• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความหมายของสมรรถนะภูมิศาสตร์

1. สมรรถนะภูมิศาสตร์

1.1 ความหมายของสมรรถนะภูมิศาสตร์

1.2 สมรรถนะภูมิศาสตร์กับการรู้เรื่องภูมิศาสตร์

1.3 องค์ประกอบของสมรรถนะภูมิศาสตร์

1.3.1 ความรู้ทางภูมิศาสตร์

1.3.2 ทักษะทางภูมิศาสตร์

1.3.3 คุณลักษณะทางภูมิศาสตร์

1.4 แนวทางการวัดและประเมินผลสมรรถนะภูมิศาสตร์

1.5 สมรรถนะภูมิศาสตร์ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาของไทย 1.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะภูมิศาสตร์

2. การจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จ าลอง

2.1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของสถานการณ์จ าลอง 2.2 องค์ประกอบของสถานการณ์จ าลอง

2.3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้สถานการณ์จ าลอง

2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จ าลอง 3. การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

3.1 การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์

3.2 เครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

3.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยี

ทางภูมิศาสตร์

1. สมรรถนะภูมิศาสตร์

1.1 ความหมายของสมรรถนะภูมิศาสตร์

“ภูมิศาสตร์” มาจากค าในภาษาอังกฤษว่า “Geography” โดยรากของค านี้นั้นเกิด จากการรวมกันของค าสองค าในภาษากรีก คือ “จีโอ (Geo)” ซึ่งแปลว่า โลก และ “กราฟเฟีย (Graphia)” ซึ่งแปลว่า ค าอธิบายหรือภาพ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันมีการให้ความหมายของ

“ภูมิศาสตร์” จากนักวิชาการและนักการศึกษาไว้อย่างกว้างขวางและสอดคล้องกับสภาพความ เป็นจริงของโลกมากยิ่งขึ้น ดังนี้

ภูมิศาสตร์เป็นการบูรณาการเนื้อหาที่รวมมิติทางกายภาพและมนุษย์เข้าด้วยกัน เป็นการศึกษามนุษย์ สถานที่ และสภาพแวดล้อม โดยมีสาระส าคัญเกี่ยวกับเรื่องพื้นผิวของโลก กระบวนการที่ก าหนดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และการเชื่อมโยงกันระหว่าง มนุษย์กับสถานที่ (Geography for Life, 1994, 20) ภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาถึงการจัดการพื้นที่

อย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านรูปแบบและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในแต่ละพื้นที่

ซึ่งส่งผลต่อมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่นั้น อันรวมเป็นการบูรณาการทางพื้นที่ใช้วิธีการทาง ปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่ด้านมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับลักษณะสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมในพื้นที่ (ประเสริฐ วิทยารัฐ, 2545)

ภูมิศาสตร์ยังเป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในดินแดน ต่าง ๆ ของโลก โดยภูมิศาสตร์สามารถแยกศึกษาได้ 4 สาขาด้วยกัน คือ ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ภูมิภาค และภูมิศาสตร์มนุษย์ (สิริวรรณ ศรีพหล, 2552, 100) สอดคล้องกับงานของวิภาพรรณ พินลา และวิภาดา พินลา (2561, 157) ได้อธิบาย เพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ไว้ว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติกับกิจกรรม ของมนุษย์ที่กระจายตัวอยู่ในดินแดนบนโลก ซึ่งการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์แต่เดิมเป็นการบรรยาย เฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ปรากฏการณ์ทางกายภาพที่เกิดขึ้นบนพื้น โลกเท่านั้น ต่อมาภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม การเกิดขึ้นของทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท าให้เกิดสภาพแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อการด ารงชีวิตของผู้คน อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละ ภูมิภาค นอกจากนี้ปัจจุบันมีการน าเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ใน การศึกษาภูมิศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยท าให้มนุษย์เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ และ น าความรู้ความเข้าใจนั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมต่อไป นอกจากนี้ภูมิศาสตร์ยังเป็น การศึกษาว่าวัฒนธรรมของมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างไร ทิศทาง ของที่ตั้งและสถานที่สามารถส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไร และพยายามท าความเข้าใจกับสิ่งที่

พบ ว่าท าไมมันถึงอยู่ที่นั่นและมันมีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป (National Geographic, 2011)

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ภูมิศาสตร์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์

ทางธรรมชาติกับกิจกรรมของมนุษย์ที่กระจายตัวอยู่ในแต่ละดินแดนบนโลก ศึกษาความสัมพันธ์

และความเชื่อมโยงกันระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ภูมิศาสตร์ยังศึกษาปัจจัยทาง สภาพแวดล้อม ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมและการด าเนินชีวิตของมนุษย์จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของ ภูมิภาคขึ้นด้วย

1.1.2 สมรรถนะภูมิศาสตร์

“สมรรถนะ” มาจากค าภาษาอังกฤษว่า “Competency” มีความหมายว่า ความสามารถหรือสมรรถนะตามพจนานุกรม ในภาษาอังกฤษมีค าที่มีความหมายคล้ายกันอยู่

หลายค า ได้แก่ Skills, Capability, Ability, Proficiency เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันได้มีการให้

ความหมายของค าว่า “สมรรถนะ” จากนักวิชาการและนักการศึกษาอย่างกว้างขวาง ดัง รายละเอียดต่อไปนี้

อัจริยา วัชราวิวัฒน์ (2544) กล่าวถึงสมรรถนะไว้ว่า เป็นความสามารถที่เกิดจาก ความรู้ การกระท า และเจตคติที่ควรมีในการปฏิบัติหรือจัดท าสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบผลส าเร็จ บรรลุตามจุดประสงค์ที่ก าหนด และสามารถแสดงออกมาให้เห็นเป็นพฤติกรรมทางความรู้ การ กระท าและเจตคติที่ดี ซึ่งต่อมาได้มีการให้ความหมายเพิ่มเติมเรื่องทักษะและความสามารถเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะด้วยจากนักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่าน อาทิเช่น ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2549) กล่าวถึงสมรรถนะไว้ เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะ ตลอดจนถึงพฤติกรรมของบุคคลที่จ าเป็นต่อการปฏิบัติงานจนสามารถท าให้งานบรรลุตาม เป้าหมายนั้นได้ สอดคล้องกับส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2551) ได้กล่าวไว้ว่า สมรรถนะ เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะที่ท าให้บุคคลปฏิบัติงานได้

ส าเร็จ และบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

ต่อมาภายหลังสมรรถนะยังหมายรวมถึงความสามารถในการน าความรู้และ ทักษะของแต่ละบุคคลไปใช้นั้น ยังประกอบไปด้วยเรื่องของเจตคติและคุณลักษณะที่มีอยู่ของ บุคคลนั้นหรือการน าสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้วไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ในการ ท างาน การเรียนรู้ การใช้ชีวิต การแก้ปัญหา เป็นต้น (คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา และส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2561, 4) ซึ่งสอดคล้องกับส านักงานเลขาธิการสภา การศึกษา (2562a, 6) อธิบายไว้ว่า สมรรถนะเป็นความสามารถของบุคคลที่น าความรู้ ทักษะ

ความสามารถ เจตคติ และคุณลักษณะมาใช้ในการท างานหรือการแก้ปัญหา จนประสบ ความส าเร็จ แสดงออกทางพฤติกรรมและการกระท าที่วัดและประเมินผลได้ จึงกล่าวได้ว่า สมรรถนะเป็นการประมวลผลของความรู้ กระบวนการ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะและ ความสามารถที่ช่วยให้ประสบความส าเร็จในการท างานตามศักยภาพภายในของแต่ละบุคคล หากได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง จะท าให้บุคคลนั้นมีความสามารถที่สูงขึ้น ดังนั้นการที่บุคคลได้

เรียนรู้ในเรื่องสาระความรู้ ฝึกทักษะต่าง ๆ รวมถึงการได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์

สามารถที่จะส่งเสริมและพัฒนาบุคคลให้มีสมรรถนะสูงขึ้นได้

อย่างไรก็ตามความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ได้เรียนรู้ อาจไม่สามารถช่วยให้

ทุกคนประสบความส าเร็จในการท างาน หากขาดการน าไปประยุกต์ใช้ของความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะอย่างมีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่าขาดความสามารถเชิงสมรรถนะนั้นเอง ดังนั้น ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ได้เรียนรู้ไปนั้น จะยังไม่ใช่สมรรถนะจนกว่าบุคคลจะได้แสดง พฤติกรรมออกมาถึงความสามารถในการน าความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่มีไปใช้ในการท างาน หรือการแก้ปัญหาตามสถานการณ์จนประสบความส าเร็จ ซึ่งสามารถน าเสนอเป็นกรอบแนวคิดได้

ดังนี้ (ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2562, 7 – 8)

กรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ (The Conceptual Framework of Competency)

ภาพประกอบ 2 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ (The Conceptual Framework of Competency)

ที่มา: ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักเรียน ระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา ส านักงานมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ ส านักงานเลขาธิการสภา การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 8.

ศักยภาพภายใน (Potential)

องค์ความรู้

(Knowledge) กระบวนการทักษะ (Skill) เจตคติ/คุณลักษณะ (Attitude/Attribute)

การประยุกต์ใช้

Apply/Use

งาน/สถานการณ์/ชีวิต Takes/Job/Life Situations

สมรรถนะ (Competency)

จึงสรุปได้ว่า สมรรถนะเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ซึ่งไม่ใช่การมีเพียงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเท่านั้น แต่จะต้องสามารถน าความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะมาประยุกต์ใช้กับการท างานตามบทบาทและสถานการณ์ ที่ก่อให้ประสบความส าเร็จ ในการปฏิบัติงานได้สูงกว่ามาตรฐาน และก่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ตนเองต้องการได้

เมื่อน าความหมายของสมรรถนะผนวกกับความหมายของภูมิศาสตร์จะได้ค าศัพท์ที่

เรียกว่า “สมรรถนะภูมิศาสตร์ (Geography Competency)” ซึ่งสามารถสรุปความหมายของ สมรรถนะภูมิศาสตร์ได้ว่า เป็นการน าความรู้ทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ และคุณลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ได้ในระดับที่สูงกว่ามาตรฐาน ตามสถานการณ์และการด าเนินชีวิต โดยมุ่งศึกษาในเรื่องของเหตุปัจจัย ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกันระหว่างธรรมชาติกับ มนุษย์