• Tidak ada hasil yang ditemukan

5.2 สรุปผล

5.3 อภิปรายผล 5.4 ข้อเสนอแนะ 5.1 ความมุ่งหมายของการวิจัย

5.1.1 เพื่อพัฒนาคู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง ร้อยเอ็ด

5.1.2 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม

5.1.3 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่มีเพศ และระดับชั้นที่แตกต่างกัน

5.2 สรุปผล

การพัฒนากิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด สามารถสรุปผลการศึกษาดังตอไปนี้

5.2.1 การพัฒนากิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง ร้อยเอ็ด พบว่า

คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มี

ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) คิดเป็นร้อยละ 87.31 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) คิดเป็นร้อย ละ 85.81 ดังนั้น คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มี

ประสิทธิภาพ 87.31/85.81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์

สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีค่าเท่ากับ 0.7322 หมายความว่า นักเรียนมี

102 ความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นและส่งผลให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น หลังจากการใช้คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 73.22

5.2.2 การศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม

1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนการจัดกิจกรรม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅= 28.21) และหลังการจัดกิจกรรมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 51.48) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัด กิจกรรม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ก่อนการจัดกิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย จริยธรรมสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับเพื่อญาติมิตรพวกพ้อง (𝑥̅= 2.08) และหลังการจัดกิจกรรม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับเพื่อความถูกต้องดีงาม (𝑥̅= 3.77) เมื่อ เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย จริยธรรมสิ่งแวดล้อมหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจิตอาสาสิ่งแวดล้อม ก่อนการจัดกิจกรรมนักเรียนมีคะแนน เฉลี่ยจิตอาสาสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (𝑥̅= 2.45) และหลังการจัดกิจกรรมนักเรียนมีคะแนน เฉลี่ยจิตอาสาสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.90) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจิตอาสา สิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจิตอาสาสิ่งแวดล้อมหลังการจัด กิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.2.3 การศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่มีเพศ และระดับชั้นที่แตกต่างกัน พบว่า

1) การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และ จิตอาสาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่มีเพศต่างกัน พบว่า นักเรียนที่มีเพศแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน

2) การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และ จิตอาสาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่มีระดับชั้นต่างกัน พบว่า นักเรียนที่มีระดับชั้นต่างกันมีความรู้

เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมี

นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อท าการทดสอบ Univariate Test พบว่า นักเรียนที่มีระดับชั้น ต่างกัน มีความรู้และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน จิตอาสาสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน

103 3) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่

แตกต่างกันกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้

เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แตกต่างกันกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แตกต่างกันกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกันกับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจริยธรรมสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.3 อภิปรายผล

การพัฒนากิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ประกอบไปด้วยเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ประจ าหน่วยกิจกรรม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แบบวัดจริยธรรมสิ่งแวดล้อม และแบบวัดจิตอาสาสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ท าการอภิปรายผลการศึกษา ดังตอไปนี้

5.3.1 การพัฒนากิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง ร้อยเอ็ด พบว่า

1) คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มี

ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) คิดเป็นร้อยละ 87.31 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) คิดเป็น ร้อยละ 85.81 ดังนั้น คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง ร้อยเอ็ดจึงมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.31/85.81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากคู่มือกิจกรรม โรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ในแต่ละหน่วยมีกิจกรรมที่หลากหลาย ที่ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง ซึ่งประยงค์ วุฒิชัยภูมิ (2546 : 46) ได้กล่าวถึง ระดับประสิทธิภาพของคู่มือเป็นการช่วยให้ผู้

อบรมเกิดการเรียนรู้เป็นระดับที่ผู้จัดท าการอบรมจะพึงพอใจว่า หากคู่มือมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้น แลวคู่มือนั้นก็มีคุณค่าสามารถที่จะน าไปอบรมได้ และไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533 : 129-130) กล่าวถึง การหาประสิทธิภาพของสื่อโดยอาศัยเกณฑ์การประเมินคู่มือ เป็นการตรวจสอบหรือประเมิน ประสิทธิภาพของคู่มือที่นิยมประเมินจะเป็นคู่มือส าหรับกลุ่มกิจกรรม หรือแบบฝึกทักษะเกณฑ์การ ประเมินส าหรับเนื้อหาประเภทความรู้ความจ าจะใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับผล การศึกษาของ พระมหาสายันต์ ผงพิลา และคณะ (2554, 158-165) ได้ท าการศึกษาผลการสอนเรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโยนิโสมนสิการ และแบบปกติที่มีผลต่อการเรียนรู้

104 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการเรียนแบบ โยนิโสมนสิการ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.81/86.25 และ วราลักษณ์ อาจวิชัย และคณะ (2558 : 1) พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยใช้แหล่งเรียนรู้

ในท้องถิ่นเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 79.27/83.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนด และ น ้า ทิพย์ ค าแร่ และคณะ (2559 : 543) พบว่า ประสิทธิภาพของคู่มือฝึกอบรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.70/83.68 ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์

สิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น

2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส าหรับโรงเรียนสังกัด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีค่าเท่ากับ 0.7322 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นและส่งผลให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากการใช้คู่ มือ กิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมร้อยละ 73.22 เป็นผลเนื่องมาจากคู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์

สิ่งแวดล้อมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ และได้ผ่านกระบวนการ ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ส่งผลให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งค่าดัชนี

ประสิทธิผลเป็นค่าที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เข้าอบรม โดยเปรียบเทียบคะแนนที่เพิ่ม จากคะแนนการทดสอบก่อนอบรมกับคะแนนที่ได้รับจากการทดสอบหลังอบรม (เผชิญ กิจระการ, 2542 : 30-36) ในการด าเนินการฝึกอบรมเป็นขั้นตอนที่น าเอาหลักสูตรและทรัพยากรต่างๆ ไปปฏิบัติ

ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามที่ก าหนดไว้ การด าเนินการฝึกอบรมหรือวิธีการสอนเป็นหัวใจของการ ให้การศึกษาในทุกสาขาวิชาเพราะการที่จะให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือผู้เรียนรู้ได้บรรลุจุดมุ่งหมาย ของการอบรมหรือการสอนวิชานั้นๆ ได้ (วินัย วีระวัฒนานนท์, 2546 : 179) ซึ่งสอดคล้องกับผล การศึกษาของ อรทัย ผิวขาว และบัญญัติ สาลี (2559: 150) ได้พัฒนาคู่มือฝึกอบรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาเซียน : ราชอาณาจักรกัมพูชา พบว่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือ การฝึกอบรมเท่ากับ 0.8804 และ พระมหาสายันต์ ผงพิลา และคณะ (2554, 158-165) พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการเรียนแบบโยนิโสมนสิการ มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6753 และ ประยูร วงศ์จันทรา และคณะ (2559 : 55) พบว่า คู่มือมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.7500 ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า คู่มือกิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม มีประสิทธิผลและมีความเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของคู่มือเป็นอย่างดี

5.3.2 การศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พบว่า

1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังการจัดกิจกรรมสูง กว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากคู่มือกิจกรรม โรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อมมีเทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นกิจกรรมที่นักเรียนมีการ

Dokumen terkait