• Tidak ada hasil yang ditemukan

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ของก�รวิจัย

1. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ

1.1 ผลการวิจัยพบว่าความเป็นผู้นำา ทางวิชาการและระดับการศึกษาของผู้บริหาร โรงเรียน มีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพนักเรียน ดัง นั้น ผู้บริหารระดับสูงควรพิจารณานำาผลการวิจัยนี้

ไปเป็นแนวทางกำาหนดนโยบายหลักในการพัฒนาผู้

บริหารโรงเรียนเขตชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเน้น การพัฒนาความเป็นผู้นำาทางวิชาการและระดับ การศึกษาที่สูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณภาพนักเรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ต่อไป

1.2 สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรกำาหนดคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนเขต ชายแดนไทย-กัมพูชา ให้มีระดับการศึกษาที่สูง กว่าปริญญาตรี และมีความเป็นผู้นำาทางวิชาการ สูงอีกด้วย

1.3 สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีมาตรการในการประเมินผลการทำางานของ ครู ให้ขวัญและกำาลังใจแก่ครูเพื่อเพิ่มความพึง พอใจในการทำางานของครู ในขณะที่อายุของครู

มีอิทธิพลทางลบต่อคุณภาพนักเรียน ดังนั้น การ เกษียณอายุราชการก่อนกำาหนดจึงน่าจะมีความ จำาเป็นมากสำาหรับครู

2. ข้อเสนอแนะในการทำาวิจัยต่อไป 2.1 ควรวิจัยปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อ คุณภาพนักเรียนในโรงเรียนเขตชายแดนไทย- กัมพูชา

2.2 ควรวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ นักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตสภาพการณ์

ต่างๆ

เอกส�รอ้�งอิง

แจ่มจันทร์ กุลวิจิตร. (2532). พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่เป็นจริงและที่คาดหวังในทัศนะของ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, สงขลา.

บุญเรือน หมั้นทรัพย์. (2538). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของ โรงเรียนเอกชนคาทอลิก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2542). คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ E.Q. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 5(1), 15-18.

ฝ่ายความมั่นคง อำาเภอละหานทราย. (2547). รายงานเหตุการณ์แนวชายแดนกัมพูชา. บุรีรัมย์: ที่ทำาการ อำาเภอละหานทราย.

ภรณี กีรติบุตร. (2529). การประเมินประสิทธิผลขององค์กร. กรุงเทพฯ: โอเอส ปริ๊นติ้งเฮาส์.

ราชันย์ บุญธิมา. (2542). ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำาเร็จของการนำาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นไปปฏิบัติ:

กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สรายุทธ โตนอก. (2549). รูปแบบผลลัพธ์การจัดการศึกษาของโรงเรียนนิติบุคคล. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด., มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐใน กรุงเทพมหานคร สังกัดสำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด., มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

สำานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). การวิจัยและประเมินคุณภาพ-ประสิทธิภาพ การศึกษา ปีการศึกษา 2540 เล่ม 2 ปัจจัยและกระบวนการที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน.

กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่ผู้เรียนสำาคัญที่สุด.

กรุงเทพฯ: 21 เซนจูรี่.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Education administration: Theory, research, and practice (4th ed.). Singapore: McGraw Hill.

Kate, D., & Kahn, R. L. (1978). The social psychology of organization. New York: John Wiley

& Son.

Parsons, T. (1964). Structure and process in modern society. New York: Free Press.

Pennington, G. (1999). Toward a new professionalism: A crediting higher education teaching. In H. Fry, S. Ketteridge & S. Marshall (Eds.), A handbook for teacher and learning in higher education enhancing academic practice. (pp. 5-10). London:

Kogan Page.

Wu, R., & Campbell, J. R. (1994). Giffed Chinese girls get the best mix of family processes to bolster their math achievement. Education Research, 21(7), 680-689.

การเปรียบเทียบผลการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว ระหว่างทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีเกสตัลท์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

A Comparison of Group Counseling Effect on the Reduction of Matthayomsueksa 1 Student’s Aggressive Behaviors Treated with the Behavioral Counseling and Gestalt Counseling Approaches

ชนิสรา ไกรสีห์,1 ลักขณา สริวัฒน์,2 มนเฑียร พัวไพบูลย์3

Chanisara Krisee,1 Lakkhana Sariwat,2 Montien Phuapaiboon3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดพฤติกรรม ก้าวร้าวของนักเรียน ระหว่างการใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีเกสตัลท์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทัพพระยาพิทยา อำาเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จำานวน 12 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม จำานวน 6 คน และกลุ่มที่ 2 ได้รับ การให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ จำานวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ โปรแกรมการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีเกส ตัลท์ และแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมาย กำากับของวิลคอกซัน (the Wilcoxon matched pairs signed-ranks test) และการทดสอบแมนน์-วิทนี

ยู เทสต์ (the Mann-Whitney U test) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. นักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง หลังจากได้รับการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎี

พฤติกรรมนิยมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่านักเรียนแสดงพฤติกรร รมก้าวร้าวทั้งทางกายและทางวาจาลดลง โดยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวที่ทำาให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน อับอาย หรือไม่พอใจลดลง นักเรียนแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวทางกายด้วยการต่อย ตี และแกล้งเพื่อนลด ลง รู้จักอดทนอดกลั้นมากขึ้น การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาด้วยการพูดจาเยาะเย้ยถากถาง และ ล้อเลียนเพื่อนจนทำาให้เพื่อนเกิดความอับอายลดลง เข้าใจถึงวิธีการประพฤติปฏิบัติตนเองไปในทางที่ดี

และเหมาะสม ได้เรียนรู้วิธีการปรับพฤติกรรมให้พึงประสงค์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น

1 นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำาปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2, 3 รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1 M. Ed. Candidate in Counseling Psychology, Faculty of Education, Mahasarakham University 2, 3 Associate Professor, Faculty of Education, Mahasarakham University

2. นักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง หลังจากได้รับการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเกส ตัลท์อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่านักเรียนเกิดการรับรู้ถึงผลกระ ทบที่เกิดจากการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวทั้งทางกายและทางวาจาต่อผู้อื่น ซึ่งทำาให้นักเรียนมีการแสดง พฤติกรรมที่เหมาะสม การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวทางกายด้วยการต่อย ตี ตบหัว และเตะเพื่อนลดลง การแกล้งเพื่อนเพื่อความสนุกของตนเองลดลง รู้จักเห็นอกเห็นใจเพื่อนมากขึ้น พฤติกรรมก้าวร้าวทาง วาจาที่แสดงออกด้วยการพูดจาล้อเลียนเพื่อน ถากถางเพื่อน และประชดประชันเพื่อนลดลง รู้จักพูดจา ไพเราะมากขึ้น นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น

3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์มีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง มากกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการให้คำาปรึกษาแบบกลุ่มตามพฤติกรรมนิยม อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่

ระดับ .05

คำาสำาคัญ: การให้คำาปรึกษาแบบกลุ่ม, ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม, ทฤษฎีเกสตัลท์

Abstract

This study aimed to compare the effects of two group counseling approaches based on Behaviorism theory and Gestalt theory for decreasing aggressive behavior of 12 Matthayomsueksa 1 students with aggressive behavior from Thappraya Pitthaya School, Amphoe Khoksung, Sakaeo province, obtained using the purposive sampling technique. They were assigned to 2 experimental groups: group 1 of 6 students received group counseling approach based on Behaviorism theory while group 2 of 6 students received group counseling based on Gestalt theory. The instruments used for collecting data were a group counseling program for decreasing aggressive behavior based on Behaviorism theory and Gestalt theory, and a scale on aggressive behavior. The statistics used for analyzing the collected data were the Wilcoxon match-pairs signed rank test, and the Mann-Whitney U test.

The results of the study could be summarized as follows:

1. The students decreased their aggressive behavior after receiving group counseling approach based on Behaviorism theory at the .05 level of significance. When the behavior was considered as a whole, it was found that these students showed less aggressive behavior in deeds and words which caused other people to suffer, feel ashamed or dissatisfied. The students showed less aggressive behavior in deeds by punching, beating and annoying their friends. They became more endurable and more restrained. They showed less aggressive behavior in words by speaking mockingly to their friends until the friends felt ashamed. They understood how to behave themselves in a good and appropriate way. The students learned how to adjust their own behaviors to be desirable for themselves and other people.

2. The students decreased their aggressive behavior after receiving group counseling approach based on Gestalt theory at the .05 level of significance. When the behavior was

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 98 ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2552

considered, it was found that the students as a whole recognized the impact and conse- quences of their aggressive behavior in deeds and words towards other people. This caused the students to show appropriate behavior. They showed less aggressive behavior in deeds by punching, beating, hitting on the head, and kicking their friends. Annoying their friends for their own fun decreased. They had more sympathy for their friends. Their aggressive behavior in words as shown by speaking mockingly, and sarcastically to friends decreased. They knew more about speaking pleasantly. The students adjusted their behavior in a better way.

3. The aggressive behavior of the students in the group that received group counseling approach based on the Gestalt theory decreased more than those in the group that received group counseling based approach on Behaviorism theory.

Keywords: group counseling, Behaviorism theory, Gestalt theory

บทนำ�

พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นพฤติกรรมที่ทำาให้

ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน เพราะเป็นการก่อเรื่อง ต่าง ๆ ตามความต้องการของตนเอง โดยไม่คำานึง ถึงความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้อื่น (ลักขณา สริวัฒน์, 2548: 116) เด็กที่ก้าวร้าวมักแสดง พฤติกรรมโดยการชอบก่อเรื่องทะเลาะวิวาท ต่อสู้

ทุบตี รังแกเด็กอื่น ชอบโต้แย้ง และชอบตำาหนิติ

เตียนผู้อื่น รวมทั้งมีอารมณ์ขุ่นมัว โกรธ และหน้า บึ้งอยู่เสมอ (สุชา จันทน์เอม, 2536: 139) อีกทั้ง ลักษณะสังคมที่มีความหลากหลายของกลุ่มชนที่

อาศัยอยู่ คือมีคนอาศัยต่างเผ่า ต่างภาษากัน มี

ประเพณี ค่านิยม และมาตรฐานการดำารงชีพ ที่

แตกต่างกัน จะทำาให้ชุมชนนั้นมีความแปลกแยก มีการแบ่งพวก กระทำาตัวไม่เคารพกฎระเบียบของ กลุ่ม เกิดปัญหาความประพฤติหรือเป็นอันธพาล (Bakwin & Bakwin, 1976)

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีแนวคิดและมุ่งเน้น ให้ผู้มารับการให้คำาปรึกษาเกิดการเรียนรู้พฤติกร รมใหม่ๆ ที่พึงประสงค์ โดยการจัดสภาพแวดล้อม ภายใต้เงื่อนไขแบบต่างๆ ทำาให้การเรียนรู้เก่า หมดไป สามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ของตนเองได้ตามกระบวนการให้คำาปรึกษา 4 ขั้นตอน คือ เก็บรวบรวมข้อมูล วางเป้าหมายใน การแก้ไขพฤติกรรม ใช้เทคนิควิธีการที่เหมาะสม และประเมินผลการให้คำาปรึกษา สำาหรับทฤษฎี

เกสตัลท์มีแนวคิดและมุ่งเน้นให้ผู้มารับการให้คำา ปรึกษาได้มองเห็นถึงลักษณะส่วนเต็มทางด้าน พฤติกรรมของตนเอง และกระตุ้นให้เกิดการรับรู้

จากสิ่งเร้าที่อยู่ใกล้ชิด ทำาให้มีความต้องการที่จะ รับรู้หรือจัดแบบแผนของพฤติกรรมที่พึงประสงค์

เข้าไว้ด้วยกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในสภาวะ ปัจจุบัน ฝึกการรับถึงอารมณ์ความรู้สึก และการ เปลี่ยนแปลงของตนเองในสภาวะปัจจุบัน ตาม กระบวนการให้คำาปรึกษา 3 ขั้นตอน คือ กำาหนด เป้าหมายของการให้คำาปรึกษา กำาหนดหน้าที่และ บทบาทของผู้ให้คำาปรึกษา และเลือกใช้เทคนิควิธี

การในการให้คำาปรึกษาอย่างเหมาะสม (ลักขณา สริวัฒน์, 2543: 138-169)

ประชากรที่อาศัยอยู่ในอำาเภอโคก สูง แต่ดั้งเดิมนั้นมีหลายเชื้อชาติ ศาสนา และ วัฒนธรรม และยังมีประชากรที่อพยพเข้ามาใหม่

จากทุกภูมิภาค ทำาให้มีความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรมและสังคม ซึ่งเด็กจะได้รับการถ่ายทอด