• Tidak ada hasil yang ditemukan

หลักกรรมและกฎแหงกรรมในพระพุทธศาสนา

1. ความหมายของอาสันนกรรม

คําวา อาสันนกรรม แปลวา กรรมใกลดับจิตหรือกรรมใกลตาย ปรากฏในคัมภีร

วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย โดยทานไดกลาวถึงอาสันนกรรมไวในวิสุทธิมรรคนี้วา

“กรรมที่บุคคลระลึกไดในเวลาใกลตาย ชื่อวา อาสันนกรรม อันบุคคลผูใกลตาย ระลึกถึงกรรมอันใดได เขายอมไปเกิดดวยกรรมอันนั้นแล ” (มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2521 : 32)

นอกจากนี้ ยังปรากฏในคัมภีรอภิธัมมัตถสังคหะ โดยกลาวถึงอาสันนกรรมและ กรรมประเภทอื่นๆ ไว แตไมมีปรากฏคําอธิบายใดๆ เกี่ยวกับกับกรรมชนิดนี้ (มหามกุฏราช วิทยาลัย, 2516 : 28)

สวนในคัมภีรอภิธัมมัตถภาวินี ไดอธิบายถึงอาสันนกรรมไววา

“บทวา อาสนฺนํ ไดแกกรรมที่ตามระลึกไดในเวลาใกลตาย และกรรมที่ทําใน เวลานั้น” (มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2516 : 164)

สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไดทรงอธิบายถึงอาสัน นกรรมในหนังสือธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ 2 วา

“กรรมที่ 11 ไดแกกรรมอันทําเมื่อจวนตาย ทานเรียกวา อาสัน นกรรม เมื่อพหุลกรรมไมมี คือ ผูทําไมไดทํากรรมอยางใดอยางหนึ่งไวจนชิน จนถึงเลื่องลือวา มักเปนอยางนั้นๆ กรรมนี้แมทุรพลก็ตามใหผล ทานเปรียบไว

เหมือนโคอันแออัดอยูในคอก พอนายโคบาลเปดประตูออก โคใดอยูริมประตู

คอก แมโคแกทุรพล ยอมออกไดกอนโคอยูในเขาไป แมแข็งแรงกวา” (สมเด็จ พระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, 2511 : 131)

จากขอความที่ไดยกมากลาวไวดังกลาวนี้ สุนทร ณ รังษี (ม.ป.ป. : 42-56) ไดตั้งขอสังเกต สําคัญ คือ ในคัมภีรวิสุทธิมรรคทานพระพุทธโฆสาจารยกลาววา อาสันนกรรมไดแกกรรมที่

บุคคลระลึกไดในเวลาใกลดวย คัมภีรอภิธัมมัตถสังคหะทานกลาวถึงกรรมไวแตเพียงชื่อโดยไมมี

คําอธิบาย จึงไมอาจทราบความหมายของอาสันนกรรมแนชัด สวนคัมภีรอภิธัมมัตถวิภาวินีกา อธิบายวา อาสันนกรรมไดแกกรรมที่บุคคลระลึกไดในเวลาใกลตาย และกรรมที่ทําในเวลาใกล

ตาย สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงใหคําอธิบายไวเพียงแงเดียววา อา สันนกรรม ไดแกกรรมที่บุคคลทําเมื่อจวนตาย

เมื่อพิจารณาอยางพินิจพิเคราะห จะเห็นไดวาคําอธิบายจากที่มาดังกลาวนี้ไมลงรอยกัน จึง เกิดปญหาวา ควรจะยึดถือคําอธิบายอาสันนกรรมของใครหรือของคัมภีรใดเปนคําอธิบายที่ถูกตอง

สุนทร ณ รังษี (ม.ป.ป. : 42-56) จึงไดพยายามวิเคราะหถึงหลักอาสันนกรรมนี้วา มีสิ่งที่

ควรทําความเขาใจใหชัดเกี่ยวกับคําอธิบายอาสันนกรรมดังกลาวมาแลว นั่นคือขอความวา “กรรม ที่บุคคลระลึกไดในเวลาใกลตาย” ขอความนี้ชี้บงถึงกรรมที่บุคคลเคยทําไวในชีวิตที่ผานมา ไมใช

หมายถึงกรรมที่ทําใหมในขณะจะดับจิต ตัวอยางเชน นายขําเคยฆานายเขียวตาย เพราะเจ็บแตม ที่นายเขียวเคยขโมยควายที่มีอยูตัวเดียวไปฆาเอาเนื้อขาย การฆาคนจัดเปนกรรมหนัก (แมไมหนัก เทาอนันตริยกรรม) ขณะปวยหนักใกลตายนายขําก็นึกถึงกรรมคือการฆานายเขียว และนายขําก็

ดับจิตหรือตายไปในขณะที่จิตคิดถึงกรรมคือการฆานายเขียวนั้น กรรมที่นายขํานึกถึงตอนใกลตาย นี้ จัดเปนอาสันนกรรมตามขอความที่ทานพระพุทธโฆสาจารยอธิบายไวในวิสุทธิมรรควา “กรรม ที่บุคคลระลึกไดในเวลาใกลตาย ชื่อวาอาสันนกรรม”

ขอความวา “กรรมที่ทําในเวลาใกลตาย” ชี้บงถึงกรรมที่ทําใหมตอนใกลตายซึ่งไมใชอยาง เดียวกับกรรมที่เคยทําไวแลวมานึกถึงตอนใกลตาย ตัวอยางเชน นายเหลือ เปนคนที่ปรากฏแกคน ทั่วไปวาทํากรรมดีกรรมชั่วไวพอ ๆ กัน ขณะที่นายเหลืองปวยหนักใกลตาย ญาติไดนิมนตพระมา สวดพระพุทธมนตใหฟง ขณะที่พระเริ่มสวดนายเหลืองยังพอมีสติอยูบาง ลืมตาขึ้นมองพระพรอม กับยกมือไหว แลวหลับตาตอไป ขณะพระสวดนายเหลืองก็สงกระแสจิตไปตามเสียงสวดมนต

พระยังสวดไมทันจบนายเหลืองก็หายใจเฮือกสุดทายแลวดับจิตไป ในกรณีนี้การทําจิตใหเปนกุศล ดวยการยึดอยูกับเสียงสวดมนตของนายเหลือง จัดเปนอาสันนกรรมที่นายเหลืองทําใหมตอนใกล

ตาย ซึ่งตางจากอาสันนกรรมของนายขําอันเปนที่เขาเคยทําไวในอดีต แตนึกถึงกรรมนั้นตอนใกล

ดับจิต

แมการตีความขอความวา “กรรมอันทําเมื่อจวนตาย” อาจจะเปนไปไดในลักษณะดังกลาว แตผูวิจัยเรื่องนี้ก็เห็นวา ขอความวา “กรรมที่ตามระลึกไดในเวลาใกลตาย และกรรมที่ทําในเวลา นั้น (คือในเวลาใกลตายนั้น)” ดังที่ปรากฏอยูในคําอธิบายของคัมภีรอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา เปน ขอความที่ใครก็ตามเมื่ออานแลวยอมเขาใจชัดวา เปนการกลาวถึงกรรม 2 ลักษณะ คือ กรรมที่

เคยทําไวและตามระลึกไดในเวลาใกลตายอยางหนึ่งกับกรรมที่ทําใหม ในเวลาใกลตายอยางหนึ่ง เฉพาะฉะนั้น การที่จะตีความวา “กรรมที่ทําเมื่อใกลตาย” หมายถึงกรรมที่เคยทําไวก็ได

หมายถึงกรรมที่ทําใหมก็ได ในแงนี้จึงไมนาจะเปนคําอธิบายที่ถูกตอง

อยางไรก็ตาม ถาพิจารณาพระพุทธพจนที่ปรากฏอยูในมหากัมมวิภังคสูตร อันเปนพระ สูตรที่จําแนกหลักคําสอน เรื่องกรรมอยางใหญหรืออยางสําคัญของพระพุทธเจา พระสูตรนี้ได

อธิบายเกี่ยวกับบุคคล 4 ประเภทที่ทํากรรมแลวไดรับผลตางกัน ก็จะเห็นไดถึงลักษณะอาสันน กรรมในคัมภีรพระไตรปฎก

พระพุทธพจนจากมหากัมมวิภังคสูตร(พระไตรปฎก เลมที่ 14, 2539 : 136) ดังกลาวนี้

พอจะสรุปโดยใจความไดดังนี้

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบาปกรรมหรือกรรมชั่วไวมาก ตายแลวไปเกิดใน

ทุคติ เชน นรก

(2) บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบาปกรรมหรือกรรมชั่วไวมาก ตายแลวไปเกิดใน

สุคติโลกสวรรค

(3) บุคคลบางคนในโลกนี้ ทํากรรมดีหรือกุศลกรรมไวมาก ตายแลวไปเกิดใน

สุคติโลกสวรรค

(4) บุคคลบางคนในโลกนี้ ทํากรรมดีหรือกุศลกรรมไวมาก ตายแลวไปเกิดใน

ทุคติ เชน นรก

ขอความในมหากัมมวิภังคสูตรดังไดยกมากลาวไว แสดงใหเห็นถึงความสลับซับซอนแหง การใหผลของกรรม สําหรับผูทํากรรมชั่วไวมากตายแลวเขาถึงทุคติ เชน นรก และผูทํากรรมดีไว

มาก ตายแลวเขาถึงสุคติโลกสรรค ยอมไมเปนที่นาสงสัย แตการที่คนบางคนทํากรรมชั่วไวมาก ตายแลวกลับไปเกิดในสวรรค และคนที่ทํากรรมดีไวมาก ตายแลวไปเกิดในทุคติเชนนรก ยอม เปนการยากเกิดวิสัยคนธรรมดาสามัญทั่วไปจะเขาใจได

แตผูวิจัยเห็นวา พระพุทธพจนดังกลาวนี้ เฉพาะขอ 2 กับขอ 4 พอจะสรุปโดยใจความ ไดวา การที่บุคคลบางคนทํากรรรมชั่วไวมากตายแลวไปเกิดในสวรรคนั้น ไมใชเพราะกรรมชั่ว สงผลใหเขาไปเกิดในสวรรค แตเพราะเขาเคยทํากุศลกรรมหรือกรรมดีไวบาง กรรมดีที่เขาทําไว

นั้น แมจะนอย แตมีโอกาสใหผลกอน จึงทําใหเขาไปเกิดในสวรรค หรือมิฉะนั้นในเวลาใกลตาย เขากลับมีจิตเปนสัมมาทิฏฐิอันเปนมโนกรรมฝายกุศล ดวยอํานาจของมโนกรรมที่ทําใหมนี้ ตาย แลวจึงไปเกิดในสวรรค สวนกรรมชั่วที่เขาทําไวมากก็จะอํานวยวิบากแกเขาในชาตินี้ หรือในชาติ

หนา หรือในชาติตอ ๆ ไป

ผูที่ทํากรรมดีไวมากตายแลวไปเกิดในทุคติ เชน นรกก็ทํานองเดียวกัน คือ ไมใชกรรมดี

สงผลใหเขาไปเกิดในนรก แตเพราะเขาเคยทํากรรมชั่วไวบางในชีวิตที่ผานมากรรมชั่วนั้นมีโอกาส ใหผลกอน ตายแลวเขาจึงตองไปเกิดในนรกดวยผลของกรรมนั้น หรือเปนเพราะขณะจะดับจิตเขา เกิดมีความคิดเห็นเปนมิจฉาทิฏฐิขึ้นมา ดับจิตไปในขณะที่จิตยึดมั่นอยูกับมิจฉาทิฏฐินั้น ตายแลว จึงไปเกิดในทุคติเชนนรก สวนกรรมดีที่เขาทําไวมากก็จะอํานวยวิบากแกเขาไมในชาตินี้ ก็ใน ชาติหนาหรือในชาติตอ ๆ ไป

โดยนัยนี้ เมื่อไดพิจารณาคําอธิบายในมหากัมมวิภังคสูตรจากขอความที่ไดยกมากลาวไว

ทําใหผูวิจัยเกิดความแนใจวา กรรมที่เรียกวาอาสันนกรรมนั้น จะตองมีความหมายเปน 2 นัย คือ หมายถึงกรรมที่บุคคลเคยทําไวและนึกถึงตอนใกลตายอยางหนึ่ง หมายถึงกรรมที่ทําใหม

ในขณะใกลตายอยางหนึ่ง ขอความที่พระพุทธเจาทรงอธิบายวา “...บุคคลที่เปนผูมักฆาสัตว

ฯลฯ มีความเห็นผิดอยูในโลกนี้ ตายแลวเขาถึงสุคติโลกสวรรค เปนเพราะวาเขาทํากรรมดีที่

ใหผลเปนสุขไวในกาลกอนหรือในกาลภายหลัง หรือวามีสัมมาทิฏฐิพรั่งพรอมสมาทานแลวใน เวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไปจึงเขาถึงสุคติโลกสวรรค...” แสดงถึงลักษณะของอาสัน นกรรมทั้ง 2 นัยดังกลาว นั่นคือขอความวา “...เปนเพราะวาเขาทํากรรมดีที่ใหผลเปนสุขไวใน กาลกอนหรือในกาลภายหลัง” แสดงถึงลักษณะของอาสันนกรรมนัยแรก คือ กรรมที่บุคคลเคย ทําไวและนึกถึงตอนใกลตาย การที่บุคคลผูทํากรรมชั่วไวมาก แตตายแลวกลับไปเกิดในสวรรค

ก็เพราะเขาเคยทํากรรมดีไวบาง และกรรมดีที่เขามีอยูบางนี้มีโอกาสใหผลกอนกรรมชั่วที่เขาทําไว

มาก เขาจึงไปเกิดในสวรรคดวยผลอขงกรรมดีนั้น การที่กรรมดีที่เขามีอยูบางเขามาแกรกใหผล กอนนี้ ตามหลักกรรมและการเกิดใหมของพระพุทธศาสนา กรรมดีนั้นจะตองปรากฏเปนอาสัน นกรรมใหเขานึกถึงในขณะใกลตาย เมื่อตายลงในขณะที่จิตเกาะเกี่ยวอยูกับกรรมดีขึ้น เขาจึงไป เกิดในสุคติ

ขอความกอนหลังที่วา “หรือวามีสัมมาทิฏฐิพรั่งพรอมสมาทานแลวในเวลาจะตาย” นี้

แสดงถึงลักษณะของอาสันนกรรมนัยที่สอง คือ กรรมที่ทําใหมในขณะใกลตาย สัมมาทิฏฐิที่

เกิดขึ้นในขณะจะดับจิตจัดเปนมดนกรรมฝายกุศล จิตที่เปนกุศลจัดที่ผองใสเมื่อบุคคลดับจิตลงใน ขณะที่จิตผองใสก็ยอมไปเกิดในสุคติ ดังพระพุทธภาษิตวา “จิตฺเต อสงฺกิลิฎเฐสุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไมเศราหมองแลว ยอมมีสุคติเปนที่หวัง”