• Tidak ada hasil yang ditemukan

ผลการศึกษา

Dalam dokumen JOURNAL HAS 40-2 00003.indd (Halaman 46-53)

การกำาหนดเขตอำานาจศาลเหนือการกระทำาธุรกรรมในทางแพ่ง

และพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 46 ธีรศักดิ์ กองสมบัติ

3. เพื่อวิเคราะห์ถึงเขตอำานาจศาล ไทยเหนือการทำาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใน อินเทอร์เน็ตว่าประเทศไทยใช้หลักการใด และ สมควรอย่างไรหรือไม่หากใช้หลักเกณฑ์ตาม กฎหมายต่างประเทศ

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 47 ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2564

(2) ผู้ส่งข้อมูลคลิกปุ่ม SEND เพื่อทำาการ ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้รับข้อมูล

(3) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะถูก ส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ISP ของผู้ส่ง โดยผ่าน Modem

(4) เครื่องคอมพิวเตอร์ของ ISP ดังกล่าว จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์

ของ ISP ของผู้รับ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (5) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะถูก เก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของ ISP ของผู้รับ จนกว่าผู้รับข้อมูลจะเรียกดูหรือเปิดอ่าน

ต่ อ ม า ใ น ก า ร ทำ า ธุ ร ก ร ร ม ท า ง อิเล็กทรอนิกส์ การระบุตัวตนว่ามีความเกี่ยวข้อง กับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งสำาคัญเนื่องจากใน การทำาธุรกรรมประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้ซื้อและผู้ขายต้องการความเชื่อมั่นในการทำา สัญญาระหว่างกัน ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนา เทคโนโลยีที่ทำาให้สามารถระบุตัวตน (สำานักงาน เลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ แห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์

และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2545: 123) ได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่ใช้

ในการระบุตัวตน คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ สิ่งที่

สามารถยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล กับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สร้างขึ้นด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงว่า บุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มีผลเหมือนกับลายมือชื่อแบบปกติที่สามารถ ยืนยันได้ว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อนั้นคือใคร

ต่อมาผู้วิจัยได้ศึกษาถึงการกำาหนด เขตอำานาจศาลตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่ง เมื่อกล่าวถึงอินเทอร์เน็ตแล้ว โดยคำานิยามจะ

ทำาให้นึกถึงการเข้าไปในพื้นที่หนึ่งๆ ที่ปราศจาก อาณาเขตหรือการแบ่งแยกพื้นที่ ทำาให้เกิดความ สงสัยในการกำาหนดวิธีการบังคับใช้กฎหมายของ แต่ละพื้นที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ภายในโลก ของอินเทอร์เน็ต แต่ด้วยความที่ยังไม่มีกฎหมาย ระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับเรื่องการกำาหนดเขต อำานาจทางศาลในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการ กระทำาละเมิดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในระดับ สากล ทำาให้การกำาหนดเขตอำานาจทางศาลใน แต่ละประเทศมีวิธีในการพิจารณาที่มีรายละเอียด แตกต่างกันออกไป (Dennis Campbell and Christian Cambell (eds.), 1998) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงเขตอำานาจศาลภายในของประเทศ สหรัฐอเมริกา (เนื่องจากเป็นประเทศที่มีกิจกรรม ทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก) ว่าบุคคลที่อยู่

ในรัฐหนึ่งสามารถถูกฟ้องได้โดยศาลอีกรัฐหนึ่งได้

หรือไม่และหลังจากนั้นจึงจะพิจารณาเขตอำานาจ ศาลประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และสิงคโปร์ ตาม ลำาดับ

(1) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งการปกครองออกเป็นระดับมลรัฐ แต่ละ มลรัฐจะมีศาลประจำาอยู่ และยังประกอบไปด้วย ศาลกลาง ซึ่งเขตอำานาจศาลกลางนั้นกว้างมาก ครอบคลุมถึงทุกๆ กฎหมายที่ออกโดยสภา นิติบัญญัติ (Congress) ทุกๆ คดีที่เกี่ยวข้อง กับพลเมืองของรัฐต่างๆ รวมถึงคดีที่เกี่ยวข้อง กับบุคคลผู้ได้รับการคุ้มครองทางการทูตและ ครอบคลุมไปถึงข้อขัดแย้งระหว่างรัฐและประเด็น ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เขตอำานาจศาลเหล่านี้อาจเป็น ไปได้ทั้งเขตอำานาจศาลเฉพาะและเขตอำานาจศาล ทั่วไปแต่เนื่องจากปัญหาในการกำาหนดเขตอำานาจ ในอินเทอร์เน็ต ทำาให้ศาลไม่อาจใช้การกำาหนด เขตอำานาจศาลโดยใช้หลักที่มีอยู่เดิมมากำาหนด เขตอำานาจศาลสำาหรับการกระทำาในอินเทอร์เน็ต

การกำาหนดเขตอำานาจศาลเหนือการกระทำาธุรกรรมในทางแพ่ง

และพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 48 ธีรศักดิ์ กองสมบัติ

ได้ ศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้คิดค้น หลักของการขยายเขตอำานาจศาล (Long Arm Jurisdiction) เพื่อที่จะให้อำานาจแก่ศาลในการใช้

เขตอำานาจศาลเหนือบุคคลแก่จำาเลยผู้มิได้มีถิ่นที่

อยู่ในรัฐและมีธุรกิจหลักอยู่นอกรัฐ โดยเป็นมูลคดี

ที่เกิดขึ้นมิได้ปรากฏสถานที่แห่งการกระทำาภายใน รัฐนั้น และจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงตามหลัก “มี

การติดต่อเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างน้อย" (Minimum contact) อันทำาให้ศาลสามารถดำาเนินกระบวน พิจารณาเหนือจำาเลยในคดีนั้นได้ โดยที่จำาเลยไม่

จำาเป็นต้องมีตัวตนทางกายภาพอยู่ในเขตศาลแต่

อย่างใด (Committee on Cyberspace Law, 2000:

3) ซึ่งหลักดังกล่าวยังต้องพิจารณาได้ด้วยว่า 1) จำาเลยมีเจตนาที่จะทำาให้ตนมีตัวตน ในการทำาธุรกิจในรัฐนั้นๆ หรือไม่

2) ด้วยเจตนาข้างต้น ยังผลให้จำาเลย ได้รับผลประโยชน์ในรัฐนั้นหรือไม่

3) เจตนาของการให้ข้อมูลของจำาเลย บนเว็บไซต์เป็นข้อมูลที่ไม่ต้องการติดต่อหรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลใดผ่านทาง อินเทอร์เน็ตหรือไม่ (Passive Web Site)

อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวศาลของ ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องดำาเนินการภายใต้หลัก ความชอบด้วยกฎหมาย (Henry Campbell, 1990:

5000) เพื่อให้การดำาเนินการนั้นเป็นธรรมและ เคารพความยุติธรรมอย่างเคร่งครัด

(2) ประเทศเยอรมนี

โดยทั่วไปแล้วเขตอำานาจศาลตาม กฎหมายของประเทศเยอรมันจะมีอำานาจพิจารณา คดีตามหลักมูลคดีเกิดโดยสถานที่ที่มูลคดีเกิดคือ สถานที่ซึ่งเป็นเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธินั้นกล่าว คือหากเป็นกรณีละเมิดหรือการกระทำาผิดสัญญา ก็จะเป็นสถานที่ที่เกิดการละเมิดขึ้นหรือมีความ เสียหายเกิดขึ้นและแม้ผู้กระทำาการอันเป็นการ ละเมิดจะไม่ได้กระทำาภายในประเทศก็อาจถือว่า

เป็นการกระทำาในประเทศได้ถ้าผลแห่งการกระทำา นั้นได้เกิดหรือควรจะเกิดขึ้นได้ในประเทศเยอรมัน

นอกจากนี้เขตอำานาจศาลมูลคดีเกิดยัง รวมถึงเขตอำานาจศาลเหนืออาณาเขตด้วยอัน เป็นการกำาหนดจากสถานที่ที่จำาเลยอาศัยอยู่โดย หากเป็นบุคคลธรรมดาก็จะพิจารณาจากภูมิลำาเนา หรือหากเป็นนิติบุคคลก็จะพิจารณาจากสถานที่

ที่ได้จดทะเบียน

(3) ประเทศฝรั่งเศส

หลักเกณฑ์ที่ปรากฏในประมวลกฎหมาย แพ่งฝรั่งเศสเกี่ยวกับการมีอำานาจทั่วไปในการ พิจารณาของศาลอยู่ในมาตรา 14 ดังมีรายละเอียด ดังนี้ “An alien, even if not residing in France, may be summoned before the French Courts, for the fulfillment of obligations contracted by him in France towards a French person; he may be called before the French Court for obligation contracted by him a foreign country towards French persons.” และ 15 ได้กล่าว ไว้ว่า “French persons may be called before a court of France for obligations contracted by them in a foreign country, even with an alien.” โดยมาตรา 14 เป็นมาตราที่อนุญาตให้

โจทก์สัญชาติฝรั่งเศสสามารถฟ้องคนต่างด้าวใน ประเทศฝรั่งเศสได้สำาหรับทุกมูลหนี้ที่ได้ทำากับ คนต่างด้าวไม่ว่าจะได้ทำาสัญญากันที่ใดก็ตาม ส่วนมาตรา 15 นั้น พิจารณาได้ว่าเป็นมาตราที่

จำาเลยสัญชาติฝรั่งเศสอาจถูกฟ้องร้องดำาเนินคดี

ในประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้โดยไม่คำานึงถึงเชื้อชาติ

ของโจทก์อันเป็นไปตามหลักสัญชาติของคู่ความ (Rougeron v. Veuve Rougeron, 1959) ส่วน อีกหลักเกณฑ์หนึ่งที่ใช้ในการกำาหนดเขตอำานาจ ศาลคือหลักอำานาจเหนืออาณาเขต (NIBOYET No. 1804 ; BATIFFOL No. 683) ซึ่งพิจารณา จากสถานที่ที่การกระทำาเกิดขึ้นนี้ต้องเป็นสถานที่

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 49 ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2564

ที่มีการติดต่อทางกฎหมายอย่างสม่ำาเสมอใน ภูมิลำาเนาของคู่ความที่จะมีการฟ้องร้องดำาเนินคดี

ในคดีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ศาล ฝรั่งเศสจะพิจารณาว่าตนจะมีเขตอำานาจศาลก็ต่อ เมื่อการบริการทางอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้

ในเขตดินแดนของฝรั่งเศส และความเสียหายนั้น ก็ต้องเกิดในฝรั่งเศส

(4) ประเทศสิงคโปร์

เขตอำานาจศาลทั่วไปของประเทศสิงคโปร์

(The Supreme Court of Judicature Act, Cap 322, 1999)ได้แบ่งประเภทของเขตอำานาจศาล อันประกอบด้วยอำานาจศาลเหนืออาณาเขตและ เขตอำานาจศาลเหนืออาณาเขตในกรณีพิเศษ โดย ศาลของประเทศสิงคโปร์จะมีอำานาจศาลเหนือ อาณาเขตเมื่อจำาเลยได้มีการปรากฏตัวอยู่ภายใน ประเทศสิงคโปร์หรือเมื่อตัวจำาเลยนั้นยอมรับข้อ ตกลงระหว่างโจทก์ในการใช้เขตอำานาจศาลของ ประเทศสิงคโปร์ และยินยอมในการดำาเนินการ ส่งหมายภายในประเทศ ส่วนกรณีของเขตอำานาจ ศาลเหนืออาณาเขตกรณีพิเศษจะเป็นกรณีที่การ ใช้เขตอำานาจศาลในกรณีแรกหาความสัมพันธ์

ใดๆ ไม่ได้แล้ว ศาลจะพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นว่า มีการติดต่อเกี่ยวข้องกันโดยเฉพาะได้ถูกก่อตั้ง ขึ้นระหว่างข้อเท็จจริงในคดีและประเทศสิงคโปร์

หรือไม่ ซึ่งในคดีโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีความ เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงกันได้ระหว่างข้อเท็จ จริงในคดี,บทบัญญัติตามกฎหมาย, มูลคดีอันก่อ ให้เกิดข้อพิพาท หรือตัวคู่ความเองกับประเทศ สิงคโปร์ (See Order 11, Rules of Court, Cap 322 R5, 2004 Ed) อันทำาให้ศาลสิงคโปร์เป็น ศาลที่มีความเหมาะสมแล้วในการที่จะดำาเนินการ พิจารณาข้อพิพาท

เมื่อพิจารณาจากหลักการพิจารณา เขตอำานาจของศาลทั้งสี่ประเทศ จะมีหลักการที่

คล้ายคลึงกันประการหนึ่งคือ แม้ว่ามูลคดีที่เกิดขึ้น

จะไม่ได้เกิดภายในเขตอำานาจพิจารณาพิพากษา ของศาล แต่หากมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า การกระทำา ละเมิดหรือผิดสัญญานั้นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบ ภายในเขตอำานาจศาลแล้ว ศาลนั้นก็จะมีอำานาจ พิจารณาพิพากษาได้โดยถือว่ามูลคดีได้เข้ามาเกิด ภายในเขตอำานาจศาลแล้ว

ต่อมาจะเป็นการวิเคราะห์การเกิดขึ้น ของการทำาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าใน มาตรา 6 พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธ ความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมาย ของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่

ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” อันเป็นการรับรอง สถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้

มีสถานะเทียบเท่าเสมอกับการติดต่อหรือทำาการ ค้าโดยใช้เอกสารธรรมดา นอกจากนั้นแล้วในการ ทำาธุรกรรมฯหรืออีกนัยยะหนึ่งคือการทำาสัญญา ทางอิเล็กทรอนิกส์ย่อมต้องศึกษาถึงการทำาคำา เสนอหรือคำาสนอง ซึ่งตามพระราชบัญญัติฉบับ นี้ได้กำาหนดหลักเกณฑ์หนึ่งขึ้นมา กล่าวคือ ได้

ยอมรับการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และยอมรับ การแสดงเจตนาทำาคำาเสนอสนองในการทำาสัญญา โดยอาจทำาเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ห้ามปฏิเสธ ผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่

สัญญานั้นได้ทำาคำาเสนอหรือคำาสนองเป็นข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ (ไพโรจน์ วายุภาพ, 2543: 4) และ จะเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น ไม่

ได้กล่าวถึงความหมายของคำาเสนอและคำาสนอง ไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นลักษณะของคำาเสนอและ คำาสนอง หรือไม่ว่าจะเป็นการแสดงเจตนาใน รูปแบบอื่น จึงต้องเป็นไปตามความหมายในเรื่อง คำาเสนอและคำาสนองตามหลักทั่วไปของการทำา สัญญาทางแพ่ง

นอกจากนั้นผู้วิจัยยังได้ศึกษาถึงความ สามารถของผู้ทำาสัญญาหรือทำาธุรกรรมทาง

Dalam dokumen JOURNAL HAS 40-2 00003.indd (Halaman 46-53)

Dokumen terkait