• Tidak ada hasil yang ditemukan

1. แนวคิดและทฤษฎีรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ

รูปแบบ หมายถึง กรอบความคิดทางด้านหลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ ระบบของ รูปแบบ วิธีการด าเนินงาน และเกณฑ์ต่างๆ ของระบบ ที่สามารถยึดถือเป็นแนวทางในการ ด าเนินงานเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ (พระมหาสหัส ด าคุ้ม, 2556) การก าหนดองค์ประกอบของ รูปแบบว่าประกอบด้วยอะไร จ านวนเท่าใด มีโครงสร้างและความสัมพันธ์กันอย่างไร ขึ้นอยู่กับ ปรากฎการณ์ปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ ที่ก าลังศึกษา ซึ่งจะออกแบบตามแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย และหลักการพื้นฐานในการก าหนดรูปแบบนั้นๆ เป็นหลัก ส่วนกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบ สามารถสรุปได้เป็น 2ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างหรือพัฒนารูปแบบ และ 2) การตรวจสอบความ เที่ยงตรงของรูปแบบ (วาไร เพ็งสวัสดิ์ , 2553,น.14) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พัฒนา พรหมณี

และ คนอื่นๆ (2560) ว่า รูปแบบ เป็นแบบจ าลองอย่างง่ายที่ผ่านการศึกษาและพัฒนาขึ้นมา อธิบายปรากฏการณ์ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สร้างหรือพัฒนาขึ้นจากหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด และความเชื่อ เพื่อแสดงถึงโครงสร้าง ทางความคิด หรือองค์ประกอบ และความสัมพันธ์

ขององค์ประกอบที่ส าคัญอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ความรู้ เข้าใจได้ง่ายและกระชับถูกต้อง วัด และตรวจสอบได้ ลักษณะของรูปแบบต้องเป็นแนวทางที่น าไปสู่การท านายผลที่ตามมาที่สามารถ พิสูจน์ และทดสอบได้เชิงประจักษ์ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและโครงสร้างที่สามารถอธิบายได้

ช่วยสร้างจินตนาการ ความคิดรวบยอด และช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะความรู้ รูปแบบ มี

5 ประเภท ได้แก่ 1) รูปแบบเชิงเปรียบเทียบ 2) รูปแบบเชิงภาษา 3) รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ 4) รูปแบบเชิงแผนผัง 5) รูปแบบเชิงสาเหตุ โดยรูปแบบต้องประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) ทฤษฎีพื้นฐานและหลักการ 3) ระบบงานและกลไก 4) วิธีการด าเนินงาน 5) แนวทางการ ประเมินผลการด าเนินงาน 6) ค าอธิบายประกอบรูปแบบ 7) เงื่อนไขการน าไปใช้ และ 8) คู่มือการ ใช้ ซึ่งมีหลักและวิธีการการสร้างและพัฒนารูปแบบ คือ 1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐาน 2) ก าหนด หลักการ เป้าหมาย และองค์ประกอบ 3) ก าหนดแนวทางการน าไปใช้ 4) การประเมินรูปแบบ 5) การพัฒนาและปรับปรุงเมื่อพบข้อบกพร่อง รูปแบบที่สร้างและพัฒนาขึ้นแล้วต้องมีการตรวจสอบ โดยอาจตรวจสอบรูปแบบจากหลักฐานเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคทางสถิติ หรือการตรวจสอบ

รูปแบบจากหลักฐานเชิงคุณลักษณะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ ว่ามีคุณภาพที่ดี เหมาะสม ในการน าไปใช้ในการด าเนินงานไปใช้ได้จริง

สมิธ และคณะ (Smith. et al.1980,pp. 461) ได้จ าแนกประเภทรูปแบบ ไว้ดังนี้

1. รูปแบบเชิงกายภาพ (Physical Model) จ าแนกเป็น

1.1. รูปแบบคล้ายจริง (Iconic Model) มีลักษณะคล้ายของจริง เช่นเรือจ าลอง 1.2. รูปแบบเสมือนจริง (Analog Model) มีลักษณะคล้ายปรากฏการณ์จริง เช่น เรือจ าลองที่เล่นได้

2. รูปแบบเชิงสัญลักษณ์ (Symbol Model) จ าแนกเป็น

2.1 รูปแบบข้อความ (Verbal Model) หรือรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Model) เป็นการใช้ข้อความปกติธรรมดาในการอธิบายโดยย่อ

2.2 รูปแบบทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) หรือรูปแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Model) เช่น สมการ และโปรแกรมเชิงเส้น

Business Model

รูปแบบธุรกิจอธิบายถึงเหตุผลที่องค์กร สร้าง ส่งมอบ และวัดคุณค่า ในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือบริบทอื่นๆ กระบวนการสร้างและปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ อาจ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในทางทฤษฎี

และทางปฏิบัติค าว่ารูปแบบธุรกิจใช้ส าหรับค าอธิบายที่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการในวงกว้าง เพื่อแสดงถึงลักษณะหลักของธุรกิจรวมถึงวัตถุประสงค์กระบวนการทางธุรกิจ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ข้อเสนอ กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร การจัดหาแนวทางปฏิบัติทางการค้าและกระบวนการและ นโยบายการปฏิบัติงานรวมถึงวัฒนธรรม (Wikipedia , ออนไลน์) Sloeinski G. ( 2013) อธิบาย ถึงตรรกะและหลักการที่ บริษัทใช้เพื่อสร้างรายได้ แต่รูปแบบทางธุรกิจนั้นมากมาย เงินทุนด้าน สถานที่ของบริษัท ทรัพย์สินทางปัญญา การวิจัยและการพัฒนา ความสามารถของเจ้าหน้าที่ทาง การตลาด และระบบการตัดสินใจ และการปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับสิ่งที่มีอยู่ ความสัมพันธ์ของ บริษัท กับซัพพลายเออร์ และช่องทางการยอมรับของพันธมิตร และช่องทางในหารสร้างพันธมิตร ด้วยการวางแผนและสร้างความคุ้นเคยและแรงจูงใจในกับทุกด้าน อุตสาหกรรมในเครือประเทศ ยุโรป (Prause, G, 2015) ได้กล่าวถึงร้อยละ 15 ของมูลค่าเพิ่มในยุโรปและภาคอุตสาหกรรมที่มี

บทบาทส าคัญในการขับเคลื่อนการวิจัยนวัตกรรมการผลิต การสร้างงาน และการส่งออก มาตรการส าคัญประการหนึ่งในการหยุดยั้งการลดลงของต าแหน่งทางอุตสาหกรรมทั่วโลกของ ยุโรป คือ Industry 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการด าเนินการผลิตและโลจิสติกส์ที่ชาญฉลาด ซึ่งจะเข้า

ใกล้ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการ ด าเนินงานและโลจิสติกส์ และด้วยการท าโมเดลธุรกิจและโครงสร้างใหม่จึงจ าเป็นต้องมี บริษัท ต่างๆ เริ่มฝึกฝนการพิมพ์แบบ 3 มิติ การผลิตในเครือข่ายโลจิสติกส์อัจฉริยะและเริ่มพัฒนา โครงสร้างหรือรูปแบบทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากขึ้นจากโอกาสที่เทคโนโลยีใหม่

น าเสนอ บริษัทที่ประสบความส าเร็จแสดงให้เห็นว่ามุ่งเน้น ไปที่การออกแบบ บริการ นวัตกรรม แบบเปิด และเครือข่ายที่เข้าถึง จุดที่น่าสนใจหลักของ Industry 4.0 คือการผสมผสาน ระหว่าง โลกเสมือนจริงกับโลกทางกายภาพ ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมีแนวคิดใหม่ๆ ส าหรับการจัดการข้อมูล และงานบริหารธุรกิจในบริบทอุตสาหกรรม 4.0

การพัฒนารูปแบบ

(drjirapan, 2555, ออนไลน์, กาญจนา วัธนสุนทร. 2550,น. 3-4-3-11) เป็นการ จัดท าแผนหรือการวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งในทางทฤษฎีและงานวิจัยเชิง ประจักษ์ในอดีต หรือ เป็นการวางแผนวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหรือตัวแปร ต่างๆ เชิงเหตุและผล จากทฤษฎีและองค์ความรู้ที่ได้จากผลงานที่มีผู้ศึกษาไว้ในอดีต เพื่อจัดระบบ โครงสร้างรูปแบบหรือกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆตาม ทฤษฎีและองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามาโดยสามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า ระบบ โครงสร้าง รูปแบบหรือกระบวนการที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จาก บริบทของสังคมที่เป็นอยู่

บุญส่ง หาญพานิช (2546, น.112-118) ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการ บริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย พบว่า การด าเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์แนวความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติความรู้ องค์ความรู้ และการ บริการจัดการศึกษาของไทย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความรู้ กระบวนการจัดการ ความรู้ โครงสร้างพื้นฐานของการบริหารจัดการความรู้ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์อธิการบดี และการสอบถาผู้บริหาระดับผู้อ านวยการขึ้นไป 2) จัดท าร่างรูปแบบการ บริหารการจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย โดยน าผลสรุปจากการวิเคราะห์สาระจากการ สัมภาษณ์อธิการบดีและจาการวิเคราะห์แบบสอบถาม น ามาสรุปเป็นข้อค้นพบเพื่อใช้เป็นฐานใน การสร้างร่างรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย และ 3) การตรวจสอบ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ ในสถาบันอุดมศึกษาไทย

โดยผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากนั้น จึงปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ตามค าแนะน าของ ผู้ทรงคุณวุฒิ

วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ (2547, น.73-84) ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัด การศึกษาแบบการกระจายอ านาจสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การก าหนดกรอบแนวคิดในการ วิจัย โดยศึกษาเอกสารและแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษาสภาพและปัญหา การจัดการศึกษาแบบกระจายอ านาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานโดยสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ ศึกษาเอกสารที่

เกี่ยวข้องกับการด าเนินงานของสถานศึกษาและส ารวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน 3) การสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอ านาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ และ 5) การปรับปรุงและน าเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอ านาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ (2547, น.171) ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนา คุณลักษณะผู้น าของคณบดี โดยด าเนินการวิจัยเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การก าหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัย โดยศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษาวิเคราะห์แนว ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ 3) การศึกษาและประมวลความ คิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้น าของคณบดี 5) การตรวจสอบและการประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ 6) การปรับปรุงรูปแบบน าเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้น าของคณบดี

กฤษณพล จันทร์พรหม (2548, น.88) ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบมหา วิทยาลัยเสมือนจริงที่เหมาะสมส าหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยด าเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริง โดยศึกษา หลักการแนวคิด ทฤษฎี จากเอกสาร ต ารา บทความวิจัย ฐานข้อมูล อินเตอร์เน็ตออนไลน์ทั้งใน และต่างประเทศ และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเสมือน จริง 2) การสังเคราะห์รูปแบบ องค์ประกอบ โครงสร้างของรูปแบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริง โดยน า ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างเป็นรูปแบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริง 3) การพัฒนารูปแบบ มหาวิทยาลัยเสมือนจริง โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบเดลฟายเพื่อรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจาก ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน จ านวน 3รอบ และ 4) การทดสอบความเหมาะสมของรูปแบบมหาวิทยาลัย เสมือนจริง ส าหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 3 มาจัดท าเป็น

Dokumen terkait