• Tidak ada hasil yang ditemukan

ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสานักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสานักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"

Copied!
82
0
0

Teks penuh

(1)

รายงานวิจัย เรื่อง

ประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง ส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Effectiveness of Thai Royal massage in Myofascial Pain Syndrome ’s Patients in Professional Experience Center

Applied Thai Medicine

โดย

นางสาวพีรดา จันทร์วิบูลย์

นางสาวศุภะลักษณ์ ฟักค า

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปีงบประมาณ 2553

(2)

รายงานวิจัย เรื่อง

ประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Effectiveness of Thai Royal massage in Myofascial Pain Syndrome ’s Patients in Professional Experience Center

Applied Thai Medicine

โดย

นางสาวพีรดา จันทร์วิบูลย์

นางสาวศุภะลักษณ์ ฟักค า

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปีงบประมาณ 2553

(3)

บทคัดย่อ

ชื่อรายงานการวิจัย : ประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ชื่อผู้วิจัย : นางสาวพีรดา จันทร์วิบูลย์, นางสาวศุภะลักษณ์ ฟักค า ปีที่ท าการวิจัย : 2552

……….

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) one-group pre-post test มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่ม อาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่มารับการรักษาพยาบาลที่ศูนย์

วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง ส่วนบน และไม่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการอื่น วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) มีจ านวนทั้งสิ้น 30 คน เปรียบเทียบผลก่อนและหลังนวด เก็บข้อมูลโดยใช้

แบบสัมภาษณ์และการตรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า Paired – Samples T – Test ผลการวิจัย พบว่า ระดับความปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้รับการรักษา ภายหลังจากการนวดแบบราชส านักเพื่อ รักษา ระดับความปวดลดลงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ( P–value <0.001)

(4)

ABSTRACT

Research Title : Effectiveness of Thai Royal massage in Myofascial Pain Syndrome ’s Patients in Professional Experience Center Applied Thai Medicine Author : Peerada Junwibool, Supalak Fakkham

Year : 2009

……….

This study is an Quasi – Experimental Research one-group pre-post test. The main aim of this study are Effectiveness of Thai Royal massage in Myofascial Pain Syndrome ’s Patients in Professional Experience Center Applied Thai Medicine The sample consists of 30 Thai Royal massage in Myofascial Pain Syndrome ’s Patients in Professional Experience Center Applied Thai Medicine. Data collection by interview and measuring flexibility of Myofascial Pain Syndrome ’s before and after receiving Thai Royal massage. Data was analyzed by descriptive statistics and Paired – Samples T – Test. The result indicated that : The level of Myofascial Pain Syndrome ’s after massage was significantly lower than before massage (P–value <0.001), respectively.

(5)

กิตติกรรมประกาศ

รายงานการวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวด กล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทาได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2553 ซึ่งการ ด าเนินงานวิจัยครั้งนี้ส าเร็จลุล่วงได้ด้วยความช่วยเหลือจากท่านอธิการบดี และผู้บริหารคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณาจารย์ประจ าสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้อ านวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ค าแนะน าและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการด าเนินการ วิจัย ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ขอขอบพระคุณ ศ. นพ. อดุลย์ วิริยะเวชกุลและ ศ.เกียรติคุณ นพ.ทรงฉัตร โตษยานนท์

ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้กรุณาตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัยพร้อมให้ค าแนะน าอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใน การสร้างเครื่องมือและการท าวิจัยในครั้งนี้ให้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ขอขอบพระคุณผู้มารับบริการที่ศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทาทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเก็บข้อมูลวิจัย และขอขอบพระคุณคณาจารย์

แพทย์แผนไทยประยุกต์ผู้ให้บริการและช่วยในการเก็บข้อมูลท าให้งานวิจัยด าเนินไปด้วยดี

คุณค่าและประโยชน์ของงานวิจัยฉบับนี้ ขอมอบแด่บิดา มารดา และครูบาอาจารย์ทุกท่านที่

ได้อบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่ผู้วิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ผู้วิจัย

ธันวาคม 2553

(6)

สารบัญ

บทที่ หน้า

1 บทน า ...………...……… 1

ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา …………... 1

ค าถามการวิจัย ... 3

วัตถุประสงค์ ...………..……….. 3

สมมติฐานการวิจัย... 3

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ... 3

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย ...……… 4

2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ...………. 5

แนวคิดทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทย ...………. 5

แนวคิดทฤษฎีการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ... 7

แนวคิดทฤษฎีการนวด ...……….……….. 8

การวินิจฉัยทางด้านการแพทย์แผนไทย ...……………… 14

โรคที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ……….. 17

การประเมินอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ……… 27

ประสิทธิผล ……….. 33

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………. 34

กรอบแนวคิดในการวิจัย ………. 36

3 วิธีด าเนินการวิจัย ...……… 37

รูปแบบการวิจัย ……….………. 37

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ……….……….……… 37

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ...……….……… 38

ขั้นตอนการด าเนินงานวิจัยและการรวบรวมข้อมูล……….…… 39

การวิเคราะห์ข้อมูล .……….……….. 40

(7)

บทที่ หน้า

4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ...………. 41

ผลการวิจัย …………...………. 41

ลักษณะทางชีวสังคมของผู้มารับบริการ………... 41

ข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ……… 43

การประเมินลักษณะกระดูกต้นคอ, ลักษณะการเคลื่อนไหวและการรับรู้ ความรุนแรงของความปวดก่อนท าการทดลอง……… 44 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้รับบริการรักษาโดยวิธีการ นวดรักษา ตั้งแต่ไม่รู้สึกปวดจนกระทั่งมีความรู้สึกปวดรุนแรงมากที่สุด… 46 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ ...……...……… 55

สรุปผลการวิจัย ...………. 56

ข้อเสนอแนะในการท าวิจัยครั้งต่อไป ...………. 58

บรรณานุกรม ...……… 60

ภาคผนวก ...………..… 63

ประวัติย่อของผู้วิจัย ...……… 72

(8)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

1 แสดงความแตกต่างของการนวดแบบเชลยศักดิ์กับราชส านัก... 9 2 แสดงการสรุปน ้าหนักค าแนะน าในการวินิจฉัย chronic MPS ………. 20 3 แสดงการสรุปน ้าหนักค าแนะน าในการประเมินปัญหา chronic MPS ... 21

4 ลักษณะทางชีวสังคมของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ……….

42 5 ข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพ

แพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา...

44 6 การประเมินลักษณะกระดูกต้นคอ, ลักษณะการเคลื่อนไหวและการรับรู้ความ

รุนแรงของความปวดก่อนท าการทดลอง………..

45 7 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้มารับการรักษาก่อนท าการทดลอง

ด้วยวิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษาก้มหน้าคางชิดอก...

46 8 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้รับการรักษาก่อนท าการทดลอง

ด้วยวิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษาแหงนหน้ามองเพดาน………

47 9 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้รับการรักษาก่อนท าการทดลอง

ด้วยวิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษาเอียงคอไปข้างซ้ายให้หูชิดไหล่……

48 10 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้รับการรักษาก่อนท าการทดลอง

ด้วยวิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษา เอียงคอไปข้างขวาให้หูชิดไหล่……

49 11 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้มารับการรักษาหลังท าการทดลอง

ด้วยวิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษาก้มหน้าคางชิดอก...

50 12 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้รับการรักษาหลังท าการทดลองด้วย

วิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษาแหงนหน้ามองเพดาน………

51 13 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้รับการรักษาหลังท าการทดลองด้วย

วิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษาเอียงคอไปข้างซ้ายให้หูชิดไหล่……

52 14 การประเมินวัดความปวดตามความรู้สึกของผู้รับการรักษาหลังท าการทดลองด้วย

วิธีการนวดรักษา โดยให้ผู้รับการรักษา เอียงคอไปข้างขวาให้หูชิดไหล่……

53 15 การวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างก่อนได้รับการนวดรักษาอาการปวด

กล้ามเนื้อหลังส่วนบนและหลังได้รับการนวดรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง ส่วนบน………..

54

(9)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

1 ท่านั่งที่ได้สมดุลร่างกาย จากการปรับอุปกรณ์………. 25

2 ท่ายืนที่เหมาะสมจากการฝึกตนเอง……….. 25

3 กายวิภาคศาสตร์หลังส่วนบน……….. 26

4 แสดงสีหน้าบอกความรู้สึกปวด เฟเชียล สเกล (facial scales)……….. 29

5 แสดงการให้คะแนนความเจ็บปวด วิช่วล อนาล็อก สเกล (visual analogue scales : VAS)……… 29 6 แสดงการให้คะแนนความเจ็บปวดแบบวิช่วล เรตติ้ง สเกล (visual rating scales : VRS) ………..………. 29 7 แสดงความเจ็บปวดแบบบอดี้ไดอาแกรม (bodydiagrams)………... 30

8 แผนผังแสดง Gate control theory ……... 32

9 แสดง Gate control theory ………... 33

10 กรอบแนวคิดในการวิจัย……….……….. 36

(10)

1

บทที่ 1

บทน า

1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

ปัจจุบันสังคมไทยเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ สุขภาพของประชาชน ท าให้เกิดภาวะความเครียดในทุกกลุ่มอายุ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ซึ่งประชาชนโดยส่วนใหญ่พยายามแสวงหาทางเลือกใหม่ในการด าเนินชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตที่ดี แต่เมื่อมีการเจ็บป่วยประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกใช้การแพทย์แผน ปัจจุบันหรือแนวทางการรักษาแบบตะวันตกในการรักษา เพราะการแพทย์แผนปัจจุบันจะเน้นการ รักษาด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงซึ่งสามารถเห็นผลในการรักษาอย่างรวดเร็ว อาทิ การให้ยาปฏิชีวนะ การผ่าตัด หรือการฉายแสง เป็นต้น ส่งผลให้มีประชาชนเป็นส่วนน้อยที่เลือกใช้วิธีการดูแลรักษา สุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน นับว่าการแพทย์แผนไทยอยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคสมัย ในการ น ามาใช้ดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้นถือว่าการแพทย์แผนไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของ คนไทยที่มีค่ายิ่งควรแก่การด ารงรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังในการใช้ดูแลรักษาสุขภาพ โดยจะต้อง สามารถบูรณาการ การแพทย์แผนไทยให้เหมาะสมสอดคล้องกับการแพทย์ในยุคปัจจุบัน เพื่อใช้ใน การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อมุ่งให้เกิดความสมดุลทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยการผสมผสานการใช้ยาสมุนไพร การนวดไทย การประคบ การอบสมุนไพร อาหารสมุนไพร การใช้หลักธรรมมานามัย การท าสมาธิ การออกก าลังกาย ในการส่งเสริมสุขภาพตนเองและบุคคล ในครอบครัว (กระทรวงสาธารณสุข, 2539) โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิด การใช้ภูมิปัญญาในด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาสาธารณสุขและเป็นทางเลือก หนึ่งในการดูแลสุขภาพของประชาชน สอดคล้องกับนโยบายขององค์กรอนามัยโลกตั้งแต่แผนพัฒนา สาธารณสุขฉบับที่ 4 เป็นต้นมา ซึ่งภาครัฐได้ก าหนดเป็นแนวทางที่ชัดเจนขึ้นเป็นล าดับ โดยได้

จัดตั้งองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ได้แก่ “สถาบันการแพทย์แผนไทย” ในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530 – พ.ศ.2534 และการพัฒนาสุขภาพ อนามัย ได้มีนโยบายในการด าเนินงานให้ประชาชนทั้งในเขตเมือง และเขตชนบทได้เข้าถึงบริการ สาธารณสุขขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล เบื้องต้น ณ ภูมิล าเนาของตนเอง รวมทั้งผนึกวิธีการรักษาพยาบาลแบบการแพทย์พื้นบ้านกับระบบ การพยาบาล ในโครงการสาธารณสุขมูลฐานเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้

(11)

2 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2540 – พ.ศ.2544 ในส่วนของ นโยบายการพัฒนาสุขภาพและอนามัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพและการเข้าถึงบริการ สาธารณสุข มีการสนับสนุนการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้สามารถผสมผสานในระบบสุขภาพ โดยการพัฒนาองค์ความรู้และการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานของบุคลากรและสถานบริการการแพทย์แผนไทยเพื่อให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชน (ส านักนายกรัฐมนตรี, 2539) ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545 – พ.ศ.2549 นโยบายการปฏิรูประบบสุขภาพให้มีการพัฒนาการแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งให้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข (ส านักนายกรัฐมนตรี, 2544) การแพทย์แผนไทยได้มีการพัฒนามาจนถึง ปัจจุบันในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550 – พ.ศ.2554 มี

ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ แนวทางการ พัฒนาโดยการเสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่น่าอยู่ โดยมุ่งสร้างความมั่นคงด้านอาหารและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน โดยการพัฒนา การแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนไทย ที่มุ่งการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและ สร้างสรรค์มูลค่าทางเศรษฐกิจ จัดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการพัฒนา และพัฒนา บุคลากรที่สามารถผสมผสานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกับการแพทย์สมัยใหม่ได้

(ส านักนายกรัฐมนตรี, 2549)

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับความเครียด และเกี่ยวกับการ ท างานในชีวิตประจ าวัน การท างานที่ต้องนั่งนาน ๆ หรือ ยืนนาน ๆ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจ า และติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ดูแลสุขภาพของตนเอง ท าให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง ปวดกล้ามเนื้อบ่า ปวดกล้ามเนื้อขา ปวดข้อและกระดูก ฯลฯ ซึ่งแต่ละคนมีวิธีในการรักษาที่แตกต่าง กัน มีทั้งการรักษาทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน การรับประทานยา การผ่าตัด ฯ อีกทั้งการรักษา ทางด้านการแพทย์แผนไทย ที่มีการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร การนวดรักษา การใช้หลักธรรมมานามัย

ศูนย์วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานที่เปิดให้บริการ การตรวจรักษา การใช้ยาสมุนไพร การประคบ สมุนไพร การอบสมุนไพร การนวดรักษา ธรรมชาติบ าบัด รับปรึกษาปัญหาสุขภาพ ให้บริการด้าน การดูแลมารดาหลังคลอด และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของ นักศึกษาสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จากสถิติของผู้มารับบริการส่วนใหญ่ผู้มารับบริการมี

อาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อหลังส่วนบน เช่น อาการปวดบ่า ปวดต้นคอ ปวดสะบัก ปวดบริเวณ หัวไหล่ จากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับปัญหาด้านกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะ

(12)

3 ศึกษาประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของ ผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

1.2 ค าถามการวิจัย

1) ประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง ส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นอย่างไร

2) ระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ก่อนได้รับการรักษาด้วยการนวดแบบ ราชส านัก และหลังได้รับการรักษาด้วยการนวดแบบราชส านัก มีความแตกต่างกันหรือไม่

1.3 วัตถุประสงค์

1.3.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป

เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา

1.3.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ

1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน ระยะเวลาที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ลักษณะอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน

2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ก่อนและหลังได้รับ การรักษาด้วยการนวดแบบราชส านัก

1.4 สมมติฐานการวิจัย

ผู้มารับบริการนวดแบบราชส านักรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนหลังได้รับการ นวดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนลดลง

1.5 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยมุ่งศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนวดแบบราชส านัก ก าหนดเป็นตัว แปรอิสระ และตัวแปรตาม ดังนี้

1.5.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การนวดแบบราชส านักบริเวณกล้ามเนื้อหลังส่วนบน โดยแพทย์

แผนไทยประยุกต์

(13)

4 1.5.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังส่วนบน โดยการประเมินจาก

1) การรับรู้ความรุนแรงของความปวด

2) การวัดองศาการเคลื่อนไหวของต้นคอด้วยสายตา

3) ตัวแปรอธิบาย คือ ปัจจัยลักษณะทางชีวสังคม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาของอาการปวด ลักษณะของอาการปวด

1.6 นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

เพื่อให้การวิจัยในครั้งนี้ มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ผู้วิจัยจึงได้ก าหนดนิยามศัพท์ของ ตัวแปรและค าที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้

1.6.1 การนวดแบบราชส านักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน หมายถึง การนวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนโดยใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ วางคู่เรียงกัน และใช้ท่าทางการ นวดที่สุภาพ สมัยก่อนเป็นการนวดเพื่อถวายกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของราชส านัก

1.6.2 ปัจจัยด้านชีวสังคม หมายถึง ลักษณะทางบุคคลของผู้มารับบริการ ที่ก าหนดไว้ดังนี้

คือ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ รายได้

1.6.3 การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) หมายถึง ระบบการดูแลรักษาสุขภาพ แบบดั้งเดิมของสังคมไทยที่มีลักษณะเป็นการแพทย์แบบองค์รวม (holistic medicine) โดยมี

องค์ความรู้และการฝึกปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ การวินิจฉัยป้องกันและบ าบัดความไม่สมดุลของ ร่างกายและจิตใจ มีการผสมผสานทฤษฎีและการประยุกต์ใช้มาอย่างต่อเนื่องโดยบันทึกไว้ ในคัมภีร์

และต ารายา หรือการบอกเล่าสืบต่อกันมา

1.6.4 การแพทย์แผนไทยประยุกต์ (Applied Thai Traditional Medicine) หมายถึง ระบบ การดูแลและรักษาสุขภาพโดยน าหลักการแพทย์แผนไทยเดิมมาผสมผสานกับหลักการทางวิทยาศาสตร์

เพื่อที่จะเข้าใจรูปลักษณะและกลไกการท างานของร่างกาย การบริหารยา กลไกการเกิดโรคและการ หายจากโรคตลอดจนการป้องกันโรค รู้จักการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เพื่อ ความแม่นย าและใช้ในการวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ส่วนวิธีการรักษาโรคจะใช้ยาสมุนไพร ธรรมชาติ

บ าบัด หัตถเวช และการนวดกดจุดรักษาโรค

1.6.5 ผู้มารับบริการ หมายถึง ผู้ที่มารับบริการแพทย์แผนไทยประยุกต์โดยการนวดแบบ ราชส านัก ที่ศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2552 ถึง กันยายน 2553

(14)

5

บทที่ 2

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาค้นคว้า แนวคิด ทฤษฏี เอกสารและงานวิจัยที่

เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้น ามาใช้ในการก าหนดสมมติฐาน กรอบแนวคิดในการวิจัย โดยได้ประมวลไว้

ดังนี้

การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดทฤษฏีการแพทย์แผนไทย

2.2 แนวคิดทฤษฎีการแพทย์แผนไทยประยุกต์

2.3 แนวคิดทฤษฏีการนวด

2.4 การวินิจฉัยทางด้านการแพทย์แผนไทย 2.5 โรคที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน

2.6 การประเมินอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน 2.7 ประสิทธิผล (Effectiveness)

2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 แนวคิดทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนโบราณหรือการแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นวิถีชีวิตที่เป็นชาวพุทธ การด าเนินชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ และตายจึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ทั้งสิ้น การแพทย์แผนไทยจึงอาศัยแนวทางของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักด้วยเช่นกัน และ การแพทย์แผนไทยยังเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม การด ารงชีวิตที่เป็นธรรมชาติ เป็นวัฒนธรรม ใน การด ารงชีวิต ความเจ็บป่วยมิได้มองเพียงแค่เชื้อโรคที่เรียกว่า “ตัวกิมิชาติ” หากแต่มีสาเหตุมาจาก สมุฏฐาน 4 ประการ คือ ธาตุสมุฏฐาน ซึ่งประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น ้า ลม และไฟ โดยมีดิน อย่างน้อย 20 น ้า 12 ลม 6 และไฟ 4 รวม 42 ประการ ธาตุทั้ง 4 อยู่ในลักษณะสมดลกับธาตุภายใน และธาตุภายนอก ธาตุภายนอกหมายถึงสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ดิน น ้า ลม ไฟ อากาศ มนุษย์ก าเนิดใน ครรภ์มารดาย่อมเกิดธาตุเจ้าเรือน ด้วยอิทธิพลของธาตุมารดาและบิดา พร้อมทั้งอาหารและน ้าที่

มารดาดื่มกิน ตลอดจนอิทธิพลของภูมิอากาศขณะปฏิสนธิ เรียกว่า อุตุสมุฏฐาน หมายถึงอิทธิพล ของฤดูกาล ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งมนุษย์ต้องปรับตัวปีแล้วปีเล่า ผ่านร้อน ผ่านฝน ผ่านหนาว ความร้อนและความเย็นที่กายสัมผัสระหว่างรอยต่อ แห่งฤดูกาล มีผลต่อสุขภาพอย่าง

(15)

6 หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีกาลสมุฏฐาน ซึ่งหมายถึงอิทธิพลแห่งกาลเวลา ได้แก่ อ านาจพลัง แห่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท าให้เวลาตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านไปมีอิทธิพลที่ท าให้มนุษย์ต้องปรับตัว ทุกนาที นอกเหนือจากอิทธิพลดวงอาทิตย์และดวงจันทร์แล้วยังมีอิทธิพลของดาวอื่น ๆ อีก มากมายในสุริยจักรวาล ซึ่งมนุษย์มีความเชื่อและได้สรุปเป็น องค์ความรู้เรียกว่า โหราศาสตร์ มี

การเรียนสืบทอดความเชื่อถือกันมาจนปัจจุบัน อีกประการหนึ่งคือ อายุสมุฏฐาน มนุษย์เกิดมาต่างมี

อายุขัยเป็นไปตามธรรมชาติมี เกิด แก่ เจ็บ และตาย ไม่มีใครหลีกหนีความตายไปได้ สมดุลแห่ง สุขภาพตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยเป็นองค์รวมเน้นธรรมชาติ เน้นการท าให้ร่างกายสมดุล แม้มิได้

เน้นถึงเชื่อโรคแต่ได้เน้นถึงการมีพฤติกรรมที่ก่อโรคอย่างทันสมัย

เน้นระบาดวิทยา อายุ ฤดูกาล เวลา ที่อยู่อาศัย และพันธุกรรม (ธาตุเจ้าเรือน) และ ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุที่ท าให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยในมนุษย์ แบ่งได้

เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ เชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดจากสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ได้แก่ ผีบรรพบุรุษ สิ่งที่มี

อ านาจ เช่น ผีป่า ปีศาจ ผีหรือสิ่งของที่ผู้อื่นเสกมากระท าโทษ เชื่อในเรื่องของเทพ เรื่องของพระ เจ้าลงโทษผู้ท าผิดจารีตประเพณี ความเชื่อนี้มีอยู่โดยทั่วไป แตกต่างกันตามที่อยู่และวัฒนธรรมของแต่

ละท้องถิ่นเชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเสียสมดุลของร่างกายอัน ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 การเสียสมดุลของความร้อนความเย็น การเสียสมดุลของโครงสร้างร่างกายเชื่อ ว่าความเจ็บป่วยเกิดจากพลังจักรวาล ได้แก่ อิทธิพลของดวงดาวต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งพลังที่สร้างสรรค์ และ พลังที่ท าลายต่อสุขภาพ หากพลังใดมากกว่าก็จะส่งผลให้สุขภาพดีหรือร้ายไปตามนั้น

การรักษาจึงเป็นไปตามความเชื่อถือมีทั้งการใช้พิธีกรรม ได้แก่ การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์การ บวงสรวงเทพเจ้า การเสียเคราะห์ต่อชะตา การใช้สมุนไพรและการกินอาหารหรับสมดุลของร่างกาย การนวด การอบ การประคบ และการปรับสมดุลทางจิตด้วยสมาธิ ผู้รักษาได้แก่ หมอแผนโบราณ หมอพื้นบ้านที่มีการเรียนการสอนสืบต่อกันมา ทั้งการเรียนการสอนในสถาบัน และจากการสืบ ทอดความรู้กันภายในครอบครัวหมอแผนไทย ในอดีตมีความรู้มากมายหลายสาขา เป็นทั้งผู้ช านาญ การประกอบพิธีกรรม การใช้ยา การนวด และโหราศาสตร์ บางคนเคยบวชเรียนจึงเก่งในเรื่องการนั่ง สมาธิ การแพทย์แผนไทยเคยรุ่งเรื่องมากจนมีผู้ช านาญเฉพาะทางในสมัยอยุธยาท าให้มีต าราคัมภีร์

เฉพาะโรคมากมาย แต่ต้องเสื่อมลงเพราะถูกท าลายโดยสงครามถึงสองครั้งหลงเหลือแต่ต ารายา บางส่วน ส าหรับหมอที่เหลืออยู่เป็นผู้มีความรู้เฉพาะอย่างเป็นส่วนใหญ่ บ้างก็ท าเฉพาะพิธีกรรม บ้างก็รักษาแต่โรคกระดูก บ้างเป็นเพียงหมอนวดหรือเป็นหมอยา ซึ่งเก่งเรื่องยากันคนละไม่กี่ต ารับ บ้างเป็นหมอกวาดยา หมอยาฝน มีหมอแผนโบราณบางกลุ่มที่มีการสอนการสอบโดยรวมกันเป็น สมาคม มีการเรียนทฤษฎีมากขึ้น แต่ก็ถูกแบ่งเป็นสาขา เช่น เวชกรรม เภสัชกรรม ผดุงครรภ์ โดย ที่เวชกรรมรวมนวด อบประคบไว้ด้วย การแบ่งเป็นสาขาดังกล่าว อาจน าไปสู่การคิดแบบแยกส่วน

(16)

7 ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทย (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข, 2539)

2.2 แนวคิดทฤษฎีการแพทย์แผนไทยประยุกต์

แพทย์แผนไทยประยุกต์หรือแพทย์อายุรเวท คือ แพทย์แผนโบราณแบบใหม่ของไทย ต่างกับแพทย์แผนโบราณทั่วไปตรงที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสามารถใช้ความรู้นี้ช่วยให้เข้าใจ เรื่องรูปร่างและการท างานของร่างกาย สาเหตุของโรค ยาและกลไกการท างานของยา ตลอดจนพิษ ของยา การรักษาโรคว่าหายเพราะเหตุใด ตายเพราะเหตุใด การที่มีวิทยาศาสตร์ เป็นพื้นฐานท าให้

การอบรมสั่งสอนมีหลักวิชา เกิดความแน่นอนและแม่นย า ไม่ใช่อาศัยแต่ความจ าหรือประสบการณ์

การวินิจฉัยโรค จะมีเครื่องมือช่วย เช่น การฟังเสียง การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ฯลฯ ซึ่งท าให้เกิด ความแม่นย า ชัดเจนยิ่งขึ้น แพทย์แผนโบราณทั่วไปอาศัยแต่เฉพาะอาการเป็นเครื่องตัดสินโรค จึงมี

ความผิดพลาดมากแม้มียาดีก็ไม่มีประโยชน์ เพราะถ้าวินิจฉัยก็ย่อมรักษาผิด เพราะฉะนั้นแพทย์

แผนไทยประยุกต์หรือแพทย์อายุรเวท จึงควรมีประสิทธิภาพดีกว่าแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะท าให้สามารถปรับปรุงพัฒนาวิธีการต่าง ๆ ตลอดจนการผลิตยาที่

มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และท าการเผยแพร่ผลงานให้แก่แพทย์ทั่วไป ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทยเป็น ประโยชน์แก่การสาธารณสุขของประเทศ

แพทย์อายุรเวทใช้เวลาในการเรียน 3 ปี วิชาที่เรียน เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณวิชาพื้นฐาน ทางแพทย์แผนปัจจุบัน วิทยาศาสตร์การแพทย์ เน้นการวินิจฉัยโรคเป็นส่วนใหญ่ วิชาประกอบมี

ปฐมพยาบาล เคหะพยาบาล สาธารณสุขทั่วไป ฯลฯ การสอนมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ วิชาแผน โบราณเป็นอาจารย์แผนโบราณ วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิชาแพทย์คลินิก สอนโดยอาจารย์

อาสาสมัครจากคณะแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบางแห่งวิชาประกอบสอน โดยอาจารย์ของโรงเรียนอายุรเวท และอาจารย์อาสาสมัครจากสถาบันต่าง ๆ ความสามารถของแพทย์

อายุรเวท แพทย์อายุรเวทสามารถรักษาโรคทางยาโดยทั่วไป โดยใช้ยาสมุนไพรแบบโบราณ ไม่ใช้

ยาแผนปัจจุบันและไม่ใช้วิธีฉีดยา (ยกเว้นไม่รักษาโรคติดเชื่อรุนแรง ซึ่งต้องใช้ยาปฏิชีวนะและโรคที่

จ าเป็นต้องรักษาด้วยยาฉีด) ท าแผลผ่าตัดเล็กซึ่งไม่ต้องวางยาสลบหรือฉีดยา แต่งแผลได้ เย็บแผลได้

ท าแผลสามัญได้ เข้าเฝือกกระดูกหักสามัญได้ รักษาโรคกระดูกและโรคข้อที่ไม่ต้องผ่าตัด ท าคลอด ปกติได้ ดูแลทารกแรกเกิดและมารดาหลังคลอด สามารถวินิจฉัยครรภ์ปกติ (เพื่อส่งต่อให้แพทย์แผน ปัจจุบัน) รักษาโรคเฉพาะสตรีภายนอก โรคระดูผิดปกติ วัยหมดระดู รักษาโรคเด็กทุกอย่างที่ไม่ต้อง ผ่าตัด รู้วิธีเลี้ยงทารกและเด็ก รู้วิธีนวดและสามารถประยุกต์ใช้ในโรคต่างๆ รู้ข้อห้าม รู้จักใช้แสงแดด อากาศ น ้า อาหาร ฯลฯ ในการรักษาโรค รู้จักรักษาโรค ตา หู คอ จมูก โดยใช้ยาไทยสามารถ วินิจฉัยโรคฉุกเฉินทางอายุกรรม ศัลยกรรมและสูติกรรม เช่น โรคนิ่ว กระเพาะอาหารทะลุ มดลูกแตก

(17)

8 ฯลฯ การรักษาทุกอย่างใช้ยาไทย หรือยาสมุนไพร และวิธีธรรมชาติ โดยยึดหลักทฤษฎีการแพทย์

แผนไทยควบคู่กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์แผนปัจจุบัน (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์

แผนไทยเดิม สมาคมแพทย์อายุรเวท แพทย์แผนไทยประยุกต์แห่งประเทศไทย, 2542) 2.3 แนวคิดทฤษฏีการนวด

การนวดเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษจากปากต่อปาก เป็นการสอนตัวต่อตัว โดยเชื่อว่าการนวดมีจุดเริ่มต้นมาจากการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาอาการ เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ กันเองภายในครอบครัว เช่น ภรรยานวดสามี สามีนวดภรรยา ลูกหลานนวด ให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย จนเกิดประสบการณ์และความช านาญจึงพัฒนาเป็นการนวดช่วยเหลือบรรเทา อาการเจ็บปวดของเพื่อนบ้าน จนได้รับความนิยมและเชื่อถือมีการพัฒนาการนวดไทย เป็นการให้

ประชาชนสามารถเรียนรู้ฝึกฝนให้เกิดความช านาญและน ามาประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลสุขภาพของ ตนเองและบุคคลในครอบครัว ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัวและชุมชนการนวดไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. การนวดแบบทั่วไป (แบบเชลยศักดิ์) หมายถึง การนวดแบบสามัญชน มีการสืบทอด ฝึกฝนแบบแผนการนวดตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเหมาะสมมากส าหรับชาวบ้านนวดกันเองใช้สอง มือและอวัยวะส่วนอื่นโดยไม่ต้องใช้ยา การนวดแบบเชลยศักดิ์เป็นการนวดบริเวณกล้ามเนื้อและ ข้อศอกต่าง ๆ ของร่างกายการนวดแบบเชลยศักดิ์ เป็นการสอนแบบสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นการนวดตามวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละท้องถิ่น อาจมีวิธีการนวดแตกต่างกัน ซึ่งก่อนเริ่มนวด ผู้นวดจะต้องพนมมือไหว้ครูเสียก่อนและไหว้เพื่อขอโทษ ผู้ป่วยก่อนที่จะถูกเนื้อต้องตัวในขณะที่ผู้ป่วย นอนหงายและหลังจากนั้นเริ่มนวดตั้งแต่เท้าไปจนถึงเข่าไปจนถึงขาช่วงบนและนวดท้อง หลัง ไหล่

ต้นคอและแขน นวดทั่วทั้งตัว นวดเพื่อการไหลเวียนของเลือดและน ้าเหลืองไหลเวียนดีขึ้นและการ นวดยังส่งผลสะท้อนให้กับการท างานของอวัยวะที่อยู่ห่างออกไปจากบริเวณนวด ซึ่งการนวดช่วย รักษาและบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น อาการเคล็ด ขัดยอก คอแข็งจากการตกหมอน ซ้น รักษาอาการ อาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก ปวดหลัง เจ็บเอว ปวดเข่า ตะคริว ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อาการ วิงเวียน ช่วยคลายความเครียด ช่วยให้ข้อที่เคลื่อนกับเข้าที่

2. การนวดแบบราชส านัก หมายถึง การนวดเพื่อถวายกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของ ราชส านัก ผู้นวดจะต้องเดินเข่าเข้าหาผู้ป่วยที่นอนอยู่บนพื้นเมื่ออยู่ห่างผู้ป่วยราว 2 ศอก จึงนั่งพับ เพียบและคารวะขออภัยผู้ป่วย หลังจากนั้นหมอจะคล าชีพจรที่ข้อมือ และหลังเท้าข้างเดียวกันเมื่อ ตรวจดูอาการของโรคจึงเริ่มท าการนวดคล้ายกับการนวดแบบทั่วไป ต่างกันที่ต าแหน่งการวางมือ องศาที่

แขนของผู้นวด ซึ่งต้องกระท าอย่างสุภาพยิ่ง การนวดแบบราชส านักพิจารณาถึงผู้เรียนอย่างประณีตถี่

ถ้วน การสอนมีขั้นตอน การนวดที่สุภาพ การนวดเป็นเอกลักษณ์ เป็นการนวดพื้นฐานต่างๆ เช่น

(18)

9 พื้นฐานขา พื้นฐานแขน พื้นฐานหลัง พื้นฐานบ่า การนวดกล้ามเนื้อต้นคอ การนวดศีรษะ การนวด คลายกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง

ความแตกต่างของการนวดแบบเชลยศักดิ์กับราชส านัก (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรม พัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2547)

ตารางที่ 1 แสดงความแตกต่างของการนวดแบบเชลยศักดิ์กับราชส านัก

นวดแบบราชส านัก นวดแบบเชลยศักดิ์

1. ต้องมีกิริยามารยาทเรียบร้อย เดินเข่าเข้าหา ผู้ป่วยไม่หายใจรดผู้ป่วย ไม่เงยหน้า 2. เริ่มนวดตั้งแต่ใต้เข่าลงมาข้อเท้า หรือจาก

ต้นขาลงมาถึงเท้า

3. ใช้เฉพาะมือ คือนิ้วหัวแม่มือ ปลายนิ้วและ อุ้งมือในการนวดเท่านั้น แขนต้องเหยียด ตรงเสมอ

4. ท าการนวดผู้ป่วยที่อยู่ในท่านั่ง นอนหงาย และตะแคง ไม่นวดผู้ป่วยในท่านอนคว ่า 5. ไม่มีการนวดโดยใช้เท้า เข่า ข้อศอก

ไม่มีการดัด งอข้อ หรือส่วนใดของร่างกาย 6. ผู้นวดเน้นให้เกิดผลต่ออวัยวะและเนื้อเยื่อ

โดยยึดหลักการกายวิภาคเพื่อเพิ่มการ ไหลเวียนของเลือดและการท างานของ เส้นประสาท

1. มีความเป็นกันเองกับผู้ป่วย 2. เริ่มนวดที่ฝ่าเท้า

3. ใช้อวัยวะทุกส่วน เช่น มือ เข่า ศอก ในการนวด

4. ท าการนวดผู้ป่วยท่านั่ง นอนหงาย ตะแคงและท่านอนคว ่า

5. มีการนวดโดยใช้เท้า เข่า ศอก มีการดัดงอข้อ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

6. ผู้นวด เน้นผลที่เกิดจากกดและนวดคลึงตาม จุดต่าง ๆ

ประโยชน์ของการนวดที่ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2547)

1. การนวดช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดและน ้าเหลืองไหลเวียนดีขึ้น

2. การนวดช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณที่บวมลดลง แต่ไม่ควรนวดบริเวณที่มีการอักเสบอาจ ท าให้บวมมากขึ้น

3. ท าให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย คลายความเกร็ง

4. ท าให้ผังพืดอ่อนตัวลง ท าให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น และอาการเจ็บปวดลดลง 5. ท าให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น ท าให้ผิวหนังเต่งตึง

6. เพิ่มความตึงตัวของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ กระเพาะอาหาร และล าไส้

Referensi

Dokumen terkait

แบบสอบถามเพื&อการศึกษา เรื&อง ความสัมพันระหว่างรูปแบบภาวะผู้นํา กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท แปลน เอสเตท จํากัด คําชีLแจง