• Tidak ada hasil yang ditemukan

วิธีการด าเนินการวิจัย

3.3 วิธีการสุ่มตัวอย่าง

ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งผู้วิจัยจะใช้วิธีการ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ Google Form จากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานตั้งแต่ระดับ ปฏิบัติการขึ้นไปของอุตสาหกรรมโรงแรม เครือ Inter Chain ในประเทศไทย

3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามของ ดร.สุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้ว (Suriyankietkaew, 2016) ซึ่งได้ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้น าองค์กรอย่างยั่งยืน ภายใต้ลิขสิทธิ์ © แฮรี่ เบอร์กสไตเนอร์ (2010) ซึ่งสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด Honeybee Leadership p (Gayle & Harald, 2011) โดยรายละเอียดของแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นค าถามด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารองค์กร โดยแบ่งออกเป็น 23 ด้าน ตามแนวคิด Honeybee Leadership รวมทั้งสิ้น 53 ข้อ โดยแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประเมิน ค่า (Likert scale) ซึ่งลักษณะของข้อค าถามประกอบด้วยข้อความที่เป็นเชิงบวกและเชิงลบ ให้ตอบ ลักษณะประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

ตารางที่ 3.1 เกณฑ์การให้คะแนนแบบสอบถามส่วนที่ 1

ความคิดเห็น ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 คะแนน 1 คะแนน

เห็นด้วย 4 คะแนน 2 คะแนน

เฉย ๆ 3 คะแนน 3 คะแนน

ไม่เห็นด้วย 2 คะแนน 4 คะแนน

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 คะแนน 5 คะแนน

การให้คะแนนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 ข้อความเชิงบวก จ านวน 43 ข้อ ได้แก่ 1, 5, 7, 9, 11, 13 – 24, 26, 28 – 29, 31 – 33 และ 35 – 53

กลุ่มที่ 2 ข้อความเชิงลบ จ านวน 10 ข้อ ได้แก่ 2, 4, 6, 8, 10, 12, 25, 27, 30 และ 34 ส่วนที่ 2 เป็นค าถามด้านความพึงพอใจของพนักงาน จ านวนรวม 5 ข้อ ซึ่งเป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Likert Scale) โดยลักษณะข้อค าถามประกอบไปด้วยข้อความ เชิงบวกทั้งหมด แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน โดยมีลักษณะการประเมินค่า 5 ระดับ ดังนี้

ตารางที่ 3.2 เกณฑ์คะแนนแบบสอบถามส่วนที่ 2 ด้านความพึงพอใจของพนักงาน

ความคิดเห็น ข้อความเชิงบวก

พึงพอใจอย่างยิ่ง 5 คะแนน

พึงพอใจ 4 คะแนน

เฉย ๆ 3 คะแนน

ไม่พึงพอใจ 2 คะแนน

ไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง 1 คะแนน

ส่วนที่ 3 เป็นค าถามด้านความส าเร็จขององค์กรที่พนักงานรับรู้ได้ จ านวนรวม 5 ข้อ ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Likert Scale) โดยลักษณะข้อค าถามประกอบไปด้วย ข้อความเชิงบวกทั้งหมด แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน โดยมีลักษณะการประเมินค่า 5 ระดับ ดังนี้

ตารางที่ 3.3 เกณฑ์คะแนนแบบสอบถามส่วนที่ 3 ด้านความส าเร็จขององค์กรที่พนักงานรับรู้ได้

ความคิดเห็น ข้อความเชิงบวก

ดีกว่ามาก 5 คะแนน

ดีกว่า 4 คะแนน

เฉย ๆ 3 คะแนน

แย่กว่า 2 คะแนน

แย่กว่ามาก 1 คะแนน

ส่วนที่ 4 เป็นค าถามเกี่ยวข้องกับลักษณะทั่วไปทางด้านประชากรศาสตร์ จ านวน 5 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุการท างานและต าแหน่งงาน ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ (Checklist) และมีการแบ่งระดับการวัดข้อมูลประเภทนามก าหนด (Nominal Scale) จ านวน 2 ข้อ ได้แก่ เพศและต าแหน่งงาน และข้อมูลประเภทจัดล าดับ (Ordinal Scale) จ านวน 3 ข้อ ได้แก่ อายุ

ระดับการศึกษาและอายุการท างาน

ผู้วิจัยได้ก าหนดค่าอันตรภาคชั้น ส าหรับการแปรผลข้อมูลโดยค านวณค่าอันตรภาคชั้น เพื่อก าหนดช่วงชั้น ด้วยการใช้สูตรค านวณและอธิบายของแต่ละช่วงชั้น ดังนี้

ความกว้างอันตรภาคชั้น = ค่าสูงสุด−ค่าต ่าสุด จ านวนอันตรภาคชั้น

= 5−15

= 0.8

การแปลผลข้อมูลส่วนที่ 1 ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารองค์กร มีเกณฑ์การ แปลผล ดังนี้

ตารางที่ 3.4 เกณฑ์การแปลผลข้อมูลส่วนที่ 1 ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารองค์กร ความกว้างของอันตรภาคชั้น ค าอธิบายส าหรับการแปลผล

1.00 – 1.80 เห็นด้วยน้อยที่สุด

1.81 – 2.60 เห็นด้วยน้อย

2.61 – 3.40 เห็นด้วยปานกลาง

3.41 – 4.20 เห็นด้วยมาก

4.21 – 5.00 เห็นด้วยมากที่สุด

การแปลผลข้อมูลส่วนที่ 2 ด้านความพึงพอใจของพนักงาน มีเกณฑ์การแปลผล ดังนี้

ตารางที่ 3.5 เกณฑ์การแปลผลข้อมูลส่วนที่ 2 ด้านความพึงพอใจของพนักงาน

ความกว้างของอันตรภาคชั้น ค าอธิบายส าหรับการแปลผล

1.00 – 1.80 พึงพอใจน้อยที่สุด

1.81 – 2.60 พึงพอใจน้อย

2.61 – 3.40 พึงพอใจปานกลาง

3.41 – 4.20 พึงพอใจมาก

4.21 – 5.00 พึงพอใจมากที่สุด

และการแปลผลข้อมูลส่วนที่ 3 ด้านความส าเร็จขององค์กรที่พนักงานรับรู้ได้ มีเกณฑ์

การแปลผล ดังนี้

ตารางที่ 3.6 เกณฑ์การแปลผลข้อมูลส่วนที่ 3 ด้านความส าเร็จขององค์กรที่พนักงานรับรู้ได้

ความกว้างของอันตรภาคชั้น ค าอธิบายส าหรับการแปลผล

1.00 – 1.80 แย่กว่ามาก

1.81 – 2.60 แย่กว่า

2.61 – 3.40 ปานกลาง

3.41 – 4.20 ดีกว่า

4.21 – 5.00 ดีกว่ามาก