอิน เพื่อเปนพื้นฐานในการเริ่มเรียนภาษาจีน มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.18 อยูในระดับมาก

ปญหาดานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบวาภาพรวมของ การประสบปญหา คิดเปนรอยละ 98.21 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.77 อยูในระดับปานกลาง โดยมีการจัดกิจกรรม เสริมหลักสูตรภาษาจีน ของหองเรียนขงจื่อมากเกินไป จึงทําใหคาบสอนภาษาจีนไมเพียงพอ เชน กิจกรรม กิจกรรมวันสําคัญ กิจกรรมเสริมทักษะทางดานศิลปะและดนตรีจีน การจัดคาย/ออกคายภาษาและวัฒนธรรม จีน การทัศนศึกษานอกสถานที่ ฯลฯ ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ย เทากับ 3.50 อยูในระดับมาก

2.4 ดานการพัฒนาและใชสื่อการเรียนการสอน

(11)

รายการโทรทัศนและภาพยนตรภาคภาษาจีน เพลงจีน ฯลฯ มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มี

คาเฉลี่ยเทากับ 3.02 อยูในระดับปานกลาง

ปญหาดานการพัฒนาและใชสื่อการจัดการเรียนรู พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 69.64 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.67 อยูในระดับปานกลาง โดยครูผูสอนไมมีเวลาในการศึกษาทํา ความเขาใจ พัฒนาและผลิตสื่อหรือเทคโนโลยีสําหรับการจัดการเรียนรู เนื่องจากภาระงานอื่นของหองเรียน ขงจื่อมีจํานวนมาก ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.68 อยูในระดับมาก 2.5 ดานการจัดสอนซอมเสริม

สภาพดานการจัดสอนซอมเสริม พบวา ภาพรวมอยูในระดับนอยที่สุด คิดเปนรอยละ 56.25 มี

คาเฉลี่ยเทากับ 1.68 อยูในระดับนอย โดยครูมีการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรูใหผูเรียนไดฝกทักษะภาษาจีน อยางหลากหลาย มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 57.14 มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.97 อยูในระดับนอย

ปญหาดานการจัดสอนซอมเสริม พบวาภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปนรอยละ 77.68 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.89 อยูในระดับปานกลาง โดยครูไมมีเวลาในการจัดสอนซอมเสริมใหกับผูเรียน ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 100.00 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.70 อยูในระดับมาก

2.6 ดานการวัดและประเมินผลการเรียนรู

สภาพดานการวัดและประเมินผลการเรียนรู พบวา ภาพรวมของการปฏิบัติ คิดเปนรอยละ 98.21 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.49 อยูในระดับมาก มีการวัดและประเมินผล โดยใชผลการสอบวัดระดับความรู

ภาษาจีน (HSK) กอนการจบการศึกษาหลักสูตร มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเปนรอยละ 98.21 มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.88 อยูในระดับมากที่สุด

ปญหาดานการวัดและประเมินผลการเรียนรู พบวา ภาพรวมของการประสบปญหา คิดเปน รอยละ 86.30 มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.77 อยูในระดับปานกลาง โดยการวัดและประเมินผล โดยใชผลการสอบวัด ระดับความรูภาษาจีน (HSK) กอนการจบการศึกษาหลักสูตร ลาชาหรือทราบผลหลังจากที่จบการศึกษาไปแลว ประสบปญหามากที่สุด คิดเปนรอยละ 98.21 มีคาเฉลี่ยเทากับ 3.63 ในระดับมาก

การอภิปรายผลการวิจัย

จากผลการวิจัยเรื่อง การศึกษาการศึกษาสภาพและปญหาการใชหลักสูตรภาษาจีนของ โรงเรียนที่มีการจัดตั้งหองเรียนขงจื่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีขอควรอภิปรายผลและเสนอแนะ ดังนี้

1. ดานงานบริหารหลักสูตร

จากผลการวิจัยในดานงานบริหารหลักสูตร พบวา ทางโรงเรียนใหความสําคัญเกี่ยวกับดาน การจัดสิ่งอํานวยความสะดวกตางๆ แกผูใชหลักสูตรมากที่สุด ผูวิจัยมีความเห็นวา การที่สถานศึกษามีการลง นามความรวมมือกับสํานักงานสงเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (HANBAN) เพื่อจัดตั้งหองเรียน ขงจื่อในสถานศึกษานั้น เปนวิธีการหนึ่งในการจัดหลักสูตรภาษาจีนเพื่อพัฒนา สงเสริม สนับสนุนการเรียน การสอนภาษาจีน โดยใหผูเรียนไดเรียนรู เขาใจภาษาและวัฒนธรรม รวมถึงเผยแพรวัฒนธรรมจีนอยางเปน ระบบ นอกจากนี้ยังมีสิ่งอํานวยความสะดวกตางๆ แกผูใชหลักสูตร ซึ่งเปนสวนสําคัญในการจัดการเรียน การสอนใหกับผูเรียนในหลักสูตรภาษาจีน ไดแก อาคารสถานที่ หองปฏิบัติการทางภาษา หองกิจกรรม หองสมุดจีน อุปกรณและสื่อการสอนที่ทันสมัย การจัดสภาพแวดลอม บรรยากาศในหองเรียนที่ชวยสราง ความสัมพันธอันดีระหวางผูเรียนกับผูสอน และมีการนําเทคโนโลยีมาใช เชน คอมพิวเตอรจอทัชสกรีน

Referensi

Dokumen terkait

ทางการศึกษาให้เกิดความเชื่อประสิทธิภาพในตนเชิงสร้างสรรค์ และไม่ได้สร้างรากฐานในการพัฒนา พฤติกรรมนวัตกรรม ที่น าไปสู่ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน Barney, อ้างถึงใน พยัต วุฒิรงค์,