• Tidak ada hasil yang ditemukan

5.2 สรุปผลการวิจัย

5.3 อภิปรายผล 5.4 ข้อเสนอแนะ 5.1 ความมุ่งหมายของการวิจัย

5.1.1 เพื่อพัฒนาแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการ เรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

5.1.2 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมโดยใช้

กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังการเรียน

5.1.3 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมของนิสิตที่มีเพศ ต่างกัน

5.2 สรุปผลการวิจัย

การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ส าหรับนิสิตปริญญาตรี

สามารถสรุปได้ดังนี้

5.2.1 ผลการพัฒนาแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐาน การเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการสอน พบว่า แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้

มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) คิดเป็นร้อยละ 88.67 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) คิด เป็นร้อยละ 84.22 ดังนั้น แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้

จึงมีประสิทธิภาพ 88.67/84.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการสอน สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.7146 หมายความว่า

146 นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นและส่งผลให้นิสิตมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น หลังจากการใช้แผนการสอนร้อยละ 71.46

5.2.2 ผลการศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรม การเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ของนิสิตก่อนการเรียน และหลังการเรียน พบว่า

1) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปาน กลาง (𝑥̅= 17.88) และหลังเรียนนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยความรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 33.69) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการเรียน พบว่า นิสิตมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ (𝑥̅= 2.64) และหลังเรียนนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (𝑥̅= 4.23) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน พบว่า นิสิตมีคะแนนเฉลี่ย ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับเพื่อญาติ

มิตรพวกพ้อง (𝑥̅ = 2.24) และหลังเรียนนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับเพื่อความถูกต้องดีงาม (𝑥̅ = 3.35) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน พบว่า นิสิตมี

คะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.2.3 ผลการศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมจาก กิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ของนิสิตที่มี

เพศต่างกัน พบว่า นิสิตที่มีเพศต่างกันมีความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน จึงได้ทดสอบหาค่าความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียวของความรู้ ทัศนคติและจริยธรรม สิ่งแวดล้อมโดยรวมหลังการเรียนของนิสิตที่มีเพศแตกต่างกันโดยใช้คะแนน pre-test เป็นตัวแปรร่วม (One–Way MANCOVA) พบว่า นิสิตที่มีเพศต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมไม่

แตกต่างกัน

147 5.3 อภิปรายผล

การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ส าหรับนิสิตปริญญาตรี

ผู้วิจัยมีประเด็นที่จะน ามาอภิปรายผลดังต่อไปนี้

5.3.1 แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ มี

ประสิทธิภาพของแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้จึงมี

ประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.67/84.22 หมายความว่า นิสิตได้คะแนนเฉลี่ยจากการท าแบบทดสอบ ความรู้ระหว่างการเรียน คิดเป็นร้อยละ 88.67 นิสิตได้คะแนนเฉลี่ยจากการท าแบบทดสอบความรู้

หลังการเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.22 ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้

กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.7146 หมายความว่า นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นและส่งผลให้นิสิตมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากการใช้แผนการสอน ร้อยละ 71.46 เป็นผลมาจากการใช้แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐาน การเรียนรู้ประกอบไปด้วยทั้งหมด 8 แผน ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบของอาจารย์ที่

ปรึกษาและผ่านการตรวจสอบเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 5 ท่าน ซึ่งมีค่าความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด อีกทั้งผู้สอนได้ใช้กระบวนถ่ายทอดทางสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็น ฐานการเรียนรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นการเล่นเกม 3) ขั้นเสนอกรณีศึกษา 4) ขั้น วิเคราะห์ 5) ขั้นสรุป และ 6) ขั้นอภิปรายผล ท าให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีความสนใจ โดยผู้สอนจะยกกรณีศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความส าคัญ สามารถคิด วิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ได้และหลังเรียนนิสิตมีความรู้เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของผู้เรียน และแผนการสอน สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไป ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งประสิทธิภาพจะต้องค านึงถึงการด าเนินงานที่สามารถบรรลุผลได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและประสิทธิภาพนั้นเป็น การพิจารณาที่กระบวนการของการด าเนินงานมากกว่าผลผลิตของการด าเนินงานการศึกษา ประสิทธิภาพของแผนการสอน (ลักษณ ยุทธสุทธิพงศ์, 2550 :11) ส่วนประสิทธิผล เป็นความสามารถ ในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการการพิจารณาทางเลือกโดยการใช้ประสิทธิผลเป็น เกณฑ์ท าได้โดยวิเคราะห์ว่าทางเลือกนั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่มากน้อยเพียงใดโดยการ เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงในรูปของหน่วยของผลผลิตหรือบริการกับผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเอง (ศุภชัย ยาวะประภาษ, 2553 : 19) ซึ่งการสอนแบบกรณีศึกษา เป็นการสอนที่น าเอาสถานการณ์หรือ ปัญหา เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์ อภิปราย เพื่อสร้างความเข้าใจและการตัดสินใจ

148 ร่วมกันอย่างมีเหตุผล (สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ, 2545 : 111) โดยใช้เกมเป็นกระบวนการที่ให้

ผู้เรียนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการเล่มเกมจากสถานการณ์จ าลอง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนด และสามารถน ามาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปกิจกรรมในการเรียนได้

(ทิศนา แขมมณี, 2560: 365) กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้คนเกิดความรู้

เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (ประยูร วงศ์จันทรา, 2554 : 309) ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของประยูร วงศ์จันทรา วรรณศักดิ์พิจิตร บุญเสริม ควันเทียน วงศ์จันทรา กรรณิกา สุขงาม ปวีนา ภูมแดนดิน (2560: 33) พบว่า การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกรณีศึกษามีประสิทธิภาพ เท่ากับ 98.00/87.00 และค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา เท่ากับ 0.7961 หมายความว่า นิสิตที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกรณีศึกษามีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ คิดเป็น ร้อยละ 79.61 และ Thinkamchoet, J. and Wongchantra, P. (2018: 2077-2093) พบว่า คู่มืออนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาเซียนส าหรับเยาวชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพ 90.04 / 83.44 ดัชนีประสิทธิผลของคู่มือมีค่าเท่ากับ 0.6670 คิดเป็นร้อยละ 66.70 และ Phakeewai. S.

and Wongchantra. P. (2020: 94-103) พบว่า คู่มือกิจกรรมค่ายนันทนาการด้านสิ่งแวดล้อมส าหรับ เยาวชนในจังหวัดร้อยเอ็ดมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.17 / 83.44 และดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6117 และ ภาษิตา ใหม่คามิ และประยูร วงศ์จันทรา (2561: 565) พบว่า คู่มือเสริมสร้างมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 90.86/87.53 ส่วนดัชนีประสิทธิผลของคู่มือเสริมสร้าง เท่ากับ 0.7301 นิสิตมีความกาวหน้า ในการเรียน ร้อยละ 73.01 และ Pramaha Sayan Phongpilo, Adisak Singseewo, Autchara Boobphapan and Prayoon Wongchantra (2011: 158-165) พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มี

ประสิทธิภาพเท่ากับ 88.81/86.25 และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.6753 ดังนั้น การสอน สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเป็นอีกหนึ่งของ กระบวนการสอนที่เป็นสามารถท าให้ผู้เรียนมีความประสบผลส าเร็จในการเรียนและมีความก้าวหน้า ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

5.3.2 การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกมเป็นฐานการเรียนรู้ของนิสิต ก่อนการเรียนและหลังการเรียน ดังนี้

1) นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมี

นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นผลมาจากแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาและเกม เป็นฐานการเรียนรู้ เป็นแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตามเกณฑ์ เกิดจากการ จัดรูปแบบแผนการสอนให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ก าหนด โดยการน าเอาองค์

ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย 8 แผน ซึ่งเน้นกระบวนการถ่ายทอดความรู้โดยใช้เทคนิคการ