• Tidak ada hasil yang ditemukan

จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมของโลจิสติกส์ พบว่ามีการศึกษาเรื่องการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหลังปี พ.ศ.

2550 จ านวนมาก โดยในช่วงก่อนหน้านั้นเป็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของการ จัดการโลจิสติกส์ เช่นในเรื่องการจัดการคลังสินค้าและช่องทางการจัดจ าหน่าย อาจเนื่องมาจาก ในช่วงปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา มีการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเรื่องการจัดการ โลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรมจากรัฐบาล โดยในปีงบประมาณ 2549 ส านักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ให้การสนับสนุนการด าเนินการโครงการวิจัยด้านโลจิสติกส์และ โซ่อุปทาน จ านวน 13 โครงการ ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2552 ที่เป็นงานวิจัยการจัดการ

โลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมยา (ชะอรสิน สุขศรีวงศ์) อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย (จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์) อุตสาหกรรมอาหารประเภทกุ้งแช่เยือก แข็ง (รวิพิมพ์ ฉวีสุข) อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มเพื่อการส่งออก (ชวลิต จีนอนันต์) อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์) อุตสาหกรรมอัญมณี และ เครื่องประดับ (เตือนใจ สมบูรณ์วิวัฒน์) อุตสาหกรรมบริการ: โรงพยาบาล (ดวงพรรณ กริชชาญ ชัย) นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิจัยการจัดการโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์มันส าปะหลัง (ปรารถนา ปรารถนาดี) ผู้ประกอบการ SMEs (ดนุพันธ์ วิสุวรรณ) ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์) และร้านค้าปลีก (พัชราภรณ์ เนียมมณี) รวมทั้งการศึกษากิจกรรมของ โลจิสติกส์ทางด้านการขนส่งสินค้า (ปัญญา พิทักษ์กุล) และเทคโนโลยีการสารสนเทศ (เผ่าภัค ศิริสุข)

นอกจากนี้มีงานวิจัยด้านโลจิสติกส์ที่ได้รับการสนับสนุนจากส านักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) จ านวน 9 เรื่อง ด าเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545, 2548 และ 2549 โดยรวมแล้ว เป็นการศึกษาปัจจัยพื้นฐานและกิจกรรมโลจิสติกส์ของต่างพื้นที่ เช่น การศึกษาโครงสร้างปัจจัย การผลิตและผลผลิตส าหรับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง (อัทธ์ พิศาลวานิช, 2549) การจัด ตารางการขนส่งนมเพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการท าความสะอาดถังพักนมต่ าที่สุด: กรณีศึกษา โรงงานผลิตนมขององค์การขนส่งเสริมกิจการโคนมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อ.ส.ค.) จังหวัด ขอนแก่น (ดนัยพงศ์ เชษฐ์โชติศักดิ์, 2549) และหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น อุตสาหกรรม สับปะรด (ธนัญญา วสุศรี, 2549) สินค้าหนึ่งต าบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นหัตถอุตสาหกรรม (อภิชาต โสภาแดง, 2548) อุตสาหกรรมกุ้งขาวลิโทพีเนียสแวนาไม (วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์, 2548) รวมทั้งการเตรียมความพร้อมโดยการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ เตรียมความพร้อมของประเทศไทยด้านโลจิสติกส์เพื่อตอบรับ FTA จีน – อาเซียน (ดวงพรรณ ศฤงคารินทร์, 2548) และเพื่อรับมือต่อสถานการณ์บนเวทีโลก (ดวงพรรณ กริชชาญชัย, 2548) และก าหนดทิศทางงานวิจัยและพัฒนาด้านบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่คุณค่าในประเทศไทย (ดวงพรรณ ศฤงคารินทร์, 2545) รวมทั้งการน าเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้เพื่อ การขนส่งในประเทศไทย (วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์, 2548) (ส านักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ตุลาคม 2551, ภาคผนวก 6 หน้า 1-2)

นอกจากงานวิจัยจากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวข้างต้น ยังพบว่ามีการ ท าวิจัยเพื่อส าเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมาอย่างต่อเนื่องที่พบ

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์โดยตรงทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลจาก ตัวอย่าง และงานวิจัยเชิงคุณภาพที่จัดเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจาก หลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ในปี พ.ศ. 2549 มีการศึกษากลยุทธโลจิสติกส์ในการส่งออก มะพร้าวน้ าหอมผลสดไปประเทศจีน (วีรพงศ์ ชุมพลบัญชร) การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ส าหรับบรรจุภัณฑ์บรรจุน้ ายางข้นเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ (กนกรัตน์ ไวยดี) การจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานของผู้ประกอบการธุรกิจโรงสีข้าวในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด (เริงศักดิ์ กระจ่าง จันทร์, 2549) และสุพัตรา เอื้อเสริมกิจกุล (2549) ศึกษาการประเมินแนวคิดเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูก

และในปี พ.ศ. 2550 มีการศึกษาการจัดการโลจิสติกส์ของเรืออวนลากคู่ในจังหวัด สมุทรสงคราม (อัมพล เตียวสกุล, 2550) ศึกษาความพร้อมของระบบโลจิสติกส์ของ ผู้ประกอบการรีสอร์ทในจังหวัดเชียงราย (ยุวยงค์ หงส์ทอง, 2550) และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ ต้นทุนโลจิสติกส์ของหัตถอุตสาหกรรมไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ล าพูน และล าปาง (ชนม์เจริญ แสวงรัตน์, 2550)

นอกจากนี้พบว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับคลังสินค้า การขนส่ง และช่องทางการจัดจ าหน่าย เช่น วนิดา ไตรรงค์จิตเหมาะ (2540) ศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพขนส่งสินค้าในภาคอีสาน ปี

พ.ศ. 2542 ดนยา ฉันธนะเลิศวิไล ศึกษาการพัฒนาคลังสินค้าสาธารณะในประเทศไทยส าหรับ สินค้าอุปโภคประจ าวัน และในปีเดียวกัน เลิศศักดิ์ เลิงภูบัง ศึกษาการลดค่าปรับที่เกิดขึ้นจาก การขนส่งล่าช้า (2542) เช่นเดียวกับพัชนพ ตันพิชัยที่ศึกษาแนวทางการจัดการขนส่งสินค้าในเขต เมือง (2544) และยุ่นดี จารุลักขณา (2548) ศึกษาช่องทางการจัดจ าหน่ายกระเบื้องเซรามิกส์ใน นครปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน