• Tidak ada hasil yang ditemukan

การจัดกระท า และวิเคราะห์ข้อมูล

6. การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การก าหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สอบบัญชีสัญชาติไทยที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริษัท ตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ประเทศไทย จ านวน 4,000 คน (ข้อมูลพนักงานโดยประมาณ ณ วันที่

16 พฤษภาคม 2564)

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้สอบบัญชีที่สัญชาติไทยปฏิบัติงานอยู่ในบริษัท ตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ในประเทศไทย ใช้วิธีก าหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power (นง ลักษณ์ วิรัชชัย, 2555) โดยก าหนดสถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์โมเดลถดถอยพหุคูณ (Multiple regression model) ก าหนดค่าอิทธิพล (Effect size) เท่ากับ .15 ซึ่งเป็นค่าขนาดอิทธิพล ระดับกลาง (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2555) ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .05 ค่าอ านาจการทดสอบเท่ากับ .99 จ านวนตัวแปรพยากรณ์เท่ากับ 5 ตัวแปร ค านวณกลุ่มตัวอย่างได้ 138 คน ดังนั้นขนาดกลุ่ม ตัวอย่างที่เหมาะสมจึงควรมีอย่างน้อย 138 และเพื่อป้องกันการขาดหายของข้อมูลไม่เกินร้อยละ 30 ของจ านวนขั้นต ่า (Grove et al., 2012) คือ 42 คน ผู้วิจัยจึงก าหนดกลุ่มตัวอย่างจ านวน 180 คน โดยผู้วิจัยได้น าแบบสอบถามรูปแบบเอกสารสมบูรณ์ฉบับออนไลน์ครบทุกชุด จ านวน 180 ชุด เพื่อท าการเก็บข้อมูล และได้รับการตอบกลับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์จากกลุ่มตัวอย่างจ านวน 170 ชุด (คิดเป็นร้อยละ 94.44) โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience sampling)

43 2. เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือแบบสอบถามซึ่งมี 3 ตอน ประกอบด้วย

ตอนที่ 1 แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล จ านวน 6 ข้อ มีลักษณะข้อค าถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ประกอบด้วย 1) ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal scale) ได้แก่ บริษัทที่ท างาน เพศ หน่วยงานที่สังกัด และ 2) ข้อมูลอัตราส่วน (Ratio scale) ได้แก่ อายุ

อายุงาน จ านวนชั่วโมงท างานต่อสัปดาห์

ตอนที่ 2 แบบวัดข้อเรียกร้องจากงาน ความสามารถในการควบคุมงาน การ สนับสนุนทางสังคม จ านวน 28 ข้อ เป็นมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert scale) 5 ระดับ คือ 5 = เห็น ด้วยอย่างยิ่ง, 4 = เห็นด้วย, 3 = เห็นด้วยปานกลาง, 2 = ไม่เห็นด้วย และ 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เป็นข้อค าถามเชิงบวกทั้ง 28 ข้อ โดยแบ่งข้อค าถามดังนี้

ข้อที่ 1 - 12 เป็นข้อค าถามวัดข้อเรียกร้องจากงาน รวม 12 ข้อ

ข้อที่ 13 - 20 เป็นข้อค าถามวัดความสามารถในการควบคุมงาน รวม 8 ข้อ ข้อที่ 21 – 28 เป็นข้อค าถามวัดการสนับสนุนทางสังคม รวม 8 ข้อ

โดยมีเกณฑ์การตัดสินค่าเฉลี่ยจากมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวทาง ของ Best & Kahn (1993) ซึ่งให้ความหมายของค่าเฉลี่ย ดังนี้

4.51 - 5.00 มีการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 3.51 - 4.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับมาก 2.51 - 3.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง 1.51 - 2.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับน้อย 1.00 - 1.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับน้อยที่สุด

ตอนที่ 3 แบบวัดความเครียดจากการท างาน จ านวน 13 ข้อ เป็นมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert scale) 5 ระดับ คือ 5 = เครียดมากที่สุด, 4 = เครียดมาก, 3 = เครียดปานกลาง, 2 = เครียดน้อย และ 1 = เครียดน้อยที่สุด เป็นข้อค าถามเชิงบวกทั้ง 13 ข้อ

โดยมีเกณฑ์การตัดสินค่าเฉลี่ยจากมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวทาง ของ Best & Kahn (1993) ซึ่งให้ความหมายของค่าเฉลี่ย ดังนี้

4.51 - 5.00 มีการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 3.51 - 4.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับมาก 2.51 - 3.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง 1.51 - 2.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับน้อย

44 1.00 - 1.50 มีการรับรู้อยู่ในระดับน้อยที่สุด

3. การพัฒนาเครื่องมือวิจัย

ขั้นตอนในการพัฒนาเครื่องมือ มีดังนี้

1. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้องจากงาน ความสามารถในการ ควบคุมงาน การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดจากการท างาน

2. ก าหนดนิยามปฏิบัติการของตัวแปร ข้อเรียกร้องจากงาน ความสามารถในการ ควบคุมงาน การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดจากการท างาน

3. เขียนข้อค าถามโดยพัฒนาข้อค าถามจาก

3.1 แบบวัดข้อเรียกร้องจากงาน ความสามารถในการควบคุมงาน และการ สนับสนุนทางสังคม ปรับปรุงจากแบบวัด Thai job content questionnaire ของ พิชญา พรรคทอง สุข (2552) ซึ่งพัฒนามาจาก Job content questionnaire (Karasek, 1985) โดยผู้วิจัยปรับให้เข้า กับงานวิจัย โดยได้ข้อค าถาม ข้อเรียกร้องจากงาน จ านวน 12 ข้อ ความสามารถในการควบคุม งาน จ านวน 8 ข้อ และการสนับสนุนทางสังคม จ านวน 8 ข้อ

3.2 แบบวัดความเครียดในการท างาน ปรับปรุงจากแบบสอบวัดความเครียดใน การท างานของ ไพมลิน แจ่มพงษ์ (2559) จ านวน 13 ข้อ ซึ่งพัฒนาจากแบบวัดความเครียดจาก การท างาน (Job stress scale) ของ Parker and DeCotiis (1983) โดยผู้วิจัยปรับให้เข้ากับ งานวิจัย โดยได้ข้อค าถาม ความเครียดจากการท างาน จ านวน 12 ข้อ และปรับมาตรวัดจาก

4. น าแบบวัดเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ท าการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยใช้ค่าดัชนี ความสอดคล้องระหว่างข้อกับวัตถุประสงค์ (Index of item- objective congruence: IOC) โดยได้ค่า IOC .67 – 1.00 และปรับปรุงแก้ไขตามความคิดเห็นของ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน เช่น ปรับภาษาให้มีความเป็นปรนัยยิ่งขึ้น และอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญา นิพนธ์ก่อนท าการเก็บข้อมูล

5. ทดลองเก็บข้อมูล (Try out) กับพนักงานที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 30 คน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจด้านภาษา และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้

สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เพื่อหาความสอดคล้อง ภายในของข้อวัด (Internal consistency) ในการพิจารณาค่าของข้อวัดที่เหมาะสม ส าหรับเกณฑ์

ประเมินความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยครั้งนี้พิจารณาจากเกณฑ์การประเมินตามหลักของ George and Mallery (2003) คือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟามากกว่า 0.90 จะมีระดับความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ดี

มาก สัมประสิทธิ์แอลฟาระหว่าง 0.80 – 0.89 จะมีระดับความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ดี สัมประสิทธิ์

45 แอลฟาระหว่าง 0.70 – 0.79 จะมีระดับความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์พอใช้ สัมประสิทธิ์แอลฟาระหว่าง 0.60 – 0.69 จะมีระดับความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต ่า สัมประสิทธิ์แอลฟาระหว่าง 0.50 – 0.59 จะมีระดับความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ต ่า สัมประสิทธิ์แอลฟาน้อยกว่า 0.50 ไม่สามารถยอมรับได้

จากการทดลองเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของข้อ เรียกร้องจากงาน เท่ากับ .83 ความสามารถในการควบคุมงาน เท่ากับ .87 การสนับสนุนทาง สังคม เท่ากับ .89 ความเครียดจากการท างาน เท่ากับ .92

6. ปรับปรุงแก้ไขเพื่อท าการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ผู้วิจัยเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการจริยธรรมส าหรับพิจารณาโครงการวิจัยที่ท าใน มนุษย์ โดยขอการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมส าหรับงานวิจัยที่ท าในมนุษย์ กรณีการเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานบริษัท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยได้รับอนุมัติจากคณะ กรรมการฯ (หมายเลขรับรอง SWUEC/EC-G-010/2565) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2565 ถึง เดือนเมษายน 2565 โดยผู้วิจัยได้รับการตอบกลับแบบสอบถาม ทั้งสิ้น 170 ฉบับ

2. น าแบบสอบถามมาสร้างในรูปแบบ Google Forms และส่งแบบสอบถามแก่พนักงาน ของแต่ละบริษัท โดยให้พนักงานในบริษัทตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ประเทศไทยที่ผู้วิจัยรู้จักช่วย ส่งแบบสอบถามให้พนักงานท่านอื่น ๆ

3. น าแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ โดยคัดเลือกเฉพาะ แบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนเพื่อน าข้อมูลที่ได้มาใช้วิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

5. การจัดกระท า และวิเคราะห์ข้อมูล

1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของค าตอบของแบบสอบถามแต่ละชุดข้อมูลโดย คัดเลือกข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่มีความสมบูรณ์มาใช้ในการวิเคราะห์

2. ตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนส าหรับเครื่องมือวิจัยแต่ละชุด

3. เมื่อเก็บข้อมูลครบถ้วนแล้ว จึงท าการประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปทาง สถิติ เพื่อหาค่าสถิติและวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

3.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ค่าเฉลี่ยของตัวแปร และค่าสถิติบรรยายของตัวแปร วิจัย สถิติที่ใช้คือ การหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percent) เพื่อจ าแนก คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง และค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้ในงานวิจัย

46 ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) ค่าสูงสุด (Max) ค่าต ่าสุด (Min) ค่าความเบ้ (Sk) ค่าความโด่ง (Ku)

3.2 การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลถดถอยพหุคูณ (Multiple regression model) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของข้อเรียกร้องจากงาน ความสามารถในการควบคุม งาน และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อความเครียดจากการท างานของอาชีพผู้สอบบัญชี ด้วย โปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ

3.3 ผลการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์อิทธิพลก ากับด้วยโปรแกรม PROCESS (Analysis of moderation effects through PROCESS) โดยเลือกใช้ Model 1 เพื่อ วิเคราะห์อิทธิพลของข้อเรียกร้องจากงานที่มีต่อความเครียดจากการท างานของอาชีพผู้สอบบัญชี

โดยมีความสามารถในการควบคุมงานเป็นตัวแปรก ากับ และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของข้อเรียกร้อง จากงานที่มีต่อความเครียดจากการท างานของอาชีพผู้สอบบัญชีโดยมีการสนับสนุนทางสังคมเป็น ตัวแปรก ากับ ด้วยโปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของข้อเรียกร้องจากงาน ความสามารถในการควบคุม งาน และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อความเครียดจากการท างานของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย โดยผู้วิจัยแบ่งการน าเสนอผลการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ตอน คือ

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ค่าเฉลี่ยของตัวแปร และค่าสถิติบรรยายของตัว แปรวิจัย

2. ผลการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลถดถอยพหุคูณ (Multiple regression model)

3. ผลการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์อิทธิพลก ากับด้วยโปรแกรม PROCESS (Analysis of moderation effects through PROCESS)

สัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวแปรสังเกตได้

JD หมายถึง ข้อเรียกร้องจากงาน (Job demands)

JC หมายถึง ความสามารถในการควบคุมงาน (Job controls) SS หมายถึง การสนับสนุนทางสังคม (Social support)

ST หมายถึง ความเครียดจากการท างาน (Occupational stress)

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ค่าเฉลี่ยของตัวแปร และค่าสถิติบรรยายของตัว แปรวิจัย

1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง

ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การหา ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percent) เพื่อจ าแนกคุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่ม ตัวอย่าง รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 1

ตาราง 1 ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง

ข้อมูลคุณลักษณะ ความถี่ ร้อยละ

เพศ

Dokumen terkait