• Tidak ada hasil yang ditemukan

การจัดท าข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

1. การก าหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 1.1 ประชากร

ประชากรที่เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 อายุระหว่าง 16 ถึง 18 ปี จากโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมคึกษาตอนปลาย จ านวน 1,526,356 คน และโรงเรียน เอกชน ประเภทสามัญศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จ านวน 363,590 คน รวมเป็นประชากร ทั้งหมด 1,889,946 คน (ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2561)

1.2 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ก าหนดหน่วยตัวอย่าง (Sampling unit) คือ สถานศึกษา โดยท าการ สุ่มโรงเรียนในสังกัดรัฐบาล โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ได้กลุ่ม ตัวอย่างภาคละ 1 โรงเรียน

ขั้นตอนที่ 2 หน่วยตัวอย่าง (Sampling unit) คือ ห้องเรียนของนักเรียนในชั้นนั้น ๆ ท าการสุ่มห้องเรียนในสถานศึกษาได้รับการสุ่มมาจากขั้นตอนที่ 1 สถานศึกษาละ 2 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ท าให้ได้กลุ่มตัวอย่างจากทั้ง 5 โรงเรียน รวม 10 ห้องเรียน มีจ านวนนักเรียนร่วม 400 คน

2. การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ด าเนินการพัฒนาโดยอาศัยขั้นตอนการสร้าง จากแบบวัดพัฒ นาการทางจิตสังคมของฮอว์ลีย์ (Hawley measures of psychosocial development : MPD) โดยให้ผู้ท าพิจารณาข้อความในแต่ละข้อความที่ก าหนดให้ตรงกับ ความรู้สึกที่เป็นจริงของตนเองโดยใช้การประเมินค่า 5 ระดับ

2.1 ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ

ขั้นตอนการด าเนินการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา และพัฒนาแบบวัด ผู้วิจัยได้

แบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ระยะตามขั้นตอนการพัฒนาแบบวัดพัฒนาการทางจิตสังคมดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 ขั้นตอนการวางแผน (Initial Planning)

ขั้นตอนที่ 1.1 นิยามแนวคิดตัวแปร ศึกษางานวิจัย และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาแบบวัดพัฒนาการทางจิตสังคม โดยการนิยามแนวคิดตัวแปรในงานวิจัยครั้งนี้เป็นไป ตามกรอบแนวคิดของทฤษฎีพัฒนาการจิตสังคมของอีริคสัน

ขั้นตอนที่ 1.2 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการน านิยามแนวคิดตัวแปรมาใช้ใน งานวิจัยตามกรอบแนวคิดของอีริคสัน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์น ามาก าหนดนิยามปฏิบัติการ และ ใช้สร้างข้อวัดเบื้องต้น

ขั้นตอนที่ 1.3 นิยามเชิงปฏิบัติการ ตามสมมติฐานโครงสร้างองค์ประกอบ พัฒนาการทางจิตสังคมของอีริคสัน และออกแบบมาตรวัดเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ส าหรับการประเมินพัฒนาการทางจิตสังคมในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 อายุระหว่าง 16 ถึง 18 ปี แล้วประเมินความรู้สึกของตนตามเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

ตรงกับตัวฉันน้อยที่สุด เท่ากับ 1 คะแนน ตรงกับตัวฉันน้อย เท่ากับ 2 คะแนน ตรงกับตัวฉันปานกลาง เท่ากับ 3 คะแนน ตรงกับตัวฉันมาก เท่ากับ 4 คะแนน ตรงกับตัวฉันมากที่สุด เท่ากับ 5 คะแนน

ขั้นตอนที่ 1.4 สร้างข้อวัด ร่างข้อวัด และแบ่งส่วนออกเป็น 6 ส่วน โดย เรียงล าดับตามข้อค าถามในการวัดขั้นพัฒนาการในขั้นนั้น ประกอบไปด้วยตัวแปรทางพัฒนาการ ทางจิตวิทยาสังคมของอีริสัน 16 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ความรู้สึกไว้วางใจ (Trust) 2) ความรู้สึกเป็นอิสระ (Autonomy) 3) ความคิดริเริ่ม (Initiative) 4) ความขยันหมั่นเพียร (Industry) 5) ความมีเอกลักษณ์แห่งตน (Identity) 6) ความใกล้ชิดสนิทสนม (Intimacy) 7) สนใจบ ารุงผู้อื่น (Generativity) 8) ความมั่นคง สมบูรณ์ (Integrity) 9) ความไม่ไว้วางใจผู้อื่น (Mistrust) 10) ความ ละอายไม่แน่ใจ (Shame and doubt) 11) ความรู้สึกผิด (Guilt) 12) ความรู้สึกเป็นปมด้อย (Inferior) 13) ความสับสนในตนเอง (Identity diffusion) 14) การแยกตัว (Isolation) 15) การใส่

ใจหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง (Stagnation) 16) ความสิ้นหวังท้อแท้ (Despair)

ขั้นตอนที่ 1.5 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความตรง ตามเนื้อหา โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกข้อความที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกัน ด้วยวิธีการ ค านวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อความกับเนื้อหา (Item objective congruence:

IOC)

ระยะที่ 2 ขั้นตอนการศึกษาน าร่อง (Pilot Study)

ขั้นตอนที่ 2.1 ทดลองใช้เครื่องมือในกลุ่มที่คล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จ านวน 200 คน เพื่อน ามาหาค่าอ านาจจ าแนกรายข้อ (item discrimination) โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มสูง กลุ่มต ่า จากเปอร์เซนไทน์ที่ 25 และ 75 เพื่อน ามา ทดสอบค่า t (independent t-test) โดยท าการคัดเฉพาะข้อวัดที่ค่าแสดงออกมาว่ากลุ่มสูง และ กลุ่มต ่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์

ระหว่างข้อวัดกับคะแนนรวมในองค์ประกอบแต่ละด้าน (Corrected Item Total Correlation : CITC)

ขั้นตอนที่ 2.2 การวิเคราะห์ค่าความเที่ยง (Reliability) ของแบบวัดพัฒนาการ ทางจิตสังคมตามแนวคิดอีริคสัน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient: α)

ขั้นตอนที่ 2.3 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์

องค์ประกอบเชิงส ารวจ

ระยะที่ 3 การตรวจสอบความตรงของโมเดล

ขั้นตอนที่ 3.1 เริ่มเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบวัดที่ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพของแบบวัดในระยะการพัฒนาก่อนหน้ามาแล้ว

ขั้นตอนที่ 3.2 ตรวจสอบข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ว่าเป็นไปตามข้อตกลงหรือไม่ และ สร้างเมททริกซ์สหสัมพันธ์ (Correlation Matrix) โดยมีรายละเอียดข้อตกลงเบื้องต้นมีดังต่อไปนี้

(Munro, 2001 อ้างใน เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, 2549)

1) การเลือกตัวแปรเพื่อน ามาวิเคราะห์องค์ประกอบต้องเป็นตัวแปรที่มีค่า ต่อเนื่องกัน หรือมีค่าในมาตรระดับช่วง (Interval scale) และมาตราอัตราส่วน (Ratio scale)

2) ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่น ามาวิเคราะห์องค์ประกอบควรอยูในระดับสูง (r = 0.30 – 0.70) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ และตัวแปรต้องอยู่ในรูปของเชิงเส้น เท่านั้น

3) จ านวนของตัวแปรที่น ามาวิเคราะห์องค์ประกอบ ควรมีจ านวนตัวแปรที่

สามารถสังเกตุได้มากกว่า 30 ตัวแปร

4) กลุ่มตัวอย่างควรมีขนาดใหญ่ และมีจ านวนมากกว่าตัวแปรอย่างน้อย 5 – 10 เท่า

5) ในกรณีที่ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle component analysis) ตัวแปรแต่ละตัว ไม่จ าเป็นต้องแจกแจงแบบปกติ (Janthapoon & Wattananonsakul, 2019)

ขั้นตอนที่ 3.3 การสกัดองค์ประกอบ (Extraction Factor Analysis) โดยให้

พิจารณาจากค่า ไอเกน (Eigenvalue) ที่มีค่ามากกว่า 1.00

ขั้นตอนที่ 3.4 เลือกวิธีการหมุนแกน (Factors Rotation) ผู้วิจัยตัดสินใจเลือกข้อ วัดด้วยวิธีการหมุนแกนแบบมุมฉาก (Orthogonal rotation) ด้วยวิธี Quartimax

ขั้นตอนที่ 3.5 เลือกค่าน ้าน ้าหนักองค์ประกอบ (Factors Score) เลือกค่าน ้าหนัก ที่มากที่สุดที่ตกลงในแต่ละองค์ประกอบ โดยแต่ละองค์ประกอบต้องประกอบด้วยตัวแปรไม่น้อย กว่า 3 ตัวแปร ก าหนดค่าน ้าหนักองค์ประกอบที่ .30 ขึ้นไป

ขั้นตอนที่ 3.6 ตั้งชื่อองค์ประกอบที่วิเคราะห์

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาแบบวัดพัฒนาการทางจิตสังคมตามแนวคิดอีริคสัน ในกลุ่มวัยรุ่นไทย มีการเก็บรวบร่วมข้อมูลในขั้นตอนของการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา โดย มีวิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละครั้งมีวิธีการด าเนินการดังนี้

1) การท าหนังสือขออนุญาตเก็บรวบร่วมข้อมูลในสถานศึกษา โดยในแต่ละครั้งของ การวัดจะมีวิธีการด าเนินการดังต่อไปนี้

2) ท าหนังสือขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลส าหรับสถานศึกษา

2.1 ติดต่อโรงเรียนที่เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ขออนุญาตผู้บริหารสถานศึกษา และ นัดหมายวัน เวลา เพื่อน าแบบวัดพัฒนาการทางจิตสังคมตามแนวคิดอีริคสัน ในวัยรุ่นไทย ไปให้

กลุ่มตัวอย่างท าการประเมินตนเองเพื่อเก็บข้อมูล

2.2 อธิบายให้ครู และนักเรียน เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการวิจัยรายละเอียดใน การตอบแบบวัด ประโยชน์จากงานวิจัย เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ตอบด้วยความเต็มใจและ ตรงตามความเป็นจริง

2.3 การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง ชี้แจงเป็นรายลักษณ์อักษรในแบบวัด โดย บอกวัตถุประสงค์วิจัยรายละเอียดในการตอบแบบวัด ประโยชน์จากงานวิจัย และชี้แจงให้ทราบว่า ถ้านักเรียนไม่พึงประสงค์ท าแบบประเมินสามารถขอถอนตัวได้ตลอดเวลา โดยผู้วิจัยจะเก็บข้อมูล เป็นความลับ ปกป้องผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่เปิดเผยชื่อสกุล หน่วยงาน และรายละเอียดการวิเคราะห์โดยภาพรวม

2.4 อธิบายให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจถึงวิธีการตอบแบบวัดพัฒนาการทางจิตสังคม ตามแนวคิดของอีริคสัน ในวัยรุ่นไทยที่จะลงมือตอบแบบวัด

2.5 เก็บรวบรวมแบบวัดทั้งหมด เพื่อน าผลการตอบแบบวัดมาตรวจให้คะแนน 4. การจัดท าข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลส าหรับการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ตอน คือการ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และการวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมุติฐานของการวิจัย มีขั้นตอนในการ วิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการทางสถิติดังต่อไปนี้

1) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ เพื่ออธิบายลักษณะของกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม สถิติ

2) การวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐานในการวิจัย โดยเรียงล าดับขั้นตอนดังนี้

2.1) การตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยพิจารณาความ สอดคล้องระหว่างเนื้อหาในค าถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการ และแนวคิด ทฤษฎีของตัวแปร ค านวณค่าดัชนีความสอดคล้องจากสูตร

𝐼𝑂𝐶 = ∑𝑅𝑁 𝐼𝑂𝐶 หมายถึง ค่าความสอดคล้อง

∑𝑅

𝑁 หมายถึง คะแนนรวม

𝑁 หมายถึง จ านวนผู้เชี่ยวชาญ

2.2) วิเคราะห์ค่าอ านาจจ าแนก (Discriminant) รายข้อวัดด้วยวิธีการหาค่า ความสอดคล้องภายใน โดยวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อค าถามแต่ละข้อวัดกับค าถาม รวมทั้งฉบับ (Corrected Item Coefficient: CITC) เพื่อคัดเลือกข้อวัดที่สามารถจ าแนกกลุ่ม ตัวอย่างที่ได้คะแนนสูง และต ่าได้ โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้