• Tidak ada hasil yang ditemukan

พลังใจ : ประวัติ ความหาย องค์ประกอบ การวัด และ พลังใจในสตรีผู้ถูกกระท าความรุนแรง

2. การพิทักษ์สิทธิตนเอง : ประวัติ ความหาย องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ของการพิทักษ์

สิทธิตนเองและการก าหนดตนเอง การวัด และ การพิทักษ์สิทธิตนเองในสตรีผู้ถูกกระท าความ รุนแรงในครอบครัว

3. ทฤษฎีการการบ าบัดความคิดและพฤติกรรม ทฤษฎีการบ าบัดแบบสตรีนิยม และ การ บ าบัดทางจิตวิทยาแบบกลุ่มบูรณาการ

4. การช่วยเหลือสตรีผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัวด้วยการรักษาตามแนวทาง มาตรฐาน (TAU) ของศูนย์ศูนย์ช่วยเหลือสังคม

5. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัย 6. สมมติฐานการวิจัย

1. พลังใจ : ประวัติ ความหาย องค์ประกอบ การวัด และ พลังใจในสตรีผู้ถูกกระท าความ รุนแรงในครอบครัว

ในเบื้องต้นผู้วิจัยน าเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับพื้นฐานของพลังใจโดยทั่วไป ก่อนเพื่อที่จะท าความเข้าใจพลังใจของสตรีที่ถูกกระท าด้วยความรุนแรงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่ง ประกอบด้วยประเด็นต่อไปนี้ 1. ประวัติความเป็นมา 2. ความหมาย 3. องค์ประกอบ และวิธีการ วัดพลังใจ 4.พลังในในสตรีที่ถูกกระท าด้วยความรุนแรงในครอบครัว

ประวัติความเป็นมา

นักวิชาการในแวดวงจิตวิทยาได้ให้ความสนใจในการศึกษาตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลให้

เกิดการปรับตัวต่อความทุกข์ยากมาอย่างยาวนาน โดย “พลังใจ (Resilience)” เป็นปัจจัยหนึ่งที่

ได้รับความสนใจและถูกศึกษาอย่างกว้างขว้าง (Masten, Best, & Garmezy, 1990) การศึกษา พลังใจที่เป็นวรรณกรรมเชิงประจักษ์แรกเป็นการศึกษาของกาเมซซี่ (Garmezy, 1970) ที่ศึกษา เกี่ยวกับการปรับตัวของเด็กในครอบครัวที่มีพ่อแม่ป่วยเป็นโรคจิตเภท ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า

เด็ก ร้อยละ 90 สามารถปรับตัวและด าเนินชีวิตได้อย่างปกติ มีเด็กเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ไม่

สามารถปรับตัวมีปัญหาทางสุขภาพจิต ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จ านวนมากสามารถปรับตัวแม้จะอยู่ในสถานะที่มีความเสี่ยงสูง การศึกษานี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้

นักวิชาการพยายามศึกษาท าความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างในการปรับตัวหรือฟื้นคืน ของแต่ละบุคคลต่อการเผชิญกับความทุกข์ยาก โดยเฉพาะในบริบทของเด็กที่เติบโตภายใต้

สิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยง เช่น เด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยผู้ปกครองป่วยเป็นโรคทางจิตเวช (Masten &

Coatsworth, 1998; Masten et al., 1995) ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เอื้ออ านวย (Garmezy, 1991; Rutter, 1979; Werner & Smith, 1992) มีประวัติถูกทารุณกรรม (Beeghly &

Cicchetti, 1994; Cicchetti & Rogosch, 1997; Cicchetti, Rogosch, Lynch, & Holt, 1993;

Moran & Eckenrode, 1992) การอาศัยในชุมชนที่แออัดและใช้ความรุนแรง (Luthar, 1999;

Richters & Martinez, 1993) ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง (Wells & Schwebel, 1987) มีประวัติเผชิญกับ ภัยรุนแรง (O'Dougherty-Wright et al., 1997)

ในการศึกษาพลังใจในช่วงแรกนักวิชาการเน้นศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็ก และเน้น ศึกษาไปที่คุณสมบัติส่วนบุคคล เช่น ความเป็นตัวของตัวเองและการเห็นคุณค่าในตนเองต่อมา นักวิชาการยอมรับมากขึ้นว่าพลังใจอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก นักวิชาการจึงเริ่มศึกษาพลังใจ ในแง่มุม 1) คุณลักษณะของตัวบุคคล 2) องค์ประกอบด้านครอบครัว และ 3) ลักษณะสังคม สิ่งแวดล้อมของบุคคล นอกจากนี้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานักวิชาการได้เปลี่ยนจุดสนใจจากเดิมที่

เน้นศึกษาหาปัจจัยปกป้องที่ท าให้เด็กและเยาวชนเกิดพลังใจไปเน้นศึกษาว่าเด็กและเยาวชนที่มี

พลังใจที่ดีมีกลไกเสริมสร้างปัจจัยพลังใจได้อย่างไร (Cowen et al., 1997; Luthar, 1999) ซึ่ง นักวิชาการคาดหวังว่าการศึกษากลไกดังกล่าวจะน าไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ในการเสริมสร้าง ปัจจัยปกป้องให้แก่เด็กและเยาวชนที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากต่อไป (Luthar, 1993; Masten et al., 1990; Toth, Manly, & Cicchetti, 1992)

ต่อมานักวิชาการได้เริ่มศึกษาพลังใจในกลุ่มตัวอย่างอื่น ๆที่ไม่ใช่เด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการศึกษาพลังใจในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ยังมีไม่มากนัก โดย นักวิชาการจ านวนหนึ่งที่ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างพลังใจในกลุ่มตัวอย่างเด็ก และเยาวชนกับผู้ใหญ่ไว้ อาทิ แม็คคับบิ้น (McCubbin & Delucchi, 1999) ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ลักษณะพลังใจของผู้ใหญ่บางประการจะมีลักษณะเดียวกับพลังใจของเด็ก เลสเตอร์และคณะ (Lester, Masten, & McEwen, 2006) ที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการศึกษาพลังใจในกลุ่ม ตัวอย่างเด็กและเยาวชน กับ ผู้ใหญ่ ว่าในกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนนักวิชาการมักศึกษาใน

16 แง่มุมของพฤติกรรมที่เยาวชนสามารถเดินตามความต้องการของสังคมได้ ส่วนในการศึกษาของ ผู้ใหญ่มักศึกษาในแง่มุมของ ความผาสุกทางจิตใจ ในปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับพลังใจยังคงมี

ช่องว่างให้ศึกษาต่ออีกมากมาย อาทิ 1) ประเด็นของการให้นิยามพลังใจซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีความ คลุมเครือ 2) รูปแบบการท างานระหว่างโดเมนและประสบการณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ปรากฏให้

เห็นในกลุ่มเด็กที่ปรับตัวได้ 3) ความไม่คงที่ในประสบการณ์ด้านพลังใจ และ 4) ความส าคัญทาง ทฤษฎีที่กล่าวถึงประโยชน์ของพลังใจในเชิงที่พิสูจน์ได้

ความหมาย

ในปัจจุบันการให้นิยามของพลังใจ (Resilience) จะมีความแตกต่างไปตามทฤษฎีที่ใช้

นิยามพลังใจ นักวิชาการส่วนใหญ่ได้นิยามพลังใจว่าเป็นความสามารถในการโค้งงอแต่ไม่แตกหัก (Bent without breaking) สามารถฟื้นคืน และ อาจเติบโตภายใต้ประสบการณ์ชีวิตที่ไม่พึง ประสงค์ สมาคมนักจิตวิทยา อเมริกัน (Association, 2014) ระบุไว้ว่า พลังใจ คือ กระบวนการ และผลลัพธ์ของการปรับตัว เมื่อเผชิญกับโศกนาฏกรรม การบาดเจ็บ อุปสรรค ความยากล าบาก และ ความเครียดจากเหตุการณไม่พึงประสงค์ในชีวิต (กระทรวงสาธารณะสุข, 2552) อธิบายว่า พลังใจว่าคือความสามารถทางอารมณ์ และจิตใจที่ช่วยให้เกิดการปรับตัวและฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ

ภายหลังที่พบกับเหตุการณ์วิกฤตหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากล าบากในชีวิตยังมี แม้จะ มีการศึกษาเกี่ยวกับพลังใจมาช้านานและมากมายแต่ในปัจจุบันการให้นิยามพลังใจก็ยังคลุมเครือ และยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน โดยการให้ค านิยามพลังใจของนักวิชาการส่วนใหญ่ไม่ครอบคลุมและ ไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของพลังใจ (Southwick, Douglas-Palumberi,

& Pietrzak, 2014) การเกิดพลังใจมีความเกี่ยวเนื่องกันของปัจจัยทางชีวภาพ จิตสังคม และ วัฒนธรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อก าหนดวิธีการตอบสนองต่อประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ อย่างไร ก็ตามนักวิชาการมักให้ค านิยามของพลังใจในขอบเขตดังต่อไปนี้

1. พลังใจในนิยามที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะ (Trait) กล่าวคือเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่

เป็นปัจจัยปกป้อง ท าให้บุคคลสามารถปรับตัวต่อสภาวะที่เป็นอุปสรรคหรือความเสี่ยงในชีวิต โดย คุณลักษณะดังกล่าวมิใช่แค่เพียงลักษณะเฉพาะของบุคคลแต่ยังรวมไปถึง คุณลักษณะครอบครัว และชุมชน ตัวอย่างพลังใจในขอบเขตนิยามที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะ เช่น เทอร์เนอร์ (Turner, 2001) ระบุว่า พลังใจว่าเป็นความสามารถของบุคคลในเผชิญปัญหาต่างๆ ในชีวิต Greene and Conrad (2002) ให้ความหมายของพลังใจว่าเป็นความสามารถของบุคคลในการจัดการกับ สถานการณ์วิกฤตและน าไปสู่การปรับตัวที่มีประสิทธิภาพรัตเตอร์ (Rutter, 1987) ให้นิยามพลังใจ ว่าเป็นคุณลักษณะเฉพาะหรือปัจจัยปกป้องที่ หน้าที่ปกป้องภาวะจิตใจของบุคคล ทูเซและคณะ

(Tusaie, Puskar, & Sereika, 2007) ให้นิยามใจเป็นลักษณะเฉพาะที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัย เสี่ยงและปัจจัยปกป้องของบุคคล ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างคุณลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพลังใจ บางส่วนแสดงในตารางที่ 1

ตาราง 1แสดงตัวอย่างคุณลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพลังใจ

คุณลักษณะเฉพาะของบุคคล คุณลักษณะเฉพาะ

ของครอบครัว

คุณลักษณะเฉพาะของ ชุมชน

Rutter (1985)

-การเชื่อมั่นในตนเองและการ รับรู้ประสิทธิภาพแห่งตน Wyman et al. (1993) -การมองโลกในแง่บวก Werner (1995)

-ทักษะการแก้ปัญหา

Luthar and Suchman (2000) -บุคลิกลักษณะของบุคคล -ความสามารถควบคุมตนเอง Buckner, Mezzacappa, and Beardslee (2003)

-การเห็นคุณค่าในตนเอง

Smokowski, Reynolds, and Bezruczko (1999)

-การเลี้ยงดูที่ให้อิสระของมารดา Luthar and Suchman (2000) -การดูแลและสนับสนุนจาก ครอบครัว

-ความหวังและก าลังใจจาก ครอบครัว

-กฎระเบียบในครอบครัวที่

เหมาะสม

-ศรัทธาต่อศาสนาของครอบครัว -ครอบครัวสามารถเข้าถึง เครือข่ายสนับสนุนทางสังคม Alvord and Grados (2005) -ความรักความผูกพันและทักษะ การเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่

Werner (1995) -การมีเพื่อนที่ดี

-การมีผู้ให้ค าปรึกษาที่ดี

Luthar; & Suchman (2000)

-ความสามารถเข้าถึงการ บริการด้านต่าง ๆ ในชุมชน -การมีเครือข่ายในชุมชน -การมีส่วนร่วมในชุมชน -การมีความผูกพันกับ ชุมชน

-ความผูกพันของสมาชิก ในชุมชน Alvord & Grados (2005)

-ความสามารถในการ เข้าถึงบริการสุขภาพ -การมีกิจกรรม นันทนาการ -การมีที่พักอาศัยที่

ปลอดภัย

18 2. พลังใจในนิยามที่เป็นกระบวนการ (Process) หรือ พลวัต (Dynamic) ในช่วง 40 ปีที่

ผ่านมานักวิชาการได้เปลี่ยนจุดสนใจมาศึกษาพลังใจในความหมายที่เป็นกระบวนการ หรือ พลวัต จากเดิมที่เน้นศึกษาพลังใจในความหมายที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะ การให้นิยามพลังใจเป็น กระบวนการ หรือ พลวัต มักจะพบในการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นศึกษาเป็นรายบุคคลท าให้

นักวิชาการบางท่านเรียกการให้นิยามในขอบเขตนี้ว่าพลังใจแบบเน้นตัวบุคคล (Person focus) ซึ่งพลังใจในลักษณะของการเกิดเป็นกระบวนการ หรือพลวัต หมายถึง กระบวนการการปรับตัว ของบุคคลที่มีประสิทธิภาพน าไปสู่ความสามารถในการเผชิญความยากล าบากในชีวิตและ ความสามารถในการฟื้นคืนจากวิกฤติของชีวิต ตัวอย่างพลังใจในขอบเขตนิยามที่เป็นกระบวนกา เช่น นอร์แมน และ สเตรเนอร์ (Norman & Streiner, 2008) ให้นิยามพลังใจว่า เป็นกระบวนการ ปรับตัวและจัดการกับภาวะทางจิตใจเพื่อที่จะสามารถเผชิญกับภาวะคุกคามและฟื้นตัวได้ใน ท้ายที่สุด ลูทา และคณะ (Luthar & Suchman, 2000) ให้นิยามพลังใจว่าเป็นกระบวนการที่เป็น พลวัตการปรับตัวในทิศทางบวกของบุคคลภายหลังจากการเผชิญภาวะวิกฤต ไดเยอร์ และ เมดก รินเนส (Dyer & McGuinness, 1996) กล่าวไว้ว่าพลังใจเป็นกระบวนการที่บุคคลพื้นตัวจาก ประสบการณ์ชีวิตที่เลวร้าย

3. พลังใจในนิยามที่เป็นผลลัพธ์ (Outcome) หมายถึงการที่บุคคลประสบความส าเร็จใน การเผชิญวิกฤติ กล่าวคือสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือสามารถฟื้นคืนหลังจากผ่าน ภาวะวิกฤติชีวิตเช่น โบนานโนและคนอื่น ๆ (Bonanno, Galea, Bucciarelli, & Vlahov, 2007) ได้

ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยท านายพลังใจของผู้ที่พักอาศัยในเมืองนิวยอร์กหลังเกิดเหตุการณ์

โศกนาฏกรรม 9/11 โดยได้ให้นิยามเชิงปฏิบัติการของพลังใจไว้ว่าเป็นภาวะที่บุคคลปราศจาก อาการวิตกกังวลอย่างรุนแรงภายหลังเผชิญภัยพิบัติ (Post-traumatic stress disorder) นภชนก สุขประเสริฐ (2553) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ประสบการณ์ภัยพิบัติสึนามิและการฟื้นพลังของเยาวชนที่

ได้รับผลกระทบภัยพิบัติสึนามิ พ.ศ. 2547 โดยได้นิยามกลุ่มตัวอย่างที่มีพลังใจสูงว่า เป็นผู้ที่

ประสบการณ์ ภัยพิบัติสึนามิสูงและมีความสามารถในการฟื้นพลังสูง ขวัญธิดา พิมพการ and (2561) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการให้ค าปรึกษารายบุคคลแบบบูรณาการเพื่อเสริมร้างความ เข้มแข็งทางใจของสตรีที่มีการสูญเสียสามีในสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้โดยได้

นิยามกลุ่มตัวอย่างที่มีพลังใจสูงว่าเป็นผู้ที่ศูนย์เสียสามีจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัด ชายแดนใต้ที่ลดภาวะวิกฤติทางด้านจิตใจแล้ว นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ (2559) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พลังสุขภาพจิตในผู้ติดยาเสพติดหญิง โดยได้นิยามกลุ่มตัวอย่างที่มีพลังใจสูงว่าเป็นผู้ติดยาเสพ ติดหญิงที่มีสุขภาพจิตดี