• Tidak ada hasil yang ditemukan

ข้อเสนอแนะ

Dalam dokumen JOURNAL HAS 40-2 00003.indd (Halaman 53-56)

1. ผู้วิจัยขอเสนอให้ใช้การขยายเขต อำานาจศาล Long-Arm Jurisdiction ตามรูปแบบ ของประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากแบบเดิมที่ใช้

อยู่ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๔ ตรี อันบัญญัติว่า “ใน กรณีฟ้องอื่นที่ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์

ตามมาตรา ๔ ทวิ แม้จำาเลยจะมิได้มีภูมิลำาเนา

อยู่ในราชอาณาจักร แต่โจทก์เป็นคนสัญชาติ

ไทย หรือมีภูมิลำาเนาอยู่ในราชอาณาจักร โจทก์

ก็สามารถใช้สิทธิยื่นฟ้องจำาเลยผู้มีภูมิลำาเนาอยู่

นอกราชอาณาจักรได้ โดยเลือกที่จะยื่นฟ้องต่อ ศาลแพ่ง หรือศาลที่โจทก์มีภูมิลำาเนาอยู่ในเขต ศาลก็ได้” เป็นต้น โดยการขยายเขตอำานาจศาลดัง กล่าวนั้นเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และ ราชอาณาจักรไทย มากกว่าความสัมพันธ์ระหว่าง จำาเลยและเขตอำานาจศาล ทำาให้ส่งผลเสียในทาง ปฏิบัติกล่าวคือไม่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่อนุสัญญาบรัสเซลล์ ค.ศ.

1768 มาตรา 3 วรรค 2 และอนุสัญญาลูกาโน ค.ศ. 1988 มาตรา 3 วรรค 2 ก็ได้ปฏิเสธการใช้

ภูมิลำาเนาโจทก์ในฐานะจุดเกาะเกี่ยว ดังนั้นจึง มีความน่าจะเป็นไปได้ว่าหากมีคำาพิพากษาโดย ศาลไทยที่อาศัยเกณฑ์เรื่องเขตอำานาจศาลโดย ใช้ภูมิลำาเนาของโจทก์ในฐานะที่เป็นจุดเกาะเกี่ยว ตามมาตรา 4 ตรี อาจจะได้รับการปฏิเสธโดยศาล ของต่างประเทศที่ได้รับคำาร้องขอให้ทำาการยอมรับ และบังคับตามคำาพิพากษา

ส่วนหลักการขยายเขตอำานาจศาลของ ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น จะใช้หลักการดังกล่าว เพื่อที่จะให้อำานาจแก่ศาลในการใช้เขตอำานาจ ศาลเหนือบุคคลแก่จำาเลยผู้มิได้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐ และมีธุรกิจหลักอยู่นอกรัฐ โดยเป็นธุรกรรมทาง อินเทอร์เน็ตที่มิได้ปรากฏสถานที่แห่งการกระทำา ภายในรัฐนั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงตามหลัก

“มีการติดต่อเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างน้อย” ซึ่งหลัก ดังกล่าวยังต้องพิจารณาได้ด้วยว่า

1) จำาเลยมีเจตนาที่จะทำาให้ตนมีตัวตน ในการทำาธุรกิจในรัฐนั้นๆ หรือไม่

2) ด้วยเจตนาข้างต้น ยังผลให้จำาเลยได้

รับผลประโยชน์ในรัฐนั้นหรือไม่

3) เจตนาของการให้ข้อมูลของจำาเลย บนเว็บไซต์เป็นข้อมูลที่ไม่ต้องการติดต่อหรือแลก

การกำาหนดเขตอำานาจศาลเหนือการกระทำาธุรกรรมในทางแพ่ง

และพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 54 ธีรศักดิ์ กองสมบัติ

เปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลใดผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือ ไม่ (Passive Web Site)

โดยหลักการขยายเขตอำานาจศาลใน ลักษณะนี้ ได้รับการยอมรับกันในระดับสากล มากกว่าแบบที่ระบบของกฎหมายไทยใช้อยู่ ดัง นั้นผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการตีความหลัก มูลคดีเกิด เพื่อให้ศาลไทยมีเขตอำานาจครอบคลุม ไปถึงจำาเลยที่ไม่ได้ปรากฏถิ่นที่อยู่ภายในรัฐ และเป็นการกระทำาละเมิดที่ไม่ได้ปรากฏว่ามูล คดีได้เกิดภายในท้องที่ของศาลนั้น โดยการนำา หลักเกณฑ์ของการขยายเขตอำานาจศาล (Long arm Jurisdiction) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อขยายเขตอำานาจศาลออกไป กล่าวคือเป็น ไปตามหลักของการติดต่อเกี่ยวข้องกันเป็นอย่าง น้อย(Minimum contact) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วมา ปรับใช้ ทั้งนี้การนำาหลักเกณฑ์ข้างต้นมาปรับใช้

กับระบบกฎหมายไทยอาจไม่มีความจำาเป็นที่จะ ต้องดำาเนินการแก้กฎหมายแต่อย่างใด เพียงแต่

ให้มีการตีความจุดเกาะเกี่ยว เพื่อใช้ในการเชื่อม โยงกับหลักมูลคดีเกิดได้

2. ถ้าเป็นระดับภายในประเทศข้อเสนอ อีกประการหนึ่งของผู้วิจัยคือ ศาลไม่ควรยกเรื่อง เขตอำานาจศาลมาเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณา คดี หน้าที่ที่ถูกต้องของศาลควรที่จะเป็นผู้ชี้แนะ และอำานวยความสะดวกแก่ผู้ที่นำาคดีขึ้นสู่ศาล โดยหากมีความเห็นแย้งในเรื่องเขตอำานาจศาลก็

ควรนำาเรื่องดังกล่าวเข้ามาประชุมหารือกันแล้ว จึงแจ้งเขตอำานาจศาลที่ถูกต้องแก่ผู้ฟ้องคดี ไม่

ควรยกฟ้องโดยยกเพียงเหตุว่า “ศาลไม่มีอำานาจ

รับคดีไว้พิจารณา”

3. ปัญหาในการละเมิดหรือผิดสัญญา ในการทำาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยหลักๆ ตามที่ได้ทราบมาแล้วคือด้วยความที่ไม่สามารถ ที่จะระบุถึงภูมิลำาเนา สถานที่ที่การกระทำาละเมิด หรือทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำาการละเมิด ได้อย่าง ชัดเจนแต่หากเป็นการกระทำาละเมิดผ่านเครื่อง คอมพิวเตอร์ภายในบ้านมีเลข IP Address ที่

แน่นอนแล้วก็ไม่เป็นการยากลำาบากเลยในการ ค้นหาที่อยู่หรือสถานที่ที่การกระทำาความผิด ได้เกิดขึ้น แต่เนื่องจากปัจจุบันนั้นมีร้านค้าที่ให้

บริการทางอินเทอร์เน็ตไว้บริการ ทำาให้แม้จะทราบ ว่า IP Address ของเครื่องเบอร์อะไรในขณะที่

การกระทำาความผิดเกิดก็ตาม แต่เป็นที่ทราบกัน ดีว่าในร้านบริการอินเทอร์เน็ตนั้น มีผู้เข้าใช้บริการ หมุนเวียนอยู่เป็นจำานวนมากจึงเป็นการยากที่จะ ตรวจสอบได้ว่าขณะนั้นหรือเวลานั้นผู้ใดเป็นผู้ใช้

บริการกันแน่

วิธีการแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยเสนอคือ ออกข้อ บังคับให้ผู้ที่เป็นเจ้าของร้านต้องดำาเนินการให้ผู้ใช้

บริการทุกคนรับการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ โดยอาจจะจดชื่อ-นามสกุล เวลาเข้า-เวลาออก รวมถึงการติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นต้น ซึ่งหาก ไม่ดำาเนินการดังกล่าวแล้วภายหลังตรวจพบหลัง จากเกิดการกระทำาความผิดแต่ไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ใช้บริการในขณะนั้น ให้ถือว่าเจ้าของร้าน เป็นผู้ช่วยเหลือหรือสนับสนุนในการกระทำาความ ผิดนั้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

พรชัย วิวัฒน์ภัทรกุล. (2537). เปรียบเทียบหลักกฎหมายขัดกันของอังกฤษกับไทย ว่าด้วยเขตอำานาจ ศาลในการรับพิจารณาคดีแพ่ง: ศาลไทยควรมีแนวนโยบายอย่างไรหรือไม่ในการรับพิจารณา คดีแพ่งซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร และจำาเลยไม่มีภูมิลำาเนาอยู่ในราชอาณาจักรใน ขณะที่เริ่มกระบวนวิธีพิจารณา. วารสารนิติศาสตร์ 24(4): 857-875.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 55 ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2564

ไพโรจน์ วายุภาพ, “การแสดงเจตนาและการเกิดสัญญา” เอกสารประกอบการบรรยายในการ สัมมนา เรื่อง “กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ณ Escape Hall อาคารศูนย์ประชุมสหประชาชาติ

วันที่ 23 มิถุนายน 2543 (อัดสำาเนา) หน้า 4.

สำานักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2544). คำาอธิบาย พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544. (กรุงเทพมหานคร บริษัท พาณิชพระนคร (2535) จำากัด, 2545), น. 123.

Benjamin Wright and Jane k Winn. (2000). The Law of Electronic Commerce. 37 edition, (United States of America Aspen Publisher, Inc., p. 2-1.

Black’ s Law Dictionary, Henry Campbell, (West Publishing Co.1990), p.5000.

Committee on Cyberspace Law. (2000). Litigation In Cyberspace: Jurisdiction and Choice of Law, A United State Perspective. American Bar Association, <http://www.abanet.org/

buslaw/cyber/initiatives/cusjuris.html>,September 15, 2000, p.3.

Dennis Campbell (General Editor) and Christian Cambell (Editor). (1998). Law of International Online Business A Global Perspective. (London: Sweet & Maxwell).

Martha Weser. (1961). Base of Judicial Jurisdiction in the common Market Countries. The American Journal of Comparative Law 10: 324-327.

Martin Wolff. Private International Law, p.61.

NIBOYET No. 1804 ; BATIFFOL No.683.

Rougeron v. Veuve Rougeron, Cass. Civ. (May 5, 1959). 48 REV. CRIT. DR. INT. PRIVÉ 501 (1959) ; 86 CLUNET 1158 (1959) ; Epouxc Morris, Cass. Req., April 29, 1931, 59 CLUNET 98 (1932).

The Supreme Court of Judicature Act, Cap 322. (1999). 1999 Ed and Corresponding provision in the Subordinate Courts Act. Cap 221.

Order 11, Rules of Court, Cap 322 R5, 2004 Ed.

กระบวนการถ่ายทอดลำาทำานองกาฬสินธุ์ของหมอลำาวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์

The Kalasin Transmission Method of Mor Lam Kalasin style, Wiraphong

Dalam dokumen JOURNAL HAS 40-2 00003.indd (Halaman 53-56)

Dokumen terkait