• Tidak ada hasil yang ditemukan

จากการศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนใน ชุมชนเขตดุสิตของกรุงเทพมหานคร สามารถแบงการอภิปรายผลการศึกษาไดดังนี้

5.2.1 ผลจากการศึกษาระดับการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนตามหลักการ 5R พบวาหัวหนาครัวเรือนมีระดับการปฏิบัติของการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนตามหลักการ 5R ใน ดานการลดปริมาณขยะ (Reduce) การนําวัสดุกลับมาใชซ้ํา (Reuse) การนําวัสดุที่ชํารุดมาซอมแซม ใชใหม (Repair) และการนําวัสดุหมุนเวียนกลับมาใชใหม (Recycle) อยูในระดับปานกลาง ในขณะที่มี

การปฏิบัติดานการหลีกเลี่ยงวัสดุที่ยอยสลายยาก (Reject) อยูในระดับมาก สอดคลองกับการศึกษา ของสันต ไชยกาล (2550) ที่ศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอยางยั่งยืนของเทศบาลตําบล หวยขะยุง อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบวากลุมตัวอยางเห็นดวยกับการจัดการ

ขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลโดยรวมในระดับปานกลาง และประชาชนเห็นดวยมากที่สุดเกี่ยวกับ การประยุกตใชหลักการ 5R ในการจัดการขยะชุมชน ไดแก ดานการซอมแซมเพื่อกลับมาใชใหม

(Repair) ดวยการนําเฟอรนิเจอรเกา เชน โซฟา ตู เตียง ไปซอมแซมเพื่อนํากลับมาใชใหม และการนํา เสื้อผาที่ขาดมาปะชุนเพื่อนํากลับมาใชใหม เชนเดียวกับการศึกษาของนลินี บึงมุม (2550) ที่ศึกษา การจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนบานดง ตําบลบานดง อําเภออุบลรัตน จังหวัดขอนแกน พบวาการจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวมมีการปฏิบัติอยูระดับมาก สวนดานการนําขยะมูลฝอยกลับมา ใชใหมอยูในระดับปานกลาง โดยการทิ้งขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนไดรับการปฏิบัติมากที่สุดเพราะ เปนการปฏิบัติเปนประจําทุกวัน

5.2.2 ผลจากการวิเคราะหลักษณะครัวเรือนที่มีผลตอการตัดสินใจนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงตามหลักการ 5R มาใชในการแกไขปญหาขยะมูลฝอยของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิต พบวา ลักษณะครัวเรือนดานเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายไดตอเดือน จํานวนสมาชิกในครัวเรือน การมีสวนรวมกับชุมชนในการกําจัดขยะ ความรูความเขาใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ และความรู

ความเขาใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสัมพันธกับการจัดการขยะตามหลักการ 5R สอดคลองกับการศึกษาของวิภาเพ็ญ เจียสกุล (2537) ที่ศึกษาพฤติกรรมการกําจัดมูลฝอยของ ประชาชนในพื้นที่ชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร พบวาประชาชนที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีพฤติกรรม ในการกําจัดขยะดีกวา สวนปจจัยดานรายไดนั้น พบวาผูมีรายไดนอยกวา 5,000 บาทตอเดือนมี

พฤติกรรมในการกําจัดขยะดีกวา เชนเดียวกับการศึกษาของสุรศักดิ์ สุนทรลาภ (2538) พบวาเพศ หญิงมีการปฏิบัติการเกี่ยวกับการกําจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนดีกวาเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงมี

หนาที่ตองรับผิดชอบเกี่ยวกับการเตรียมอาหาร สํารวจเครื่องใชอุปโภคบริโภคอยูตลอด เมื่อมีขยะ เหลือใชภายในครัวเรือนมักเปนหนาที่ที่ตองกําจัด ปจจัยดานอาชีพ พบวาอาชีพรับราชการมีคาเฉลี่ย ของพฤติกรรมการจัดการขยะมากที่สุด ปจจัยดานการศึกษา พบวากลุมตัวอยางที่มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรีหรือสูงกวามีคาเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการขยะมากที่สุด เชนเดียวกับณัฐกร ชูเกียรติ

(2548) ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยเปนการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย การขนสงขยะมูลฝอย การแยกมูลฝอย การลด การเกิดขยะมูลฝอย การนําผลิตภัณฑมาใชซ้ํา และการกําจัดขยะมูลฝอยเปน การคํานึงถึงผลประโยชนสูงสุดทางสุขอนามัย เศรษฐศาสตร อนุรักษสิ่งแวดลอมและยอมรับของสังคม ซึ่งขยะมูลฝอยเปนปญหาที่สงผลเสียตอชุมชนตางๆ มากมายเปนแหลงแพรเชื้อโรคตางๆ กอปญหา กลิ่นเหม็นและน้ําเนาเสียที่มาจากกองขยะ ดังนั้นความรูและความเขาใจระบบการจัดการขยะมูลฝอย จะสามารถชวยใหมีการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยใหเกิดประสิทธิภาพสูงและถูกตองตาม หลักสุขาภิบาลและการจัดการขยะมูลฝอยเปนสิ่งจําเปนมากในชุมชนปจจุบัน ขณะที่การศึกษาของ สุวัฒน ฤทธิ์สําเร็จ (2544) ที่ศึกษาการมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย: ศึกษากรณี

ของชุมชนในเขตเทศบาลตําบลเสาธง กิ่งอําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ พบวาระดับความรู

ความเขาใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยูในระดับมาก และการมีสวนรวมของชุมชนในการ จัดการขยะมูลฝอยอยูในระดับปานกลาง รวมทั้งเพศ สถานภาพที่อยูอาศัย และรายไดมีความสัมพันธ

กับการมีสวนรวมในการจัดการขยะมูลฝอยอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.2.3 ผลจากการวิเคราะหความสัมพันธระหวางการจัดการขยะตามหลักการ 5R กับผล การดําเนินงานการจัดการขยะ พบวาการจัดการขยะตามหลักการ 5R ดานการลดปริมาณขยะ

(Reduce) ดานการนําวัสดุกลับมาใชซ้ํา (Reuse) ดานการนําวัสดุที่ชํารุดมาซอมแซมใชใหม (Repair) ดานการนําวัสดุหมุนเวียนกลับมาใชใหม (Recycle) และดานการหลีกเลี่ยงวัสดุที่ยอยสลายยาก (Reject) มีความสัมพันธกับผลการดําเนินงาน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับ งานวิจัยของณัฐพงษ ประดิษฐผล (2555) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการนําหลักการ 5Rs ไปประยุกตใชใน การจัดการขยะของชุมชนในเขตเทศบาลตําบลปากอดํา อําเภอแมลาว จังหวัดเชียงราย พบวาดาน การลดปริมาณขยะ มีผลการดําเนินงานมากที่สุด ไดแก ชุมชนและสังคมควรใหความรวมมือในการลด ปริมาณการใชสิ่งของในครัวเรือน รองลงมา ไดแก การเลือกซื้อสินคาที่ใชเปนประจํา เชน เจลอาบน้ํา น้ํายาปรับผานุม น้ํายาลางจาน เปนบรรจุภัณฑชนิดเติม ดานการนําวัสดุกลับมาใชซ้ํา มีผล การดําเนินงานมากที่สุด ไดแก การนําขวดพลาสติก ขวดแกว ทําเปนที่ใสของ แจกันดอกไม การนํา เศษผามาทําเปนผาถูพื้น รองลงมาไดแก การนําน้ําจากการลางจานหรือซักผาไปรดน้ําตนไม ดานการ นําวัสดุที่ชํารุดมาซอมแซมใชใหม มีผลการดําเนินงานมากที่สุด ไดแก การนําเฟอรนิเจอรเกา เชน โซฟา ตู เตียง ไปซอมแซมเพื่อนํากลับมาใชใหม รองลงมาไดแก การนําเสื้อผาที่ขาดมาปะชุนเพื่อนํา กลับมาใชอีกครั้ง ดานการนําวัสดุหมุนเวียนกลับมาใชใหม มีผลการดําเนินงานมากที่สุด ไดแก นํา กระดาษที่ใชแลวทั้งสองหนา ขวดแกว ขวดพลาสติก เศษเหล็กมาชั่งกิโลขาย รองลงมาไดแก การนํา ขยะมูลฝอยจําพวกเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรือการประกอบอาหารไปเลี้ยงสัตว และ ดานการหลีกเลี่ยงวัสดุที่ยอยสลายยาก มีผลการดําเนินงานมากที่สุด ไดแก การเลือกใชจานกระเบื้อง แทนจานพลาสติก รองลงมาไดแก การเลือกใชผลิตภัณฑจากธรรมชาติ เชน ใชใบตองเปนภาชนะใส

อาหารแทนกลองโฟม

5.2.4 ผลจากการศึกษาความสัมพันธของการจัดการขยะตามหลักการ 5R กับผล การดําเนินงานการจัดการขยะของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิต พบวาการจัดการขยะตามหลักการ 5R มีความสัมพันธกับผลการดําเนินงานอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคลองกับงานวิจัย ของรุงอรุณ บุญญายัณห (2543) ที่ศึกษาการมีสวนรวมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ คณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแกน พบวาการมีสวนรวมในการวางแผนหรือเขียน โครงการและการประเมินผลแผนพัฒนาหรือโครงการที่เกี่ยวของกับการจัดการในชุมชน โดยภาพรวม อยูในระดับปานกลาง สวนระดับการมีสวนรวมของคณะกรรมการชุมชนในการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของแตละชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครขอนแกนทั้ง 3 ประเด็นมีคาอยูในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบระดับการมีสวนรวมของคณะกรรมการชุมชนตามลักษณะของชุมชนพบวาการมีสวน รวมในการวางแผนหรือเขียนโครงการมี 2 ระดับคือ กลุมที่มีสวนรวมมากเปนชุมชนในใจกลางเมือง หรือการคาและกลุมที่อยูอาศัยขั้นกลางและสูง สวนกลุมที่มีสวนรวมปานกลางเปนกลุมของชุมชนที่อยู

อาศัยแออัดและกลุมชานเมือง การมีสวนรวมในการประเมินผลการพัฒนา กลุมชุมชนทั้ง 3 กลุมมี

สวนรวมในระดับปานกลาง ยกเวนกลุมที่อยูอาศัยแออัดมีระดับการมีสวนรวมนอย และการมีสวนรวม นอย และการมีสวนในการจัดการขยะมูลฝอยมีระดับการมีสวนรวมปานกลาง