• Tidak ada hasil yang ditemukan

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

2.7 ประสิทธิผล (Effectiveness)

จินดาลักษณ์ วัฒนประสิทธิ์ (2529) กล่าวว่า ประสิทธิผลคือการพิจารณาว่าผลงานของ นโยบายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงไร ประสิทธิผลเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้หลักเหตุผลทาง เทคนิควิชาการ (Technical Rationality) นิศา ชูโต (2531) รายงานว่าประสิทธิผลเป็นกิจกรรมการเก็บ รวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ความหมายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความต้องการหาแนวทางวิธีการปรับปรุง วิธีการจัดการและหาเหตุผลที่แน่ใจว่า เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของโครงการให้ดี

ยิ่งขึ้น สมพงษ์ เกษมสิน (2514) กล่าวว่า ประสิทธิผล หมายถึงการพิจารณาผลของการท างานที่ส าเร็จ ลุล่วงดังประสงค์หรือที่คาดหวังไว้เป็นหลัก และความส าเร็จของงานอย่างมีประสิทธิผลนั้น อาจเกิด จากการปฏิบัติงานที่ประหยัดหรือมีประสิทธิภาพก็ได้เพราะประสิทธิภาพเป็นเรื่องของการท างานให้

ได้ผลสูงสุด ส่วนประสิทธิผลเป็นเรื่องของการน าเอาผลงานที่ส าเร็จดังที่คาดไว้มาพิจารณา

34 กล่าวโดยสรุป ประสิทธิผล หมายถึง ผลงาน (Outputs) หรือผลลัพธ์สุดท้าย (Ultimate outcomes)ที่แสดงถึงระดับความส าเร็จที่พึงประสงค์

2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการ รักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน พบว่ามีผู้ที่ท าการศึกษาดังนี้

นิตยา (2548) ได้ท าการศึกษาประสิทธิผลของการนวดแผนไทยประยุกต์(อายุรเวท) ต่อ อาการปวดต้นคอของผู้มารับบริการในคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตธัญบุรี อ าเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ที่มีอาการปวดต้นคอที่มารับ บริการนวดต้นคอโดยวิธีการนวดไทยแบบราชส านัก (อายุรเวท) ในคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตธัญบุรี อ าเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี แบบบังเอิญจ านวน 30 คน เปรียบเทียบผลที่ได้ก่อนและหลังนวด รวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์และการตรวจ วัดองศาของคอ และวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ โดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่า เฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า Pair-Simple T-test ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความปวดต้นคอ หลังได้รับการนวดลดลงกว่าก่อนนวด อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P<.001) 2. ระดับความอ่อนแอของ ต้นคอหลังได้รับการนวดดีขึ้นกว่าก่อนนวด อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P<.001) แต่เงยหน้ามองเพดาน ได้ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ

กรุงไกร และ ประเสริฐศักดิ์ (2534) ได้ท าการศึกษาถึงผลของการนวดแบบเดิมของไทย กับ อาสาสมัคร บริเวณก้านคอและไหล่ ต่ออัตราชีพจรและความดันโลหิต รวมทั้งอาการบางอย่าง พบว่า อัตราชีพจรและความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ อาการเกี่ยวกับศีรษะ คือ อาการมึน เวียนศีรษะและปวดศีรษะทุเลาหรือหายไป อาการเกี่ยวกับต้นคอคือ อาการตึง หนักที่ต้น คอ และอาการปวดคอ ทุเลาหรือหายไป อาการเกี่ยวกับไหล่คือ อาการตึงหนัก เมื่อยที่ไหล่ ทุเลาหรือ หายไป การเคลื่อนไหวของคอ ผู้ป่วยทุกคนสามารถก้มเงย เอียงศีรษะไปทางซ้ายและทางขวาได้ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นอาสาสมัครทุกคนสบายขึ้นมากบ้าง น้อยบ้าง เกี่ยวกับอาการทางสมอง ศีรษะ ตา หัวใจ การหายใจและความตึงเครียด รู้สึกสมองปลอดโปร่ง ศีรษะเบา ตาสว่าง หายใจ คล่องขึ้น ใจ ไม่เพลีย เบาบริเวณไหล่ และต้นคอ ส่วนมากมีความรู้สึกผ่อนคลายจากความตึงเครียด มีบางคนรายงานว่า หลับสนิทดีขึ้น ในวันที่ได้รับการนวด ทุกคนรู้สึกพอใจ

บุญเรือง และ ประจวบ (2539) ได้ท าการศึกษาวิจัยการอบสมุนไพร ผลการศึกษาตั้งแต่

มกราคม พ.ศ. 2537 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2537 พบว่า ในขณะที่อบไอน ้าอัตราชีพจรเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก เดิม 20 ครั้ง / นาที อัตราการหายใจเพิ่มขึ้นจากปกติ 6 ครั้ง / นาที ความดันเลือดลดลง ทั้งค่า Systolic และ Diastolic อย่างละ 10 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งไม่ท าให้เกิดอันตราย หลังจากเสร็จสิ้นการ อบไอน ้าแล้ว อัตราชีพจร อัตราการหายใจ และความดันเลือดจะกลับสู่ปกติภายในเวลา 20 นาทีในผู้

35 ที่มารับบริการอบไอน ้าสมุนไพร พบว่า อบไอน ้าเพื่อสุขภาพและคลายเครียดคิดเป็นร้อยละ 80 เพื่อ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง และปวดเข่าคิดเป็นร้อยละ 10 เพื่อลดน ้าหนักคิดเป็นร้อยละ 5 เพื่อให้

ผิวสวยคิดเป็นร้อยละ 3 และเพื่อบรรเทาอาการเป็นหวัดคัดจมูกคิดเป็นร้อยละ 2 กล่าวโดยสรุป “การอบ ไอน ้าสมุนไพร” เป็นกรรมวิธีบ าบัดโรคของแพทย์แผนไทยที่ปลอดภัยและควรที่จะได้รับการพัฒนา ต่อไป

กุสุมา (2543) ได้ท าการศึกษารูปแบบที่พึงประสงค์ในการให้บริการนวด อบ ประคบ สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ : กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชด าริ จังหวัดฉะเชิงเทรา การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม ตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรูปแบบที่พึงประสงค์ในการให้บริการนวด อบ ประคบ สมุนไพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพ

ปิยาภรณ์ (2546) ได้ท าการศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการนวดไทยในคลินิก แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลพล อ าเภอพล จังหวัดขอนแก่น พบว่า ผู้มารับบริการส่วนมาก มีอาการ ปวดเรื้อรัง จะพบผู้มารับบริการที่มีอาการปวดหลังและปวดต้นคอมากที่สุด จ านวน 34 ราย คิดเป็น ร้อยละ 68 ผลการศึกษาครั้งนี้ในภาพรวมผู้มารับบริการมีระดับความพึงพอใจในด้านความสะดวกใน การใช้บริการมีระดับมากที่สุด เฉลี่ยคนไข้เก่า 4.45 คนไข้ใหม่ 4.68 ความพึงพอใจด้านอาคารสถานที่

มีระดับมากที่สุด เฉลี่ยคนไข้เก่า 4.48 คนไข้ใหม่ 4.59 ความพึงพอใจพฤติกรรมของผู้ให้บริการ ระดับมากที่สุด คนไข้เก่า 4.64 คนไข้ใหม่ 4.50 ความพึงพอใจด้านคุณภาพการบริการมีระดับมาก ที่สุด คนไข้เก่า 4.72 คนไข้ใหม่ 4.61 จากผลการศึกษาส่วนใหญ่ผู้มารับบริการมีความเห็นว่าค่าบริการ เหมาะสมดีแล้ว

กลุ่มงานวิจัยทางคลินิกด้านการแพทย์แผนไทย และสมุนไพร (2546) ได้ศึกษาประสิทธิผล และความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านการนวด ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2546 จ านวน 60 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลของการนวดโดยเปรียบเทียบก่อนและ หลังนวด ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากการนวดสายราชส านัก มักจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า น้อยกว่าก่อนได้รับการรักษาในแต่ละช่วงเวลา อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ความคิดเห็นของผู้ป่วย เกี่ยวกับการนวดสายราชส านัก พบว่าความรู้ต่อการนวดสายราชส านักและทัศนคติต่อการนวดสาย ราชส านักส่วนใหญ่อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ความพึงพอใจเกี่ยวกับการรักษาของผู้มารับบริการใน ด้านคุณภาพบริการ ด้านอัธยาศัยของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสารด้านสถานที่

อุปกรณ์เครื่องมือ และด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยวิธีการนวด ส่วนมากจะมีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมากที่สุดและมาก

36

ผลการนวดราช ส านักในการรักษากลุ่ม อาการปวดกล้ามเนื้อหลัง ส่วนบน

กรอบแนวความคิดในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม การนวดแบบราชส านัก

- การนวดรักษา - การประคบสมุนไพร

ตัวแปรอธิบาย

ปัจจัยทางชีวสังคม