• Tidak ada hasil yang ditemukan

2.3.1 ความหมายและความเป็นมาของเครื่องเบญจรงค์

ประเทศไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่ยาวนานอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปรากฏให้เห็นเด่นชัดเป็นหลักฐานทั้งที่เป็นโบราณสถานและ โบราณวัตถุ อันเป็นงานศิลป์ที่ประณีตวิจิตรบรรจงจ านวนมาก ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์

ประดิษฐ์ขึ้น ด้วยความเพียรพยายาม และสืบต่อกันมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี หลายพันปี โดย เครื่องปั้นดินเผาของไทยก็เป็นงานที่จัดว่าเป็นประณีตศิลป์ของไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัวอีกงาน หนึ่งเช่นกัน

งานเครื่องปั้นดินเผาของไทยที่เก่าแก่ที่สุดได้แก่ที่ถ้ าผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็น ภาชนะดินเผา เนื้อดิน (earthenware pottery) ตกแต่งผิวด้วยการกดประทับเป็นลายเชือกทาบ และลายตาข่าย รวมทั้งการขัดมันและปั้นแปะ อายุประมาณ 8,400 ปี (Gorman, C., 1970, np;

อ้างถึงใน ธนิก เสิศชาญฤทธ์, 2550, 39) และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง อ าเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 6,000 ปีเศษมาแล้ว ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

โดยในยุคสมัยนั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นเพียงภาชนะดินเผาทั่วไป บนเครื่องปั้นดินเผาจะมีลวดลาย สีแดงทับลงไป สีที่ใช้คือสีดิน มีการใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย เชือก หรือไม้แหลม ท า ลวดลายบนผิวภาชนะ ความประณีตของลวดลาย สีสัน และกระบวนการผลิตมีเพิ่มมากขึ้นและ ซับซ้อนขึ้น จนกระทั่งมีภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่มีสีหลากหลาย รูปทรงแตกต่าง สวยงามเหมาะ ส าหรับการใช้งานและเป็นของช าร่วย ของประดับตกแต่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่มี

เอกลักษณ์แห่งความสวยงามประณีต วิจิตรบรรจงชนิดหนึ่งก็คือ “เครื่องเบญจรงค์”

เครื่องเบญจรงค์หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาสีขาว น ามาเขียนลวดลายที่ผิว ผลิตภัณฑ์และลงสีจ านวน 5 สีคือ สีแดง เขียว เหลือง ด า และสีขาว ตามความหมายของชื่อ

“เบญจ” ที่แปลว่าห้า และ “รงค์” แปลว่าสี แม้บางหลักฐานกล่าวว่าเดิมนั้นเบญจรงค์มีเพียง 3 สี

เท่านั้น โดยเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตกรรมของไทย มีความเป็นเอกลักษณ์ที่มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์เชื่อว่า เครื่องเบญจรงค์ก าเนิดในประเทศจีน ประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 รัชสมัยพระเจ้าซวนเต๊อะ (พ.ศ. 1969–1978) สมัยราชวงศ์หมิง แคว้น กังไซ มณฑลเจียงซี (หรือคนไทยเรียก กังไส) และนิยมอย่างมากในสมัยพระเจ้าเฉิงฮั่ว (พ.ศ.

2008–2030)

มีการบันทึกไว้ว่าเครื่องเบญจรงค์ของประเทศไทยในระยะแรกตั้งแต่สมัยกรุงศรี- อยุธยายุคที่ 3 ประมาณรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2173–2198) ใช้การสั่งท าจาก ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย โดยให้ช่างชาวไทยเดินทางไปควบคุมการผลิต ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีรัชกาลที่ 2 มีพระต าหนัก อยู่ใกล้วัดจุฬามณี ต าบลบางช้าง อ าเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามในปัจจุบัน ที่เดิมชื่อว่า

“วัดเจ้าทิพย์” มีการค้นพบเครื่องเบญจรงค์ที่ช ารุดเสียหาย ท่านจึงส่งเสริมการท าเครื่องลายทอง รวมถึงเครื่องถ้วยลายทองที่ผูกลายต่าง ๆ เขียนลงบนถ้วยและใช้สีทองประกอบสีทั้งห้าของ เบญจรงค์แบบเดิม พร้อมเพิ่มสีต่างๆ เช่น สีชมพู ม่วง ฟ้า เป็นต้น

ความนิยมในเบญจรงค์และลายน้ าทองเริ่มลดลงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ที่เริ่มมีการ น าเข้าเครื่องถ้วยและเครื่องแก้วจากยุโรป จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือเป็นยุคสุดท้ายของ เบญจรงค์ เนื่องจากอารยธรรมตะวันตกเป็นที่นิยมมากกว่า (สุกัลย์ เจริญกุล, ม.ป.ป.) เครื่อง เบญจรงค์ในยุคสมัยนี้มีการผลิตในประเทศญี่ปุ่นและส่งมาขายในประเทศไทย แต่ไม่เป็นที่

แพร่หลายเพราะไม่ได้รับความนิยม จึงมีจ าหน่ายในช่วงเวลาสั้น และนักสะสมเครื่องเบญจรงค์

ในระยะนั้นเรียกว่า “เครื่องถ้วยเบญจรงค์ญี่ปุ่น”

จวบจนปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการผลิตเครื่องเบญจรงค์แตกต่างไปจากการผลิต ในสมัยก่อน โดยในสมัยโบราณจะผลิตใช้กันแต่ในชนชั้นสูง แต่ในปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ของ ไทยได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ การท าเครื่องเบญจรงค์จึงถือได้ว่าเป็นงาน ด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีการปรับปรุงและคิดค้นรูปแบบและ ลวดลาย ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ชามทรงบัว ภายในเคลือบขาว หรือเขียวน้ าทะเลไม่มี

ลวดลาย ปัจจุบัน เครื่องเบญจรงค์ได้กลับมาสู่ความนิยม มีการลงสีที่หลากหลายมากกว่าการใช้

5 สีในอดีต โดยส่วนมากที่เป็นที่นิยมทั่วไปจะมีการใช้สีทองเขียนลายเป็นหลักที่เรียกว่า “ลายน้ า ทอง” และมีการประยุกต์ลวดลายที่แตกต่างหลากหลายให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละโรงงาน ผู้ผลิต ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ใช้เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน เครื่อง

เบญจรงค์ถือเป็นของที่ระลึกและของขวัญที่มีความเป็นเอกลักษณ์สวยงาม หรูหรา และมีคุณค่า สูงส าหรับจะใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น ของขวัญวันแต่งงาน ของรางวัล ของก านัล เป็นต้น โดยการ เลือกสีเลือกลายนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ซึ่งแตกต่างจากความนิยมและความเชื่อในอดีต เช่น เครื่องเบญจรงค์ลวดลายเทพพนม นิยมใช้ในพิธีบูชาเทวดา เรียกว่า เครื่องเบญจรงค์บายศรีปาก ชาม ซึ่งเป็นลักษณะชามเครื่องเบญจรงค์ที่ใช้รองบายศรี เป็นต้น

2.3.2 การผลิตเครื่องเบญจรงค์

กรรมวิธีการผลิต หรือการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ มีความส าคัญอย่าง ยิ่ง ผู้ผลิตต้องมีความช านาญ มีความรู้ความสามารถ เข้าใจในเทคนิคต่าง ๆ อย่าง เพียงพอ ในการผลิตเครื่องเบญจรงค์ แต่ละชนิด รวมไปถึงอุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วย ในการผลิต กระบวนการผลิตจนได้เครื่องเบญจรงค์มีสองขั้นตอนหลักคือการผลิตเซรามิคของ ขาว หรือเครื่องขาว และกระบวนการเขียนลายเครื่องเบญจรงค์

เครื่องขาว หรือของขาว ที่น ามาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์ เครื่องขาว หรือของ ขาว จะเป็นภาชนะรูปทรงต่าง ๆ มีสี ขาว อาทิเช่น โถประดับ จาน ชาม แก้วน้ า หม้อข้าว ขัน ข้าว แจกัน ชุดน้ าชา และกาแฟ เป็นต้น ลักษณะการเคลือบของของขาวนั้นมี 2 ลักษณะคือ เคลือบเงาและเคลือบด้าน ซึ่งเมื่อน ามาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์แล้วจะให้ความสวยงามที่

แตกต่างกันไป เครื่องขาวหรือของขาวนี้ สามารถซื้อได้จากโรงงานในอ าเภอกระทุ่ม แบน จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี ราคารับซื้อขึ้นอยู่กับแบบและขนาดของเครื่องขาวที่ใช้

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องขาวเพื่อท าเครื่องเบญจรงค์มีความส าคัญอย่างยิ่ง ต่อการผลิต ในการตอบสนองให้งานที่ผลิตขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และ เป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิต รวมทั้งมีประสิทธิภาพสูง ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่อง ของวัตถุดิบที่น ามาใช้งานก่อให้เกิดการพัฒนากรรมวิธีการผลิต การออกแบบ และการสร้าง ผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นได้ วัตถุดิบที่น ามาใช้ท าเครื่องเบญจรงค์จะประกอบด้วยวัตถุดิบที่มีความ เหนียว วัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว และวัตถุดิบอื่น ๆ มีดังนี้ (ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ (องค์การมหาชน), 2551)

1) วัตถุดิบที่มีความเหนียว วัตถุดิบประเภทนี้ได้แก่ดิน ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมี

คุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ที่เหมาะแก่การน ามาผลิตเครื่องปั้นและเครื่องเบญจรงค์ ได้แก่ ดิน เกาลิน (Kaolin หรือ China Clay) ดินเหนียว (Ball clay) ดินขาวเหนียว (Plastic clay) ดิน

แดง (Red clay หรือ Surface clay) ดินสีเทาหรือดินสโตนแวร์ (Stoneware clay) และดินทน ไฟ (Fire clay)

2) วัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว เป็นวัตถุที่น ามาใช้ผสมลงไปในเนื้อดินที่น ามาปั้น ผลิตภัณฑ์ หรือใช้เป็นส่วนผสมของน้ าเคลือบ ซึ่งได้แก่ หินประเภทต่าง ๆ หินที่น ามาใช้งาน ดังกล่าว ได้แก่ หินฟันม้า (Feldspar) หินเขี้ยวหนุมาน (Quartz) และหินไฟโรฟิลไลท์

(Pyrophylite)

3) วัตถุดิบอื่น ในการท าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้น ยังได้ใช้วัตถุดิบอื่นผสมลงในเนื้อดิน ปั้นหรือน้ าเคลือบ เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ใช้งานของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด วัตถุดิบดังกล่าว ได้แก่ เถ้ากระดูก (Bone Ash) ทัลค์ (Talc) เซอร์คอน (Zircon) และสารประกอบอะลูมินา (Alumina)

หลังจากมีเครื่องขาวแล้ว จะเริ่มเขียนลายบนภาชนะสีขาวโดยเริ่มจากการเขียน วนทองเพื่อเป็นเส้นน าลาย ส่วนในลวดลายที่มีรายละเอียดสูง เช่นลายประเพณีไทยหรือลวดลาย ที่เป็นเรื่องราวในวรรณคดี ต้องมีการลอกลายหรือร่างเส้นบนพื้นผิว ของขาวก่อนจะลงลายน้ า ทองหรือ ตัดเส้นหลักก่อน แล้วเริ่มเขียนลายตามต้องการด้วยน้ าทอง ทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งดี

แล้วจะน ามาลงสีตามลายที่เขียนทองไว้จนครบ การลงสีต้องไม่หนาจนเกินไป เพราะจะท าให้สี

หลุดง่ายและต้องไม่บางจนเกินไป เพราะจะท าให้สีจางได้ง่ายอความเร็วในการท างาน การลงสีนี้

อาจจ าเป็นต้องใช้ช่างฝีมือหลายคน หากชิ้นงานมีรายละเอียดมาก ต้องมีการจัดแบ่งส่วนในการ ลงสีกัน ต่อมาจะท าการเก็บรายละเอียดต่าง ๆ และวนทองตามส่วนต่าง ๆ อีกครั้ง เช่น หูแก้ว ขอบโถ เป็นต้น

ในบางกลุ่มผู้ผลิต อาจมีเทคนิคพิเศษ ด้วยการลงสีพื้น ก่อน การตัดเส้นหลักและ ลงสีลาย ท าให้ได้ชิ้นงาน ที่มีความสวยงามแปลกออกไป ส่วนผสมบางอย่างนี้ อาจเป็นส่วนผสม เฉพาะตัวของกลุ่มผู้ผลิตบางกลุ่มเท่านั้น จากนั้นน าเข้าเตาเผา โดยเผาในอุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเผาประมาณ 4 -5 ชั่วโมง เมื่อเตาเย็นจึงน าเครื่องเบญจรงค์ออกมา และ วางรอไว้จนอุณหภูมิเย็นลงในอุณหภูมิปกติ ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิในการเผาก็มีความส าคัญ เช่นกัน เพราะสีบางสี ที่ใช้ในการเขียนลายอาจซีดหรือจางลง หรืออาจมีการผิดเพี้ยนไปได้ หาก ควบคุมอุณหภูมิได้ไม่คงที่ เช่นมากหรือสูงเกินไป (ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน), 2551)