• Tidak ada hasil yang ditemukan

การจัดท าและวิเคราะห์ข้อมูล

22

เมื่อ n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง N = จ านวนประชากร

e2 = ระดับของความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับให้เกิดขึ้นได้

= 5% หรือ 0.05 แทนค่าในสูตร

n = 23,000

1+(23,000 X 0.052)

n = 394

ดังนั้น ในการท าวิจัยครั้งนี้ ผู้ท าวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจ านวน 394 ราย ผู้วิจัยได้ท าการ ส ารองแบบสอบถาม เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จึงเก็บเพิ่มรวมจ านวนตัวอย่างทั้งสิ้น 400 ราย โดยศึกษาเฉพาะ พนักงานที่ท างานภายในองค์กรของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ ากัด มหาชน ในเขตกรุงเทพ เท่านั้น

3.2 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. ศึกษาข้อมูลจากตารางเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อก าหนดโครงสร้าง ของแบบสอบถาม

2. ก าหนดรอบเขตแบบสอบถาม ได้แก่ การท างานเป็นทีม การรับรู้ภาวะผู้น าและการ ท างานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างแบบสอบถามให้มีความชัดเจนตามความมุ่งหมายของ วิจัย

3. สร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับกรอบการวิจัย

4. น าแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์และคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและเสนอแนะเพิ่มเดิม

5. น าแบบสอบถามที่ได้รับค าแนะน าจากอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยมาปรับปรุงแก้ไขและ ตรวจสอบความเที่ยงของเนื้อหา (Content Validity) และการใช้ส านวนภาษาเพื่อปรับปรุงแก้ไข ครั้งสุดท้ายก่อนน าไปทดลองใช้ (Try Out)

6. ทดสอบแบบสอบถาม โดยการน าแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปทดสอบเบื้องต้น กับกลุ่มตัวอย่างจ านวน 40 ตัวอย่าง เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยใช้

วิธีการหาค าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ( α - Coefficient of Alpha) ของ Cronbach ค่าอัลฟ่าที่ได้

จะแสดงถึงระดับความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยมีค่าระหว่าง 0 ≤ α ≤ 1 หากค่าที่ได้มี

ความใกล้เคียงกับ 1 มากแสดงว่ามีความเชื่อมั่นสูงโดยก าหนดค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ต้องไม่

ต ่ากว่า 0.7 (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2544) ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าของครอนบัคในแต่ละด้านได้ค่า ดัง ตารางที่ 3.1

ตาราง 1 แสดงค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบัคในแต่ละด้าน

ตัวแปร ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า

ของครอนบัค

การแปรผลการ ยอมรับ ส่วนที่ 1 การท างานเป็นทีม

การมีเป้าหมายร่วมกันในการปฏิบัติงาน การแบ่งบทบาทการท างานอย่างชัดเจน การพึ่งพาอาศัยกันในการปฏิบัติงาน การวางแผนงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย การร่วมมือและการประสานงานกัน

การแบ่งงานตามความสามารถของพนักงาน

0.965 0.915 0.874 0.879 0.890 0.871 0.864

ยอมรับได้

ดีมาก ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ส่วนที่ 2 การรับรู้ภาวะผู้น า ภาวะผู้น าแบบพฤติกรรมมุ่งงาน

ภาวะผู้น าแบบมีพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์หรือมุ่งคน ภาวะผู้น าแบบมีส่วนร่วม

0.984 0.944 0.920 0.908

ยอมรับได้

ดีมาก ดีมาก ดีมาก ส่วนที่ 3 การท างานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ 0.943 ยอมรับได้

3.3 สร้างเครื่องมือใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เนื่องจาก แบบสอบถามออนไลน์มีการหระจายข้อมูลได้อย่างทั่วถึง เข้าถึงได้รวดเร็วมากกว่าการเดินแจก แบบสอบถาม ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ และสามารถ น าไปใช้งานได้ทันทีเป็นวิธีที่ง่ายต่อการกระจายไปยังกลุ่มตัวอย่าง สะดวก ประหยัดเวลา และลด ค่าใช้จ่าย ในส่วนของตัวแปรอื่น ๆ ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อหาความสัมพันธ์เป็นวิธีที่

มีความเหมาะสม รวมไปถึงวิจัยที่ผู้วิจัยได้ไปศึกษามาก็ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเช่นกัน (พัชรี ดามพ์

24 ประเสริฐกล, 2563) โดยการศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การท างานเป็นทีม มีลักษ ณ ะแบบสอบถามเป็น Rating Scale ประกอบด้วย 6 ด้าน จ านวน 18 ข้อ คือ

1. การมีเป้าหมายร่วมกันในการปฏิบัติงาน 2. การแบ่งบทบาทการท างานอย่างชัดเจน 3. การพึ่งพาอาศัยกันในการปฏิบัติงาน 4. การวางแผนงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย 5. การร่วมมือและการประสานงานกัน

6. การแบ่งงานตามความสามารถของพนักงาน

ส่วนที่ 2 การรับรู้ภาวะผู้น า มีลักษณะแบบสอบถามเป็น Rating Scale ประกอบด้วย 3 ด้าน จ านวน 21 ข้อ คือ

1. ภาวะผู้น าแบบพฤติกรรมมุ่งงาน

2. ภาวะผู้น าแบบมีพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์หรือมุ่งคน 3. ภาวะผู้น าแบบมีส่วนร่วม

ส่วนที่ 3 การท างานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะแบบสอบถามเป็น Rating Scale ประกอบด้วย 2 ด้าน จ านวน 2 ข้อ คือ

1. ความไว้เนื้อเชื่อใจ

2. การมีส่วนส่วนร่มของคนในทีม

ซึ่งแบบสอบถามส่วนที่ 1 2 และ 3 จะประเมินค าตอบเป็น 5 ระดับ (Rating Scale) (บุญชม ศรีสะอาด, 2560) คือ

ระดับความคิดเห็นมากที่สุด หมายถึง 5 ระดับความคิดเห็นมาก หมายถึง 4 ระดับความคิดเห็นกลาง หมายถึง 3 ระดับความคิดเห็นน้อย หมายถึง 2 ระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด หมายถึง 1

การแปลผลค่าคะแนน แปลผลโดยถือตามเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย โดยใช้สูตรอันตรภาคชั้น

5 1 5

= 0.80

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.80 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย 1.81 – 2.60 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นน้อย ค่าเฉลี่ย 2.61 – 3.40 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นกลาง ค่าเฉลี่ย 3.41 – 4.20 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นมาก ค่าเฉลี่ย 4.21 – 5.00 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด

3.4 การเก็บข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เพราะสามารถน าใช้ในการเก็บข้อมูลของคนจ านวน มาก มาน าเสนอในเชิงตัวเลข และทางสถิติ ผู้วิจัยได้ด าเนินการ ดังนี้

1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลในส่วนนี้ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยตรง ดังนี้

1.1 ผู้วิจัยด าเนินการขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยถึงผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุญาตและชี้แจงวัตถุประสงค์ และขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูลการวิจัย

1.2 เข้าด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยขอความร่วมมือกับ พนักงานที่ท างานภายในองค์กรของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ ากัด มหาชน ในเขตกรุงเทพ ในการ ด าเนินการส่งแบบสอบถามจ านวน 394 ชุด โดยเลือกวิธีเลือกกลุ่มสุ่มตัวอย่าง ดังนี้

ขั้นที่ 1 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากประชากรที่ใช้ในการวิจัย มีลักษณะเป็นเพศ ชายและเพศหญิง ที่อยู่ในเขตกรุงเทพ ที่เป็นพนักงานที่ท างานภายในองค์กรของบริษัท ทรู คอร์

ปอเรชั่น จ ากัด มหาชน ในเขตกรุงเทพ รวมจ านวน 23,000 คน (บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ ากัด มหาชน, 2564)โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)

ขั้นที่ 2 ก าหนดสัดส่วนประชากร ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเก็บแบบสะดวก (Convenience Sampling) ซึ่งทางผู้วิจัยได้ประสานกันกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท ทรู คอร์

ปอเรชั่น จ ากัด มหาชน เพื่อท าการเก็บข้อมูลแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มพนักงานบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ ากัด มหาชน จ านวน 400 คน โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามผ่านทาง

26 แบบสอบถามออนไลน์ (Online Question, Google Form) ด้วยการแนบรหัส QR Code หรือแชร์

ลิงก์ เก็บข้อมูลจนครบตามจ านวน จ านวน 400 คน

1.3 โดยการสร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) มีทั้งค าถามแบบปลาย ปิด (Close ended Questions) สอบถามพนักงานที่ท างานภายในองค์กรของบริษัท ทรู คอร์

ปอเรชั่น จ ากัด มหาชน ในเขตกรุงเทพ คือ ส่วนที่ 1 การท างานเป็นทีม ส่วนที่ 2 การรับรู้ภาวะผู้น า

ส่วนที่ 3 การท างานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

1.4 ตรวจสอบแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา โดยตรวจสอบความ ถูกต้องความครบถ้วนของข้อมูล แล้วน ามาก าหนดรหัสค าตอบเพื่อท าการวิเคราะห์ประมวลผล ต่อไป

2. ข้อมูลทุติยะภูมิ (Secondary data) โดยการหาข้อมูลด้วยการค้นคว้าจาก เอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย

3.5 การจัดท าและวิเคราะห์ข้อมูล

เรื่อง “การรับรู้ภาวะของผู้น าและทักษะการท างานของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การท างานเป็นทีม” ดังนี้

1. เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่งประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ส่วนที่ 1 การท างานเป็นทีม ใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ 2 การรับรู้ภาวะผู้น า ใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ 3 การท างานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน

ในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics Analysis) ร้อยละ (Percentage) เป็นสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบความถี่ หรือจ านวนที่ต้องการกับความถี่หรือ จ านวนทั้งหมด โดยเทียบเป็น 100 ท าการหาค่าร้อยละจากสูตร ดังต่อไปนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2560)

𝑝 = 𝐹

𝑁

x 100

เมื่อ P แทน ค่าร้อยละ

f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นค่าร้อยละ N แทน จ านวนความถี่ทั้งหมด

ค่าร้อยละจะแสดงความหมายของค่าและสามารถน าค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกันได้

ในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics Analysis) ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือ ค่าเฉลี่ย ท าการหาค่าเฉลี่ยได้จากสูตร ดังต่อไปนี้

x̅ = ∑ 𝑥

𝑛

เมื่อ 𝑥̅ แทน ค่าเฉลี่ย

∑ x แทน ผลรวมของคะแบบทั้งหมดในกลุ่ม

n แทน จ านวนของคะแนนในกลุ่ม

ในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics Analysis) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (standard deviation) เป็นการวัดการกระจาย เขียนแทนด้วย S.D. หรือ S ท าการหา ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้จากสูตร ดังต่อไปนี้

S.D. = √∑(𝑥−𝑥̅)2

หรือ 𝑛−1

S.D. = √𝑛 ∑ x2 −(∑ x)2

n(n−1)

เมื่อ S.D. แทนค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

X แทนค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

N แทนค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

∑ แทนค่า ผลรวม

28 2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้เครื่องมือโปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ

สมมติฐานที่ 1 การท างานเป็นทีม ประกอบไปด้วย การมีเป้าหมายร่วมกันในการ ปฏิบัติงาน การแบ่งบทบาทการท างานอย่างชัดเจน การพึ่งพาอาศัยกันในการปฏิบัติงาน การ วางแผนงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย การร่วมมือและการประสานงานกัน และการแบ่งงานตาม ความสามารถของพนักงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการท างานเป็นทีมของพนักงานทั่วไป แตกต่างกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)

สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ภาวะผู้น า ประกอบด้วย ภาวะผู้น าแบบพฤติกรรมมุ่งงาน ภาวะผู้น าแบบมีพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์หรือมุ่งคน และภาวะผู้น าแบบมีส่วนร่วม ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการท างานเป็นทีมของพนักงานทั่วไป แตกต่างกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)

ในการทดสอบสมมติฐานที่ 1 และ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ วิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผู้วิจัยเลือกใช้ เพราะเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรอิสระ(Independent Variable) กับตัวแปรตาม (Dependent Variable) สามารถเขียนให้อยู่

ในสมการเชิงเส้นตรงรูปแบบคะแนนดิบ (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2544)ได้ดังนี้

Ý = b0+b1X1+b2X2+ ··· +bkXk

เมื่อ Ý คือ คะแนนพยากรณ์ของตัวแปรตาม

b0 คือ ค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ b1 ,..., bk คือ น ้าหนักคะแนนหรือสัมประสิทธิ์การถดถอย

ของตัวแปรอิสระ ตัวที่ 1 ถึงตัวที่ k ตามล าดับ X0 ,…, Xk คือ คะแนนตัวแปรอิสระ ตัวที่ 1 ถึง ตัวที่ k k คือ จ านวนตัวแปรอิสระ